สตง. ยื่น 5 ข้อเสนอ เพิ่มอำนาจ ลดขั้นตอนลงโทษคนผิด ชี้ป.ป.ช.เอื่อย ขออำนาจฟ้องศาลเอง เชื่อยึดเงินแผ่นดินคืนทันท่วงที ท้วงศาลวินัยการเงิน การคลัง ซ้ำซ้อนควง. แถมเปิดทางให้มีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาได้ ต่างจาก ควง. ที่ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง จึงไม่สามมารถให้ศาลปกครองเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงความเห็นชอบได้ ด้าน"มีชัย" พร้อมรับฟัง ชั่งใจ จำเป็นต้องมีศาลวินัยการเงินฯ หรือไม่ เตือนแต่ละองค์กรรู้บทบาท ขยายอำนาจมากไป ระวังล้มทับตัวเอง พร้อมหาแนวทางสกัดประชานิยม "ประยุทธ์"เผย รธน.หาข้อดีร่างเก่า ต่อยอดร่างใหม่ ย้ำใช้หลักปชต.สากล ปัด คปป. ครอบงำรัฐบาล เพียงพิจารณาเรื่อง ให้รัฐบาลรับทราบ เน้นใช้หลัก 3 ขา "ปฎิรูป-ปรองดอง-ลดความขัดแย้ง" เผย หากประชามติไม่ผ่าน ต้องหากลไกแก้ไข
เมื่อวานนี้ (13ต.ค.) มีการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ได้มีการเชิญองค์กรอิสระเข้าให้ความเห็น เพื่อประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก คือ ตัวแทนจากคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งได้มีการเสนอแนวทางต่อที่ประชุมใน 5 ประเด็นหลัก คือ
1. ปรับเพิ่มอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคดีอาญาให้สามารถส่งเรื่องให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลเองได้ เนื่องจากขณะนี้ สตง. มีอำนาจเพียงตรวจสอบ และชี้มูลความผิด จึงเป็นอุปสรรคในการนำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ ไม่สามารถป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้อย่างแท้จริง ทั้งที่กระบวนการตรวจสอบของสตง. สามารถพิสูจน์ความผิดได้อย่างสมบูรณ์ แต่ไมได้เป็นพนักงานสอบสวน จึงมิอาจกล่าวโทษได้เอง
นอกจากนี้ยังต้องส่งเรื่องต่อไปให้ ป.ป.ช. ซึ่งจะต้องเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ยังเห็นว่า การให้มีป.ป.ช. เป็นองค์กรเดียวในการดำเนินการไต่สวน ทำให้เกิดความล่าช้า จนส่งผลกระทบต่อการส่งคดีฟ้องศาล
2. ปรับเพิ่มให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบไต่สวน และติดตามเงิน หรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ในกรณีทุจริตเพื่อส่งอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ติดตามเงินคืนแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้การติดตามทรัพย์สินของแผ่นดินมีประสิทธิภาพ ผู้กระทำผิดเกิดความเกรงกลัว
3. ปรับเพิ่มให้มีอำนาจระงับงับยั้งโครงการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินงบประมาณของแผ่นดินไว้ก่อน จนกว่าหน่วยรับตรวจจะดำเนินการตามข้อเสนอแนะ หรือมีเหตุผลชี้แจงอันสมควรในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เนื่องจากขณะนี้ แม้สตง.จะมีอำนาจตรวจสอบการใช้เงิน หรือทรัพย์สินของแผ่นดินว่าต้องเป็นไปโดยประหยัด มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล แต่กฎหมายไม่มีสภาพบังคับแท้จริง จึงไม่สามารถยับยั้งโครงการที่อาจก่อความเสียหายแก่เงินแผ่นดินได้อย่างทันที
4. ปรับเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการ สามารถแจ้งผลการสอบได้มากกว่าเดิม คือ กรณีรัฐอนุมัติ อนุญาตให้สิทธิ์ หรือให้ประโยชน์ หรือออกเอกสารสิทธิ์ หรือสัญญา หรือสัมปทาน หรือหนังสือสำคัญอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันแก่บุคคลใดโดยทุจริต หรือมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ส่งรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง หรือคำพิพากษายกเลิก เพิกถอนสิทธิ์ หรือสัญญาเหล่านั้นที่จะสร้างความเสียหายแก่ราชการได้
