ห่วงพฤติกรรมใช้สื่อโจ๋ไทย ทั้งบริโภคนิยม - แชะ - แชร์ - แชต - ถูกล่อลวง “ศธ.- สสส.- มูลนิธิอินเทอร์เน็ตฯ” เร่งพัฒนาศักยภาพการใช้ ICT ปลอดภัย เท่าทันสื่อ ครูแกนนำ ตั้งเป้าปั้นให้ได้ 650 คนใน 325 ร.ร. ทั่วประเทศภายในปีหน้า
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศธ. ร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดตัวโครงการ “พัฒนาศักยภาพครูแกนนำในการใช้ไอซีทีอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ” ส่งเสริมให้ครูใช้ ICT ยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้ความรู้สร้างความตระหนักในการใช้สื่อและ ICT ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า หลีกเลี่ยงภัยอันตราย และการใช้งานที่ไม่เหมาะสม มีข้าราชการ บุคลากร ศธ. เข้าร่วม 150 คน
นายดำรง ลิมาภิรักษ์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ศธ. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความร่วมมือ “การดำเนินการด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชน” ระหว่าง ศธ. กับ สสส. ระยะเวลา 2 ปี (มิ.ย.2557 - พ.ค.2558) มุ่งพัฒนาศักยภาพครูแกนนำ 650 คน จากสถานศึกษาทุกองค์กรหลัก 325 แห่งทั่วประเทศให้มีความรู้และทักษะการใช้งาน ICT และ Smart Devices สามารถ หลีกเลี่ยงภัยแฝงและผลกระทบจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม รวมถึงสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และสังคมไทย ขณะนี้จัดการอบรมไปแล้ว 200 คนจากสถานศึกษา 100 แห่ง จึงต่อยอดความร่วมมือกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย จัดกิจกรรมพัฒนาข้าราชการ ศธ. เพื่อสร้างความตระหนักในการใช้สื่อและ ICT ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลแนะนำให้คนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานได้
นางอรชาต สืบสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศธ. กล่าวว่า แม้ ICT มีคุณประโยชน์มากมาย แต่การที่เด็กและเยาวชนอยู่กับ ICTตลอดเวลา ทำให้มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะใช้ในทางไม่เหมาะสม ส่งผลต่อสุขภาวะด้วยพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น ติดแช็ท ใช้เฟซบุ๊กแชร์ภาพตัดต่อหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน สั่งซื้อสินค้าอันตราย ฯลฯ จึงต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่ครู เพื่อขยายสู่นักเรียนต่อไปซึ่งการอบรมครูแกนนำมี 2 หลักสูตร ได้แก่ 1. การใช้สื่อ ICT และ Smart Devices อย่างปลอดภัยสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และ 2. การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ จะจัดกิจกรรมโรดโชว์ให้ความรู้ 6 จังหวัด ใน 6 โรงเรียนนำร่องครอบคลุมทุกภูมิภาคด้วย
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ กล่าวว่า สถานการณ์สื่อวันนี้น่ากังวลมาก เพราะสื่อในเมืองไทยมีมากมาย และมิใช่สื่อในบริบทตั้งรับเช่นเดิม แต่เป็นสื่อที่เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตปัจจุบัน เด็กไทยใช้สื่อมากขึ้น และรับเอาสื่อเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเกินเลยไปกระทั่งกิจวัตรประจำวัน การเรียน การบ้าน การสังคม กระทั่งการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนทางสังคม ในอีกมุมหนึ่ง เรากำลังพูดเรื่องสมาร์ทคลาสรูม หรือการใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ แต่อีกทางหนึ่งสื่อไอซีทีนี่เองที่กลายเป็นอันตรายหรือดาบสองคม เพราะเด็กไทยขาดทักษะการใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน ที่สำคัญ โรงเรียน ครู และระบบสถาบันการศึกษาในประเทศไทยยังมีทัศนคติที่มองเทคโนโลยีว่าคือความทันสมัยของการศึกษา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ เทคโนโลยีเป็นเพียงแค่เครื่องมือเท่านั้น หัวใจของการเรียนรู้อยู่ที่คน และการพัฒนาคนให้รู้เท่าทันสื่อและสังคมสารสนเทศและสังคมโลก การรู้เท่าทันสื่อ และการส่งเสริมการใช้สื่อในการเรียนรู้ เสมือนเหรียญสองด้านที่ต้องควบคู่กัน ในการสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศธ. ร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดตัวโครงการ “พัฒนาศักยภาพครูแกนนำในการใช้ไอซีทีอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ” ส่งเสริมให้ครูใช้ ICT ยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้ความรู้สร้างความตระหนักในการใช้สื่อและ ICT ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า หลีกเลี่ยงภัยอันตราย และการใช้งานที่ไม่เหมาะสม มีข้าราชการ บุคลากร ศธ. เข้าร่วม 150 คน
นายดำรง ลิมาภิรักษ์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ศธ. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความร่วมมือ “การดำเนินการด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชน” ระหว่าง ศธ. กับ สสส. ระยะเวลา 2 ปี (มิ.ย.2557 - พ.ค.2558) มุ่งพัฒนาศักยภาพครูแกนนำ 650 คน จากสถานศึกษาทุกองค์กรหลัก 325 แห่งทั่วประเทศให้มีความรู้และทักษะการใช้งาน ICT และ Smart Devices สามารถ หลีกเลี่ยงภัยแฝงและผลกระทบจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม รวมถึงสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และสังคมไทย ขณะนี้จัดการอบรมไปแล้ว 200 คนจากสถานศึกษา 100 แห่ง จึงต่อยอดความร่วมมือกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย จัดกิจกรรมพัฒนาข้าราชการ ศธ. เพื่อสร้างความตระหนักในการใช้สื่อและ ICT ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลแนะนำให้คนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานได้
นางอรชาต สืบสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศธ. กล่าวว่า แม้ ICT มีคุณประโยชน์มากมาย แต่การที่เด็กและเยาวชนอยู่กับ ICTตลอดเวลา ทำให้มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะใช้ในทางไม่เหมาะสม ส่งผลต่อสุขภาวะด้วยพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น ติดแช็ท ใช้เฟซบุ๊กแชร์ภาพตัดต่อหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน สั่งซื้อสินค้าอันตราย ฯลฯ จึงต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่ครู เพื่อขยายสู่นักเรียนต่อไปซึ่งการอบรมครูแกนนำมี 2 หลักสูตร ได้แก่ 1. การใช้สื่อ ICT และ Smart Devices อย่างปลอดภัยสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และ 2. การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ จะจัดกิจกรรมโรดโชว์ให้ความรู้ 6 จังหวัด ใน 6 โรงเรียนนำร่องครอบคลุมทุกภูมิภาคด้วย
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ กล่าวว่า สถานการณ์สื่อวันนี้น่ากังวลมาก เพราะสื่อในเมืองไทยมีมากมาย และมิใช่สื่อในบริบทตั้งรับเช่นเดิม แต่เป็นสื่อที่เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตปัจจุบัน เด็กไทยใช้สื่อมากขึ้น และรับเอาสื่อเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเกินเลยไปกระทั่งกิจวัตรประจำวัน การเรียน การบ้าน การสังคม กระทั่งการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนทางสังคม ในอีกมุมหนึ่ง เรากำลังพูดเรื่องสมาร์ทคลาสรูม หรือการใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ แต่อีกทางหนึ่งสื่อไอซีทีนี่เองที่กลายเป็นอันตรายหรือดาบสองคม เพราะเด็กไทยขาดทักษะการใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน ที่สำคัญ โรงเรียน ครู และระบบสถาบันการศึกษาในประเทศไทยยังมีทัศนคติที่มองเทคโนโลยีว่าคือความทันสมัยของการศึกษา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ เทคโนโลยีเป็นเพียงแค่เครื่องมือเท่านั้น หัวใจของการเรียนรู้อยู่ที่คน และการพัฒนาคนให้รู้เท่าทันสื่อและสังคมสารสนเทศและสังคมโลก การรู้เท่าทันสื่อ และการส่งเสริมการใช้สื่อในการเรียนรู้ เสมือนเหรียญสองด้านที่ต้องควบคู่กัน ในการสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่