1. คำนำ
เพื่อไม่ให้ท่านผู้อ่านคิดว่าผมนำเรื่องไร้สาระมาเขียน ผมจึงขอนำเสนอภาพปกของรายงานฉบับหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับชื่อบทความนี้ ความหมายของชื่อเรื่องก็คือ “ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เอง” ผู้จัดทำรายงานนี้คือสมาคม EPIA ที่ย่อมาจาก European Photovoltaic Industry Association ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2020 ไฟฟ้าที่ใช้ในทวีปยุโรปจะต้องมาจากโซลาร์เซลล์ร้อยละ 4 ถึง 8 ของไฟฟ้าทั้งหมด และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ถึง 15 ในปี 2030 นี่คือเป้าทางธุรกิจของเขา
เราคงคุ้นเคยกับคำพูดว่า “ปลูกผักกินเอง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนยากสำหรับคนในเมือง แต่มาคราวนี้ผมขอชวนมา “ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง” ซึ่งผมคาดว่าท่านผู้อ่านคงจะรู้สึกในทันทีว่ามันยิ่งยากกว่าการปลูกผักกินเองเสียอีก แต่ผมเชื่อว่าเมื่อท่านอ่านบทความนี้จนจบแล้ว ท่านจะเปลี่ยนใจ โดยผมมีเหตุผล 5 ประการในการนำเสนอเรื่องนี้ คือ
หนึ่ง เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในเชิงเทคโนโลยี สอง ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตที่ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีก สาม หากไม่มีเงินลงทุน บางธนาคารก็ปล่อยสินเชื่อด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.88 ต่อปี ซึ่งในกรณีที่สามนี้ก็ยังพอได้ผลตอบแทนมากกว่าค่าดอกเบี้ยเล็กน้อย (หากสามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฯ ได้) สี่ เป็นการทำระบบพลังงานไฟฟ้าให้เป็นประชาธิปไตย (Energy Democracy) แทนที่จะเป็นระบบผูกขาด (Energy Monopoly) ดังที่เป็นมาตลอดเกือบร้อยปีในประวัติศาสตร์ และ ห้า ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งระดับชุมชนและระดับโลก ท่านใดจะให้ความสำคัญกับข้อไหนมากกว่ากัน ก็แล้วแต่ท่านจะจัดลำดับกันเอาเองนะครับ
2. ความเคลื่อนไหวล่าสุดจากรัฐบาลไทย
หลายท่านคงทราบกันดีแล้วว่า ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลชุดต่างๆ ได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ แต่ส่วนใหญ่ไปส่งเสริมในโครงการขนาดใหญ่ ติดตั้งบนพื้นดินที่เรียกว่าโซลาร์ฟาร์ม โดยรัฐบาลได้จ่ายค่าไฟฟ้าในราคาสูงกว่าปกติค่อนข้างมาก ส่งผลให้บางคนได้กลายเป็นมหาเศรษฐีในพริบตา
ในช่วงหลังหรือประมาณ 3-4 ปีมานี้ รัฐบาลก็ได้ส่งเสริมให้ติดตั้งบนหลังคาอาคารและบ้านเรือนแต่มีการจำกัดจำนวนไว้ระดับหนึ่ง พร้อมกับมีรายละเอียดที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งมากมาย เช่น ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบโรงงาน ต้องมีวิศวกรเซ็นรับรองความแข็งแรงของหลังคา แล้วจึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาให้ขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ โดยกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับบ้านที่ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ในอัตราหน่วยละ 6.96 บาท วิธีการดังกล่าวจึงไม่ดึงดูดความสนใจของเจ้าของบ้านทั่วๆ ไป เพราะมีความยุ่งยากมาก และจำนวนที่จะอนุญาตสำหรับบ้านอาศัยก็แค่ 100 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 1-2 หมื่นหลังคาเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ในขณะที่ทางราชการที่เกี่ยวข้องก็โฆษณาปาวๆ เพื่อจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน
ล่าสุด สภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ได้ผ่านมติที่เรียกว่า “ปฏิรูปเร็ว (Quick Win)” เพื่อให้รัฐบาลส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาด้วยโซลาร์เซลล์อย่างเสรี คือไม่จำกัดจำนวน โดยให้ทางราชการไปกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสม จูงใจต่อการติดตั้ง แต่ก็ไม่สูงเกินไปจนเป็นภาระทางการเงินและความสามารถของระบบสายส่ง (ซึ่งก็คล้ายๆ กับความกว้างของถนนเพื่อรองรับจำนวนรถยนต์ที่เหมาะสม) พร้อมกันนี้ก็ให้แก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรค ที่ไม่สร้างสรรค์ แต่ยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยในระดับมาตรฐานของระบบไฟฟ้าดังเดิม
มติดังกล่าวได้ผ่านสภาปฏิรูปเมื่อต้นปีใหม่หยกๆ จนป่านนี้แล้วเรายังไม่ทราบความคืบหน้าอะไรเลย นี่หรือที่เรียกว่าปฏิรูปเร็ว แต่กลับอืดเหมือนหอยทาก
3. มาผลิตไฟฟ้าใช้เองกันเถอะ ไม่ต้องรอรัฐบาล ไม่ต้องใช้คนกลาง
ความจริงแล้ว เหตุการณ์ที่ผมได้ลำดับมาแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับประเทศที่ภาคประชาชนยังอ่อนแอครับ ดร.เฮอร์มานน์ เชียร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลกที่มีบทบาทสำคัญทำให้ประเทศเยอรมนีประสบผลสำเร็จในการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ได้เคยสรุปเป็นบทเรียนไว้แล้ว มันช่างสอดคล้องกับสถานการณ์ในบ้านเราราวกับตาเห็น
ดร.เฮอร์มานน์ได้ให้สัมภาษณ์ในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเสียชีวิตไม่กี่วันเมื่อปี 2554 (รายการ Democracy Now!) ว่า “เรากำลังอยู่ในการแข่งขันระหว่างการรวมศูนย์กับการกระจายศูนย์ ระหว่างการผูกขาดพลังงานกับประชาธิปไตยพลังงาน การขับเคลื่อนสังคมคือสิ่งสำคัญที่สุด เมื่อประชาชนเห็นแจ้ง เขาไม่สามารถนั่งรอรัฐบาลหรือให้รัฐบาลทำ แต่ประชาชนจะทำด้วยตนเอง มันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน”
“สิ่งที่สำคัญที่สุด ประชาชนจำเป็นต้องร่วมปฏิบัติการ เพื่อข้ามพ้นอุปสรรคการบริหารและขั้นตอนทางราชการ ที่ขัดขวางพลังงานหมุนเวียน กฎเกณฑ์ที่สนับสนุนพลังงานที่เป็นอยู่ และกีดกันการกระจายพลังงานหมุนเวียนจำเป็นจะต้องถูกแฉและรื้อทิ้ง”
คำพูดของ ดร.เฮอร์มานน์ ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า เรามาผลิตไฟฟ้าใช้เองกันเถอะ ไม่ต้องรอรัฐบาล โดยไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ เพิ่มเติม
แต่สำหรับ “ไม่ต้องใช้คนกลาง” นั้นต้องขออธิบายสักนิดนะครับ คือขณะนี้ได้มีบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว จะมาขอเช่าพื้นที่ของสถานที่ราชการ สมาคม สหกรณ์ อบต. ฯลฯ โดยให้ผลตอบแทนในระดับหนึ่ง ดังที่ผมได้นำมาเล่าในบทความครั้งก่อนนี้ มหาวิทยาลัยที่ผมเคยเรียนก็ได้รับการติดต่อซึ่งผมได้แสดงความเห็นไปแล้วว่า “อายเขานะ” เพราะมันเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่มีความเสี่ยง เงินลงทุนก็สามารถหมุนได้โดยไม่ยากเย็น สหกรณ์ออมทรัพย์ก็มีเงินเหลือจนต้องนำไปฝากให้เขาโกงเล่นกันอย่างสนุกสนาน
