**ใช้โควต้าเงื่อนเวลาตามโรดแมปเต็มทุกรอบ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ของ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร แม้กระทั่งเรื่องการแต่งตั้ง 21 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ 200 สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) ยังดันทุรังเอาซะครบ 30 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด ไม่รีบมีกรธ. เพื่อมาจะต้องนับหนึ่ง 180 วัน อย่างน้อยช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสภาพ คือวันที่ 6 ก.ย. ถึง 6 ต.ค. ทำให้ คสช. ได้ยื้อเวลาออกไปตั้ง 30 วัน เรียกว่าเล่นกันทุกเม็ด ทุกดอกที่มีประตูให้
กรณีซือแป๋กฎหมาย มีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิกคสช. ที่ข่าวออกมาว่า“บิ๊กตู่”ต้องงอนง้อหนักให้มาเป็นประธาน กรธ. คุมหางเสือเรือแป๊ะให้ ไปๆ มาๆ เอาเข้าจริงนายมีชัย ไม่ได้เล่นตัวอะไรมากมาย เซย์เยส ไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว แต่ที่ต้องงึกๆ งักๆ น่าจะเป็นคิวลากยาวใช้เต็มโควต้า 30 วันเสียมากกว่า ให้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจ ตกลงเงื่อนไขกันว่าจะทำอะไรบ้างในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ หนักไปทางพิธีกรรม
**ส่วนกรธ.อีก 20 คน หนนี้เน้นคนรับเงื่อนไขแป๊ะได้ นั่นคือ 1. นายกฯคนนอก 2. ส.ว.สรรหา 100 เปอร์เซ็นต์ และ 3. สำคัญมากต้องมีองค์กรหรือคณะกรรมการลักษณะเดียวกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ขณะเดียวกันต้องสบายใจที่จะไม่มีตำแหน่งทางการเมือง 2 ปี เหตุนี้กรธ. 20 คน ภายใต้การนำของมีชัย จึงไร้เงานักการเมือง ส่วนใหญ่เป็นทหาร นักวิชาการ ข้าราชการ อดีตข้าราชการ ที่บางชื่ออาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูของสังคมเท่าไหร่ แต่เป็นพวกที่รู้มือกันดีในวงการ
ในกรธ. 20 คนไม่นับรวมตัวประธานอย่างมีชัย คละเคล้ากันมาจากหลายทิศทาง ส่วนหนึ่งเป็นคนที่มีชัยเลือกมาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อีกส่วนมาจากที่ “เนติบริกรรุ่นน้อง”นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กับ“บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กริ๊งกร๊างต่อสายไปหาให้มาช่วยงาน ตลอดจน พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ไม่มีแหกเหล่าเอาพวกข้าวนอกนามาผสมให้ดูดี เพราะงานนี้โควต้ามีแค่ 21 คน ไม่เหมือนกมธ.ยกร่างฯ ที่มีถึง 36 คน ต้องคัดเนื้อๆ เน้นๆ ประเภทเคมีตรงกัน หรือเคยร่วมงานกันมาไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ปลาหลงน้ำซ้ำสอง รอบนี้ไม่มีเวลาให้แก้ตัวมาก แป๊ะพิศวาสใคร่อยากอะไรต้องปรนเปรอให้เป็นไปตามพิมพ์เขียว ที่คนในรัฐบาลประสานเสียงตรงกันว่า ต้องมีโดยเฉพาะ คปป. สายล่อฟ้าของรอบที่แล้ว ที่ทำเอาน้องรักของมีชัย อย่างบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ถึงกับกระอักเลือด
เลยวันที่ 6 ต.ค.นี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีชัย หัวหน้าทีมคนใหม่จะต้องเริ่มบริกรรมคาถากันแล้ว โดยมีเวลา 180 วัน หรือ 6 เดือน ในการยกร่าง หากนับจากนี้ประมาณเดือนมีนาคม ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องคลอดออกมาให้เห็นหน้าเห็นตา ว่าดูดีหรืออัปลักษณ์หนักกว่าฉบับมหาปราชญ์ของ “อ.ปื๊ด”หรือไม่ ยกเว้นจะมีการมุบมิบแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอีกรอบ เพื่อต่อเวลาให้กรธ.โดยอ้างว่า ต้องมีความละเอียดรอบคอบก่อนทำประชามติกันอีก ใครจะไปรู้ใจแป๊ะได้อย่างคราวที่แล้วก็ที
