เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับการชวนโดยท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ จากโรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี ให้เข้าร่วมฟังการถวายแผนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับเจ้าอาวาสวัดยานนาวาคือพระพรหมวชิรญาณ ผมรู้สึกดีใจมากเพราะมันสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทั้งท่านพระครูฯ และของผมเองด้วย
พระพรหมวชิรญาณนอกจากจะเป็นเจ้าอาวาสวัดยานนาวาซึ่งเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร แล้ว ท่านยังเป็นกรรมการเถรสมาคมด้วย ท่านพระครูฯ คุยกับผมว่า “เมื่อเจ้าอาวาสวัดยานนาวาซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่เริ่มต้นทำก็จะเป็นตัวอย่างกับวัดอื่นๆ ด้วย” ผมเสริมท่านพระครูฯ เหมือนที่เคยคุยกันหลายครั้งว่า “ผีเสื้อขยับปีกครับและเป็นผีเสื้อตัวใหญ่เสียด้วย”
ท่านพระครูฯ ได้ถวายคำแนะนำว่าควรจะติดขนาด 30 กิโลวัตต์ โดยที่ค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 1.7 ถึง 1.8 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของอุปกรณ์ (ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นค่าแผง) และหากใช้แผ่นเก่าราคาจะต่ำกว่านี้อีกประมาณ 3 แสนบาท โดยจะติดตั้งบนดาดฟ้าอาคาร 3 ชั้นซึ่งเป็นที่พักของแม่ชี คาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 240 ตารางเมตร เมื่อดูจากลานวัดด้านล่างแล้วจะไม่ทำลายทัศนียภาพของวัดหลวงแต่อย่างใดครับ
ผมได้เรียนถามท่านเจ้าอาวาสว่าทางวัดจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละเท่าใด ท่านตอบว่า “เดือนละประมาณ 4 แสนบาท อาตมาคิดเรื่องนี้มา 30 ปีแล้ว” ผมเองไม่ได้เรียนถามอะไรมาก เพราะรู้สึกเกร็งๆ แต่คำตอบที่ได้ฟังย่อมสะท้อนถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์ครั้งนี้จะมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้แค่ร้อยละ 3 ถึง 4 เท่านั้น ท่านพระครูฯ ได้แนะนำไปว่าต้องลดการใช้ลงด้วย
นอกจากวัดยานนาวาแล้ว พระพรหมวชิรญาณยังเป็นผู้สร้างวัดนวมินทรราชูทิศซึ่งเป็นวัดไทยตั้งอยู่ที่เมืองเรย์แฮม (ใกล้ๆ เมืองบอสตัน) รัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ติดมหาสมุทรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านเจ้าคุณได้นิมนต์ให้ท่านพระครูฯ ไปช่วยให้คำแนะนำในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่นั่นด้วย ซึ่งที่วัดไทยดังกล่าวเสียค่าไฟฟ้าเดือนละกว่า 8 หมื่นดอลลาร์
นอกจากนี้พระพรหมวชิรญาณยังมีโครงการจะติดโซลาร์เซลล์ขนาด 20 กิโลวัตต์ ที่วัดยางน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชาธานี ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเจ้าคุณ ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณก็ได้รับการนิมนต์ให้เป็นผู้ให้คำแนะนำอีกเช่นเคย
ที่เล่ามานี้ถือเป็นความก้าวหน้าของกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นอยากจะเห็นสิ่งดีๆเกิดขึ้นในสังคมไทยและโลกของเราพร้อมกับการลงมือทำจริงๆ ผมมั่นใจว่าหน่ออ่อนของกิจกรรมดังกล่าวจะขยายออกไปในวงกว้างของสังคมไทยอย่างรวดเร็ว เพราะพระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้กรุณาทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
สิ่งที่ผมรู้สึกน้อยใจก็คือ ยังไม่เห็นสถาบันการศึกษาใดในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยที่ผมเคยใช้ชีวิตมายาวนานกว่า 40 ปี ทั้งๆ ที่ผมได้ไปบรรยายให้ฟังแล้ว หรือจะให้รออีกสักกี่ปีครับ?