มาคิดกันใหม่เถอะครับ ยิ่งเศรษฐกิจประเทศกำลังซบเซา การติดตั้งโซลาร์เซลล์จะมีการจ้างงานหลายหมื่นคน เงินจะหมุนอย่างรวดเร็ว นับแสนล้านบาท ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวซ้ำในที่นี้ มาตรงเป้าว่าเราจะร่วมปฏิบัติการกันได้อย่างไร
4. คำแนะนำเบื้องต้นในการติดตั้งเพื่อใช้เอง
คำถามที่ผมได้รับบ่อยที่สุดก็คือ จะติดขนาดเท่าใด อยากติดด้วยแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เป็นต้น
4.1 จะติดขนาดเท่าใด
คำถามนี้ต้องเริ่มต้นว่า โดยปกติที่บ้านใช้ไฟฟ้าเดือนละกี่หน่วย ซึ่งคนทั่วไปมักจะตอบไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละกี่บาท ก็สามารถตอบกันได้ ตารางข้างล่างนี้ผมได้ลองคำนวณจากเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง โดยได้รวมค่าเอฟที (หน่วยละ 58.96 สตางค์ ลดลงจากปีก่อนที่ 69 สตางค์ เพราะราคาน้ำมันลดลง) ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าบริการไว้ด้วยแล้ว ในแถวล่างสุดของตารางเป็นราคาเฉลี่ยต่อหน่วย (ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยไม่ต้องจ่าย ตามนโยบายของรัฐบาล)
เนื่องจากในขณะนี้เรายังไม่สามารถขายไฟฟ้าให้กับทางการไฟฟ้าฯ ได้ ดังนั้นจำนวนโซลาร์เซลล์ที่ติดจึงไม่ควรจะผลิตไฟฟ้าได้มากที่เราใช้
จากข้อมูลที่ได้รับจากหลายพื้นที่และจากทางราชการพบว่า โซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์จะผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยเดือนละ 113 หน่วย ดังนั้น ถ้าปัจจุบันเราใช้ไฟฟ้าเดือนละ 400 หน่วยหรือ 1,736 บาท เราก็ควรติดขนาด 3 กิโลวัตต์ เมื่อติดแล้วเราก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกิน 339 หน่วย (หรือ 61 หน่วย) นั่นคือเราจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้เท่ากับ 400 คูณ 4.34 หรือเท่ากับ 1,471 บาท ถ้าการใช้ไฟฟ้าต่างไปจากนี้ก็สามารถคำนวณคร่าวๆ จากตารางนะครับ
4.2 ใช้พื้นที่เท่าใด น้ำหนักรวมเท่าใด โดยปกติระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 3 กิโลวัตต์จะใช้พื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร โดยที่น้ำหนักต่อตารางเมตรประมาณ 17 กิโลกรัม ดังนั้นจึงไม่น่าจะกระทบต่อความแข็งแรงของบ้านโดยทั่วไป แต่สิ่งที่ต้องระวังคือแรงลมกรรโชก เพราะแผงมีอายุการใช้งานนาน 25 ปีหรือมากกว่าเล็กน้อย
4.3 ระบบการทำงานเป็นอย่างไร ต้องมีแบตเตอรี่ไหม
ถ้าบ้านใดที่มีไฟฟ้าถึงแล้ว ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ครับ ช่วงเวลาที่แผงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็เป็นช่วงที่มีแสงแดดในเวลากลางวัน กราฟข้างล่างนี้แสดงปริมาณไฟฟ้าที่เราเคยใช้และที่เราผลิตได้ในช่วง 24 ชั่วโมง (มาจากรายงานของ EPIA) ค่อยๆ ดูแบบใจเย็นๆ นะครับ เดี๋ยวก็จะเข้าใจ
เริ่มต้นจากหลังเที่ยงคืนซึ่งเราใช้ไฟฟ้าน้อย แล้วค่อยๆ มากขึ้นในช่วงกลางวัน(ถ้าอยู่บ้าน) แล้วก็ลดน้อยลงอีกครั้งในช่วงหัวค่ำ (ตามเส้นสีฟ้าในกราฟ) ในขณะการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จะสูงสุดในช่วงประมาณเที่ยงวัน (ตามเส้นสีน้ำตาล)