**นาทีนี้คนที่อยากเอาตีนก่ายหน้าผากมากที่สุดคงชื่อมีชัย ฤชุพันธุ์ เพราะที่ผ่านมาอุตส่าห์บ่ายเบี่ยงไม่รับตำแหน่งใดมาสารพัด พยายามจะถนอมเนื้อถนอมตัว ทำงานอยู่เบื้องหลังมากกว่า แต่ครั้งนี้จวนตัวเพราะแป๊ะเล่นหักคอแกมบังคับให้มารับเผือกร้อน ไม่มีทางเลือกอื่น และไม่รู้จะบ่ายเบี่ยงไปทางไหน เพราะดันหลวมตัวมาลงเรือแป๊ะตั้งแต่แรก ตลกร้ายยกร่างครั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นตัวของตัวเองอีกด้วย
กระนั้นการไม่เป็นตัวของตัวเองยังไม่หนักหนาสาหัสเท่าไหร่ เพราะมีชัย วิษณุ และ บวรศักดิ์ 3 พี่น้อง ถนัดในงานเนติบริกร มาแต่อ้อนแต่ออก ผ่านร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาไม่รู้กี่ฉบับต่อกี่ฉบับ เล่นแร่แปรธาตุ มีกลวิธีการเขียนแบบพิลึกพิลั่นหาตัวจับได้ยากอยู่แล้ว แต่ปัญหาใหญ่ของมีชัย หนนี้คือเมื่อยกร่างเสร็จแล้ว จะต้องเอาไปทำพิธีกรรมฟังเสียงประชาชนในการทำประชามติ เพื่อตัดสินว่าร่างนี้ดีพอที่จะไปประกาศเป็นกติกาของประเทศฉบับใหม่หรือไม่
**ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แน่
เพราะตลอดชีวิตของมีชัย ตั้งแต่มีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2521 ไม่เคยต้องมีการทำประชามติฟังเสียงประชาชนเลยสักครั้งเฉลี่ยแล้วเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเป็นส่วนใหญ่ หรือต่อให้เป็นฉบับถาวร หากเข้าไปร่วมก็ประกาศใช้ได้เลย แม้แต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เขาเป็นตัวผลักดันให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ไม่ได้ผ่านการทำประชามติ ทว่าหนนี้มีชัยไม่มีทางเลือกอื่นเลย ต่อให้เขียนดีเลิศประเสริฐศรีสมยี่ห้อ แต่หากประชาชนส่ายหน้า อาจถึงเสียคนตอนแก่ได้เหมือนกัน
บวรศักดิ์ เนติบริกรรุ่นน้องของมีชัย รับรู้ความรู้สึกนั้นดี และอาจจะเจ็บยิ่งกว่าเสียด้วย เพราะไม่มีโอกาสแม้กระทั่งทำประชามติ แต่กลับถูกแป๊ะตลบหลังคว่ำตั้งแต่ในชั้นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช. ) อย่างไรก็ดี สำหรับมีชัย หากเอ่ยถือชื่อนักกฎหมายระดับอ๋องในประเทศไทย 1 ใน 2 ย่อมมีเขาอยู่ในความคิดของทุกคน แต่หากไม่สามารถเขียนรัฐธรรมนูญให้ประชาชนยอมรับได้ ชื่อเสียงบารมีที่สั่งสมมาอาจจะพังก็เพราะแป๊ะ
เดิมพันของมีชัยสูงมาก เพราะสิ่งที่แป๊ะต้องการอาจไม่เป็นที่แฮปปี้ของนักประชาธิปไตย และนักเลือกตั้งเท่าไรนัก และหากต้องนำสิ่งที่แป๊ะต้องการมาใส่เอาไว้อาจทำให้ร่างรัฐธรรมนูญของเขา ต้องมีอันเป็นไปในการทำประชามติ อย่าลืมว่าในการทำประชามตินั้น นักการเมืองมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของประชาชน สามารถโน้มน้าวใจว่า สิ่งที่กรธ.ผลิตมาเป็นของเสียต่อบ้านเมือง ซึ่งหากนักการเมืองแอนตี้ โอกาสที่รัฐธรรมนูญจะแท้งก็มีสูง
แต่หากแป๊ะเปลี่ยนใจอยากจะอยู่ต่อขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์อะไรบางอย่าง จะด้วยบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย หรือภารกิจสำคัญอย่างยังไม่เสร็จสิ้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะยัดเยียดเนื้อหาในลักษณะสุดโต่งเข้าไปบรรจุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญของมีชัย เพื่อให้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากสังคม และไปล่มในการประชามติ