สหกรณ์ออมทรัพย์ในแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีเงินเหลือมากมายจนต้องไปปล่อยกู้ให้กับเครดิตยูเนี่ยน คลองจั่นจนเป็นข่าวการทุจริตใหญ่โต ในตอนท้ายผมจะแสดงให้เห็นว่า การลงทุนติดโซลาร์เซลล์เป็นทางเลือกที่ดีกว่าและไม่มีความเสี่ยงด้วย
หลังจากกลับมาจากวัดยานนาวา ผมรีบเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ในเมืองบอสตันทันดี ผมได้ความรู้ดีๆ เยอะครับ จะค่อยๆ เล่าให้ฟังเป็นลำดับต่อไปนี้
ผมขอสรุป 3 ข้อ ในแผ่นสไลด์ก่อน แล้วจะค่อยๆ เล่ารายละเอียดในภายหลังเพราะรู้สึกเกรงใจคนที่มีเวลาน้อยครับ
เอาเรื่องในสหรัฐอเมริกาก่อนดีกว่านะครับ
รายงานที่ผมอ้างถึงนี้ได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาโดยกรมพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (U.S. Department of Energy) ผมพยายามค้นหาวันที่พิมพ์ แต่หาไม่เจอครับ คาดว่าน่าเมื่อต้นเดือนมกราคม 2015) สองเมืองแรกที่น่าลงทุนติดตั้งมากที่สุดคือเมืองนิวยอร์ก (ซึ่งในปี 2012 ค่าไฟฟ้าแพงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ราคาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 เท่ากับ $0.181/kwh = 6.15 บาท) และเมืองบอสตันเพราะราคาค่าไฟฟ้าแพง
รายงานนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ชาวอเมริกันไม่ค่อยได้สนใจในเรื่องนี้ จากการศึกษาพบว่าการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ใน 46 เมืองจาก 50 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และใน 42 เมืองใหญ่ดังกล่าว ค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้เองจากโซลาร์เซลล์มีราคาถูกกว่าค่าไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านซื้อจากการไฟฟ้าฯ โดยที่การศึกษานี้อยู่บนข้อสมมติที่ว่า ลงทุนเอง 100% ด้วยเงินกู้อัตราดอกเบี้ย 5% (ย้ำ จ่ายดอกเบี้ยด้วย) ตลอด 25 ปีของอายุโซลาร์เซลล์ โดยที่ค่าไฟฟ้าในปีที่ 25 จะเพิ่มขึ้นอีก 33% ถึง 88%
ในปี 2014 มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านที่อาศัยในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 1 หลัง ขนาด 4.5 กิโลวัตต์ ในทุกๆ 2 นาที และมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นในกิจการนี้สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ ทั้งหมดถึงเกือบ 20 เท่าตัว (http://ecowatch.com/2015/01/15/solar-industry-jobs/)
อย่างไรก็ตาม ทำไมชาวอเมริกันจึงไม่ลงทุนติดตั้ง รายงานนี้ตั้งคำถาม พร้อมกับตอบเองว่า “มันเป็นความชัดเจนว่ามีช่องว่างทางสารสนเทศ (Information Gap) รายงานนี้จะเปิดตาเจ้าของบ้านโดยเฉลี่ยว่า ไฟฟ้าที่ผลิตได้เองนั้น เป็นทั้งเรื่องการประหยัดค่าไฟฟ้ารายเดือนอย่างมีนัยสำคัญและเป็นการลงทุนในระยะยาวด้วย ...มันเป็นความหวังของเราว่า ประชาชนจะกลับมารับรู้ความจริงว่า พลังงานแสงแดดในปัจจุบันไม่ใช่เป็นทางเลือกของคนร่ำรวยอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นโอกาสที่เป็นจริงสำหรับทุกคนที่กำลังหาอำนาจที่มากขึ้นในการควบคุมบิลค่าไฟฟ้ารายเดือน และการลงทุนในระยะยาวซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ”