5. ปรับแก้อำนาจในการดำเนินคดีวินัยการเงิน การคลัง และการงบประมาณ โดยให้ สตง.มีอำนาจตรวจสอบไต่สวนความผิดวินัยทางงบประมาณ และการคลัง เพื่อเสนอให้ คตง. พิจารณาโทษปรับทางปกครอง กรณีความผิดในอัตราโทษต่ำ หรือกรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพโดยสามารถโต้แย้งหรืออุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
อย่างไรก็ตาม จากแนวทางในการยกร่างรธน. ที่ผ่านมา มีการบัญญัติให้นำคดีความผิดวินัยทางการคลัง และการงบประมาณไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในขณะที่เดิมการวินิจฉัยชี้ขาดอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง (ควง.) ทั้งหมด จึงจะทำให้กระบวนการล่าช้า ดังนั้นควรแบ่งอำนาจการพิจารณาให้ชัดเจน คือ ความผิดอัตราโทษต่ำให้ คตง.ออกคำสั่งลงโทษได้เอง หากอัตราโทษปรับสูง หรือผู้ทำผิดเป็นนักการเมือง ให้คตง. อนุมัติ สตง. ยื่นฟ้องศาลปกครอง และเห็นว่าการบัญญัติอำนาจองค์กรตรวจเงินแผ่นดินควรกำหนดให้มีเพียงองค์กรเดียว ไม่ใช่กำหนดองค์กรอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ในลักษณะซ้ำซ้อน
"มีชัย"ห่วงขยายอำนาจจะซ้ำซ้อน
ด้านนายมีชัย กล่าวว่าจะพิจารณาข้อเสนอของ สตง. และ คตง. โดยจะถามเพียงคำถามเดียวว่า มีอุปสรรคอย่างไร เพราะอยากให้ทำงานได้ผลมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ จะต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด จะได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่ทางคตง.เห็นว่า ศาลวินัยการเงิน การคลัง ที่เป็นกลไกใหม่ตาม ร่างรธน.เดิม จะซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณ และการคลัง นั้น ตนเห็นว่า ยังไม่ทราบ เพราะศาลวินัยการเงิน การคลัง เป็นเรื่องเดิมที่บัญญัติไว้ในร่างรธน. ที่ยกเลิกไปแล้ว ดังนั้นก็ต้องถามว่า จะต้องมีไว้ทำอะไร
" ความแตกต่างระหว่างการเป็นคำสั่งทางปกครอง กับไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง ก็คือ ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครอง ก็สามารถไปฟ้องศาลปกครองได้ แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ฟ้องไม่ได้ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่า จะสั่งเรื่องอะไร ถ้าเป็นอำนาจหน้าที่ของสตง. ก็ไม่ควรมีองค์กรใดไปพิจารณาอีก เพราะคตง. มีความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะ เป็นพิเศษอยู่แล้ว ถ้าให้องค์กรอื่นมาตรวจสอบ จะทำให้ไม่จบไม่สิ้น และไม่แน่ว่าจะถูกต้องหรือไม่ จึงต้องดูว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และรับฟังความเห็นจากคตง.ก่อน"
นายมีชัย ยังกล่าวถึงการเสนอขอเพิ่มอำนาจให้ยื่นฟ้องต่อศาลเองได้ว่า เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา เพราะสตง. มีหน้าที่ตรวจประสิทธิผลของการใช้เงิน ไม่ใช่แค่ว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ เนื่องจากไม่สามารถทำให้การใช้เงินแผ่นดิน เกิดประสิทธิภาพได้ จึงอยากให้ สตง. มุ่งที่ตรงนี้มากกว่า หากให้ สตง.ไปฟ้องเองในคดีอาญา จะกลายเป็นป.ป.ช. ขึ้นมาอีกองค์กรหนึ่ง แล้วจะวุ่นวายกันใหญ่ "
กำลังหามาตรการสกัดประชานิยม
ส่วนกรณีที่กรรมการยกร่างรธน. มีการหารือเกี่ยวกับการยับยั้งความเสียหายเกี่ยวกับโครงการประชานิยม นายมีชัย กล่าวว่า ไม่ได้มีการตั้งองค์กรใหม่ เพียงแต่จะระมัดระวัง ไม่ให้ทำสิ่งที่จะเกิดความเสียหาย ไม่ใช่สกัดประชานิยม แต่สกัดการสร้างความเสียหาย แต่ยังคิดกลไกไม่ออก