**หรือจะเรียกว่าจงใจให้รัฐธรรมนูญไม่ผ่านก็ไม่ผิดนัก หรือหากฟลุ๊กผ่านประชามติไปได้ แป๊ะก็จะได้ในสิ่งที่ตัวเองอยากให้มี คือองค์กรหรือคณะกรรมการลักษณะเดียวกับ คปป. เพื่อเข้ามาทำภารกิจสำคัญเป็นชะตากรรมของมีชัย ต่อจากนี้
กรณีซือแป๋กฎหมาย มีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิกคสช. ที่ข่าวออกมาว่า“บิ๊กตู่”ต้องงอนง้อหนักให้มาเป็นประธาน กรธ. คุมหางเสือเรือแป๊ะให้ ไปๆ มาๆ เอาเข้าจริงนายมีชัย ไม่ได้เล่นตัวอะไรมากมาย เซย์เยส ไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว แต่ที่ต้องงึกๆ งักๆ น่าจะเป็นคิวลากยาวใช้เต็มโควต้า 30 วันเสียมากกว่า ให้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจ ตกลงเงื่อนไขกันว่าจะทำอะไรบ้างในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ หนักไปทางพิธีกรรม
**ส่วนกรธ.อีก 20 คน หนนี้เน้นคนรับเงื่อนไขแป๊ะได้ นั่นคือ 1. นายกฯคนนอก 2. ส.ว.สรรหา 100 เปอร์เซ็นต์ และ 3. สำคัญมากต้องมีองค์กรหรือคณะกรรมการลักษณะเดียวกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ขณะเดียวกันต้องสบายใจที่จะไม่มีตำแหน่งทางการเมือง 2 ปี เหตุนี้กรธ. 20 คน ภายใต้การนำของมีชัย จึงไร้เงานักการเมือง ส่วนใหญ่เป็นทหาร นักวิชาการ ข้าราชการ อดีตข้าราชการ ที่บางชื่ออาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูของสังคมเท่าไหร่ แต่เป็นพวกที่รู้มือกันดีในวงการ
ในกรธ. 20 คนไม่นับรวมตัวประธานอย่างมีชัย คละเคล้ากันมาจากหลายทิศทาง ส่วนหนึ่งเป็นคนที่มีชัยเลือกมาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อีกส่วนมาจากที่ “เนติบริกรรุ่นน้อง”นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กับ“บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กริ๊งกร๊างต่อสายไปหาให้มาช่วยงาน ตลอดจน พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ไม่มีแหกเหล่าเอาพวกข้าวนอกนามาผสมให้ดูดี เพราะงานนี้โควต้ามีแค่ 21 คน ไม่เหมือนกมธ.ยกร่างฯ ที่มีถึง 36 คน ต้องคัดเนื้อๆ เน้นๆ ประเภทเคมีตรงกัน หรือเคยร่วมงานกันมาไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ปลาหลงน้ำซ้ำสอง รอบนี้ไม่มีเวลาให้แก้ตัวมาก แป๊ะพิศวาสใคร่อยากอะไรต้องปรนเปรอให้เป็นไปตามพิมพ์เขียว ที่คนในรัฐบาลประสานเสียงตรงกันว่า ต้องมีโดยเฉพาะ คปป. สายล่อฟ้าของรอบที่แล้ว ที่ทำเอาน้องรักของมีชัย อย่างบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ถึงกับกระอักเลือด
เลยวันที่ 6 ต.ค.นี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีชัย หัวหน้าทีมคนใหม่จะต้องเริ่มบริกรรมคาถากันแล้ว โดยมีเวลา 180 วัน หรือ 6 เดือน ในการยกร่าง หากนับจากนี้ประมาณเดือนมีนาคม ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องคลอดออกมาให้เห็นหน้าเห็นตา ว่าดูดีหรืออัปลักษณ์หนักกว่าฉบับมหาปราชญ์ของ “อ.ปื๊ด”หรือไม่ ยกเว้นจะมีการมุบมิบแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอีกรอบ เพื่อต่อเวลาให้กรธ.โดยอ้างว่า ต้องมีความละเอียดรอบคอบก่อนทำประชามติกันอีก ใครจะไปรู้ใจแป๊ะได้อย่างคราวที่แล้วก็ที