จากกราฟนี้แสดงว่า ในช่วงประมาณ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่เราใช้ ดังนั้น ไฟฟ้าที่เหลือใช้จะไหลเข้าสู่สายส่งของการไฟฟ้าฯ ในช่วงดังกล่าวมิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนถอยหลัง (ระบบจานหมุน) ไฟฟ้าที่เหลือจะถูกส่งไปใช้ที่บ้านอื่นข้างเคียง หลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว ไฟฟ้าจากสายส่งก็จะไหลเข้ามาบ้านเราตามปกติ แผนผังการทำงานและโครงสร้างการเชื่อมต่ออุปกรณ์ดูได้จากรูปถัดไปครับ
ระบบไฟฟ้ามันสามารถจัดการไหลของมันเองครับ เราไม่ต้องคอยระวังสับสวิตช์ขึ้นลงให้วุ่นวาย การไหลของไฟฟ้าก็เหมือนกับน้ำครับ คือไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ ไฟฟ้าก็ไหลจากที่มีศักดาสูงไปสู่ศักดาต่ำ (ไม่ใช่ความสูงของหลังคานะ)
มาถึงตอนนี้ ถ้าเปรียบเทียบระหว่างการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองกับการปลูกผักไว้กินเองอย่างไหนจะยากกว่ากัน ผมว่าท่านผู้อ่านคงจะตอบเองได้ในใจ ยกเว้นอย่างเดียวคือเรื่องต้นทุน
4.4 เรื่องต้นทุน
ถ้าเราค้นจากเว็บไซต์ของบริษัทที่ทำธุรกิจเรื่องนี้จะประมาณ 7- 8 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์ แต่ถ้าเรารู้จักสืบค้นหรือหาซื้ออุปกรณ์เองจะได้ของถูกกว่านี้ในคุณภาพที่เท่ากัน
เท่าที่ผมได้รับความรู้จากผู้มีประสบการณ์ (ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ โรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี) พอสรุปได้ว่าขนาด 1 กิโลวัตต์ก็ประมาณ 4 หมื่นบาทเศษ ถ้าเป็น 3 กิโลวัตต์ก็ประมาณ 1.4-1.5 แสนบาท
ถ้าเราซื้อของเองจำนวนเยอะๆ (หากรวมตัวกัน) โดยสั่งจากต่างประเทศแต่ส่งถึงบ้านก็จะได้ราคาถูกกว่านี้ จากนั้นก็ติดต่อช่างซึ่งเขาคิดค่าแรงติดตั้งในราคาคร่าวๆวัตต์ละ 5-20 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน ถ้าต้องปีนหลังคาที่ยากและเสี่ยงสูงก็แพงหน่อย
4.5 การขออนุญาต
หากไม่คิดจะขายไฟฟ้าก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใดๆ แต่อย่าลืมว่าต้องใช้อุปกรณ์ที่การไฟฟ้าฯ รับรองคุณภาพ อย่างไรก็ตาม หากมีการติดกันเยอะๆ เกินกว่าร้อยละ 20 ของความสามารถของหม้อแปลงไฟฟ้าในบริเวณเดียวกัน ก็จะมีปัญหา แต่หากบรรยากาศเฉื่อยเนือยของภาครัฐยังคงเป็นอย่างนี้ ผมคาดว่าอีก 100 ปีก็ยังไม่มีปัญหาดังกล่าว
4.6 ระยะเวลาคืนทุน
สมมติว่าเราลงทุนขนาด 3 กิโลวัตต์ ด้วยราคา 150,000 บาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,350 หน่วยต่อกิโลวัตต์ คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ปีละ 17,577 บาท ถ้าค่าไฟฟ้าเท่าเดิมตลอดในเวลา 8 ปี ครึ่งก็จะสามารถได้ทุนคืน ที่เหลืออีก 16 ปีครึ่งก็ได้ใช้ไฟฟ้าฟรี (ไม่คิดดอกเบี้ยจากการลงทุน)
ในกรณีที่คิดค่าเสียโอกาสจากการถอนเงินที่เคยฝากธนาคารโดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี และค่าไฟฟ้าขึ้นราคาปีละ 2% (ข้อมูลย้อนหลังสิบกว่าปีขึ้นราคาปีละ 4.4%) พบว่าในปีที่ 10 กว่าๆ ก็สามารถคุ้มทุน ดังตารางที่ผมคำนวณครับ
5. บทเรียนดีๆ จากต่างประเทศ
ในขณะนี้ 43 รัฐในสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ทั้งๆ ที่รัฐส่วนใหญ่ในจำนวนนี้มีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทย วิธีการรับซื้อเขาใช้วิธีคิดมิเตอร์รวม (Net metering) เหมือนที่ผมได้อธิบายมาแล้วในหัวข้อ 4.3