หาข้อดีร่างเก่ายกร่างใหม่-ปัดคปป.ครอบงำรบ.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องรัฐธรรมนูญ ว่า ตนทราบดีว่าทุกคนเป็นห่วง ส่วนสนช. ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อส่งต่อกฎหมาย อะไรที่ตนทำได้ ก็จะทำตอนนี้ โดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ ส่วนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ต้องเอากฎหมายเก่าๆ ขึ้นมาดูว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร กฏหมายข้อไหนที่ยอมรับกันได้ก็นำมาใส่ในฉบับใหม่ รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ แล้วดูว่าข้อไหนจะต้องเพิ่มเติม หรือเพื่อที่จะให้มีกลไกในการปฎิรูปที่ยั่งยืน เพราะหากไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย ก็ไม่มีการปฎิรูปเกิดขึ้น เราต้องเขียนรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยสากลอยู่ดี
“ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องไปห่วงเรื่อง คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฎิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ผมบอกตั้งหลายครั้งแล้วว่า คปป.ทำหน้าที่อะไร มันก็เป็นเพียงร่มๆหนึ่งเท่านั้นเอง ที่เขาเสนอมาเรื่องยุทธศาสตร์ ซึ่งผมก็ฟังมาจากสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้วก็มาคิดว่าเชื่อมกันอย่างไร ผมยืนยันว่าไม่เคยคิดจะไปครอบงำใคร หรือไปครอบงำรัฐบาลต่อไป เพราะผมไม่คิดว่าผมทำอะไรผิด ในการบริหารราชการแผ่นดินเวลานี้ เพียงแต่ต้องการให้ประเทศเดินได้ ” นายกฯกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คปป.จะเป็นใครก็ได้ ที่มี 3 ขาประกอบกัน คือ ปฎิรูป ปรองดอง และลดความขัดแย้ง
เมื่อถามว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติครั้งนี้จะทำอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “หากไม่ผ่านก็ต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ผ่าน ผมก็ไม่อยากอยู่ตรงนี้หรอก บอกจริงๆเลยว่าไม่ได้อยากอยู่ เพราะปัญหามันเยอะเหลือเกิน” เมื่อถามย้ำว่ามีการประเมินหรือไม่ว่าปัจจัยใดที่อาจทำให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก็ทำประชามติไงเล่า ทำประชามติหรือเปล่าหล่ะ ถ้าทำก็จบ ถามว่าสปท.เขาลงมติหรือเปล่าก็ไม่ต้องลง เพราะไม่เกี่ยวกัน”นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อวานนี้ (13ต.ค.) มีการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ได้มีการเชิญองค์กรอิสระเข้าให้ความเห็น เพื่อประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก คือ ตัวแทนจากคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งได้มีการเสนอแนวทางต่อที่ประชุมใน 5 ประเด็นหลัก คือ
1. ปรับเพิ่มอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคดีอาญาให้สามารถส่งเรื่องให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลเองได้ เนื่องจากขณะนี้ สตง. มีอำนาจเพียงตรวจสอบ และชี้มูลความผิด จึงเป็นอุปสรรคในการนำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ ไม่สามารถป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้อย่างแท้จริง ทั้งที่กระบวนการตรวจสอบของสตง. สามารถพิสูจน์ความผิดได้อย่างสมบูรณ์ แต่ไมได้เป็นพนักงานสอบสวน จึงมิอาจกล่าวโทษได้เอง
นอกจากนี้ยังต้องส่งเรื่องต่อไปให้ ป.ป.ช. ซึ่งจะต้องเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ยังเห็นว่า การให้มีป.ป.ช. เป็นองค์กรเดียวในการดำเนินการไต่สวน ทำให้เกิดความล่าช้า จนส่งผลกระทบต่อการส่งคดีฟ้องศาล
