โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
“อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ-ตนแลเป็นที่พึ่งของตน” พุทธภาษิตบทนี้ เรียบง่าย ลึกซึ้งถึงใจตลอดกาล คิดอะไรไม่ออก บอกอะไรไม่ถูก ก็อาศัยบทนี้แหละ เป็นยาดีที่มีอยู่กับตน ทุกคนทุกผู้นั่นแล
จะดีจะชั่ว
เรื่องดีเรื่องชั่ว เป็นสองด้านของชีวิต ในมิติสมมติก็ได้ มิติวิมุติก็ได้ เพราะมิติทั้งสองซ้อนทับกันอยู่ ถ้าดูเป็นก็เห็นธรรม
คุณครูสนธิ ลิ้มทองกุล สอนว่า...ใครมีสมมติอะไร ก็ทำสมมตินั้นให้ดีที่สุด (สอนทุกวันอาทิตย์ช่องนิวส์วัน)
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สอนว่า...สมมติกับวิมุติ ถ้าหากว่าเห็นชัดตามเป็นจริงของมันแล้ว ของเหล่านั้นไม่มีอะไรหรอก สมมติบัญญัติกันเฉยๆ นี่เอง ว่าตน ว่าตัว ว่าเขา ว่าเรา สมมติทั้งนั้น ถ้าไปเห็นสมมติบัญญัติแล้ว เราไม่ยึดถือก็เป็นวิมุติเท่านั้น
พุทธโอวาท คือประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่มีอยู่ 3 ข้อคือ...
1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. กุสลสฺสูปสมฺปทา คือทำแต่ความดี
3. สจิตฺตปริโยทปนํ คือทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
หลักใหญ่ 3 ข้อนี้เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ สอนกันอยู่ แต่ทำไม่ค่อยได้เพราะอะไร?
เพราะเราไม่รู้จักใจตนเอง การกระทำอะไรในชีวิตประจำวัน แทนที่จะทำให้ใจผ่องใสกลับทำให้ใจขุ่นมัว เลยมองไม่เห็นอะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร บางคนเป็นผู้นำที่มีใจขุ่นมัว การคิด การพูด การกระทำของเขาเลยกลายเป็นโจ๊กตลกขบขัน ขายขี้เท่ออย่างน่าอับอาย
จะคิดจะทำอะไร ก็จะเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง มองไม่เห็นประโยชน์ส่วนรวมของคนส่วนใหญ่ในชาติบ้านเมืองบ้างเลย
“เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็น หอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นได้ ฉันนั้น”
พุทธภาษิตบทนี้ คือกระจกเงาของเราเองที่ต้องส่องทุกวัน จะได้รู้จักตัวเองว่ากำลังเล่นบทไหน บทห่วงตัวเองและพวกพ้อง หรือบทห่วงส่วนรวมประเทศชาติ
“เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นลำดับต้น ประโยชน์ส่วนตนเป็นลำดับรอง”
คำคมนี้เป็นสิ่งดีสิ่งถูกต้อง-ถ้าทำได้ แต่ทุกวันนี้ ทำไม่ค่อยได้ เลยกลายเป็น “คำหรูชูป้าย” เท่านั้นเอง
คำคมนี้ทำได้สบาย ถ้าใจผ่องใส ใจบริสุทธิ์ คนเราจะใจบริสุทธิ์ได้ ก็ด้วยปัญญาเท่านั้น ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
การแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ รู้เท่ารู้ทันคนขี้โกงกินบ้านกินเมืองทั้งหลาย นั่นคือ ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องโลก ส่องคน ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองควรส่งเสริม จะได้ช่วยกันขจัดคนชั่วมิให้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง และสนับสนุนคนดีมาปกครองบ้านเมือง การปิดปากหูตาประชาชน จึงเป็นการดับปัญญา ดับแสงสว่างให้ประชาชนตกอยู่ในความมืดนั่นเอง
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ท่านสอนว่า...จงหมั่นขยันชำระล้างจิต ช่วงชีวิตหนึ่งจะได้สว่างไสวเก็บกวาดขยะทิ้งออกจากใจ อะไรไม่จำเป็นก็ปล่อยวาง
เพื่อความเข้าใจและเข้าถึงคำสอนนี้ ก็ควรเข้าใจคำว่า “จิต” เสียก่อน จึงจะชำระล้างจิตได้ถูกต้อง
จิตมีสองระดับ คือจิตแท้กับจิตเทียม จิตแท้ไม่ปรุงแต่ง จิตเทียมปรุงแต่ง จิตแท้เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงตลอดเวลา จิตเทียมเหมือนเมฆหมอกมาบดบังบางเวลา จิตแท้คือตื่นรู้ จิตเทียมคือหลับยืน
หลับยืน คือจิตคิด ตื่นรู้ คือจิตว่าง การรักษาจิต คือการดูจิต ก็ดูกันตรงนี้-เดี๋ยวนี้แหละ
ทำอย่างไรจิตเทียมจึงจะลดน้อยลง ไม่เกิดใหม่หรือหมดไป แสงสว่างแห่งจิตแท้จะได้ส่องแสงเต็มที่ ความจริงก็ส่องอยู่แล้ว เพียงแต่แสงผ่านมาไม่ได้ เพราะมีสิ่งกีดขวาง
ท่านโอโช คุรุชาวอินเดีย เป็นหนึ่งใน 1,000 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ว่าเป็นบุรุษสุดอันตราย หลังจากการมาของพระเยซู ท่านแบ่งจิตออกเป็น 4 ระดับ คือจิตสำนึก จิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกร่วม จิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล (จิตไร้สำนึกคือ ความคิดที่อยู่ภายในจิต ส่งผลพลังให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เจ้าตัวไม่อาจทราบได้)
ท่านอธิบายว่า...ฉันแตกต่างจากเธอ ในฐานะคนคนหนึ่ง เธอแตกต่างจากฉัน ในฐานะคนอีกคนหนึ่งนั้น เกิดขึ้นตราบเท่าที่อยู่ในระดับจิตสำนึก แต่ถ้าเข้าไปลึกอีกหน่อย เราล้วนไม่แตกต่างกันในระดับจิตไร้สำนึก ถ้ายังลึกเข้าไปอีก เราก็ยิ่งใกล้ชิดกัน ในระดับจิตไร้สำนึกร่วม
นักปฏิบัติทางจิตวิญญาณบอกว่า มียิ่งกว่าจิตไร้สำนึกร่วม พวกเราเรียกมันว่า จิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งที่ศูนย์กลาง เราล้วนผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรู้ยิ่งใหญ่ทั้งหมดมาจากศูนย์กลางนี้
คำถามมีเพียงว่า ใครจะมองไปในหนทางนั้นเท่านั้น แล้วเขาก็จะได้ความรู้นั้นเป็นคนแรก พูดอีกอย่างหนึ่ง ความรู้อาจจะเริ่มเกิดกับคนมากมาย แต่พวกเขาไม่ได้มองดูมัน พวกเขาจึงพลาดมันไป
พระโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) พระสังฆปรินายก องค์ที่ 28 ของอินเดีย และองค์ที่ 1 ของจีน กล่าวว่า...