**นาทีนี้คนที่อยากเอาตีนก่ายหน้าผากมากที่สุดคงชื่อมีชัย ฤชุพันธุ์ เพราะที่ผ่านมาอุตส่าห์บ่ายเบี่ยงไม่รับตำแหน่งใดมาสารพัด พยายามจะถนอมเนื้อถนอมตัว ทำงานอยู่เบื้องหลังมากกว่า แต่ครั้งนี้จวนตัวเพราะแป๊ะเล่นหักคอแกมบังคับให้มารับเผือกร้อน ไม่มีทางเลือกอื่น และไม่รู้จะบ่ายเบี่ยงไปทางไหน เพราะดันหลวมตัวมาลงเรือแป๊ะตั้งแต่แรก ตลกร้ายยกร่างครั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นตัวของตัวเองอีกด้วย
กระนั้นการไม่เป็นตัวของตัวเองยังไม่หนักหนาสาหัสเท่าไหร่ เพราะมีชัย วิษณุ และ บวรศักดิ์ 3 พี่น้อง ถนัดในงานเนติบริกร มาแต่อ้อนแต่ออก ผ่านร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาไม่รู้กี่ฉบับต่อกี่ฉบับ เล่นแร่แปรธาตุ มีกลวิธีการเขียนแบบพิลึกพิลั่นหาตัวจับได้ยากอยู่แล้ว แต่ปัญหาใหญ่ของมีชัย หนนี้คือเมื่อยกร่างเสร็จแล้ว จะต้องเอาไปทำพิธีกรรมฟังเสียงประชาชนในการทำประชามติ เพื่อตัดสินว่าร่างนี้ดีพอที่จะไปประกาศเป็นกติกาของประเทศฉบับใหม่หรือไม่
**ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แน่
เพราะตลอดชีวิตของมีชัย ตั้งแต่มีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2521 ไม่เคยต้องมีการทำประชามติฟังเสียงประชาชนเลยสักครั้งเฉลี่ยแล้วเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเป็นส่วนใหญ่ หรือต่อให้เป็นฉบับถาวร หากเข้าไปร่วมก็ประกาศใช้ได้เลย แม้แต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เขาเป็นตัวผลักดันให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ไม่ได้ผ่านการทำประชามติ ทว่าหนนี้มีชัยไม่มีทางเลือกอื่นเลย ต่อให้เขียนดีเลิศประเสริฐศรีสมยี่ห้อ แต่หากประชาชนส่ายหน้า อาจถึงเสียคนตอนแก่ได้เหมือนกัน
บวรศักดิ์ เนติบริกรรุ่นน้องของมีชัย รับรู้ความรู้สึกนั้นดี และอาจจะเจ็บยิ่งกว่าเสียด้วย เพราะไม่มีโอกาสแม้กระทั่งทำประชามติ แต่กลับถูกแป๊ะตลบหลังคว่ำตั้งแต่ในชั้นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช. ) อย่างไรก็ดี สำหรับมีชัย หากเอ่ยถือชื่อนักกฎหมายระดับอ๋องในประเทศไทย 1 ใน 2 ย่อมมีเขาอยู่ในความคิดของทุกคน แต่หากไม่สามารถเขียนรัฐธรรมนูญให้ประชาชนยอมรับได้ ชื่อเสียงบารมีที่สั่งสมมาอาจจะพังก็เพราะแป๊ะ
เดิมพันของมีชัยสูงมาก เพราะสิ่งที่แป๊ะต้องการอาจไม่เป็นที่แฮปปี้ของนักประชาธิปไตย และนักเลือกตั้งเท่าไรนัก และหากต้องนำสิ่งที่แป๊ะต้องการมาใส่เอาไว้อาจทำให้ร่างรัฐธรรมนูญของเขา ต้องมีอันเป็นไปในการทำประชามติ อย่าลืมว่าในการทำประชามตินั้น นักการเมืองมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของประชาชน สามารถโน้มน้าวใจว่า สิ่งที่กรธ.ผลิตมาเป็นของเสียต่อบ้านเมือง ซึ่งหากนักการเมืองแอนตี้ โอกาสที่รัฐธรรมนูญจะแท้งก็มีสูง
แต่หากแป๊ะเปลี่ยนใจอยากจะอยู่ต่อขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์อะไรบางอย่าง จะด้วยบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย หรือภารกิจสำคัญอย่างยังไม่เสร็จสิ้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะยัดเยียดเนื้อหาในลักษณะสุดโต่งเข้าไปบรรจุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญของมีชัย เพื่อให้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากสังคม และไปล่มในการประชามติ
**หรือจะเรียกว่าจงใจให้รัฐธรรมนูญไม่ผ่านก็ไม่ผิดนัก หรือหากฟลุ๊กผ่านประชามติไปได้ แป๊ะก็จะได้ในสิ่งที่ตัวเองอยากให้มี คือองค์กรหรือคณะกรรมการลักษณะเดียวกับ คปป. เพื่อเข้ามาทำภารกิจสำคัญเป็นชะตากรรมของมีชัย ต่อจากนี้