2. ปรับเพิ่มให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบไต่สวน และติดตามเงิน หรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ในกรณีทุจริตเพื่อส่งอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ติดตามเงินคืนแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้การติดตามทรัพย์สินของแผ่นดินมีประสิทธิภาพ ผู้กระทำผิดเกิดความเกรงกลัว
3. ปรับเพิ่มให้มีอำนาจระงับงับยั้งโครงการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินงบประมาณของแผ่นดินไว้ก่อน จนกว่าหน่วยรับตรวจจะดำเนินการตามข้อเสนอแนะ หรือมีเหตุผลชี้แจงอันสมควรในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เนื่องจากขณะนี้ แม้สตง.จะมีอำนาจตรวจสอบการใช้เงิน หรือทรัพย์สินของแผ่นดินว่าต้องเป็นไปโดยประหยัด มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล แต่กฎหมายไม่มีสภาพบังคับแท้จริง จึงไม่สามารถยับยั้งโครงการที่อาจก่อความเสียหายแก่เงินแผ่นดินได้อย่างทันที
4. ปรับเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการ สามารถแจ้งผลการสอบได้มากกว่าเดิม คือ กรณีรัฐอนุมัติ อนุญาตให้สิทธิ์ หรือให้ประโยชน์ หรือออกเอกสารสิทธิ์ หรือสัญญา หรือสัมปทาน หรือหนังสือสำคัญอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันแก่บุคคลใดโดยทุจริต หรือมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ส่งรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง หรือคำพิพากษายกเลิก เพิกถอนสิทธิ์ หรือสัญญาเหล่านั้นที่จะสร้างความเสียหายแก่ราชการได้
5. ปรับแก้อำนาจในการดำเนินคดีวินัยการเงิน การคลัง และการงบประมาณ โดยให้ สตง.มีอำนาจตรวจสอบไต่สวนความผิดวินัยทางงบประมาณ และการคลัง เพื่อเสนอให้ คตง. พิจารณาโทษปรับทางปกครอง กรณีความผิดในอัตราโทษต่ำ หรือกรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพโดยสามารถโต้แย้งหรืออุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
อย่างไรก็ตาม จากแนวทางในการยกร่างรธน. ที่ผ่านมา มีการบัญญัติให้นำคดีความผิดวินัยทางการคลัง และการงบประมาณไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในขณะที่เดิมการวินิจฉัยชี้ขาดอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง (ควง.) ทั้งหมด จึงจะทำให้กระบวนการล่าช้า ดังนั้นควรแบ่งอำนาจการพิจารณาให้ชัดเจน คือ ความผิดอัตราโทษต่ำให้ คตง.ออกคำสั่งลงโทษได้เอง หากอัตราโทษปรับสูง หรือผู้ทำผิดเป็นนักการเมือง ให้คตง. อนุมัติ สตง. ยื่นฟ้องศาลปกครอง และเห็นว่าการบัญญัติอำนาจองค์กรตรวจเงินแผ่นดินควรกำหนดให้มีเพียงองค์กรเดียว ไม่ใช่กำหนดองค์กรอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ในลักษณะซ้ำซ้อน
"มีชัย"ห่วงขยายอำนาจจะซ้ำซ้อน
ด้านนายมีชัย กล่าวว่าจะพิจารณาข้อเสนอของ สตง. และ คตง. โดยจะถามเพียงคำถามเดียวว่า มีอุปสรรคอย่างไร เพราะอยากให้ทำงานได้ผลมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ จะต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด จะได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่ทางคตง.เห็นว่า ศาลวินัยการเงิน การคลัง ที่เป็นกลไกใหม่ตาม ร่างรธน.เดิม จะซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณ และการคลัง นั้น ตนเห็นว่า ยังไม่ทราบ เพราะศาลวินัยการเงิน การคลัง เป็นเรื่องเดิมที่บัญญัติไว้ในร่างรธน. ที่ยกเลิกไปแล้ว ดังนั้นก็ต้องถามว่า จะต้องมีไว้ทำอะไร