จิตนี้คือพุทธะ ฉันไม่ได้พูดถึงการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดแบบฤาษี เช่น การลุยน้ำลุยไฟ เหยียบมีด เหยียบหนาม ทานวันละมื้อ หรือไม่นอนเลย การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ เป็นคำสอนที่สร้างภาพลักษณ์ชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อใดที่ท่านรู้จักและเข้าใจการเคลื่อนไหวของตนเอง รู้จักธรรมชาติของการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ จิตของท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ท่านเว่ยหล่าง (ฮุ่ยเล้ง) พระสังฆปรินายก องค์ที่ 6 ของจีน กล่าวว่า...
จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด และถ้าเราได้รู้จักใจของเราเอง และรู้แจ้งชัดว่า ตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้ว เราจะลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆ คน (ที่มีความรู้เช่นนั้น) ธรรมชาติที่แท้จริง (หรือจิตเดิมแท้) ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ครูบาฮวงโป (ตวนชิ) ผู้เป็นหลานศิษย์ของเว่ยหล่าง กล่าวว่า...
พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียงจิตหนึ่ง (One Mind) นอกจากจิตหนึ่งนี้แล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือบิดาแห่งพระกัมมัฏฐาน กล่าวว่า...
จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เลื่อมประภัสสร แจ้งสว่างมาเดิม แต่อาศัยอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นอาคันตุกะสัญจรมาปกคลุมหุ้มห่อ จึงทำให้จิตมิส่องแสงสว่างได้ ท่านเปรียบเทียบไว้ในบทกลอนหนึ่งว่า... “ไม้ชะงกหกพันง่า (กิ่ง) กะปอมก่า (กิ้งก่า) ขึ้นมื้อฮ้อย กะปอมน้อยขึ้นมื้อพัน ครั้นตามมาปทัน ขึ้นนำคู่มื้อๆ”
โชติช่วง นาดอน “นามปากกาอาจารย์ทองแถม นาถจำนง” จากหนังสือ มือกระบี่กวีเซน กล่าวว่า...
คนเราตื่นรู้เป็น “พุทธะ” กันได้ เพราะธรรมชาติของจิตที่บริสุทธิ์ยังมีอยู่ เพียงแต่มันถูก “ความรอบรู้” ครอบงำเสียจนยากแสนยากที่จะเปิดให้จิตเดิมแท้ประภัสสรออกมา
.....ฯลฯ.....
ท่านผู้รู้ต่างๆ ที่กล่าวมา คงจะเป็นกระจกเงาส่องความจริง ตามที่มันเป็น ผู้รู้เห็นความจริงของตนแล้ว ย่อมจะดูแลรักษา หรือพัฒนาตนให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ร่างกายดูแลด้วยอาหาร และการออกกำลังกาย จิตสำนึกดูแลด้วยจริยธรรม คือข้อธรรมที่ควรปฏิบัติ เช่น อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 เป็นต้น
จิตใต้สำนึก หรือจิตไร้สำนึก ดูแลด้วยสมาธิซึ่งมีมากมายหลายวิธี วิธีที่ (ผม) คิดว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งคือ “ดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิด”
... (ที่มา : ไพรัตน์ แย้มโกสุม, ธรรมะเบิกบาน (รวมบทความ 2557), หนังสือทำมือ)
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กล่าวไว้ว่า...