ในทวีปยุโรปในหลายประเทศก็ใช้วิธีเดียวตามเอกสารในรายงานที่ผมนำปกมาแสดง
เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2558 รัฐสภาฝรั่งเศสได้ผ่านกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งริเริ่มโดยกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สาระสำคัญของกฎหมายก็คือ อาคารใหม่ทุกหลังที่อยู่ในย่านธุรกิจ เจ้าของอาคารจะถูกบังคับให้เลือกระหว่างการติดโซลาร์เซลล์หรือการปลูกพืชคลุมหลังคาเพื่อชะลอน้ำฝนไม่ให้ไหลลงมาท่วมเมือง เหมือนกับใน กทม. (คำหลังสุดนี้ ผมแถมมาเองครับ) ผมนำภาพมาให้ดูด้วยครับ
สุดท้ายครับ ในประเทศเม็กซิโก เขาได้เปลี่ยนแนวคิดในนโยบายพลังงานจากที่เคยพิจารณา 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐศาสตร์ของอุปทานพลังงาน ด้านความมั่นคงด้านพลังงาน (ที่ท่านประยุทธ์ ถามเองตอบเองกับนักข่าวว่า ไม่ขาดแคลน) และด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นการพิจารณาถึง 4 เสาหลัก คือ การยอมรับของสาธารณะ ผมตัดรูปมาลงด้วยครับ
ผมกำลังทำหน้าที่ “แฉ” (ตามคำแนะนำของ ดร.เฮอร์มานน์) ให้เห็นว่าประเทศอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้ว คสช.อย่าให้พวกพ่อค้าพลังงานและข้าราชการบางกลุ่มหลอกใช้นะครับ มันจะเสียเหลี่ยม เสียคน หมดนะ
อ้อ ประชาชนก็ต้องช่วยกันด้วยนะครับ ฉลองสงกรานต์เสร็จแล้วมาลุยกันต่อนะ นี่คือทางรอดเดียวของประชาชนเราครับ รอรัฐบาลไม่ได้ ทำเองเลย
เพื่อไม่ให้ท่านผู้อ่านคิดว่าผมนำเรื่องไร้สาระมาเขียน ผมจึงขอนำเสนอภาพปกของรายงานฉบับหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับชื่อบทความนี้ ความหมายของชื่อเรื่องก็คือ “ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เอง” ผู้จัดทำรายงานนี้คือสมาคม EPIA ที่ย่อมาจาก European Photovoltaic Industry Association ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2020 ไฟฟ้าที่ใช้ในทวีปยุโรปจะต้องมาจากโซลาร์เซลล์ร้อยละ 4 ถึง 8 ของไฟฟ้าทั้งหมด และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ถึง 15 ในปี 2030 นี่คือเป้าทางธุรกิจของเขา
เราคงคุ้นเคยกับคำพูดว่า “ปลูกผักกินเอง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนยากสำหรับคนในเมือง แต่มาคราวนี้ผมขอชวนมา “ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง” ซึ่งผมคาดว่าท่านผู้อ่านคงจะรู้สึกในทันทีว่ามันยิ่งยากกว่าการปลูกผักกินเองเสียอีก แต่ผมเชื่อว่าเมื่อท่านอ่านบทความนี้จนจบแล้ว ท่านจะเปลี่ยนใจ โดยผมมีเหตุผล 5 ประการในการนำเสนอเรื่องนี้ คือ
หนึ่ง เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในเชิงเทคโนโลยี สอง ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตที่ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีก สาม หากไม่มีเงินลงทุน บางธนาคารก็ปล่อยสินเชื่อด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.88 ต่อปี ซึ่งในกรณีที่สามนี้ก็ยังพอได้ผลตอบแทนมากกว่าค่าดอกเบี้ยเล็กน้อย (หากสามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฯ ได้) สี่ เป็นการทำระบบพลังงานไฟฟ้าให้เป็นประชาธิปไตย (Energy Democracy) แทนที่จะเป็นระบบผูกขาด (Energy Monopoly) ดังที่เป็นมาตลอดเกือบร้อยปีในประวัติศาสตร์ และ ห้า ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งระดับชุมชนและระดับโลก ท่านใดจะให้ความสำคัญกับข้อไหนมากกว่ากัน ก็แล้วแต่ท่านจะจัดลำดับกันเอาเองนะครับ
