“เรกูเลเตอร์”เคาะโครงสร้างค่าไฟใหม่แล้วเตรียมประกาศใช้ในบิลค่าไฟพ.ย.-ธ.ค.58 นี้ส่งผลให้ประชาชนจ่ายค่าไฟลดลง 1.05 สตางค์ต่อหน่วยทันที โดยหลักๆ มาจากการลงทุนที่ต่ำกว่าแผนจริงของ 3 การไฟฟ้า ระหว่างปี54-56กว่า 2.59 หมื่นล้านบาท ขณะที่ค่าบริการรายเดือนกดไม่ลงยังคงที่ 38.22 บาทต่อบิล
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กกพ.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับอัตราโครงสร้างค่าไฟฟ้าปี 2558-2560โดยจะมีผลในบิลค่าไฟที่เรียกเก็บกับประชาชนในเดือนพ.ย.-ธ.ค.58นี้ซึ่งจะทำให้ประชาชนจ่ายค่าไฟฟ้ารวมทั้งค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้สอัตโนมัติ(Ft) ลดลง 1.05สตางค์ต่อหน่วยซึ่งผลของการลดลงหลักๆมาจากการปรับแผนการลงทุนของ 3 การไฟฟ้า(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA)
“ เดิมจะต้องรีเซ็ต Ft เป็นศูนย์ตั้งแต่ค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. แต่ปรากฏว่าการศึกษายังไม่เสร็จ ซึ่งตอนนั้นได้ลด Ft ไปแล้ว 3.23 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้นค่าไฟฐานใหม่ก็จะอยู่ที่ 3.73 บาทต่อหน่วยและ Ft ติดลบที่ 3.23สตางค์ต่อหน่วยจากนั้นเดือนม.ค.-เม.ย. 59ก็จะมาพิจารณาค่า Ft ตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่แท้จริงใหม่”นายวีระพลกล่าว
น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) กล่าวว่า ระหว่าง 16-28 ก.ย.จะเปิดรับฟังความเห็นการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าปี 2558 ซึ่งภาพรวมได้มีพิจารณาทบทวนแผนการลงทุนของ3 การไฟฟ้า ตลอดจนแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้า การลงทุนของ 3 การไฟฟ้ารวมถึงนโยบายของรัฐในการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีรายได้น้อย ทำให้โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ เมื่อรวมกับค่าFtจะลดลงได้1.05 สต.ต่อหน่วย
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ลดลงได้ส่วนหนึ่งมาจากการพิจารณากำกับดูแลเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยในปี 2554-2556 พบว่า การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง มีเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนรวมเป็นเงินประมาณ 25,696 ล้านบาท โดยเฉพาะ ปี 2554 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่
ทำให้การไฟฟ้าไม่สามารถลงทุนได้ตามแผนงานที่กำหนด จึงผ่อนผันการพิจารณาบทปรับจากเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนเป็นการเฉพาะสำหรับปี 2554
สำหรับปี 2555-2556 กฟผ. และ กฟน. ลงทุนจริงต่ำกว่าแผนประมาณ 14,696 ล้านบาท ในขณะที่ กฟภ. ลงทุนได้สูงกว่าแผนเล็กน้อยเนื่องจากการเร่งการลงทุนที่ล่าช้าในปี 2554 และโครงการเร่งด่วนที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติม จึงได้พิจารณากำหนดบทปรับจากเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนของ กฟผ. และ กฟน. ในปี 2555-2556 จำนวน 3,220 ล้านบาท จำแนกเป็น กฟผ. จำนวน 1,909 ล้านบาท และ กฟน. จำนวน 1,311 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาใช้ปรับลดค่าไฟฟ้าขายปลีกลงได้ในเดือนพ.ย. 2558
“กกพ.ได้เห็นชอบโครงสร้างค่าไฟปี 2558 (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สาระสำคัญคือ ในส่วนอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกเฉลี่ยลดลงจำนวน 1.05 สต.ต่อหน่วย อัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยลดลงจำนวน 2.12 สต.ต่อหน่วย และอัตราเงินอุดหนุนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสตามนโยบายค่าไฟฟ้าฟรี 50 หน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และไฟฟ้าสำรอง ลดลงจากเดิม 2.65 สตางค์/หน่วย เหลือ 2.58 สตางค์/หน่วย หรือลดลงจำนวน 0.07 สตางค์/หน่วย”น.ส.นฤภัทรกล่าว
สำหรับการกำหนดอัตราค่าบริการรายเดือน จากการพิจารณาต้นทุนการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายในปี 2556 ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมในการอ่านหน่วยเครื่องวัดไฟฟ้า (Meter Reading) การจัดทำใบแจ้งหนี้ (Billing) งานเก็บเงิน (Collection) และงานบริการลูกค้า โดยไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ผู้ให้บริการชำระเงิน (เคาเตอร์เซอร์วิส) แล้ว เห็นควรให้คงอัตราค่าบริการรายเดือนสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทเท่ากับปัจจุบัน และ ทั้งนี้ ให้ กฟภ. รับภาระค่าธรรมเนียมหักบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในลักษณะเดียวกับ กฟน. ในปัจจุบัน เพื่อให้มีการบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันยิ่งขึ้น ซึ่งอัตรารายเดือนสำหรับค่าไฟฟ้าประเภทที่บ้านที่อยู่อาศัยทั่วไปยังอยู่ที่ 38.22บาทต่อเดือน.