จิตสำนึกของมนุษย์นั้น มีข้อมูลบรรจุอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก เขาเปรียบจิตเป็นเสมือนภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมา ที่มีส่วนของจิตสำนึกโผล่ส่วนยอดพ้นน้ำขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ได้แยกจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับคือ คือ...ระดับจิตสำนึก จิตกึ่งสำนึก และจิตใต้สำนึก
โดยจิตสำนึกเป็นจิตในระดับที่รู้ตัว มีสติสัมปชัญญะ แสดงออกในยามตื่น
ส่วนจิตกึ่งสำนึก เป็นส่วนของจิตที่ถูกเก็บซ่อนไว้ไม่ให้แสดงออกมา เช่น หลงรักเพื่อนร่วมงาน แต่จำเป็นต้องเก็บความรู้สึกไว้ หรือเป็นประสบการณ์ชีวิตบางอย่างที่คิดว่าลืมไปแล้ว เช่น ไม่ได้พบเพื่อนเก่ามา 20 ปี เกิดบังเอิญเจอกันอีกครั้ง ก็นึกขึ้นได้ รวมไปถึงเรื่องราวอันขมขื่นในอดีตที่สามารถระลึกถึง
จิตสำนึกและจิตกึ่งสำนึก เก็บข้อมูลของชีวิตไว้เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 92 เปอร์เซ็นต์ ถูกเก็บไว้ในรูปจิตใต้สำนึก
จิตสำนึก (Conscious) คือจิตส่วนที่อยู่เหนือน้ำ เป็นส่วนที่ปรากฏต่อสังคม ถือเป็นเพียงเล็กน้อย
จิตกึ่งสำนึก (Preconscious) เหมือนส่วนที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นรากฐานของจิต เป็นส่วนที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ มีการเก็บกดเอาไว้อาจเป็นเพราะถูกบังคับ หรือไม่สามารถแสดงอาการโต้ตอบได้ในขณะนั้น ในที่สุดก็จะฝังแน่นเข้าไปจนเจ้าตัวลืมไปชั่วขณะ จะแสดงออกมาในลักษณะความฝันหรือการพลั้งเผลอ เช่น พลั้งปากเอ่ยชื่อคนรักเก่าต่อหน้าคนรักใหม่ เป็นต้น
... (ที่มา : ทพ.สม สุจีรา, เดอะท็อปพาวเวอร์ และเกิดเพราะกรรม หรือความซวย, สนพ.อมรินทร์ธรรมะ)
ถ้าเข้าใจเรื่องจิตดังที่กล่าวมา คำว่า “จะชั่ว” คงไม่มี คงมีแต่ “จะดี” และ “จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง” เท่านั้นแล
เพราะตัวทำเอง
“สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ-ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว”
“นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย-คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ ไม่ได้”
พุทธภาษิตนี้ สอนให้คนรู้จักตัวเอง และพึ่งตัวเองได้
อะไรต่างๆ นานาที่เกิดขึ้นกับตน อย่ามัวเสียเวลาไปโทษคนอื่นเลย ตัวเองทำให้ตัวเองทั้งนั้น คำว่า “ธรรมลิขิต” หรือ “กรรมลิขิต” หรือ “ตนลิขิต” จึงเป็นของแท้ เราเขียนชีวิตตัวเองได้ เราออกแบบตัวเองได้ บางคนยังมีความเชื่อเดิมๆ ว่าทุกชีวิตเป็นไปตาม “พรหมลิขิต” อย่าฝืนพรหมลิขิตเลย อย่าฝืนพระเจ้าลิขิตเลย
พิจารณาดูความเชื่อดังกล่าว อาจผิดก็ได้ อาจถูกก็ได้
ประเด็นอาจถูกก็ได้...ก็คือ พรหม หรือ พระเจ้า นั้น ไม่ใช่อะไรอื่น อย่างที่เคยเข้าใจกัน แต่เป็นจิตเดิมแท้ หรือจิตหนึ่ง หรือจิตบริสุทธิ์ หรือ...ฯลฯ ของเรานั่นเอง
ถ้าเรียนรู้เรื่องจิต จนเข้าใจและเข้าถึงก็โอเค หรือถึงบางอ้อในประเด็นดังกล่าว
คนเราส่วนมากชอบขอ โดยเฉพาะขอพร ให้มีให้เป็นนั่นนี่ สืบต่อกันมา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงนิพนธ์บทกลอนสอนคนให้รู้จักทำเอง เป็นตัวของตัวเอง ว่า...
“คิดดี พูดดี ทำดี
เป็นศรี เป็นพร สูงสุด
ไม่มี พรเทพ พรมนุษย์
เปรียบประดุจ ความดี ที่ทำเอง”
ความดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง ไม่ว่าอะไรๆ ก็ทำแทนกันไม่ได้ และความชั่วก็เช่นเดียวกัน คือ ทำเอง เป็นเองรับผลของกรรมเอง
จะโง่จะเก่ง
“โง่” หมายถึง เขลา เบาปัญญา ไม่มีความรู้ “เก่ง” หมายถึง มีความสามารถ เช่น เก่งวิชาฟิสิกส์ นั่นคือความหมายในพจนานุกรมฯ หากมองในแง่พุทธศาสนา “โง่” ก็คือ “อวิชชา” คือความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง “เก่ง” ก็คือ “วิชชา” คือความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ
มีใครกล้าปฏิเสธว่า พระพุทธเจ้าคือคนเก่ง
สำหรับผู้มีความคิดเห็นว่า คนเก่งมีสองอย่าง คือเก่งดี และเก่งชั่ว ก็ใช้ได้ ที่เน้นให้ชัดเจน แต่ผมเห็นว่า มันเปลืองถ้อยคำ
ท่านโพธิธรรม กล่าวว่า...อย่ายึดติดกับถ้อยคำ หากในหัวของท่าน ไม่มีถ้อยคำ ในความเงียบนั้นแหละ คือพระเจ้า คือความจริง คือนิพพาน
ท่านเตือน...อย่าเสียเวลากับถ้อยคำมากนัก มันก็แค่ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ฝันไปร้อยแปดพันเก้า เรื่องของจริงมีอยู่แล้วคือ “จิต” ดูมัน ดูเป็นก็เห็นธรรม เห็นธรรมก็คือเห็นตนเอง
“โง่” และ เก่ง” ผมมองแบบองค์รวมง่ายๆ ว่า “โง่คือชั่ว” และ “เก่งคือดี” มีชั่วกับดีเท่านั้น (หรือดำกับขาว สำหรับบางคน) ที่เราจะต้องจัดการ คือละชั่วและทำดีให้ได้ จิตจึงจะผ่องใส บริสุทธิ์ตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ท่านพ่อลี ธัมมธโร ท่านสอนว่า...คนโง่นั้น ต่อให้นั่งเฝ้าหลุมทองอยู่ ก็ไม่มีปัญญาทำให้เป็นอะไรได้ ส่วนคนฉลาดอยู่กับดินกับหญ้า เขาก็ทำให้เป็นเงินเป็นทองได้