2. ความเคลื่อนไหวล่าสุดจากรัฐบาลไทย
หลายท่านคงทราบกันดีแล้วว่า ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลชุดต่างๆ ได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ แต่ส่วนใหญ่ไปส่งเสริมในโครงการขนาดใหญ่ ติดตั้งบนพื้นดินที่เรียกว่าโซลาร์ฟาร์ม โดยรัฐบาลได้จ่ายค่าไฟฟ้าในราคาสูงกว่าปกติค่อนข้างมาก ส่งผลให้บางคนได้กลายเป็นมหาเศรษฐีในพริบตา
ในช่วงหลังหรือประมาณ 3-4 ปีมานี้ รัฐบาลก็ได้ส่งเสริมให้ติดตั้งบนหลังคาอาคารและบ้านเรือนแต่มีการจำกัดจำนวนไว้ระดับหนึ่ง พร้อมกับมีรายละเอียดที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งมากมาย เช่น ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบโรงงาน ต้องมีวิศวกรเซ็นรับรองความแข็งแรงของหลังคา แล้วจึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาให้ขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ โดยกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับบ้านที่ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ในอัตราหน่วยละ 6.96 บาท วิธีการดังกล่าวจึงไม่ดึงดูดความสนใจของเจ้าของบ้านทั่วๆ ไป เพราะมีความยุ่งยากมาก และจำนวนที่จะอนุญาตสำหรับบ้านอาศัยก็แค่ 100 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 1-2 หมื่นหลังคาเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ในขณะที่ทางราชการที่เกี่ยวข้องก็โฆษณาปาวๆ เพื่อจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน
ล่าสุด สภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ได้ผ่านมติที่เรียกว่า “ปฏิรูปเร็ว (Quick Win)” เพื่อให้รัฐบาลส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาด้วยโซลาร์เซลล์อย่างเสรี คือไม่จำกัดจำนวน โดยให้ทางราชการไปกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสม จูงใจต่อการติดตั้ง แต่ก็ไม่สูงเกินไปจนเป็นภาระทางการเงินและความสามารถของระบบสายส่ง (ซึ่งก็คล้ายๆ กับความกว้างของถนนเพื่อรองรับจำนวนรถยนต์ที่เหมาะสม) พร้อมกันนี้ก็ให้แก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรค ที่ไม่สร้างสรรค์ แต่ยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยในระดับมาตรฐานของระบบไฟฟ้าดังเดิม
มติดังกล่าวได้ผ่านสภาปฏิรูปเมื่อต้นปีใหม่หยกๆ จนป่านนี้แล้วเรายังไม่ทราบความคืบหน้าอะไรเลย นี่หรือที่เรียกว่าปฏิรูปเร็ว แต่กลับอืดเหมือนหอยทาก
3. มาผลิตไฟฟ้าใช้เองกันเถอะ ไม่ต้องรอรัฐบาล ไม่ต้องใช้คนกลาง
ความจริงแล้ว เหตุการณ์ที่ผมได้ลำดับมาแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับประเทศที่ภาคประชาชนยังอ่อนแอครับ ดร.เฮอร์มานน์ เชียร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลกที่มีบทบาทสำคัญทำให้ประเทศเยอรมนีประสบผลสำเร็จในการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ได้เคยสรุปเป็นบทเรียนไว้แล้ว มันช่างสอดคล้องกับสถานการณ์ในบ้านเราราวกับตาเห็น
