ASTV ผู้จัดการรายวัน - ปัจจัยบวกเริ่มสนับสนุนหุ้นไทยปรับตัวเพิ่ม หลังพบสัญญาณต่างชาติกลับเข้าซื้อ เหตุต่างเชื่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯทำได้ยากขึ้น พร้อมแนะให้ติดตามมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยผลักดัน
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ประเมินทิศทางมองตลาดหุ้นไทยว่า ในสัปดาห์นี้ดัชนี SET มีแนวต้านที่ 1,420 และ 1,442 จุด ขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,405 และ 1,385 จุด โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อจังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ส่วนเครื่องชี้ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ เครื่องชี้ภาคการผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภคและความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังต้องติดตาม ข้อมูลภาคการค้าของจีน รวมทั้ง ผลสำรวจความเชื่อมั่นในเยอรมนี
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง หลังดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,411.33 จุด เพิ่มขึ้น 4.83% จากสัปดาห์ก่อน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 44.29% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 46,364.12 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 595.69 จุด เพิ่มขึ้น 4.22% จากสัปดาห์ก่อน
นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวถึงตลาดหุ้นไทยว่าเมื่อวันที่ 9ต.ค. SETปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดภูมิภาคที่ต่างอยู่ในแดนบวกเฉลี่ย 1.2% อันเป็นผลจากทิศทาง Fund Flow ที่ไหลเข้ามาในตลาดเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย ซึ่งสังเกตุได้ว่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นมาที่ 35.49 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนมองเห็นสัญญาณ Flow ไหลเข้า เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวใน Emerging Market และจีน ทำให้เฟด กังวลว่าจะกดดันเศรษฐกิจโลก จึงทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯต้องเลื่อนออกไป
ขณะที่ทิศทางในสัปดาห์นี้ แนวโน้มการลงทุนเชื่อว่าตลาดมีโอกาสที่จะฟื้นตัวต่อได้ โดยมีแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่จะเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคาร พร้อมให้แนวรับ 1,400-1,390 จุด ส่วนแนวต้าน 1,425-1,442 จุด
ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์หลายรายเชื่อว่า ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือการประชุมเฟดในวันที่ 27- 28 ตุลาคม 2558 นี้ ซึ่งนักลงทุนคาดหวังว่าเฟดน่าจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยออกมาบ้าง แต่ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงนี้ อาทิ การจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาค่อนข้างต่ำ ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ได้ลดลงมากนัก ประกอบกับสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่มีท่าทีดีขึ้น
ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจำเป็นต้องคิดอย่างรอบคอบมากขึ้นกว่าทุก ๆ ครั้ง เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมีผลกระทบวงกว้างค่อนข้างสูง ในขณะที่หลายๆ ประเทศแข่งขันในเรื่องของการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการส่งออก แต่หากสหรัฐฯ กลับมาขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนี้ ผลกระทบคงต้องประเมินอย่างรอบคอบ
โดยความเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาดพบว่า ความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ลดลงจาก 60% มาอยู่ที่ 35.2% และหากจะมีการขึ้นดอกเบี้ย เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยจากระดับ 0%-0.25% มาอยู่ที่ 0.375% ส่วนความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2558 นี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10% หลังการจ้างงานในเดือนที่ผ่านมาชะลอกว่าที่คาดการณ์ไว้ และรายได้ครัวเรือนอยู่ในระดับทรงตัว
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่มีความสำคัญอีกคือเรื่อง เพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ถึงแม้จะมีการพูดคุยกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมก็ตาม เพราะสหรัฐฯมีเงินในกระเป๋าที่จะใช้สอยได้เพียงถึงวันที่ 11 ธันวาคมนี้เท่านั้น เนื่องจากใกล้ถึงระดับเพดานหนี้เดิมแล้ว ซึ่งหากสหรัฐฯตกลงเรื่องเพดานหนี้ไม่ได้ก็จะเป็นการผิดชำระหนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ผลเสียที่ตามมาคือการเสียเครดิต อาจทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงได้ต่อเนื่องไปอีกนาน เพราะวันนี้สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีเครดิตดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งปัญหาเรื่องเพดานหนี้จะโยงไปถึงเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยว่าสหรัฐฯจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้จริงหรือไม่