คำสอนนี้มีตัวอย่างให้เห็นจะจะในแผ่นดินนี้มากมาย เด็กหนุ่มคนหนึ่งยากจน เริ่มต้นจากศูนย์ขายขนม หนังสือ และอื่นๆ ไม่กี่ปีกลายเป็นเศรษฐี เขาคิดทำอะไรขึ้นมา ขายดิบขายดี เพราะผู้ซื้อศรัทธาในตัวเขา เพราะความซื่อสัตย์ สินค้ามีคุณภาพ และมีน้ำใจต่อสังคม
เกิดเป็นคนอย่าให้เกิดวิกฤตศรัทธา โดยเฉพาะผู้นำเสื่อมศรัทธาเมื่อไหร่ เตรียมตอกฝาโลงได้เมื่อนั้น ใครทำให้คุณเสื่อม ไม่มีใครหรอก พระเจ้าไม่ได้ลงโทษคุณ ตัวคุณต่างหากที่ลงโทษตัวเอง
เด็กนักเรียนนักศึกษา อยากเก่ง อยากฉลาด อยากมีอนาคตสดใส นั่นคือความฝัน การที่จะไปให้ถึงความฝันนั้น ไม่ใช่นั่งรอ นอนรอ แต่คุณจะต้องทำที่นี่และเดี๋ยวนี้ คือทำปัจจุบันให้ดีที่สุด อนาคตก็จะดีไปเอง
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านสอนว่า...อนาคตจะดีหรือชั่วนั้น เป็นผลสืบทอดไปจากปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันปรับปรุงตัวไม่ดีแล้ว อนาคตจะไม่มีผลดีอะไรเกิดขึ้นเลย
พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านจะสอนทำนองนี้ คือสอนความจริง ตรงไปตรงมา ถ้าเป็นพระไม่ดี ไม่ชอบ จะสอนไปอีกอย่าง เช่น ทานมากก็จะได้บุญมาก ผู้โง่ทั้งหลายก็จะหลงอารมณ์พระ ตามกระแสแห่กันไป ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองก็วางเฉยตามสูตร ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ ไม่เอาธุระ ไม่ใส่ใจ ไม่ถือโทษ
ตัวเองทั้งนั้น
ขอย้ำพุทธภาษิตบ่อยๆ “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ-ตนแลเป็นที่พึ่งของตน”
ตนจะเป็นที่พึ่งได้ จะต้องผ่านการฝึกมาก่อน แปลกแต่จริง คือคนส่วนมากไม่ค่อยฝึกตน ชอบขอ ชอบอ้อนวอนขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ จะมีเพียงคนกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ชอบฝึกตน คือ “บัณฑิต” เมื่อฝึกตนดีแล้ว การันตีได้ว่า ตนย่อมมีเครื่องอยู่ที่เจริญรุ่งเรือง
ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง
ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง
ไม่ต้องเสียเวลา เสียงบประมาณ ไปคืนความสุขให้ใครหรอก สุขและทุกข์เป็นเรื่องเฉพาะตัว เขาทำเอง เขาก็รับผลกรรมของเขาเอง
เพียงแต่เรามีหน้าที่อะไร ก็ทำหน้าที่ให้เต็มที่ ตรงไปตรงมา อย่าลูบหน้าปะจมูก ทำอะไรต้องเด็ดขาด ไม่ต้องเกรงใจผู้เกี่ยวข้อง
ประชาชนรู้สึกอายนานาชาติ และสงสัยว่า...หนึ่ง-พลังงานก็ของเรา ขายให้ต่างชาติในราคาถูก แต่ขายให้เราในราคาแพง แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เป็นต้น หมายความว่าอย่างไร? ตอบประชาชนให้ชัดเจน ที่พอเชื่อถือได้หน่อยซิ ถ้าที่ผ่านๆ มามันผิดพลาด ก็ต้องกล้ารับผิดและกล้าแก้ไข มิใช่ดันทุรังทำตามสิ่งผิดๆ อยู่ แล้วก็โทษนั่นนี่ ไม่ยอมโทษตัวเองที่เป็นต้นเหตุ...สอง-เศรษฐกิจพอเพียง หรือศาสตร์พระราชาของพระเจ้าอยู่หัว สุดแสนดีและวิเศษ ที่ทำให้ประชาชนรู้จักตัวเอง พึ่งตัวเองได้ ด้วยการกระทำของตัวเอง ทำไมทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ทำได้เพียงคำพูดในแผ่นกระดาษเท่านั้น ไม่เคยทำกันจริงจัง คนเขาสงสัยว่า ถ้าทำจริง ประชาชนเก่ง ฉลาด พึ่งตนเองได้ นายทุนเล็กใหญ่ทั้งไทยและเทศ จะขายสินค้า (ส่วนมากไร้สาระและเกินความจำเป็น) ให้ใคร เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือ?! ถ้าเป็นจริงก็น่าสมเพช เสียดายเงินที่จ้างคุณมาบริหารประเทศ
“จะดีจะชั่ว
เพราะตัวทำเอง
จะโง่จะเก่ง
ตัวเองทั้งนั้น”
บางทีอาจจะมีผู้ป้อนอาหารให้เรา แต่เราก็เคี้ยวเอง กลืนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เรายังมีชีวิตอยู่ เพราะเราหายใจเข้า-ออก ด้วยตัวเราเอง...เอวัง
“อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ-ตนแลเป็นที่พึ่งของตน” พุทธภาษิตบทนี้ เรียบง่าย ลึกซึ้งถึงใจตลอดกาล คิดอะไรไม่ออก บอกอะไรไม่ถูก ก็อาศัยบทนี้แหละ เป็นยาดีที่มีอยู่กับตน ทุกคนทุกผู้นั่นแล
จะดีจะชั่ว
เรื่องดีเรื่องชั่ว เป็นสองด้านของชีวิต ในมิติสมมติก็ได้ มิติวิมุติก็ได้ เพราะมิติทั้งสองซ้อนทับกันอยู่ ถ้าดูเป็นก็เห็นธรรม
คุณครูสนธิ ลิ้มทองกุล สอนว่า...ใครมีสมมติอะไร ก็ทำสมมตินั้นให้ดีที่สุด (สอนทุกวันอาทิตย์ช่องนิวส์วัน)
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สอนว่า...สมมติกับวิมุติ ถ้าหากว่าเห็นชัดตามเป็นจริงของมันแล้ว ของเหล่านั้นไม่มีอะไรหรอก สมมติบัญญัติกันเฉยๆ นี่เอง ว่าตน ว่าตัว ว่าเขา ว่าเรา สมมติทั้งนั้น ถ้าไปเห็นสมมติบัญญัติแล้ว เราไม่ยึดถือก็เป็นวิมุติเท่านั้น
พุทธโอวาท คือประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่มีอยู่ 3 ข้อคือ...
1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. กุสลสฺสูปสมฺปทา คือทำแต่ความดี
3. สจิตฺตปริโยทปนํ คือทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
หลักใหญ่ 3 ข้อนี้เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ สอนกันอยู่ แต่ทำไม่ค่อยได้เพราะอะไร?
เพราะเราไม่รู้จักใจตนเอง การกระทำอะไรในชีวิตประจำวัน แทนที่จะทำให้ใจผ่องใสกลับทำให้ใจขุ่นมัว เลยมองไม่เห็นอะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร บางคนเป็นผู้นำที่มีใจขุ่นมัว การคิด การพูด การกระทำของเขาเลยกลายเป็นโจ๊กตลกขบขัน ขายขี้เท่ออย่างน่าอับอาย
จะคิดจะทำอะไร ก็จะเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง มองไม่เห็นประโยชน์ส่วนรวมของคนส่วนใหญ่ในชาติบ้านเมืองบ้างเลย
“เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็น หอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นได้ ฉันนั้น”
พุทธภาษิตบทนี้ คือกระจกเงาของเราเองที่ต้องส่องทุกวัน จะได้รู้จักตัวเองว่ากำลังเล่นบทไหน บทห่วงตัวเองและพวกพ้อง หรือบทห่วงส่วนรวมประเทศชาติ
“เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นลำดับต้น ประโยชน์ส่วนตนเป็นลำดับรอง”
คำคมนี้เป็นสิ่งดีสิ่งถูกต้อง-ถ้าทำได้ แต่ทุกวันนี้ ทำไม่ค่อยได้ เลยกลายเป็น “คำหรูชูป้าย” เท่านั้นเอง
คำคมนี้ทำได้สบาย ถ้าใจผ่องใส ใจบริสุทธิ์ คนเราจะใจบริสุทธิ์ได้ ก็ด้วยปัญญาเท่านั้น ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
การแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ รู้เท่ารู้ทันคนขี้โกงกินบ้านกินเมืองทั้งหลาย นั่นคือ ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องโลก ส่องคน ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองควรส่งเสริม จะได้ช่วยกันขจัดคนชั่วมิให้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง และสนับสนุนคนดีมาปกครองบ้านเมือง การปิดปากหูตาประชาชน จึงเป็นการดับปัญญา ดับแสงสว่างให้ประชาชนตกอยู่ในความมืดนั่นเอง
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ท่านสอนว่า...จงหมั่นขยันชำระล้างจิต ช่วงชีวิตหนึ่งจะได้สว่างไสวเก็บกวาดขยะทิ้งออกจากใจ อะไรไม่จำเป็นก็ปล่อยวาง
เพื่อความเข้าใจและเข้าถึงคำสอนนี้ ก็ควรเข้าใจคำว่า “จิต” เสียก่อน จึงจะชำระล้างจิตได้ถูกต้อง
จิตมีสองระดับ คือจิตแท้กับจิตเทียม จิตแท้ไม่ปรุงแต่ง จิตเทียมปรุงแต่ง จิตแท้เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงตลอดเวลา จิตเทียมเหมือนเมฆหมอกมาบดบังบางเวลา จิตแท้คือตื่นรู้ จิตเทียมคือหลับยืน
หลับยืน คือจิตคิด ตื่นรู้ คือจิตว่าง การรักษาจิต คือการดูจิต ก็ดูกันตรงนี้-เดี๋ยวนี้แหละ
ทำอย่างไรจิตเทียมจึงจะลดน้อยลง ไม่เกิดใหม่หรือหมดไป แสงสว่างแห่งจิตแท้จะได้ส่องแสงเต็มที่ ความจริงก็ส่องอยู่แล้ว เพียงแต่แสงผ่านมาไม่ได้ เพราะมีสิ่งกีดขวาง
ท่านโอโช คุรุชาวอินเดีย เป็นหนึ่งใน 1,000 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ว่าเป็นบุรุษสุดอันตราย หลังจากการมาของพระเยซู ท่านแบ่งจิตออกเป็น 4 ระดับ คือจิตสำนึก จิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกร่วม จิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล (จิตไร้สำนึกคือ ความคิดที่อยู่ภายในจิต ส่งผลพลังให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เจ้าตัวไม่อาจทราบได้)
ท่านอธิบายว่า...ฉันแตกต่างจากเธอ ในฐานะคนคนหนึ่ง เธอแตกต่างจากฉัน ในฐานะคนอีกคนหนึ่งนั้น เกิดขึ้นตราบเท่าที่อยู่ในระดับจิตสำนึก แต่ถ้าเข้าไปลึกอีกหน่อย เราล้วนไม่แตกต่างกันในระดับจิตไร้สำนึก ถ้ายังลึกเข้าไปอีก เราก็ยิ่งใกล้ชิดกัน ในระดับจิตไร้สำนึกร่วม
นักปฏิบัติทางจิตวิญญาณบอกว่า มียิ่งกว่าจิตไร้สำนึกร่วม พวกเราเรียกมันว่า จิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งที่ศูนย์กลาง เราล้วนผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรู้ยิ่งใหญ่ทั้งหมดมาจากศูนย์กลางนี้
คำถามมีเพียงว่า ใครจะมองไปในหนทางนั้นเท่านั้น แล้วเขาก็จะได้ความรู้นั้นเป็นคนแรก พูดอีกอย่างหนึ่ง ความรู้อาจจะเริ่มเกิดกับคนมากมาย แต่พวกเขาไม่ได้มองดูมัน พวกเขาจึงพลาดมันไป
พระโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) พระสังฆปรินายก องค์ที่ 28 ของอินเดีย และองค์ที่ 1 ของจีน กล่าวว่า...
จิตนี้คือพุทธะ ฉันไม่ได้พูดถึงการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดแบบฤาษี เช่น การลุยน้ำลุยไฟ เหยียบมีด เหยียบหนาม ทานวันละมื้อ หรือไม่นอนเลย การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ เป็นคำสอนที่สร้างภาพลักษณ์ชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เมื่อใดที่ท่านรู้จักและเข้าใจการเคลื่อนไหวของตนเอง รู้จักธรรมชาติของการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ จิตของท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ท่านเว่ยหล่าง (ฮุ่ยเล้ง) พระสังฆปรินายก องค์ที่ 6 ของจีน กล่าวว่า...
จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด และถ้าเราได้รู้จักใจของเราเอง และรู้แจ้งชัดว่า ตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้ว เราจะลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆ คน (ที่มีความรู้เช่นนั้น) ธรรมชาติที่แท้จริง (หรือจิตเดิมแท้) ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ครูบาฮวงโป (ตวนชิ) ผู้เป็นหลานศิษย์ของเว่ยหล่าง กล่าวว่า...
พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียงจิตหนึ่ง (One Mind) นอกจากจิตหนึ่งนี้แล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือบิดาแห่งพระกัมมัฏฐาน กล่าวว่า...
จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เลื่อมประภัสสร แจ้งสว่างมาเดิม แต่อาศัยอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นอาคันตุกะสัญจรมาปกคลุมหุ้มห่อ จึงทำให้จิตมิส่องแสงสว่างได้ ท่านเปรียบเทียบไว้ในบทกลอนหนึ่งว่า... “ไม้ชะงกหกพันง่า (กิ่ง) กะปอมก่า (กิ้งก่า) ขึ้นมื้อฮ้อย กะปอมน้อยขึ้นมื้อพัน ครั้นตามมาปทัน ขึ้นนำคู่มื้อๆ”
โชติช่วง นาดอน “นามปากกาอาจารย์ทองแถม นาถจำนง” จากหนังสือ มือกระบี่กวีเซน กล่าวว่า...
คนเราตื่นรู้เป็น “พุทธะ” กันได้ เพราะธรรมชาติของจิตที่บริสุทธิ์ยังมีอยู่ เพียงแต่มันถูก “ความรอบรู้” ครอบงำเสียจนยากแสนยากที่จะเปิดให้จิตเดิมแท้ประภัสสรออกมา
.....ฯลฯ.....
ท่านผู้รู้ต่างๆ ที่กล่าวมา คงจะเป็นกระจกเงาส่องความจริง ตามที่มันเป็น ผู้รู้เห็นความจริงของตนแล้ว ย่อมจะดูแลรักษา หรือพัฒนาตนให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ร่างกายดูแลด้วยอาหาร และการออกกำลังกาย จิตสำนึกดูแลด้วยจริยธรรม คือข้อธรรมที่ควรปฏิบัติ เช่น อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 เป็นต้น
จิตใต้สำนึก หรือจิตไร้สำนึก ดูแลด้วยสมาธิซึ่งมีมากมายหลายวิธี วิธีที่ (ผม) คิดว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งคือ “ดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิด”
... (ที่มา : ไพรัตน์ แย้มโกสุม, ธรรมะเบิกบาน (รวมบทความ 2557), หนังสือทำมือ)
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กล่าวไว้ว่า...