เท่าที่ผมสืบค้นพบว่า ต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านพักอาศัยในสหรัฐอเมริกาแพงมาก คือ $5.22 ต่อวัตต์ (คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 1.83 แสนบาทต่อหนึ่งกิโลวัตต์ ในขณะที่ต้นทุนในประเทศไทยประมาณ 5-6 หมื่นบาท) ในจำนวนนี้เป็นค่าอุปกรณ์ (Hardware Costs) เพียง $1.90 เท่านั้น อีก $3.22 ที่เหลือหรือ 64% เป็นค่าดำเนินการ หรือ “Soft Costs” ซึ่งได้แก่ ค่าห่วงโซ่อุปทาน (61 เซ็นต์ต่อวัตต์)ค่าแรงงานติดตั้ง (55 เซ็นต์ต่อวัตต์) ค่าการหาลูกค้าใหม่ (Customer Acquisition)48 เซ็นต์ต่อวัตต์ รวมไปถึงค่าออกแบบและพัฒนา ค่าขออนุญาตและการตรวจสอบ 10 เซ็นต์ต่อวัตต์ เป็นต้น
ดังนั้น ใครก็ตามที่มีความรู้ความสามารถก็สามารถลดต้นทุนลงไปได้เยอะครับ ผมจึงเชื่อว่าท่านพระครูวิมลปัญญาคุณคงจะช่วยเหลือพระพรหมวชิรญาณได้มากสำหรับงานนี้
ภาพข้างล่างนี้ ผมได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพลังงานแสงแดดทั่วโลก โดยดูจากแถบสีที่บอกช่วงของพลังงานแสงอาทิตย์ต่อตารางเมตร นอกจากนี้ยังได้นำตัวเลขการผลิตไฟฟ้าได้จริงที่จังหวัดนนทบุรีและเมืองบอสตัน
ต่อไปนี้ผมจะอธิบายถึงวิธีการศึกษาเบื้องต้นของผม ซึ่งได้นำไปสู่ข้อสรุปว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 2.5 kw เพื่อใช้เองในจังหวัดนนทบุรีจะได้รับผลตอบแทนถึงร้อยละ 11.9 ต่อปี
(1) ใช้ข้อมูลการผลิตจากบ้านหลังหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครช่วงเวลา 7 เดือนแล้วคำนวณหาค่าตลอดทั้งปี พบว่าได้ไฟฟ้า1,492 หน่วยต่อปีต่อกิโลวัตต์ ดังนั้น ถ้าติด 2.5 kw จะได้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 310 หน่วย ถ้าบ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 400 หน่วย เจ้าของบ้านก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าเพียงเดือนละ 90 หน่วยเท่านั้น
(2) สอบถามราคากลางๆ จากท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ ซึ่งท่านทราบข้อมูลเยอะมากพบว่าการลงทุนทั้งระบบประมาณ 1.2 แสนบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการติดตั้ง และยี่ห้อของอุปกรณ์
(3) ศึกษาราคาค่าไฟฟ้าในเขตนครหลวงรวมค่าเอฟทีในช่วงปี 2555 ถึง 2558 พบว่า ถ้าใช้ไฟฟ้าจำนวนดังกล่าวจะเสียค่าไฟฟ้ารวมในอัตราหน่วยละ 3.92 บาท (โดยมีการเพิ่มค่าเอฟทีจาก 10 สตางค์เป็น 39.53 สตางค์) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 ต่อปี นั่นคือค่าไฟฟ้าในปีที่ 25 จะประมาณ 6.53 บาทต่อหน่วย (หมายเหตุ : ความจริงค่าเอฟทีอาจจะสูงกว่านี้ แต่เพราะว่าราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างผิดปกติมาก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินซึ่งในช่วงต้นปีค่าเงินบาทประมาณ 33 บาท ปัจจุบันอยู่ 36 บาทต่อดอลลาร์)
(4) ผลการศึกษาพบว่าจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าสะสมตลอด 25 ปีได้ 4.77 แสนบาท ถ้าไม่มีการกู้เงินมาลงทุนเลยจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 25 ปี ได้11.9% ต่อปี ถ้าไม่ติดโซลาร์เซลล์ แต่นำเงิน 1.2 แสนบาทไปฝากธนาคาร อัตราดอกเบี้ย 2.9% ต่อปี จะได้เงินรวมเพียงครึ่งหนึ่งของที่เกิดจากการประหยัดค่าไฟฟ้า
โดยสรุป การติดตั้งโซลาร์เซลล์ แม้จะไม่ได้รับการชดเชยใดๆ จากรัฐบาลเลย ก็ยังให้ผลตอบแทนสูงถึงปีละ 11.9% ของเงินลงทุนแล้วทำไมคนไทยจึงไม่นิยมติดโซลาร์เซลล์ ปัญหาคืออะไร?
