วานนี้ (13ต.ค.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต รมว.ต่างประเทศ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้สรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คนใหม่ หลังจาก สำนักงานตรวจแผ่นดิน (สตง.) ส่งหนังสือให้สนช. ดำเนินการต่อสถานภาพของ นายภักดี โพธิศิริ ที่ไม่ได้เป็นกรรมการป.ป.ช. มาตั้งแต่ วันที่ 22 กันยายน 2549
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ทางสตง.ได้ทำหนังสือถึงประธานสนช. โดยแจ้งผลการตรวจสอบว่า นายภักดี ไม่ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีวัตถุ จำกัด ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป.ป.ช. ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 19 และได้ส่งเรื่องให้สนช. พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งการที่ สตง.ได้ชี้มูลว่า นายภักดี ไม่เคยได้รับเลือกเป็นกรรมการป.ป.ช. ตั้งแต่ต้น เนื่องจากไม่ได้ลาจากการเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าว ภายใน 15 วัน ตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ. 2542
ดังนั้น นายภักดี จึงไม่มีสถานะเป็นกรรมการป.ป.ช. ตั้งแต่ต้น และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งสนช.ในฐานะที่ทำหน้าวุฒิสภา ที่ให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งเป็นประธานป.ป.ช. จึงต้องดำเนินการให้มีการสรรหาป.ป.ช.คนใหม่ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. ตามมาตรา 7 ต่อไปด้วย
ด้านนายพรเพชร กล่าวว่า จะรับเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการตาม มาตรา 16 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช.ที่ให้สมาชิกสนช. เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ยื่นเรื่องให้ประธานสนช. เพื่อบรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุม เพื่อให้ดำเนินการตามกฏหมายต่อไป ซึ่งตนมีหน้าที่เพียงแจ้งให้สมาชิกทราบเท่านั้น หากสมาชิกเห็นด้วย ก็สามารถมาเข้าชื่อเสนอมา จากนั้นก็จะดำเนินการ เพราะมิเช่นนั้นจะถูกกล่าวหาว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งคงไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ เพราะอาจถูกกล่าวหาว่า จูงใจว่าไม่เป็นกลางได้
ขณะที่นายสุรพงษ์ ได้กล่าวโต้แย้งคำชี้แจงของนายพรเพชร ว่า ตามมาตรา 16 ใช้ในกรณีที่นายภักดี เป็นกรรมการป.ป.ช. แต่ สตง.ได้ตรวจสอบ และชี้มูลว่าไม่เป็นกรรมการป.ป.ช. มาตั้งแต่ต้น ดังนั้นจะต้องดำเนินการตาม มาตรา 7 ของกฏหมายป.ป.ช. ซึ่งนายพรเพชร กล่าวว่า คุณสมบัติของ นายภักดี ทางสนช.ได้มีการตั้งคำถามไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในสำนวนคดีถอดถอน ซึ่ง ป.ป.ช.ยืนยันว่า นายภักดี มีคุณสมบัติครบ ทางสนช.จึงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ อีกทั้ง สมาชิกสนช. ก็ไม่เข้าชื่อร้องขอตาม มาตรา 16 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ตนจะขอรับไปดูข้อกฏหมายว่า จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ทางสตง.ได้ทำหนังสือถึงประธานสนช. โดยแจ้งผลการตรวจสอบว่า นายภักดี ไม่ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการองค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีวัตถุ จำกัด ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป.ป.ช. ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 19 และได้ส่งเรื่องให้สนช. พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งการที่ สตง.ได้ชี้มูลว่า นายภักดี ไม่เคยได้รับเลือกเป็นกรรมการป.ป.ช. ตั้งแต่ต้น เนื่องจากไม่ได้ลาจากการเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าว ภายใน 15 วัน ตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ. 2542
ดังนั้น นายภักดี จึงไม่มีสถานะเป็นกรรมการป.ป.ช. ตั้งแต่ต้น และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งสนช.ในฐานะที่ทำหน้าวุฒิสภา ที่ให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งเป็นประธานป.ป.ช. จึงต้องดำเนินการให้มีการสรรหาป.ป.ช.คนใหม่ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. ตามมาตรา 7 ต่อไปด้วย
ด้านนายพรเพชร กล่าวว่า จะรับเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการตาม มาตรา 16 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช.ที่ให้สมาชิกสนช. เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ยื่นเรื่องให้ประธานสนช. เพื่อบรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุม เพื่อให้ดำเนินการตามกฏหมายต่อไป ซึ่งตนมีหน้าที่เพียงแจ้งให้สมาชิกทราบเท่านั้น หากสมาชิกเห็นด้วย ก็สามารถมาเข้าชื่อเสนอมา จากนั้นก็จะดำเนินการ เพราะมิเช่นนั้นจะถูกกล่าวหาว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งคงไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ เพราะอาจถูกกล่าวหาว่า จูงใจว่าไม่เป็นกลางได้
ขณะที่นายสุรพงษ์ ได้กล่าวโต้แย้งคำชี้แจงของนายพรเพชร ว่า ตามมาตรา 16 ใช้ในกรณีที่นายภักดี เป็นกรรมการป.ป.ช. แต่ สตง.ได้ตรวจสอบ และชี้มูลว่าไม่เป็นกรรมการป.ป.ช. มาตั้งแต่ต้น ดังนั้นจะต้องดำเนินการตาม มาตรา 7 ของกฏหมายป.ป.ช. ซึ่งนายพรเพชร กล่าวว่า คุณสมบัติของ นายภักดี ทางสนช.ได้มีการตั้งคำถามไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในสำนวนคดีถอดถอน ซึ่ง ป.ป.ช.ยืนยันว่า นายภักดี มีคุณสมบัติครบ ทางสนช.จึงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ อีกทั้ง สมาชิกสนช. ก็ไม่เข้าชื่อร้องขอตาม มาตรา 16 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ตนจะขอรับไปดูข้อกฏหมายว่า จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง