โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
รู้สึกเบื่อ...เบื่อๆๆๆๆๆๆๆๆ.....พอเห็นของใหม่ก็ “ระริกระรี้” ตื่นเต้นดีใจจนระงับกิริยาท่าทางไม่อยู่
มันก็แค่ของเก่าในรูปแบบใหม่ ดั่งสำนวนที่ว่า... “เหล้าเก่าในขวดใหม่” เนื้อหาสาระไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้จะตกแต่งรูปลักษณ์ใหม่ไฉไลอย่างไร เฉกเช่น “ประชานิยม” มาเป็น “ประชารัฐ” ประมาณนั้น เป็นต้น
ไม่ว่าคุณจะเป็นรัฐบาลอะไร มาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากปฏิวัติรัฐประหาร มันก็เผด็จการด้วยกันทั้งนั้นแหละ ความสำคัญอยู่ตรงที่...คุณเผด็จการเพื่อใคร...เพื่อคุณ วงศาคณาญาติคุณ พวกพ้องคุณ หรือเพื่อส่วนรวมสังคมประเทศชาติ
เผด็จการคือการใช้อำนาจบริหารเด็ดขาด โดยไม่ฟังเสียงผู้อื่น“Dictatorship) ถ้าคุณจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน คุณยังจะฟังเสียงพวกขี้โกงอยู่อีกหรือ หรือมิใช่แค่ฟังเสียงเท่านั้น ยังเอาพวกขี้โกงเข้ามาร่วมบริหารบ้านเมืองอีกด้วย แล้วอย่างนี้อะไรจะเกิดขึ้น...
สมานฉันท์หรือปรองดองหรือ...เปล่าเลย! มีแต่จะเละตุ้มเป๊ะ เลอะเทอะเปรอะปนกันไปหมด ไม่รู้ตรงไหนสาระ ตรงไหนอสาระ ไม่รู้ตรงไหนดี ตรงไหนชั่ว ตรงไหนสุจริต ตรงไหนทุจริต ฯลฯ แล้ววิกฤตศรัทธาก็จะตามมา
ด้วยเหตุดังนี้แล อารมณ์รู้สึกเบื่อจึงเกิดขึ้น และระบาดไปทั่วยากที่จะหาหยูกยาและหมอรักษา
รัตน์สัจธรรม
คำว่า “รัตน์” หมายถึง แก้ว หากใช้โดยเปรียบเทียบก็หมายถึง คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง เป็นยอดในพวกนั้นๆ เช่น รัตนกวี รัตนตรัย เป็นต้น
รัตนตรัยหรือรัตนะ 3 คือแก้ว 3 ดวง คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐหรือสิ่งล้ำค่า เป็นหลักที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน
พระพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เอง และสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลักความจริง และหลักความประพฤติ
พระสงฆ์ หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
รัตนะ 3 เรียกอีกอย่างว่า สรณะ 3 อันเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ก็คือพระรัตนตรัยนั่นเอง
การน้อมใจระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยนั้น เข้าใจความหมายอย่างถูกต้อง และยึดถือเป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติ หรือเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต โดยยั้งใจจากอกุศล และนำจิตเข้าสู่กุศล เรียกว่า สรณคมน์ หรือไตรสรณคมน์
การมอง “รัตน์” ในมิติเดียว เพียงแก้วธรรมดา ก็จะเห็นแค่ภาชนะรองรับสิ่งต่างๆ เท่านั้น หากมองในมิติอันหลากหลายจากแก้วธรรมดา ก็จะไม่ใช่แก้วธรรมดา เป็นแก้วอันประเสริฐเลิศล้ำ เป็นธรรมที่พึ่งพาของตนเอง และสังคมประเทศชาติได้
คำว่า “สัจธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นจริงอย่างนั้น
จริงอย่างนั้น คือจริงอย่างไร?
ความจริงหรือสัจจะมี 2 อย่าง...
1. สมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมติ ความจริงที่ขึ้นต่อการยอมรับของคน ความจริงที่ถือตามความกำหนดตกลงกันไว้ของชาวโลก เช่น คน สัตว์ โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น
2. ปรมัตถสัจจะ คือความจริงโดยปรมัตถ์ ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน หรือความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะ และเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่น รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น
ปรมัตถ์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง หรือความจริงอันเป็นที่สุด ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้
ปรมัตถธรรม คือสภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ หรือสิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นพระอรหันต์ ได้แก่...
1. จิต คือสภาพที่คิด หรือภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์
2. เจตสิก คือสภาวะที่ประกอบกับจิต หรือคุณสมบัติและอาการของจิต
3. รูป คือสภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ
4. นิพพาน คือสภาวะที่สิ้นกิเลส และทุกข์ทั้งปวง หรือสภาวะที่ปราศจากตัณหา
สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ คือสองด้านของชีวิตเหมือนสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน
“รัตน์” กับ “สัจธรรม” แม้จะดูต่างกัน แต่ก็เป็นอันเดียวกัน
สิ่งทั้งมวลล้วนเป็นดั่งกันและกัน ภายใต้กฎธรรมชาติอันเดียวกันคือ “หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง”
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า... “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม”
คำว่า “เห็นธรรม” ก็คือเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
เห็นสรรพสิ่ง ตามที่มันเป็น ก็คือ เห็นสมมติสัจจะ และเห็นปรมัตถสัจจะ
“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส”
“ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ”
“ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ ฉันใด พระพุทธเจ้า ทรงเกิดในโลก และอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลกเหมือนบัวไม่ติดน้ำ ฉันนั้น”
โลกเราทุกวันนี้ มีแต่ปัญหา มีแต่ความทุกข์ นับวันจะทวีคูณยิ่งขึ้น เพราะพวกเราไม่ทำหน้าที่เต็มที่ ตามสมมติสัจจะ บางคนนอกจากไม่ทำแล้ว ยังเอาความจริงด้านปรมัตถ์ เช่น “ตถตา เช่นนั้นเอง” เป็นต้น มากล่าวอ้างสนับสนุนความไม่มีกึ๋นของตัวเองเข้าไปอีก
สมมติและปรมัตถ์ คือสองด้านของชีวิต สมมติเปรียบเสมือนร่างกาย ถ้าทำผิดก็ต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย เพื่อจะได้หยุดความคิด และมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนทั่วไป ปรมัตถ์ก็เปรียบเสมือนจิตใจ ไม่ว่าจะทำผิดหรือทำถูก ก็มองทะลุทุกปัญหา... “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี”...หมายความว่า เพราะมีเหตุปัจจัยอย่างนี้ จึงมีผลอย่างนี้ เพราะคุณขี้โกงมาโดยตลอด (เหตุ) คุณจึงต้องติดคุก (ผล) เป็นธรรมดา... “ทำสิ่งใด ได้สิ่งนั้น” ตถตา เช่นนั้นเอง
ดังนั้น พึงพิจารณาตนเองเนืองๆ ว่า...เราอยู่ในโลก (สมมติสัจจะ) แต่ไม่ติดโลก (ปรมัตถสัจจะ) เหมือนบัวไม่ติดน้ำกันเถิด จะได้ไม่เสียชาติเกิด ที่เกิดมาเป็นคน
จิตนำทุกอย่าง
“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย มีใจนำหน้า” พุทธพจน์บทนี้ ตอบโจทย์ได้หมด ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต
“ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง
ใจเป็นใหญ่
ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนเรามีใจชั่วเสียแล้ว
การพูด การกระทำ ก็พลอยชั่วไปด้วย
เพราะการพูดชั่ว ทำชั่วนั้น
ทุกข์ย่อมตามสนองเขา
เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโค”
“ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง
ใจเป็นใหญ่
ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์
การพูด การกระทำ ก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย
เพราะการพูด และการกระทำอันบริสุทธิ์นั้น
ความสุขย่อมตามสนองเขา
เหมือนเงาติดตามตน”
พุทธวจนะ 2 บทนี้ คือของดีที่มีอยู่กับตัวเรา ที่เราทุกข์ก็อยู่ที่นี่ ที่เราสุขก็อยู่ที่นี่ ไม่อยากทุกข์ก็อยู่ที่นี่ อยากสุขก็อยู่ที่นี่ แต่เราไม่สนใจของดีที่มีอยู่กับตัว กลับไปสนใจสิ่งภายนอก ตามกระแสหลอกลวงมายา ในที่สุดก็ตกเป็นเหยื่อ ตกเป็นทาสตลอดไป
โถ...เพื่อนมนุษย์เอ๋ย...ทำไมโง่บริสุทธิ์เต็มร้อยอย่างนี้หนอ?
ทุกสิ่งคือว่าง
มักมีคำถามว่า...ทำไมชอบพูดชอบเขียนเกี่ยวกับความว่างอยู่บ่อยๆ...ตอบไปว่า...เพราะความว่างหรือสุญญตานี้ เป็นหัวใจของทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา
หัวใจของพุทธศาสนา หรือจุดสูงสุด คือ “นิพพาน” และนิพพานนี้แหละ คือความว่างอย่างยิ่ง “นิพฺพานํ ปรมํ สุญญํ นิพพานคือว่างอย่างยิ่ง”
และอีกคำถามหนึ่ง ถามบ่อยเหมือนกันคือ... “เครื่องอยู่ หรือการเป็นอยู่ที่ดีเลิศ คืออะไร” ตอบว่า... “สุญญตาวิหารธรรม” การเป็นอยู่ด้วยความว่าง คือด้วยจิตที่ว่างจากอุปทานตลอดเวลา นอกจากเผลอ พอรู้สึกตัว ก็กลับมาว่างอีก สืบเนื่องกันไป
“สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” ประโยคสั้นๆ นี้ลึกซึ้งเกินกว่าผู้ตื้นเขินจะเข้าใจได้
ฟังท่านผู้รู้อย่าง...ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ อรรถาธิบายดีกว่า คงจะเข้าใจได้ไม่ยากนัก
...สุญญตา แปลว่า ความว่าง คือความที่มีจิตว่างจากการยึดถือสิ่งใดๆ ว่าเป็นตัวเราหรือของเรา สิ่งต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่ตามเดิม ไม่ไปไหนเสีย แต่เมื่อจิตไม่ไปยึดมั่นสิ่งเหล่านั้น ว่าตัวเรา ว่าของเรา แล้วสิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นความว่าง คือมันไม่ทำอันตรายแก่จิตใจของเราเลย มันเท่ากับไม่มี
เมื่อจิตใจนี้ ไม่ได้ยึดสิ่งใดไว้ ไม่ได้ถือสิ่งใดไว้ ไม่ได้กุมสิ่งใดไว้ มันก็เป็นจิตใจที่ว่างเหมือนกับมือที่กำลังว่าง ที่ไม่ได้ไปฉวยยึดสิ่งใดไว้ มันก็สบาย มันไม่ต้องหิ้วอะไรไว้ให้หนัก
ในเรื่องอย่างนี้ คนเดี๋ยวนี้ฟังไม่เข้าใจ เพราะไปแปลคำว่าความว่างผิดไป แปล สุญญตา ว่าสูญ คนก็เลยเสียดาย ว่ามันจะสูญเปล่า จึงไม่อยากจะว่าง ก็เลยได้เป็นทุกข์ ตกนรกทั้งเป็น สมน้ำหน้าของคนจำพวกนี้ที่ไม่รู้เรื่องของพระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่เอาใจใส่ที่จะรู้ หรือจะเข้าใจให้ถูกต้อง พลอยพูดผิดๆ พลอยกระทำผิดๆ ไปตามๆ กัน จนคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานี้กลายเป็นหมัน ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ผู้ใด ในลักษณะเช่นนี้ ในสถานการณ์เช่นนี้
สุญญตา แปลว่าว่าง ว่างจากอะไร ว่างจากตัวตนหรือของตน นอกจากนั้นมีได้หมด อะไรๆ ไม่ถือว่าเป็นตัวฉันและของฉัน ตัวกูและของกู ก็แล้วกัน
...(พจนมานุกรมธรรม ของท่านพุทธทาส พร้อมคำอธิบายขยายศัพท์ ธรรมสภา จัดพิมพ์เผยแพร่)
สุญญตา คือว่างจากตัวตน หรือของตน อันนี้เป็นมิติปรมัตถสัจจะ นอกจากนั้นมีได้หมด อันนี้เป็นมิติสมมติสัจจะ
“มีแต่ไม่มี” หรือ “ไม่มีแต่มี”... “มีแต่ว่าง” หรือ “ว่างแต่มี” อะไรประมาณนั้น
ท่านโพธิธรรม พระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 ของอินเดีย และองค์ที่ 1 ของจีน ท่านสอนว่า...