เท่าที่ผมได้รับฟังมาจากผู้ร่วมแลกเปลี่ยนตามเวทีต่างๆ ได้ความว่า ถ้าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ตรวจพบว่า บ้านใดตัวเลขในมิเตอร์วัดพลังงานเพิ่มขึ้นในอัตราผิดปกติ เช่น ตัวเลขที่เคยเพิ่มขึ้นเดือนละ 400 หน่วย กลับเพิ่มขึ้นไม่ถึง 20 หน่วย หรือติดลบเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เจ้าหน้าที่ก็จะถอดมิเตอร์ไปตรวจ จากนั้นก็นำมิเตอร์แบบดิจิตอลมาติดให้ใหม่ (ในราคา 1 หมื่นบาท) มิเตอร์แบบนี้จะอนุญาตให้ไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้ไหลออกไปได้ โดยที่ตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่หากเราใช้ไฟฟ้าไหลเข้าจากสายส่งตัวเลขในมิเตอร์ก็จะเพิ่มขึ้นตามปกติ
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ในตอนกลางวันมีแดด สามารถผลิตไฟฟ้าได้ แต่ไม่มีใครอยู่บ้าน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จึงต้องไหลไปสู่สายส่งการไฟฟ้าฯ การไฟฟ้าฯ ได้รับไฟฟ้าไปฟรีๆ มิเตอร์ไม่หมุนถอยหลังเหมือนแบบจานหมุน เจ้าของบ้านจึงไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย ครั้นจะเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ ต้นทุนก็จะสูงขึ้น ยากที่คุ้มทุน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากแบตเตอร์รี่ก็มีเยอะ
ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีอยู่ 43 รัฐ ที่เขามีกฎหมายรองรับให้ใช้ระบบ Net Metering คือเมื่อไฟฟ้าไหลเข้าบ้าน มิเตอร์เดินไปข้างหน้า เมื่อไฟฟ้าไหลออกจากบ้าน มิเตอร์ก็หมุนถอยหลัง เมื่อสิ้นเดือนก็จ่ายค่าไฟฟ้ากันตามตัวเลขที่เหลืออยู่ในมิเตอร์
ในเยอรมนีซึ่งผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างเดียวได้มากกว่าที่คนอีสานของไทย 20 จังหวัดและ 17 จังหวัดภาคเหนือใช้รวมกันเยอรมนีเขารับซื้อไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าปกติ หรือเรียกว่ามีการชดเชย
ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณได้กรุณาบอกผมว่า ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ส่วนภูมิภาคได้เรียนกับท่านพระครูฯ ว่า ผู้ที่จะติดโซลาร์เซลล์ประเภทที่ไม่ต้องการขาย ให้ยื่นแบบฟอร์มเพื่อแจ้งให้การไฟฟ้าฯ ทราบเท่านั้นโดยไม่ต้องรอคำตอบ แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยตามที่การไฟฟ้ารับรอง ผมพยายามค้นหาระเบียบแต่ก็ยังไม่เจอครับ
ทำไมเรื่องดีๆ ในเมืองไทยเราจึงเกิดขึ้นได้ยากจัง ผมยังได้ยินเสียงนุ่มๆ เรียบๆ เย็นๆ ของท่านเจ้าคุณพระพรหมวชิรญาณได้ว่า “อาตมาคิดเรื่องนี้มา 30 ปีแล้ว” แล้วท่านจะสมหวังในเร็วๆ นี้ครับ
พระพรหมวชิรญาณนอกจากจะเป็นเจ้าอาวาสวัดยานนาวาซึ่งเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร แล้ว ท่านยังเป็นกรรมการเถรสมาคมด้วย ท่านพระครูฯ คุยกับผมว่า “เมื่อเจ้าอาวาสวัดยานนาวาซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่เริ่มต้นทำก็จะเป็นตัวอย่างกับวัดอื่นๆ ด้วย” ผมเสริมท่านพระครูฯ เหมือนที่เคยคุยกันหลายครั้งว่า “ผีเสื้อขยับปีกครับและเป็นผีเสื้อตัวใหญ่เสียด้วย”
ท่านพระครูฯ ได้ถวายคำแนะนำว่าควรจะติดขนาด 30 กิโลวัตต์ โดยที่ค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 1.7 ถึง 1.8 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของอุปกรณ์ (ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นค่าแผง) และหากใช้แผ่นเก่าราคาจะต่ำกว่านี้อีกประมาณ 3 แสนบาท โดยจะติดตั้งบนดาดฟ้าอาคาร 3 ชั้นซึ่งเป็นที่พักของแม่ชี คาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 240 ตารางเมตร เมื่อดูจากลานวัดด้านล่างแล้วจะไม่ทำลายทัศนียภาพของวัดหลวงแต่อย่างใดครับ
ผมได้เรียนถามท่านเจ้าอาวาสว่าทางวัดจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละเท่าใด ท่านตอบว่า “เดือนละประมาณ 4 แสนบาท อาตมาคิดเรื่องนี้มา 30 ปีแล้ว” ผมเองไม่ได้เรียนถามอะไรมาก เพราะรู้สึกเกร็งๆ แต่คำตอบที่ได้ฟังย่อมสะท้อนถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์ครั้งนี้จะมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้แค่ร้อยละ 3 ถึง 4 เท่านั้น ท่านพระครูฯ ได้แนะนำไปว่าต้องลดการใช้ลงด้วย
นอกจากวัดยานนาวาแล้ว พระพรหมวชิรญาณยังเป็นผู้สร้างวัดนวมินทรราชูทิศซึ่งเป็นวัดไทยตั้งอยู่ที่เมืองเรย์แฮม (ใกล้ๆ เมืองบอสตัน) รัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ติดมหาสมุทรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านเจ้าคุณได้นิมนต์ให้ท่านพระครูฯ ไปช่วยให้คำแนะนำในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่นั่นด้วย ซึ่งที่วัดไทยดังกล่าวเสียค่าไฟฟ้าเดือนละกว่า 8 หมื่นดอลลาร์
นอกจากนี้พระพรหมวชิรญาณยังมีโครงการจะติดโซลาร์เซลล์ขนาด 20 กิโลวัตต์ ที่วัดยางน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชาธานี ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเจ้าคุณ ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณก็ได้รับการนิมนต์ให้เป็นผู้ให้คำแนะนำอีกเช่นเคย
ที่เล่ามานี้ถือเป็นความก้าวหน้าของกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นอยากจะเห็นสิ่งดีๆเกิดขึ้นในสังคมไทยและโลกของเราพร้อมกับการลงมือทำจริงๆ ผมมั่นใจว่าหน่ออ่อนของกิจกรรมดังกล่าวจะขยายออกไปในวงกว้างของสังคมไทยอย่างรวดเร็ว เพราะพระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้กรุณาทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
สิ่งที่ผมรู้สึกน้อยใจก็คือ ยังไม่เห็นสถาบันการศึกษาใดในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยที่ผมเคยใช้ชีวิตมายาวนานกว่า 40 ปี ทั้งๆ ที่ผมได้ไปบรรยายให้ฟังแล้ว หรือจะให้รออีกสักกี่ปีครับ?