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กกพ.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับอัตราโครงสร้างค่าไฟฟ้าปี 2558-2560โดยจะมีผลในบิลค่าไฟที่เรียกเก็บกับประชาชนในเดือนพ.ย.-ธ.ค.58นี้ซึ่งจะทำให้ประชาชนจ่ายค่าไฟฟ้ารวมทั้งค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้สอัตโนมัติ(Ft) ลดลง 1.05สตางค์ต่อหน่วยซึ่งผลของการลดลงหลักๆมาจากการปรับแผนการลงทุนของ 3 การไฟฟ้า(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA)
“ เดิมจะต้องรีเซ็ต Ft เป็นศูนย์ตั้งแต่ค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. แต่ปรากฏว่าการศึกษายังไม่เสร็จ ซึ่งตอนนั้นได้ลด Ft ไปแล้ว 3.23 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้นค่าไฟฐานใหม่ก็จะอยู่ที่ 3.73 บาทต่อหน่วยและ Ft ติดลบที่ 3.23สตางค์ต่อหน่วยจากนั้นเดือนม.ค.-เม.ย. 59ก็จะมาพิจารณาค่า Ft ตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่แท้จริงใหม่”นายวีระพลกล่าว
น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) กล่าวว่า ระหว่าง 16-28 ก.ย.จะเปิดรับฟังความเห็นการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าปี 2558 ซึ่งภาพรวมได้มีพิจารณาทบทวนแผนการลงทุนของ3 การไฟฟ้า ตลอดจนแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้า การลงทุนของ 3 การไฟฟ้ารวมถึงนโยบายของรัฐในการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีรายได้น้อย ทำให้โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ เมื่อรวมกับค่าFtจะลดลงได้1.05 สต.ต่อหน่วย
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ลดลงได้ส่วนหนึ่งมาจากการพิจารณากำกับดูแลเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยในปี 2554-2556 พบว่า การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง มีเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนรวมเป็นเงินประมาณ 25,696 ล้านบาท โดยเฉพาะ ปี 2554 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่
ทำให้การไฟฟ้าไม่สามารถลงทุนได้ตามแผนงานที่กำหนด จึงผ่อนผันการพิจารณาบทปรับจากเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนเป็นการเฉพาะสำหรับปี 2554
สำหรับปี 2555-2556 กฟผ. และ กฟน. ลงทุนจริงต่ำกว่าแผนประมาณ 14,696 ล้านบาท ในขณะที่ กฟภ. ลงทุนได้สูงกว่าแผนเล็กน้อยเนื่องจากการเร่งการลงทุนที่ล่าช้าในปี 2554 และโครงการเร่งด่วนที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติม จึงได้พิจารณากำหนดบทปรับจากเงินลงทุนที่ต่ำกว่าแผนของ กฟผ. และ กฟน. ในปี 2555-2556 จำนวน 3,220 ล้านบาท จำแนกเป็น กฟผ. จำนวน 1,909 ล้านบาท และ กฟน. จำนวน 1,311 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาใช้ปรับลดค่าไฟฟ้าขายปลีกลงได้ในเดือนพ.ย. 2558
“กกพ.ได้เห็นชอบโครงสร้างค่าไฟปี 2558 (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สาระสำคัญคือ ในส่วนอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกเฉลี่ยลดลงจำนวน 1.05 สต.ต่อหน่วย อัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยลดลงจำนวน 2.12 สต.ต่อหน่วย และอัตราเงินอุดหนุนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสตามนโยบายค่าไฟฟ้าฟรี 50 หน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และไฟฟ้าสำรอง ลดลงจากเดิม 2.65 สตางค์/หน่วย เหลือ 2.58 สตางค์/หน่วย หรือลดลงจำนวน 0.07 สตางค์/หน่วย”น.ส.นฤภัทรกล่าว
สำหรับการกำหนดอัตราค่าบริการรายเดือน จากการพิจารณาต้นทุนการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายในปี 2556 ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมในการอ่านหน่วยเครื่องวัดไฟฟ้า (Meter Reading) การจัดทำใบแจ้งหนี้ (Billing) งานเก็บเงิน (Collection) และงานบริการลูกค้า โดยไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ผู้ให้บริการชำระเงิน (เคาเตอร์เซอร์วิส) แล้ว เห็นควรให้คงอัตราค่าบริการรายเดือนสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทเท่ากับปัจจุบัน และ ทั้งนี้ ให้ กฟภ. รับภาระค่าธรรมเนียมหักบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในลักษณะเดียวกับ กฟน. ในปัจจุบัน เพื่อให้มีการบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันยิ่งขึ้น ซึ่งอัตรารายเดือนสำหรับค่าไฟฟ้าประเภทที่บ้านที่อยู่อาศัยทั่วไปยังอยู่ที่ 38.22บาทต่อเดือน.