ASTVผู้จัดการรายวัน-เอ็นจีโอ-นักวิชาการรุมแฉธุรกิจทำการตลาดชิงโชค "ง่าย กระตุ้น ลุ้นถี่" โกยยอดขายมหาศาล หวั่นบ่มเพาะนิสัยเด็กชอบเสี่ยงพนัน สำรวจพบ "ชาเขียว" สินค้ายอดนิยมนักเสี่ยงโชค ชี้การตลาดถูกกฎหมาย แต่ควรควบคุมการโฆษณาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค วางกลไกป้องกันเด็ก-เยาวชน
วานนี้ (8 ต.ค.) นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กล่าวในงานเสวนา “จับตา Lotto Marketing การตลาดล้ำเส้นชวนพนัน” จัดโดยเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ว่า Lotto Marketing หรือการส่งเสริมการขายที่ชวนให้ผู้ซื้อเสี่ยงโชคด้วยการส่งตัวเลข โดยมีรางวัลเป็นสิ่งล่อใจ กระตุ้นให้เกิดความต้องการรางวัลมากกว่าตัวสินค้า สำหรับกลยุทธ์ที่นิยมนำมาใช้คือ 1.ส่ง SMS 2.กระตุ้นด้วยรางวัลมูลค่าสูงหรือเป็นที่นิยม เช่น ทองคำ สมาร์ทโฟน รถยนต์ ทัวร์ต่างประเทศ ตั๋วหนัง/คอนเสิร์ต และ 3.ลุ้นถี่ด้วยการออกผลรางวัลทุกชั่วโมง ทุกวัน ทุกสัปดาห์
นอกจากนี้ ยังใช้วิธีผสมผสานการตลาดด้วยการเล่าเรื่องราวที่เร้าอารมณ์ ความรู้สึก นำเสนอต่อสาธารณะ ใช้กระแสมวลชนเพื่อสร้างเรื่องราวบอกต่อ กระพือความแรงของโปรโมชั่น เกิดการจดจำและมีอารมณ์ร่วม สวมบทบาทฮีโร่ที่มาให้ความหวังกับชาวบ้าน จนทำให้ค่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ นิยมทำตาม
"จากรายงานผลสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการส่งลุ้นโชคของผู้บริโภคพบ 76.5% นึกถึงผลิตภัณฑ์ชาเขียวมากที่สุด ซึ่งปีนี้แคมเปญชาเขียวมียอดเข้าถึงเพิ่ม 75% และคาดว่าจะสร้างยอดขายได้ 100 ล้านฝา ซึ่งแน่นอนว่าการออกแคมเปญจะกระตุ้นให้คนดื่มมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายฐานลูกค้าในต่างจังหวัด จากเดิมเข้าถึงแค่ 10% ก็เพิ่มเป็น 45% เมื่อดูจากสถิติพบว่า สินค้ากว่า 80 รายการหรือ 1 ใน 3 ต่างใช้กลยุทธ์นี้ทั้งสิ้น ดังนั้น การเสี่ยงโชคทายผลตัวเลขมีรางวัลล่อใจ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการพนัน อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุม เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนที่จะถูกบ่มเพาะนิสัยชอบเสี่ยงชอบพนันโดยไม่รู้ตัว" นายธนากร กล่าว
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) กล่าวว่า ปรากฏการณ์ชิงโชคฝาชาเขียว ถือเป็นการตลาดที่ได้ใจผู้บริโภค โดยเฉพาะคนระดับชนชั้นกลางและล่าง แรกๆ ยุคชาเขียวจัดว่าเป็นสินค้าแปลกใหม่ ต่อมาถูกสร้างวาทะกรรมผ่านสื่อให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่เมื่อถึงยุคอิ่มตัว มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดเพิ่มมากขึ้นจนหมดคุณค่า ธุรกิจนี้จึงต้องหันมาทำการตลาดรูปแบบ Lotto Marketing ซึ่งสร้างกำไรมหาศาลเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้วัฒนธรรมการดื่มชาเขียวไม่ใช่เรื่องสุขภาพ แต่เพื่อเสี่ยงชิงโชค สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการปลูกฝังนิสัยนำไปสู่การพนัน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีกำลังซื้อทั้งที่เป็นสินค้าที่บิดเบียนคุณภาพ ส่งผลกระทบทั้งโรคอ้วน สร้างสังคมติดหวาน อย่างไรก็ตาม แม้การตลาดจะถูกกฎหมายแต่ควรถูกควบคุมการโฆษณาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วย