สหกรณ์ออมทรัพย์ในแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีเงินเหลือมากมายจนต้องไปปล่อยกู้ให้กับเครดิตยูเนี่ยน คลองจั่นจนเป็นข่าวการทุจริตใหญ่โต ในตอนท้ายผมจะแสดงให้เห็นว่า การลงทุนติดโซลาร์เซลล์เป็นทางเลือกที่ดีกว่าและไม่มีความเสี่ยงด้วย
หลังจากกลับมาจากวัดยานนาวา ผมรีบเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ในเมืองบอสตันทันดี ผมได้ความรู้ดีๆ เยอะครับ จะค่อยๆ เล่าให้ฟังเป็นลำดับต่อไปนี้
ผมขอสรุป 3 ข้อ ในแผ่นสไลด์ก่อน แล้วจะค่อยๆ เล่ารายละเอียดในภายหลังเพราะรู้สึกเกรงใจคนที่มีเวลาน้อยครับ
เอาเรื่องในสหรัฐอเมริกาก่อนดีกว่านะครับ
รายงานที่ผมอ้างถึงนี้ได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาโดยกรมพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (U.S. Department of Energy) ผมพยายามค้นหาวันที่พิมพ์ แต่หาไม่เจอครับ คาดว่าน่าเมื่อต้นเดือนมกราคม 2015) สองเมืองแรกที่น่าลงทุนติดตั้งมากที่สุดคือเมืองนิวยอร์ก (ซึ่งในปี 2012 ค่าไฟฟ้าแพงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ราคาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 เท่ากับ $0.181/kwh = 6.15 บาท) และเมืองบอสตันเพราะราคาค่าไฟฟ้าแพง
รายงานนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ชาวอเมริกันไม่ค่อยได้สนใจในเรื่องนี้ จากการศึกษาพบว่าการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ใน 46 เมืองจาก 50 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และใน 42 เมืองใหญ่ดังกล่าว ค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้เองจากโซลาร์เซลล์มีราคาถูกกว่าค่าไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านซื้อจากการไฟฟ้าฯ โดยที่การศึกษานี้อยู่บนข้อสมมติที่ว่า ลงทุนเอง 100% ด้วยเงินกู้อัตราดอกเบี้ย 5% (ย้ำ จ่ายดอกเบี้ยด้วย) ตลอด 25 ปีของอายุโซลาร์เซลล์ โดยที่ค่าไฟฟ้าในปีที่ 25 จะเพิ่มขึ้นอีก 33% ถึง 88%
ในปี 2014 มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านที่อาศัยในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 1 หลัง ขนาด 4.5 กิโลวัตต์ ในทุกๆ 2 นาที และมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นในกิจการนี้สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ ทั้งหมดถึงเกือบ 20 เท่าตัว (http://ecowatch.com/2015/01/15/solar-industry-jobs/)
อย่างไรก็ตาม ทำไมชาวอเมริกันจึงไม่ลงทุนติดตั้ง รายงานนี้ตั้งคำถาม พร้อมกับตอบเองว่า “มันเป็นความชัดเจนว่ามีช่องว่างทางสารสนเทศ (Information Gap) รายงานนี้จะเปิดตาเจ้าของบ้านโดยเฉลี่ยว่า ไฟฟ้าที่ผลิตได้เองนั้น เป็นทั้งเรื่องการประหยัดค่าไฟฟ้ารายเดือนอย่างมีนัยสำคัญและเป็นการลงทุนในระยะยาวด้วย ...มันเป็นความหวังของเราว่า ประชาชนจะกลับมารับรู้ความจริงว่า พลังงานแสงแดดในปัจจุบันไม่ใช่เป็นทางเลือกของคนร่ำรวยอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นโอกาสที่เป็นจริงสำหรับทุกคนที่กำลังหาอำนาจที่มากขึ้นในการควบคุมบิลค่าไฟฟ้ารายเดือน และการลงทุนในระยะยาวซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ”