จิตสำนึกของมนุษย์นั้น มีข้อมูลบรรจุอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก เขาเปรียบจิตเป็นเสมือนภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมา ที่มีส่วนของจิตสำนึกโผล่ส่วนยอดพ้นน้ำขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ได้แยกจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับคือ คือ...ระดับจิตสำนึก จิตกึ่งสำนึก และจิตใต้สำนึก
โดยจิตสำนึกเป็นจิตในระดับที่รู้ตัว มีสติสัมปชัญญะ แสดงออกในยามตื่น
ส่วนจิตกึ่งสำนึก เป็นส่วนของจิตที่ถูกเก็บซ่อนไว้ไม่ให้แสดงออกมา เช่น หลงรักเพื่อนร่วมงาน แต่จำเป็นต้องเก็บความรู้สึกไว้ หรือเป็นประสบการณ์ชีวิตบางอย่างที่คิดว่าลืมไปแล้ว เช่น ไม่ได้พบเพื่อนเก่ามา 20 ปี เกิดบังเอิญเจอกันอีกครั้ง ก็นึกขึ้นได้ รวมไปถึงเรื่องราวอันขมขื่นในอดีตที่สามารถระลึกถึง
จิตสำนึกและจิตกึ่งสำนึก เก็บข้อมูลของชีวิตไว้เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 92 เปอร์เซ็นต์ ถูกเก็บไว้ในรูปจิตใต้สำนึก
จิตสำนึก (Conscious) คือจิตส่วนที่อยู่เหนือน้ำ เป็นส่วนที่ปรากฏต่อสังคม ถือเป็นเพียงเล็กน้อย
จิตกึ่งสำนึก (Preconscious) เหมือนส่วนที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นรากฐานของจิต เป็นส่วนที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ มีการเก็บกดเอาไว้อาจเป็นเพราะถูกบังคับ หรือไม่สามารถแสดงอาการโต้ตอบได้ในขณะนั้น ในที่สุดก็จะฝังแน่นเข้าไปจนเจ้าตัวลืมไปชั่วขณะ จะแสดงออกมาในลักษณะความฝันหรือการพลั้งเผลอ เช่น พลั้งปากเอ่ยชื่อคนรักเก่าต่อหน้าคนรักใหม่ เป็นต้น
... (ที่มา : ทพ.สม สุจีรา, เดอะท็อปพาวเวอร์ และเกิดเพราะกรรม หรือความซวย, สนพ.อมรินทร์ธรรมะ)
ถ้าเข้าใจเรื่องจิตดังที่กล่าวมา คำว่า “จะชั่ว” คงไม่มี คงมีแต่ “จะดี” และ “จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง” เท่านั้นแล
เพราะตัวทำเอง
“สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ-ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว”
“นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย-คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ ไม่ได้”
พุทธภาษิตนี้ สอนให้คนรู้จักตัวเอง และพึ่งตัวเองได้
อะไรต่างๆ นานาที่เกิดขึ้นกับตน อย่ามัวเสียเวลาไปโทษคนอื่นเลย ตัวเองทำให้ตัวเองทั้งนั้น คำว่า “ธรรมลิขิต” หรือ “กรรมลิขิต” หรือ “ตนลิขิต” จึงเป็นของแท้ เราเขียนชีวิตตัวเองได้ เราออกแบบตัวเองได้ บางคนยังมีความเชื่อเดิมๆ ว่าทุกชีวิตเป็นไปตาม “พรหมลิขิต” อย่าฝืนพรหมลิขิตเลย อย่าฝืนพระเจ้าลิขิตเลย
พิจารณาดูความเชื่อดังกล่าว อาจผิดก็ได้ อาจถูกก็ได้
ประเด็นอาจถูกก็ได้...ก็คือ พรหม หรือ พระเจ้า นั้น ไม่ใช่อะไรอื่น อย่างที่เคยเข้าใจกัน แต่เป็นจิตเดิมแท้ หรือจิตหนึ่ง หรือจิตบริสุทธิ์ หรือ...ฯลฯ ของเรานั่นเอง
ถ้าเรียนรู้เรื่องจิต จนเข้าใจและเข้าถึงก็โอเค หรือถึงบางอ้อในประเด็นดังกล่าว
คนเราส่วนมากชอบขอ โดยเฉพาะขอพร ให้มีให้เป็นนั่นนี่ สืบต่อกันมา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงนิพนธ์บทกลอนสอนคนให้รู้จักทำเอง เป็นตัวของตัวเอง ว่า...
“คิดดี พูดดี ทำดี
เป็นศรี เป็นพร สูงสุด
ไม่มี พรเทพ พรมนุษย์
เปรียบประดุจ ความดี ที่ทำเอง”
ความดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง ไม่ว่าอะไรๆ ก็ทำแทนกันไม่ได้ และความชั่วก็เช่นเดียวกัน คือ ทำเอง เป็นเองรับผลของกรรมเอง
จะโง่จะเก่ง
“โง่” หมายถึง เขลา เบาปัญญา ไม่มีความรู้ “เก่ง” หมายถึง มีความสามารถ เช่น เก่งวิชาฟิสิกส์ นั่นคือความหมายในพจนานุกรมฯ หากมองในแง่พุทธศาสนา “โง่” ก็คือ “อวิชชา” คือความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง “เก่ง” ก็คือ “วิชชา” คือความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ
มีใครกล้าปฏิเสธว่า พระพุทธเจ้าคือคนเก่ง
สำหรับผู้มีความคิดเห็นว่า คนเก่งมีสองอย่าง คือเก่งดี และเก่งชั่ว ก็ใช้ได้ ที่เน้นให้ชัดเจน แต่ผมเห็นว่า มันเปลืองถ้อยคำ
ท่านโพธิธรรม กล่าวว่า...อย่ายึดติดกับถ้อยคำ หากในหัวของท่าน ไม่มีถ้อยคำ ในความเงียบนั้นแหละ คือพระเจ้า คือความจริง คือนิพพาน