“จิตนี้คือพุทธะ ฉันไม่ได้พูดถึงการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดแบบฤาษี เช่น การลุยน้ำลุยไฟ เหยียบหนาม เหยียบมีด ทานวันละมื้อ หรือไม่นอนเลย การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ เป็นคำสอนที่สร้างภาพลักษณ์ชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อใดท่านรู้จักและเข้าใจการเคลื่อนไหวของตนเอง รู้จักธรรมชาติของการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ จิตของท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์”
...(โพธิธรรมคำสอน ปรมาจารย์ตั๊กม้อ, พุทธยานันทภิกขุ, สนพ.Mind Publishing)
“จิต พุทธ ธรรม” สามคำเป็นหนึ่งเดียวกันคือ “สุญญตา” หรือ “ความว่าง” นั่นเอง
สว่างนิรันดร์
หนังสือ “อมฤตพจนา” โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นอีกเล่มหนึ่งที่อ่านบ่อยและใช้บ่อย เป็นพุทธศาสนสุภาษิตที่ทรงคุณค่า ขอยกมาเป็นตัวอย่างสักเล็กน้อย...
ปัญญา เป็นดวงชวาลาในโลก
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน
ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด
ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์
ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว
ราคะ โทสะ ความมัวเมาและโมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั่น
เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นได้ ฉันนั้น
คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย
ปัญญารู้ได้ด้วยการสนทนา
รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา
ปัญญาไม่มี แก่ผู้ไม่พินิจ
ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา
จะมองเห็นอรรถชัดแจ้งด้วยปัญญา
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
ฯลฯ
ถ้าเรามีผู้นำที่มีปัญญาตั้งแต่ระดับต่ำสุด ผู้ใหญ่บ้านจนถึงระดับสูงสุด นายกรัฐมนตรี ประชาชนก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ปลอดหนี้ ปลอดอบายมุข อยู่อย่างพอเพียง พึ่งตนเองได้ ประเทศชาติก็จะโชติช่วงชัชวาล มีธรรมาธิปไตย ปลอดการทุจริตคอร์รัปชัน ปลอดการลูบหน้าปะจมูก ทำงานทำหน้าที่ตรงไปตรงมา ถนนทุกสายอาจปูด้วยทองคำ
เนื่องเพราะ...
พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว-ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน (มอตโต-มมส)
“รัตน์สัจธรรม
จิตนำทุกอย่าง
ทุกสิ่งคือว่าง
สว่างนิรันดร์”
โอ...อมิตาพุทธ สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด หรือนิรันดร์นั่นแล
รู้สึกเบื่อ...เบื่อๆๆๆๆๆๆๆๆ.....พอเห็นของใหม่ก็ “ระริกระรี้” ตื่นเต้นดีใจจนระงับกิริยาท่าทางไม่อยู่
มันก็แค่ของเก่าในรูปแบบใหม่ ดั่งสำนวนที่ว่า... “เหล้าเก่าในขวดใหม่” เนื้อหาสาระไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้จะตกแต่งรูปลักษณ์ใหม่ไฉไลอย่างไร เฉกเช่น “ประชานิยม” มาเป็น “ประชารัฐ” ประมาณนั้น เป็นต้น
ไม่ว่าคุณจะเป็นรัฐบาลอะไร มาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากปฏิวัติรัฐประหาร มันก็เผด็จการด้วยกันทั้งนั้นแหละ ความสำคัญอยู่ตรงที่...คุณเผด็จการเพื่อใคร...เพื่อคุณ วงศาคณาญาติคุณ พวกพ้องคุณ หรือเพื่อส่วนรวมสังคมประเทศชาติ
เผด็จการคือการใช้อำนาจบริหารเด็ดขาด โดยไม่ฟังเสียงผู้อื่น“Dictatorship) ถ้าคุณจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน คุณยังจะฟังเสียงพวกขี้โกงอยู่อีกหรือ หรือมิใช่แค่ฟังเสียงเท่านั้น ยังเอาพวกขี้โกงเข้ามาร่วมบริหารบ้านเมืองอีกด้วย แล้วอย่างนี้อะไรจะเกิดขึ้น...
สมานฉันท์หรือปรองดองหรือ...เปล่าเลย! มีแต่จะเละตุ้มเป๊ะ เลอะเทอะเปรอะปนกันไปหมด ไม่รู้ตรงไหนสาระ ตรงไหนอสาระ ไม่รู้ตรงไหนดี ตรงไหนชั่ว ตรงไหนสุจริต ตรงไหนทุจริต ฯลฯ แล้ววิกฤตศรัทธาก็จะตามมา
ด้วยเหตุดังนี้แล อารมณ์รู้สึกเบื่อจึงเกิดขึ้น และระบาดไปทั่วยากที่จะหาหยูกยาและหมอรักษา
รัตน์สัจธรรม
คำว่า “รัตน์” หมายถึง แก้ว หากใช้โดยเปรียบเทียบก็หมายถึง คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง เป็นยอดในพวกนั้นๆ เช่น รัตนกวี รัตนตรัย เป็นต้น
รัตนตรัยหรือรัตนะ 3 คือแก้ว 3 ดวง คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐหรือสิ่งล้ำค่า เป็นหลักที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน
พระพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เอง และสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลักความจริง และหลักความประพฤติ
พระสงฆ์ หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
รัตนะ 3 เรียกอีกอย่างว่า สรณะ 3 อันเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ก็คือพระรัตนตรัยนั่นเอง
การน้อมใจระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยนั้น เข้าใจความหมายอย่างถูกต้อง และยึดถือเป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติ หรือเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต โดยยั้งใจจากอกุศล และนำจิตเข้าสู่กุศล เรียกว่า สรณคมน์ หรือไตรสรณคมน์
การมอง “รัตน์” ในมิติเดียว เพียงแก้วธรรมดา ก็จะเห็นแค่ภาชนะรองรับสิ่งต่างๆ เท่านั้น หากมองในมิติอันหลากหลายจากแก้วธรรมดา ก็จะไม่ใช่แก้วธรรมดา เป็นแก้วอันประเสริฐเลิศล้ำ เป็นธรรมที่พึ่งพาของตนเอง และสังคมประเทศชาติได้
คำว่า “สัจธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นจริงอย่างนั้น
จริงอย่างนั้น คือจริงอย่างไร?
ความจริงหรือสัจจะมี 2 อย่าง...
1. สมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมติ ความจริงที่ขึ้นต่อการยอมรับของคน ความจริงที่ถือตามความกำหนดตกลงกันไว้ของชาวโลก เช่น คน สัตว์ โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น
2. ปรมัตถสัจจะ คือความจริงโดยปรมัตถ์ ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน หรือความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะ และเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่น รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น
ปรมัตถ์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง หรือความจริงอันเป็นที่สุด ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้
ปรมัตถธรรม คือสภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ หรือสิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นพระอรหันต์ ได้แก่...
1. จิต คือสภาพที่คิด หรือภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์
2. เจตสิก คือสภาวะที่ประกอบกับจิต หรือคุณสมบัติและอาการของจิต
3. รูป คือสภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ
4. นิพพาน คือสภาวะที่สิ้นกิเลส และทุกข์ทั้งปวง หรือสภาวะที่ปราศจากตัณหา
สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ คือสองด้านของชีวิตเหมือนสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน
“รัตน์” กับ “สัจธรรม” แม้จะดูต่างกัน แต่ก็เป็นอันเดียวกัน
สิ่งทั้งมวลล้วนเป็นดั่งกันและกัน ภายใต้กฎธรรมชาติอันเดียวกันคือ “หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง”
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า... “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม”
คำว่า “เห็นธรรม” ก็คือเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
เห็นสรรพสิ่ง ตามที่มันเป็น ก็คือ เห็นสมมติสัจจะ และเห็นปรมัตถสัจจะ
“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส”
“ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ”
“ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ ฉันใด พระพุทธเจ้า ทรงเกิดในโลก และอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลกเหมือนบัวไม่ติดน้ำ ฉันนั้น”
โลกเราทุกวันนี้ มีแต่ปัญหา มีแต่ความทุกข์ นับวันจะทวีคูณยิ่งขึ้น เพราะพวกเราไม่ทำหน้าที่เต็มที่ ตามสมมติสัจจะ บางคนนอกจากไม่ทำแล้ว ยังเอาความจริงด้านปรมัตถ์ เช่น “ตถตา เช่นนั้นเอง” เป็นต้น มากล่าวอ้างสนับสนุนความไม่มีกึ๋นของตัวเองเข้าไปอีก
สมมติและปรมัตถ์ คือสองด้านของชีวิต สมมติเปรียบเสมือนร่างกาย ถ้าทำผิดก็ต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย เพื่อจะได้หยุดความคิด และมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนทั่วไป ปรมัตถ์ก็เปรียบเสมือนจิตใจ ไม่ว่าจะทำผิดหรือทำถูก ก็มองทะลุทุกปัญหา... “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี”...หมายความว่า เพราะมีเหตุปัจจัยอย่างนี้ จึงมีผลอย่างนี้ เพราะคุณขี้โกงมาโดยตลอด (เหตุ) คุณจึงต้องติดคุก (ผล) เป็นธรรมดา... “ทำสิ่งใด ได้สิ่งนั้น” ตถตา เช่นนั้นเอง
ดังนั้น พึงพิจารณาตนเองเนืองๆ ว่า...เราอยู่ในโลก (สมมติสัจจะ) แต่ไม่ติดโลก (ปรมัตถสัจจะ) เหมือนบัวไม่ติดน้ำกันเถิด จะได้ไม่เสียชาติเกิด ที่เกิดมาเป็นคน
จิตนำทุกอย่าง
“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย มีใจนำหน้า” พุทธพจน์บทนี้ ตอบโจทย์ได้หมด ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต
“ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง
ใจเป็นใหญ่
ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนเรามีใจชั่วเสียแล้ว
การพูด การกระทำ ก็พลอยชั่วไปด้วย
เพราะการพูดชั่ว ทำชั่วนั้น
ทุกข์ย่อมตามสนองเขา
เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโค”
“ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง
ใจเป็นใหญ่
ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์
การพูด การกระทำ ก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย
เพราะการพูด และการกระทำอันบริสุทธิ์นั้น
ความสุขย่อมตามสนองเขา
เหมือนเงาติดตามตน”
พุทธวจนะ 2 บทนี้ คือของดีที่มีอยู่กับตัวเรา ที่เราทุกข์ก็อยู่ที่นี่ ที่เราสุขก็อยู่ที่นี่ ไม่อยากทุกข์ก็อยู่ที่นี่ อยากสุขก็อยู่ที่นี่ แต่เราไม่สนใจของดีที่มีอยู่กับตัว กลับไปสนใจสิ่งภายนอก ตามกระแสหลอกลวงมายา ในที่สุดก็ตกเป็นเหยื่อ ตกเป็นทาสตลอดไป
โถ...เพื่อนมนุษย์เอ๋ย...ทำไมโง่บริสุทธิ์เต็มร้อยอย่างนี้หนอ?
ทุกสิ่งคือว่าง
มักมีคำถามว่า...ทำไมชอบพูดชอบเขียนเกี่ยวกับความว่างอยู่บ่อยๆ...ตอบไปว่า...เพราะความว่างหรือสุญญตานี้ เป็นหัวใจของทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา
หัวใจของพุทธศาสนา หรือจุดสูงสุด คือ “นิพพาน” และนิพพานนี้แหละ คือความว่างอย่างยิ่ง “นิพฺพานํ ปรมํ สุญญํ นิพพานคือว่างอย่างยิ่ง”
และอีกคำถามหนึ่ง ถามบ่อยเหมือนกันคือ... “เครื่องอยู่ หรือการเป็นอยู่ที่ดีเลิศ คืออะไร” ตอบว่า... “สุญญตาวิหารธรรม” การเป็นอยู่ด้วยความว่าง คือด้วยจิตที่ว่างจากอุปทานตลอดเวลา นอกจากเผลอ พอรู้สึกตัว ก็กลับมาว่างอีก สืบเนื่องกันไป
“สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” ประโยคสั้นๆ นี้ลึกซึ้งเกินกว่าผู้ตื้นเขินจะเข้าใจได้
ฟังท่านผู้รู้อย่าง...ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ อรรถาธิบายดีกว่า คงจะเข้าใจได้ไม่ยากนัก
...สุญญตา แปลว่า ความว่าง คือความที่มีจิตว่างจากการยึดถือสิ่งใดๆ ว่าเป็นตัวเราหรือของเรา สิ่งต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่ตามเดิม ไม่ไปไหนเสีย แต่เมื่อจิตไม่ไปยึดมั่นสิ่งเหล่านั้น ว่าตัวเรา ว่าของเรา แล้วสิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นความว่าง คือมันไม่ทำอันตรายแก่จิตใจของเราเลย มันเท่ากับไม่มี
เมื่อจิตใจนี้ ไม่ได้ยึดสิ่งใดไว้ ไม่ได้ถือสิ่งใดไว้ ไม่ได้กุมสิ่งใดไว้ มันก็เป็นจิตใจที่ว่างเหมือนกับมือที่กำลังว่าง ที่ไม่ได้ไปฉวยยึดสิ่งใดไว้ มันก็สบาย มันไม่ต้องหิ้วอะไรไว้ให้หนัก
ในเรื่องอย่างนี้ คนเดี๋ยวนี้ฟังไม่เข้าใจ เพราะไปแปลคำว่าความว่างผิดไป แปล สุญญตา ว่าสูญ คนก็เลยเสียดาย ว่ามันจะสูญเปล่า จึงไม่อยากจะว่าง ก็เลยได้เป็นทุกข์ ตกนรกทั้งเป็น สมน้ำหน้าของคนจำพวกนี้ที่ไม่รู้เรื่องของพระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่เอาใจใส่ที่จะรู้ หรือจะเข้าใจให้ถูกต้อง พลอยพูดผิดๆ พลอยกระทำผิดๆ ไปตามๆ กัน จนคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานี้กลายเป็นหมัน ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ผู้ใด ในลักษณะเช่นนี้ ในสถานการณ์เช่นนี้
สุญญตา แปลว่าว่าง ว่างจากอะไร ว่างจากตัวตนหรือของตน นอกจากนั้นมีได้หมด อะไรๆ ไม่ถือว่าเป็นตัวฉันและของฉัน ตัวกูและของกู ก็แล้วกัน
...(พจนมานุกรมธรรม ของท่านพุทธทาส พร้อมคำอธิบายขยายศัพท์ ธรรมสภา จัดพิมพ์เผยแพร่)
สุญญตา คือว่างจากตัวตน หรือของตน อันนี้เป็นมิติปรมัตถสัจจะ นอกจากนั้นมีได้หมด อันนี้เป็นมิติสมมติสัจจะ
“มีแต่ไม่มี” หรือ “ไม่มีแต่มี”... “มีแต่ว่าง” หรือ “ว่างแต่มี” อะไรประมาณนั้น
ท่านโพธิธรรม พระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 ของอินเดีย และองค์ที่ 1 ของจีน ท่านสอนว่า...
“จิตนี้คือพุทธะ ฉันไม่ได้พูดถึงการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดแบบฤาษี เช่น การลุยน้ำลุยไฟ เหยียบหนาม เหยียบมีด ทานวันละมื้อ หรือไม่นอนเลย การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ เป็นคำสอนที่สร้างภาพลักษณ์ชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อใดท่านรู้จักและเข้าใจการเคลื่อนไหวของตนเอง รู้จักธรรมชาติของการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ จิตของท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์”
...(โพธิธรรมคำสอน ปรมาจารย์ตั๊กม้อ, พุทธยานันทภิกขุ, สนพ.Mind Publishing)
“จิต พุทธ ธรรม” สามคำเป็นหนึ่งเดียวกันคือ “สุญญตา” หรือ “ความว่าง” นั่นเอง
สว่างนิรันดร์
หนังสือ “อมฤตพจนา” โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นอีกเล่มหนึ่งที่อ่านบ่อยและใช้บ่อย เป็นพุทธศาสนสุภาษิตที่ทรงคุณค่า ขอยกมาเป็นตัวอย่างสักเล็กน้อย...
ปัญญา เป็นดวงชวาลาในโลก
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน
ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด
ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์
ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว
ราคะ โทสะ ความมัวเมาและโมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั่น
เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นได้ ฉันนั้น
คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย
ปัญญารู้ได้ด้วยการสนทนา
รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา
ปัญญาไม่มี แก่ผู้ไม่พินิจ
ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา
จะมองเห็นอรรถชัดแจ้งด้วยปัญญา
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
ฯลฯ
ถ้าเรามีผู้นำที่มีปัญญาตั้งแต่ระดับต่ำสุด ผู้ใหญ่บ้านจนถึงระดับสูงสุด นายกรัฐมนตรี ประชาชนก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ปลอดหนี้ ปลอดอบายมุข อยู่อย่างพอเพียง พึ่งตนเองได้ ประเทศชาติก็จะโชติช่วงชัชวาล มีธรรมาธิปไตย ปลอดการทุจริตคอร์รัปชัน ปลอดการลูบหน้าปะจมูก ทำงานทำหน้าที่ตรงไปตรงมา ถนนทุกสายอาจปูด้วยทองคำ
เนื่องเพราะ...
พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว-ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน (มอตโต-มมส)
“รัตน์สัจธรรม
จิตนำทุกอย่าง
ทุกสิ่งคือว่าง
สว่างนิรันดร์”
โอ...อมิตาพุทธ สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด หรือนิรันดร์นั่นแล