เท่าที่ผมสืบค้นพบว่า ต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านพักอาศัยในสหรัฐอเมริกาแพงมาก คือ $5.22 ต่อวัตต์ (คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 1.83 แสนบาทต่อหนึ่งกิโลวัตต์ ในขณะที่ต้นทุนในประเทศไทยประมาณ 5-6 หมื่นบาท) ในจำนวนนี้เป็นค่าอุปกรณ์ (Hardware Costs) เพียง $1.90 เท่านั้น อีก $3.22 ที่เหลือหรือ 64% เป็นค่าดำเนินการ หรือ “Soft Costs” ซึ่งได้แก่ ค่าห่วงโซ่อุปทาน (61 เซ็นต์ต่อวัตต์)ค่าแรงงานติดตั้ง (55 เซ็นต์ต่อวัตต์) ค่าการหาลูกค้าใหม่ (Customer Acquisition)48 เซ็นต์ต่อวัตต์ รวมไปถึงค่าออกแบบและพัฒนา ค่าขออนุญาตและการตรวจสอบ 10 เซ็นต์ต่อวัตต์ เป็นต้น
ดังนั้น ใครก็ตามที่มีความรู้ความสามารถก็สามารถลดต้นทุนลงไปได้เยอะครับ ผมจึงเชื่อว่าท่านพระครูวิมลปัญญาคุณคงจะช่วยเหลือพระพรหมวชิรญาณได้มากสำหรับงานนี้
ภาพข้างล่างนี้ ผมได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพลังงานแสงแดดทั่วโลก โดยดูจากแถบสีที่บอกช่วงของพลังงานแสงอาทิตย์ต่อตารางเมตร นอกจากนี้ยังได้นำตัวเลขการผลิตไฟฟ้าได้จริงที่จังหวัดนนทบุรีและเมืองบอสตัน
ต่อไปนี้ผมจะอธิบายถึงวิธีการศึกษาเบื้องต้นของผม ซึ่งได้นำไปสู่ข้อสรุปว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 2.5 kw เพื่อใช้เองในจังหวัดนนทบุรีจะได้รับผลตอบแทนถึงร้อยละ 11.9 ต่อปี
(1) ใช้ข้อมูลการผลิตจากบ้านหลังหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครช่วงเวลา 7 เดือนแล้วคำนวณหาค่าตลอดทั้งปี พบว่าได้ไฟฟ้า1,492 หน่วยต่อปีต่อกิโลวัตต์ ดังนั้น ถ้าติด 2.5 kw จะได้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 310 หน่วย ถ้าบ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 400 หน่วย เจ้าของบ้านก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าเพียงเดือนละ 90 หน่วยเท่านั้น
(2) สอบถามราคากลางๆ จากท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ ซึ่งท่านทราบข้อมูลเยอะมากพบว่าการลงทุนทั้งระบบประมาณ 1.2 แสนบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการติดตั้ง และยี่ห้อของอุปกรณ์
(3) ศึกษาราคาค่าไฟฟ้าในเขตนครหลวงรวมค่าเอฟทีในช่วงปี 2555 ถึง 2558 พบว่า ถ้าใช้ไฟฟ้าจำนวนดังกล่าวจะเสียค่าไฟฟ้ารวมในอัตราหน่วยละ 3.92 บาท (โดยมีการเพิ่มค่าเอฟทีจาก 10 สตางค์เป็น 39.53 สตางค์) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 ต่อปี นั่นคือค่าไฟฟ้าในปีที่ 25 จะประมาณ 6.53 บาทต่อหน่วย (หมายเหตุ : ความจริงค่าเอฟทีอาจจะสูงกว่านี้ แต่เพราะว่าราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างผิดปกติมาก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินซึ่งในช่วงต้นปีค่าเงินบาทประมาณ 33 บาท ปัจจุบันอยู่ 36 บาทต่อดอลลาร์)
(4) ผลการศึกษาพบว่าจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าสะสมตลอด 25 ปีได้ 4.77 แสนบาท ถ้าไม่มีการกู้เงินมาลงทุนเลยจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 25 ปี ได้11.9% ต่อปี ถ้าไม่ติดโซลาร์เซลล์ แต่นำเงิน 1.2 แสนบาทไปฝากธนาคาร อัตราดอกเบี้ย 2.9% ต่อปี จะได้เงินรวมเพียงครึ่งหนึ่งของที่เกิดจากการประหยัดค่าไฟฟ้า
โดยสรุป การติดตั้งโซลาร์เซลล์ แม้จะไม่ได้รับการชดเชยใดๆ จากรัฐบาลเลย ก็ยังให้ผลตอบแทนสูงถึงปีละ 11.9% ของเงินลงทุนแล้วทำไมคนไทยจึงไม่นิยมติดโซลาร์เซลล์ ปัญหาคืออะไร?