ท่านเตือน...อย่าเสียเวลากับถ้อยคำมากนัก มันก็แค่ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ฝันไปร้อยแปดพันเก้า เรื่องของจริงมีอยู่แล้วคือ “จิต” ดูมัน ดูเป็นก็เห็นธรรม เห็นธรรมก็คือเห็นตนเอง
“โง่” และ เก่ง” ผมมองแบบองค์รวมง่ายๆ ว่า “โง่คือชั่ว” และ “เก่งคือดี” มีชั่วกับดีเท่านั้น (หรือดำกับขาว สำหรับบางคน) ที่เราจะต้องจัดการ คือละชั่วและทำดีให้ได้ จิตจึงจะผ่องใส บริสุทธิ์ตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ท่านพ่อลี ธัมมธโร ท่านสอนว่า...คนโง่นั้น ต่อให้นั่งเฝ้าหลุมทองอยู่ ก็ไม่มีปัญญาทำให้เป็นอะไรได้ ส่วนคนฉลาดอยู่กับดินกับหญ้า เขาก็ทำให้เป็นเงินเป็นทองได้
คำสอนนี้มีตัวอย่างให้เห็นจะจะในแผ่นดินนี้มากมาย เด็กหนุ่มคนหนึ่งยากจน เริ่มต้นจากศูนย์ขายขนม หนังสือ และอื่นๆ ไม่กี่ปีกลายเป็นเศรษฐี เขาคิดทำอะไรขึ้นมา ขายดิบขายดี เพราะผู้ซื้อศรัทธาในตัวเขา เพราะความซื่อสัตย์ สินค้ามีคุณภาพ และมีน้ำใจต่อสังคม
เกิดเป็นคนอย่าให้เกิดวิกฤตศรัทธา โดยเฉพาะผู้นำเสื่อมศรัทธาเมื่อไหร่ เตรียมตอกฝาโลงได้เมื่อนั้น ใครทำให้คุณเสื่อม ไม่มีใครหรอก พระเจ้าไม่ได้ลงโทษคุณ ตัวคุณต่างหากที่ลงโทษตัวเอง
เด็กนักเรียนนักศึกษา อยากเก่ง อยากฉลาด อยากมีอนาคตสดใส นั่นคือความฝัน การที่จะไปให้ถึงความฝันนั้น ไม่ใช่นั่งรอ นอนรอ แต่คุณจะต้องทำที่นี่และเดี๋ยวนี้ คือทำปัจจุบันให้ดีที่สุด อนาคตก็จะดีไปเอง
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านสอนว่า...อนาคตจะดีหรือชั่วนั้น เป็นผลสืบทอดไปจากปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันปรับปรุงตัวไม่ดีแล้ว อนาคตจะไม่มีผลดีอะไรเกิดขึ้นเลย
พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านจะสอนทำนองนี้ คือสอนความจริง ตรงไปตรงมา ถ้าเป็นพระไม่ดี ไม่ชอบ จะสอนไปอีกอย่าง เช่น ทานมากก็จะได้บุญมาก ผู้โง่ทั้งหลายก็จะหลงอารมณ์พระ ตามกระแสแห่กันไป ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองก็วางเฉยตามสูตร ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ ไม่เอาธุระ ไม่ใส่ใจ ไม่ถือโทษ
ตัวเองทั้งนั้น
ขอย้ำพุทธภาษิตบ่อยๆ “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ-ตนแลเป็นที่พึ่งของตน”
ตนจะเป็นที่พึ่งได้ จะต้องผ่านการฝึกมาก่อน แปลกแต่จริง คือคนส่วนมากไม่ค่อยฝึกตน ชอบขอ ชอบอ้อนวอนขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ จะมีเพียงคนกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ชอบฝึกตน คือ “บัณฑิต” เมื่อฝึกตนดีแล้ว การันตีได้ว่า ตนย่อมมีเครื่องอยู่ที่เจริญรุ่งเรือง
ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง
ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง
ไม่ต้องเสียเวลา เสียงบประมาณ ไปคืนความสุขให้ใครหรอก สุขและทุกข์เป็นเรื่องเฉพาะตัว เขาทำเอง เขาก็รับผลกรรมของเขาเอง
เพียงแต่เรามีหน้าที่อะไร ก็ทำหน้าที่ให้เต็มที่ ตรงไปตรงมา อย่าลูบหน้าปะจมูก ทำอะไรต้องเด็ดขาด ไม่ต้องเกรงใจผู้เกี่ยวข้อง
ประชาชนรู้สึกอายนานาชาติ และสงสัยว่า...หนึ่ง-พลังงานก็ของเรา ขายให้ต่างชาติในราคาถูก แต่ขายให้เราในราคาแพง แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เป็นต้น หมายความว่าอย่างไร? ตอบประชาชนให้ชัดเจน ที่พอเชื่อถือได้หน่อยซิ ถ้าที่ผ่านๆ มามันผิดพลาด ก็ต้องกล้ารับผิดและกล้าแก้ไข มิใช่ดันทุรังทำตามสิ่งผิดๆ อยู่ แล้วก็โทษนั่นนี่ ไม่ยอมโทษตัวเองที่เป็นต้นเหตุ...สอง-เศรษฐกิจพอเพียง หรือศาสตร์พระราชาของพระเจ้าอยู่หัว สุดแสนดีและวิเศษ ที่ทำให้ประชาชนรู้จักตัวเอง พึ่งตัวเองได้ ด้วยการกระทำของตัวเอง ทำไมทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ทำได้เพียงคำพูดในแผ่นกระดาษเท่านั้น ไม่เคยทำกันจริงจัง คนเขาสงสัยว่า ถ้าทำจริง ประชาชนเก่ง ฉลาด พึ่งตนเองได้ นายทุนเล็กใหญ่ทั้งไทยและเทศ จะขายสินค้า (ส่วนมากไร้สาระและเกินความจำเป็น) ให้ใคร เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือ?! ถ้าเป็นจริงก็น่าสมเพช เสียดายเงินที่จ้างคุณมาบริหารประเทศ
“จะดีจะชั่ว
เพราะตัวทำเอง
จะโง่จะเก่ง
ตัวเองทั้งนั้น”
บางทีอาจจะมีผู้ป้อนอาหารให้เรา แต่เราก็เคี้ยวเอง กลืนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เรายังมีชีวิตอยู่ เพราะเราหายใจเข้า-ออก ด้วยตัวเราเอง...เอวัง