" ความแตกต่างระหว่างการเป็นคำสั่งทางปกครอง กับไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง ก็คือ ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครอง ก็สามารถไปฟ้องศาลปกครองได้ แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ฟ้องไม่ได้ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่า จะสั่งเรื่องอะไร ถ้าเป็นอำนาจหน้าที่ของสตง. ก็ไม่ควรมีองค์กรใดไปพิจารณาอีก เพราะคตง. มีความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะ เป็นพิเศษอยู่แล้ว ถ้าให้องค์กรอื่นมาตรวจสอบ จะทำให้ไม่จบไม่สิ้น และไม่แน่ว่าจะถูกต้องหรือไม่ จึงต้องดูว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และรับฟังความเห็นจากคตง.ก่อน"
นายมีชัย ยังกล่าวถึงการเสนอขอเพิ่มอำนาจให้ยื่นฟ้องต่อศาลเองได้ว่า เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา เพราะสตง. มีหน้าที่ตรวจประสิทธิผลของการใช้เงิน ไม่ใช่แค่ว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ เนื่องจากไม่สามารถทำให้การใช้เงินแผ่นดิน เกิดประสิทธิภาพได้ จึงอยากให้ สตง. มุ่งที่ตรงนี้มากกว่า หากให้ สตง.ไปฟ้องเองในคดีอาญา จะกลายเป็นป.ป.ช. ขึ้นมาอีกองค์กรหนึ่ง แล้วจะวุ่นวายกันใหญ่ "
กำลังหามาตรการสกัดประชานิยม
ส่วนกรณีที่กรรมการยกร่างรธน. มีการหารือเกี่ยวกับการยับยั้งความเสียหายเกี่ยวกับโครงการประชานิยม นายมีชัย กล่าวว่า ไม่ได้มีการตั้งองค์กรใหม่ เพียงแต่จะระมัดระวัง ไม่ให้ทำสิ่งที่จะเกิดความเสียหาย ไม่ใช่สกัดประชานิยม แต่สกัดการสร้างความเสียหาย แต่ยังคิดกลไกไม่ออก
หาข้อดีร่างเก่ายกร่างใหม่-ปัดคปป.ครอบงำรบ.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องรัฐธรรมนูญ ว่า ตนทราบดีว่าทุกคนเป็นห่วง ส่วนสนช. ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อส่งต่อกฎหมาย อะไรที่ตนทำได้ ก็จะทำตอนนี้ โดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ ส่วนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ต้องเอากฎหมายเก่าๆ ขึ้นมาดูว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร กฏหมายข้อไหนที่ยอมรับกันได้ก็นำมาใส่ในฉบับใหม่ รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ แล้วดูว่าข้อไหนจะต้องเพิ่มเติม หรือเพื่อที่จะให้มีกลไกในการปฎิรูปที่ยั่งยืน เพราะหากไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย ก็ไม่มีการปฎิรูปเกิดขึ้น เราต้องเขียนรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยสากลอยู่ดี
“ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องไปห่วงเรื่อง คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฎิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ผมบอกตั้งหลายครั้งแล้วว่า คปป.ทำหน้าที่อะไร มันก็เป็นเพียงร่มๆหนึ่งเท่านั้นเอง ที่เขาเสนอมาเรื่องยุทธศาสตร์ ซึ่งผมก็ฟังมาจากสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้วก็มาคิดว่าเชื่อมกันอย่างไร ผมยืนยันว่าไม่เคยคิดจะไปครอบงำใคร หรือไปครอบงำรัฐบาลต่อไป เพราะผมไม่คิดว่าผมทำอะไรผิด ในการบริหารราชการแผ่นดินเวลานี้ เพียงแต่ต้องการให้ประเทศเดินได้ ” นายกฯกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คปป.จะเป็นใครก็ได้ ที่มี 3 ขาประกอบกัน คือ ปฎิรูป ปรองดอง และลดความขัดแย้ง
เมื่อถามว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติครั้งนี้จะทำอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “หากไม่ผ่านก็ต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ผ่าน ผมก็ไม่อยากอยู่ตรงนี้หรอก บอกจริงๆเลยว่าไม่ได้อยากอยู่ เพราะปัญหามันเยอะเหลือเกิน” เมื่อถามย้ำว่ามีการประเมินหรือไม่ว่าปัจจัยใดที่อาจทำให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก็ทำประชามติไงเล่า ทำประชามติหรือเปล่าหล่ะ ถ้าทำก็จบ ถามว่าสปท.เขาลงมติหรือเปล่าก็ไม่ต้องลง เพราะไม่เกี่ยวกัน”นายกรัฐมนตรี กล่าว