ดร.เฮอร์มานน์ได้ให้สัมภาษณ์ในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเสียชีวิตไม่กี่วันเมื่อปี 2554 (รายการ Democracy Now!) ว่า “เรากำลังอยู่ในการแข่งขันระหว่างการรวมศูนย์กับการกระจายศูนย์ ระหว่างการผูกขาดพลังงานกับประชาธิปไตยพลังงาน การขับเคลื่อนสังคมคือสิ่งสำคัญที่สุด เมื่อประชาชนเห็นแจ้ง เขาไม่สามารถนั่งรอรัฐบาลหรือให้รัฐบาลทำ แต่ประชาชนจะทำด้วยตนเอง มันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน”
“สิ่งที่สำคัญที่สุด ประชาชนจำเป็นต้องร่วมปฏิบัติการ เพื่อข้ามพ้นอุปสรรคการบริหารและขั้นตอนทางราชการ ที่ขัดขวางพลังงานหมุนเวียน กฎเกณฑ์ที่สนับสนุนพลังงานที่เป็นอยู่ และกีดกันการกระจายพลังงานหมุนเวียนจำเป็นจะต้องถูกแฉและรื้อทิ้ง”
คำพูดของ ดร.เฮอร์มานน์ ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า เรามาผลิตไฟฟ้าใช้เองกันเถอะ ไม่ต้องรอรัฐบาล โดยไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ เพิ่มเติม
แต่สำหรับ “ไม่ต้องใช้คนกลาง” นั้นต้องขออธิบายสักนิดนะครับ คือขณะนี้ได้มีบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว จะมาขอเช่าพื้นที่ของสถานที่ราชการ สมาคม สหกรณ์ อบต. ฯลฯ โดยให้ผลตอบแทนในระดับหนึ่ง ดังที่ผมได้นำมาเล่าในบทความครั้งก่อนนี้ มหาวิทยาลัยที่ผมเคยเรียนก็ได้รับการติดต่อซึ่งผมได้แสดงความเห็นไปแล้วว่า “อายเขานะ” เพราะมันเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่มีความเสี่ยง เงินลงทุนก็สามารถหมุนได้โดยไม่ยากเย็น สหกรณ์ออมทรัพย์ก็มีเงินเหลือจนต้องนำไปฝากให้เขาโกงเล่นกันอย่างสนุกสนาน
มาคิดกันใหม่เถอะครับ ยิ่งเศรษฐกิจประเทศกำลังซบเซา การติดตั้งโซลาร์เซลล์จะมีการจ้างงานหลายหมื่นคน เงินจะหมุนอย่างรวดเร็ว นับแสนล้านบาท ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวซ้ำในที่นี้ มาตรงเป้าว่าเราจะร่วมปฏิบัติการกันได้อย่างไร
4. คำแนะนำเบื้องต้นในการติดตั้งเพื่อใช้เอง
คำถามที่ผมได้รับบ่อยที่สุดก็คือ จะติดขนาดเท่าใด อยากติดด้วยแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เป็นต้น
4.1 จะติดขนาดเท่าใด
คำถามนี้ต้องเริ่มต้นว่า โดยปกติที่บ้านใช้ไฟฟ้าเดือนละกี่หน่วย ซึ่งคนทั่วไปมักจะตอบไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละกี่บาท ก็สามารถตอบกันได้ ตารางข้างล่างนี้ผมได้ลองคำนวณจากเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง โดยได้รวมค่าเอฟที (หน่วยละ 58.96 สตางค์ ลดลงจากปีก่อนที่ 69 สตางค์ เพราะราคาน้ำมันลดลง) ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าบริการไว้ด้วยแล้ว ในแถวล่างสุดของตารางเป็นราคาเฉลี่ยต่อหน่วย (ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยไม่ต้องจ่าย ตามนโยบายของรัฐบาล)
เนื่องจากในขณะนี้เรายังไม่สามารถขายไฟฟ้าให้กับทางการไฟฟ้าฯ ได้ ดังนั้นจำนวนโซลาร์เซลล์ที่ติดจึงไม่ควรจะผลิตไฟฟ้าได้มากที่เราใช้
จากข้อมูลที่ได้รับจากหลายพื้นที่และจากทางราชการพบว่า โซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์จะผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยเดือนละ 113 หน่วย ดังนั้น ถ้าปัจจุบันเราใช้ไฟฟ้าเดือนละ 400 หน่วยหรือ 1,736 บาท เราก็ควรติดขนาด 3 กิโลวัตต์ เมื่อติดแล้วเราก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกิน 339 หน่วย (หรือ 61 หน่วย) นั่นคือเราจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้เท่ากับ 400 คูณ 4.34 หรือเท่ากับ 1,471 บาท ถ้าการใช้ไฟฟ้าต่างไปจากนี้ก็สามารถคำนวณคร่าวๆ จากตารางนะครับ