นายวาทิกร สระทองคำ อายุ 21 ปี นักศึกษาปีที่ 4 ภาควิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า เริ่มส่งฝาชาเขียวชิงโชคตั้งแต่เข้าเรียนปี 1 เพราะเป็นกระแสฮิตตามเพื่อน และอยากได้รางวัล จนทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป จากที่ดื่มน้ำเปล่าก็หันมาดื่มชาเขียวแทนวันละ 3 ขวด รวมแล้วหมดไปกับการเสี่ยงชิงโชคหลายหมื่นบาท แต่ไม่เคยได้รางวัลเลย จึงเกิดคำถามตามมาและเป็นที่มาของการทำงานวิจัยร่วมกับเพื่อน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งลุ้นโชคของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจำนวน 100 ราย พบว่า 68% เคยส่งผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ ชิงโชค กว่า 81% ระบุว่าหากจะชิงโชคต้องนึกถึงชาเขียว โดย 58% ซื้อเพราะต้องการส่งชิงโชค ส่วนพฤติกรรมในการส่งชิงโชคที่น่าห่วงคือใจจดจ่อ รอ SMS ภาวนาให้ได้รางวัล ขอฝาจากเพื่อน คนรู้จัก เก็บจากขยะ
นางฐานิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า การชิงโชคไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน สิ่งที่ผู้ประกอบการทำคือเล่นกับความอยาก การรอคอย ความต้องการของคน ทำให้ทุกเพศทุกวัยเข้าถึงง่าย จึงมีความถี่มากกว่าการเล่นการพนัน ขณะนี้เด็กเยาวชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเจาะจงดื่มชาเขียวยี่ห้อที่มีการให้ส่งชิงโชคไม่ได้คำนึงถึงรสชาติ ราคา หรือคุณค่าอาหาร อย่างไรก็ตาม ต้องเร่งแก้ปัญหา เปลี่ยนวิธีคิด คนในครอบครัวต้องรู้เท่าทัน สร้างความเข้าใจ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับบุตรหลาน ภาครัฐควรตีกรอบเรื่องนี้ให้ชัดเจนไม่ควรปล่อยให้เลยเถิดไปมากกว่านี้
วานนี้ (8 ต.ค.) นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กล่าวในงานเสวนา “จับตา Lotto Marketing การตลาดล้ำเส้นชวนพนัน” จัดโดยเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ว่า Lotto Marketing หรือการส่งเสริมการขายที่ชวนให้ผู้ซื้อเสี่ยงโชคด้วยการส่งตัวเลข โดยมีรางวัลเป็นสิ่งล่อใจ กระตุ้นให้เกิดความต้องการรางวัลมากกว่าตัวสินค้า สำหรับกลยุทธ์ที่นิยมนำมาใช้คือ 1.ส่ง SMS 2.กระตุ้นด้วยรางวัลมูลค่าสูงหรือเป็นที่นิยม เช่น ทองคำ สมาร์ทโฟน รถยนต์ ทัวร์ต่างประเทศ ตั๋วหนัง/คอนเสิร์ต และ 3.ลุ้นถี่ด้วยการออกผลรางวัลทุกชั่วโมง ทุกวัน ทุกสัปดาห์
นอกจากนี้ ยังใช้วิธีผสมผสานการตลาดด้วยการเล่าเรื่องราวที่เร้าอารมณ์ ความรู้สึก นำเสนอต่อสาธารณะ ใช้กระแสมวลชนเพื่อสร้างเรื่องราวบอกต่อ กระพือความแรงของโปรโมชั่น เกิดการจดจำและมีอารมณ์ร่วม สวมบทบาทฮีโร่ที่มาให้ความหวังกับชาวบ้าน จนทำให้ค่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ นิยมทำตาม
"จากรายงานผลสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการส่งลุ้นโชคของผู้บริโภคพบ 76.5% นึกถึงผลิตภัณฑ์ชาเขียวมากที่สุด ซึ่งปีนี้แคมเปญชาเขียวมียอดเข้าถึงเพิ่ม 75% และคาดว่าจะสร้างยอดขายได้ 100 ล้านฝา ซึ่งแน่นอนว่าการออกแคมเปญจะกระตุ้นให้คนดื่มมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายฐานลูกค้าในต่างจังหวัด จากเดิมเข้าถึงแค่ 10% ก็เพิ่มเป็น 45% เมื่อดูจากสถิติพบว่า สินค้ากว่า 80 รายการหรือ 1 ใน 3 ต่างใช้กลยุทธ์นี้ทั้งสิ้น ดังนั้น การเสี่ยงโชคทายผลตัวเลขมีรางวัลล่อใจ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการพนัน อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุม เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนที่จะถูกบ่มเพาะนิสัยชอบเสี่ยงชอบพนันโดยไม่รู้ตัว" นายธนากร กล่าว
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) กล่าวว่า ปรากฏการณ์ชิงโชคฝาชาเขียว ถือเป็นการตลาดที่ได้ใจผู้บริโภค โดยเฉพาะคนระดับชนชั้นกลางและล่าง แรกๆ ยุคชาเขียวจัดว่าเป็นสินค้าแปลกใหม่ ต่อมาถูกสร้างวาทะกรรมผ่านสื่อให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่เมื่อถึงยุคอิ่มตัว มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดเพิ่มมากขึ้นจนหมดคุณค่า ธุรกิจนี้จึงต้องหันมาทำการตลาดรูปแบบ Lotto Marketing ซึ่งสร้างกำไรมหาศาลเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้วัฒนธรรมการดื่มชาเขียวไม่ใช่เรื่องสุขภาพ แต่เพื่อเสี่ยงชิงโชค สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการปลูกฝังนิสัยนำไปสู่การพนัน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีกำลังซื้อทั้งที่เป็นสินค้าที่บิดเบียนคุณภาพ ส่งผลกระทบทั้งโรคอ้วน สร้างสังคมติดหวาน อย่างไรก็ตาม แม้การตลาดจะถูกกฎหมายแต่ควรถูกควบคุมการโฆษณาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วย
นายวาทิกร สระทองคำ อายุ 21 ปี นักศึกษาปีที่ 4 ภาควิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า เริ่มส่งฝาชาเขียวชิงโชคตั้งแต่เข้าเรียนปี 1 เพราะเป็นกระแสฮิตตามเพื่อน และอยากได้รางวัล จนทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป จากที่ดื่มน้ำเปล่าก็หันมาดื่มชาเขียวแทนวันละ 3 ขวด รวมแล้วหมดไปกับการเสี่ยงชิงโชคหลายหมื่นบาท แต่ไม่เคยได้รางวัลเลย จึงเกิดคำถามตามมาและเป็นที่มาของการทำงานวิจัยร่วมกับเพื่อน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งลุ้นโชคของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจำนวน 100 ราย พบว่า 68% เคยส่งผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ ชิงโชค กว่า 81% ระบุว่าหากจะชิงโชคต้องนึกถึงชาเขียว โดย 58% ซื้อเพราะต้องการส่งชิงโชค ส่วนพฤติกรรมในการส่งชิงโชคที่น่าห่วงคือใจจดจ่อ รอ SMS ภาวนาให้ได้รางวัล ขอฝาจากเพื่อน คนรู้จัก เก็บจากขยะ
นางฐานิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า การชิงโชคไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน สิ่งที่ผู้ประกอบการทำคือเล่นกับความอยาก การรอคอย ความต้องการของคน ทำให้ทุกเพศทุกวัยเข้าถึงง่าย จึงมีความถี่มากกว่าการเล่นการพนัน ขณะนี้เด็กเยาวชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเจาะจงดื่มชาเขียวยี่ห้อที่มีการให้ส่งชิงโชคไม่ได้คำนึงถึงรสชาติ ราคา หรือคุณค่าอาหาร อย่างไรก็ตาม ต้องเร่งแก้ปัญหา เปลี่ยนวิธีคิด คนในครอบครัวต้องรู้เท่าทัน สร้างความเข้าใจ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับบุตรหลาน ภาครัฐควรตีกรอบเรื่องนี้ให้ชัดเจนไม่ควรปล่อยให้เลยเถิดไปมากกว่านี้