ASTVผู้จัดการรายวัน- "สนพ."คาดราคาน้ำมันดิบดูไบจะผันผวนในระดับต่ำเฉลี่ย 40-45 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลอีก 16-18 เดือนทำให้แนวโน้มราคาน้ำมันและค่าไฟยังมีทิศทางขาลงได้อีก แต่สิ่งที่วิตก!กลับพบว่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของไทยเริ่มส่งสัญญาฟ้องว่าใช้แบบไร้ประสิทธิภาพแล้ว เตือนอย่าเพลินกับของถูก ขณะที่ 8เดือนแรกปีนี้การใช้พลังงานโต2.4% นำเข้าพุ่ง 8.6%
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า ทิศทางราคาน้ำมันดิบดูไบจะยังคงมีราคาผันผวนในทิศทางระดับต่ำเฉลี่ย 40-45 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลอีกประมาณ 16-18 เดือน เมื่อระดับราคาน้ำมันดิบต่ำจะมีผลทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยทรงตัวในระดับต่ำไปด้วย และสะท้อนไปยังราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าลดตามเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงพลังงานกังวลคือประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศที่เริ่มลดต่ำลงจากระดับราคาน้ำมันและค่าไฟที่ลด
"ผมอยากส่งสัญญาณว่าพลังงานที่มีราคาช่วงขาลงนี้อย่าเพลินกับการใช้แบบไร้ประสิทธิภาพซึ่งเราเป็นห่วงที่พบว่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของไทยหรือ Energy Intensity (EI) 6 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 8.38 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อพันล้านบาท ซึ่งEI คือหน่วยการใช้พลังงานต่อหนึ่งหน่วยGDP ที่เราผลิตได้ดังนั้นถ้าเพิ่มขึ้นแปลว่าผลิตของเท่าเดิมแต่ใช้พลังงานมากขึ้น หรือใช้พลังงานเท่าเดิมแต่มูลค่าของเราลดลงเกิดจาก GDP เราส่วนหนึ่งต่ำกว่าเป้าซึ่งโต 2.9% รอบ 6 เดือนแรกแต่เราใช้เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันอ่อนตัวทั้งๆ ที่ดูสถิติย้อนหลังEI มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา"นายทวารัฐกล่าว
สำหรับสถานการณ์การใช้พลังงานไทย 8 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.ส.ค.58) พบว่า มีการใช้พลังงานรวมอยู่ที่ 2.603 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือมีการใช้เพิ่มขึ้น 2.4%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากการผลิตในประเทศที่ลดลง 1.1% นำเข้าสุทธิเพิ่มขึ้น 8.6% ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบที่ 8.94 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยแยกเป็นการใช้ก๊าซฯสูงสุด 36% น้ำมัน 29% พลังงานทดแทน 20% ถ่านหิน/ลิกไนต์ 13% พลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า 2%
ขณะที่การใช้น้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 143 ล้านลิตรต่อวันเพิ่มขึ้น 2.2% แยกเป็นการใช้ดีเซล 60.32 ล้านลิตรต่อวันเพิ่มขึ้น 3.3% การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ เฉลี่ย 25.89 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 13.3% การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) 5.73 แสนตันต่อเดือนลดลง 7.7% เช่นเดียวกับการจัดหาอยู่ที่ 5.85 แสนตันต่อเดือนลดลง6.4%เพราะรัฐมีการปรับโครงสร้างราคาให้สะท้อนต้นทุน ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) 8.64 พันตันต่อวันลดลง 1.3%เนื่องจากน้ำมันถูกส่งผลให้ผู้ใช้บางส่วนหันกลับไปใช้น้ำมันแทน
นายทวารัฐกล่าวว่า ภาคไฟฟ้า 8 เดือนแรกปีนี้การผลิตอยู่ที่ 1.24 แสนล้านหน่วยเพิ่มขึ้น 2.6% โดยการผลิตจะใช้ก๊าซฯมากสุด 70% ถ่านหิน/ลิกไนต์ 18% นำเข้า 7% พลังงานหมุนเวียน 2% พลังงานน้ำ 2% และน้ำมัน 1% ส่วนการใช้อยู่ที่ 1.16 แสนล้านหน่วยเพิ่มขึ้น 3.4% ปัจจัยคือราคาค่าไฟที่ลดต่ำต่อเนื่อง 3เดือนและยังคงมีทิศทางลดลงตามราคาก๊าซฯที่สะท้อนจากน้ำมันต่ำย้อนหลัง 6 เดือนอีกแต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่ปัจจัยค่าเงินบาทว่าจะกระทบมากน้อยแค่ใด โดยพบว่าการใช้ไฟต่อหัวประชากรพว่าปี 2557 ไทยอยู่ที่ 2,590หน่วยต่อคนต่อปีซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านแต่ก็ยังคงต่ำกว่าสิงคโปร์ และญี่ปุ่นอยู่พอสมควร