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ประเมินทิศทางมองตลาดหุ้นไทยว่า ในสัปดาห์นี้ดัชนี SET มีแนวต้านที่ 1,420 และ 1,442 จุด ขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,405 และ 1,385 จุด โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อจังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ส่วนเครื่องชี้ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ เครื่องชี้ภาคการผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภคและความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังต้องติดตาม ข้อมูลภาคการค้าของจีน รวมทั้ง ผลสำรวจความเชื่อมั่นในเยอรมนี
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง หลังดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,411.33 จุด เพิ่มขึ้น 4.83% จากสัปดาห์ก่อน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 44.29% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 46,364.12 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 595.69 จุด เพิ่มขึ้น 4.22% จากสัปดาห์ก่อน
นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวถึงตลาดหุ้นไทยว่าเมื่อวันที่ 9ต.ค. SETปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดภูมิภาคที่ต่างอยู่ในแดนบวกเฉลี่ย 1.2% อันเป็นผลจากทิศทาง Fund Flow ที่ไหลเข้ามาในตลาดเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย ซึ่งสังเกตุได้ว่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นมาที่ 35.49 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนมองเห็นสัญญาณ Flow ไหลเข้า เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวใน Emerging Market และจีน ทำให้เฟด กังวลว่าจะกดดันเศรษฐกิจโลก จึงทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯต้องเลื่อนออกไป
ขณะที่ทิศทางในสัปดาห์นี้ แนวโน้มการลงทุนเชื่อว่าตลาดมีโอกาสที่จะฟื้นตัวต่อได้ โดยมีแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่จะเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคาร พร้อมให้แนวรับ 1,400-1,390 จุด ส่วนแนวต้าน 1,425-1,442 จุด
ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์หลายรายเชื่อว่า ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือการประชุมเฟดในวันที่ 27- 28 ตุลาคม 2558 นี้ ซึ่งนักลงทุนคาดหวังว่าเฟดน่าจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยออกมาบ้าง แต่ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงนี้ อาทิ การจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาค่อนข้างต่ำ ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ได้ลดลงมากนัก ประกอบกับสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่มีท่าทีดีขึ้น
ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจำเป็นต้องคิดอย่างรอบคอบมากขึ้นกว่าทุก ๆ ครั้ง เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมีผลกระทบวงกว้างค่อนข้างสูง ในขณะที่หลายๆ ประเทศแข่งขันในเรื่องของการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการส่งออก แต่หากสหรัฐฯ กลับมาขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนี้ ผลกระทบคงต้องประเมินอย่างรอบคอบ
โดยความเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาดพบว่า ความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ลดลงจาก 60% มาอยู่ที่ 35.2% และหากจะมีการขึ้นดอกเบี้ย เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยจากระดับ 0%-0.25% มาอยู่ที่ 0.375% ส่วนความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2558 นี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10% หลังการจ้างงานในเดือนที่ผ่านมาชะลอกว่าที่คาดการณ์ไว้ และรายได้ครัวเรือนอยู่ในระดับทรงตัว
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่มีความสำคัญอีกคือเรื่อง เพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ถึงแม้จะมีการพูดคุยกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมก็ตาม เพราะสหรัฐฯมีเงินในกระเป๋าที่จะใช้สอยได้เพียงถึงวันที่ 11 ธันวาคมนี้เท่านั้น เนื่องจากใกล้ถึงระดับเพดานหนี้เดิมแล้ว ซึ่งหากสหรัฐฯตกลงเรื่องเพดานหนี้ไม่ได้ก็จะเป็นการผิดชำระหนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ผลเสียที่ตามมาคือการเสียเครดิต อาจทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงได้ต่อเนื่องไปอีกนาน เพราะวันนี้สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีเครดิตดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งปัญหาเรื่องเพดานหนี้จะโยงไปถึงเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยว่าสหรัฐฯจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้จริงหรือไม่