เท่าที่ผมได้รับฟังมาจากผู้ร่วมแลกเปลี่ยนตามเวทีต่างๆ ได้ความว่า ถ้าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ตรวจพบว่า บ้านใดตัวเลขในมิเตอร์วัดพลังงานเพิ่มขึ้นในอัตราผิดปกติ เช่น ตัวเลขที่เคยเพิ่มขึ้นเดือนละ 400 หน่วย กลับเพิ่มขึ้นไม่ถึง 20 หน่วย หรือติดลบเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เจ้าหน้าที่ก็จะถอดมิเตอร์ไปตรวจ จากนั้นก็นำมิเตอร์แบบดิจิตอลมาติดให้ใหม่ (ในราคา 1 หมื่นบาท) มิเตอร์แบบนี้จะอนุญาตให้ไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้ไหลออกไปได้ โดยที่ตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่หากเราใช้ไฟฟ้าไหลเข้าจากสายส่งตัวเลขในมิเตอร์ก็จะเพิ่มขึ้นตามปกติ
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ในตอนกลางวันมีแดด สามารถผลิตไฟฟ้าได้ แต่ไม่มีใครอยู่บ้าน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จึงต้องไหลไปสู่สายส่งการไฟฟ้าฯ การไฟฟ้าฯ ได้รับไฟฟ้าไปฟรีๆ มิเตอร์ไม่หมุนถอยหลังเหมือนแบบจานหมุน เจ้าของบ้านจึงไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย ครั้นจะเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ ต้นทุนก็จะสูงขึ้น ยากที่คุ้มทุน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากแบตเตอร์รี่ก็มีเยอะ
ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีอยู่ 43 รัฐ ที่เขามีกฎหมายรองรับให้ใช้ระบบ Net Metering คือเมื่อไฟฟ้าไหลเข้าบ้าน มิเตอร์เดินไปข้างหน้า เมื่อไฟฟ้าไหลออกจากบ้าน มิเตอร์ก็หมุนถอยหลัง เมื่อสิ้นเดือนก็จ่ายค่าไฟฟ้ากันตามตัวเลขที่เหลืออยู่ในมิเตอร์
ในเยอรมนีซึ่งผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างเดียวได้มากกว่าที่คนอีสานของไทย 20 จังหวัดและ 17 จังหวัดภาคเหนือใช้รวมกันเยอรมนีเขารับซื้อไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าปกติ หรือเรียกว่ามีการชดเชย
ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณได้กรุณาบอกผมว่า ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ส่วนภูมิภาคได้เรียนกับท่านพระครูฯ ว่า ผู้ที่จะติดโซลาร์เซลล์ประเภทที่ไม่ต้องการขาย ให้ยื่นแบบฟอร์มเพื่อแจ้งให้การไฟฟ้าฯ ทราบเท่านั้นโดยไม่ต้องรอคำตอบ แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยตามที่การไฟฟ้ารับรอง ผมพยายามค้นหาระเบียบแต่ก็ยังไม่เจอครับ
ทำไมเรื่องดีๆ ในเมืองไทยเราจึงเกิดขึ้นได้ยากจัง ผมยังได้ยินเสียงนุ่มๆ เรียบๆ เย็นๆ ของท่านเจ้าคุณพระพรหมวชิรญาณได้ว่า “อาตมาคิดเรื่องนี้มา 30 ปีแล้ว” แล้วท่านจะสมหวังในเร็วๆ นี้ครับ