"กรณีน้ำมันถูกนั้นก็มีผู้ค้าบางรายอยากให้รัฐลดสัดส่วนการผสมเอทานอลลงโดยเฉพาะ E 85 โดยอาจจะลดต่ำลงมา 40-45% ก็กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะดำเนินการมากน้อยเพียงใดโดยจะต้องไม่กระทบกับผู้ใช้ด้วย "นายทวารัฐกล่าว
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า ทิศทางราคาน้ำมันดิบดูไบจะยังคงมีราคาผันผวนในทิศทางระดับต่ำเฉลี่ย 40-45 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลอีกประมาณ 16-18 เดือน เมื่อระดับราคาน้ำมันดิบต่ำจะมีผลทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยทรงตัวในระดับต่ำไปด้วย และสะท้อนไปยังราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าลดตามเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงพลังงานกังวลคือประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศที่เริ่มลดต่ำลงจากระดับราคาน้ำมันและค่าไฟที่ลด
"ผมอยากส่งสัญญาณว่าพลังงานที่มีราคาช่วงขาลงนี้อย่าเพลินกับการใช้แบบไร้ประสิทธิภาพซึ่งเราเป็นห่วงที่พบว่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของไทยหรือ Energy Intensity (EI) 6 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 8.38 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อพันล้านบาท ซึ่งEI คือหน่วยการใช้พลังงานต่อหนึ่งหน่วยGDP ที่เราผลิตได้ดังนั้นถ้าเพิ่มขึ้นแปลว่าผลิตของเท่าเดิมแต่ใช้พลังงานมากขึ้น หรือใช้พลังงานเท่าเดิมแต่มูลค่าของเราลดลงเกิดจาก GDP เราส่วนหนึ่งต่ำกว่าเป้าซึ่งโต 2.9% รอบ 6 เดือนแรกแต่เราใช้เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันอ่อนตัวทั้งๆ ที่ดูสถิติย้อนหลังEI มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา"นายทวารัฐกล่าว
สำหรับสถานการณ์การใช้พลังงานไทย 8 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.ส.ค.58) พบว่า มีการใช้พลังงานรวมอยู่ที่ 2.603 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือมีการใช้เพิ่มขึ้น 2.4%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากการผลิตในประเทศที่ลดลง 1.1% นำเข้าสุทธิเพิ่มขึ้น 8.6% ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบที่ 8.94 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยแยกเป็นการใช้ก๊าซฯสูงสุด 36% น้ำมัน 29% พลังงานทดแทน 20% ถ่านหิน/ลิกไนต์ 13% พลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า 2%
ขณะที่การใช้น้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 143 ล้านลิตรต่อวันเพิ่มขึ้น 2.2% แยกเป็นการใช้ดีเซล 60.32 ล้านลิตรต่อวันเพิ่มขึ้น 3.3% การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ เฉลี่ย 25.89 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 13.3% การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) 5.73 แสนตันต่อเดือนลดลง 7.7% เช่นเดียวกับการจัดหาอยู่ที่ 5.85 แสนตันต่อเดือนลดลง6.4%เพราะรัฐมีการปรับโครงสร้างราคาให้สะท้อนต้นทุน ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) 8.64 พันตันต่อวันลดลง 1.3%เนื่องจากน้ำมันถูกส่งผลให้ผู้ใช้บางส่วนหันกลับไปใช้น้ำมันแทน
นายทวารัฐกล่าวว่า ภาคไฟฟ้า 8 เดือนแรกปีนี้การผลิตอยู่ที่ 1.24 แสนล้านหน่วยเพิ่มขึ้น 2.6% โดยการผลิตจะใช้ก๊าซฯมากสุด 70% ถ่านหิน/ลิกไนต์ 18% นำเข้า 7% พลังงานหมุนเวียน 2% พลังงานน้ำ 2% และน้ำมัน 1% ส่วนการใช้อยู่ที่ 1.16 แสนล้านหน่วยเพิ่มขึ้น 3.4% ปัจจัยคือราคาค่าไฟที่ลดต่ำต่อเนื่อง 3เดือนและยังคงมีทิศทางลดลงตามราคาก๊าซฯที่สะท้อนจากน้ำมันต่ำย้อนหลัง 6 เดือนอีกแต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่ปัจจัยค่าเงินบาทว่าจะกระทบมากน้อยแค่ใด โดยพบว่าการใช้ไฟต่อหัวประชากรพว่าปี 2557 ไทยอยู่ที่ 2,590หน่วยต่อคนต่อปีซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านแต่ก็ยังคงต่ำกว่าสิงคโปร์ และญี่ปุ่นอยู่พอสมควร
"กรณีน้ำมันถูกนั้นก็มีผู้ค้าบางรายอยากให้รัฐลดสัดส่วนการผสมเอทานอลลงโดยเฉพาะ E 85 โดยอาจจะลดต่ำลงมา 40-45% ก็กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะดำเนินการมากน้อยเพียงใดโดยจะต้องไม่กระทบกับผู้ใช้ด้วย "นายทวารัฐกล่าว