4.2 ใช้พื้นที่เท่าใด น้ำหนักรวมเท่าใด โดยปกติระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 3 กิโลวัตต์จะใช้พื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร โดยที่น้ำหนักต่อตารางเมตรประมาณ 17 กิโลกรัม ดังนั้นจึงไม่น่าจะกระทบต่อความแข็งแรงของบ้านโดยทั่วไป แต่สิ่งที่ต้องระวังคือแรงลมกรรโชก เพราะแผงมีอายุการใช้งานนาน 25 ปีหรือมากกว่าเล็กน้อย
4.3 ระบบการทำงานเป็นอย่างไร ต้องมีแบตเตอรี่ไหม
ถ้าบ้านใดที่มีไฟฟ้าถึงแล้ว ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ครับ ช่วงเวลาที่แผงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็เป็นช่วงที่มีแสงแดดในเวลากลางวัน กราฟข้างล่างนี้แสดงปริมาณไฟฟ้าที่เราเคยใช้และที่เราผลิตได้ในช่วง 24 ชั่วโมง (มาจากรายงานของ EPIA) ค่อยๆ ดูแบบใจเย็นๆ นะครับ เดี๋ยวก็จะเข้าใจ
เริ่มต้นจากหลังเที่ยงคืนซึ่งเราใช้ไฟฟ้าน้อย แล้วค่อยๆ มากขึ้นในช่วงกลางวัน(ถ้าอยู่บ้าน) แล้วก็ลดน้อยลงอีกครั้งในช่วงหัวค่ำ (ตามเส้นสีฟ้าในกราฟ) ในขณะการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จะสูงสุดในช่วงประมาณเที่ยงวัน (ตามเส้นสีน้ำตาล)
จากกราฟนี้แสดงว่า ในช่วงประมาณ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่เราใช้ ดังนั้น ไฟฟ้าที่เหลือใช้จะไหลเข้าสู่สายส่งของการไฟฟ้าฯ ในช่วงดังกล่าวมิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนถอยหลัง (ระบบจานหมุน) ไฟฟ้าที่เหลือจะถูกส่งไปใช้ที่บ้านอื่นข้างเคียง หลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว ไฟฟ้าจากสายส่งก็จะไหลเข้ามาบ้านเราตามปกติ แผนผังการทำงานและโครงสร้างการเชื่อมต่ออุปกรณ์ดูได้จากรูปถัดไปครับ
ระบบไฟฟ้ามันสามารถจัดการไหลของมันเองครับ เราไม่ต้องคอยระวังสับสวิตช์ขึ้นลงให้วุ่นวาย การไหลของไฟฟ้าก็เหมือนกับน้ำครับ คือไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ ไฟฟ้าก็ไหลจากที่มีศักดาสูงไปสู่ศักดาต่ำ (ไม่ใช่ความสูงของหลังคานะ)
มาถึงตอนนี้ ถ้าเปรียบเทียบระหว่างการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองกับการปลูกผักไว้กินเองอย่างไหนจะยากกว่ากัน ผมว่าท่านผู้อ่านคงจะตอบเองได้ในใจ ยกเว้นอย่างเดียวคือเรื่องต้นทุน
4.4 เรื่องต้นทุน
ถ้าเราค้นจากเว็บไซต์ของบริษัทที่ทำธุรกิจเรื่องนี้จะประมาณ 7- 8 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์ แต่ถ้าเรารู้จักสืบค้นหรือหาซื้ออุปกรณ์เองจะได้ของถูกกว่านี้ในคุณภาพที่เท่ากัน
เท่าที่ผมได้รับความรู้จากผู้มีประสบการณ์ (ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ โรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี) พอสรุปได้ว่าขนาด 1 กิโลวัตต์ก็ประมาณ 4 หมื่นบาทเศษ ถ้าเป็น 3 กิโลวัตต์ก็ประมาณ 1.4-1.5 แสนบาท
ถ้าเราซื้อของเองจำนวนเยอะๆ (หากรวมตัวกัน) โดยสั่งจากต่างประเทศแต่ส่งถึงบ้านก็จะได้ราคาถูกกว่านี้ จากนั้นก็ติดต่อช่างซึ่งเขาคิดค่าแรงติดตั้งในราคาคร่าวๆวัตต์ละ 5-20 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน ถ้าต้องปีนหลังคาที่ยากและเสี่ยงสูงก็แพงหน่อย
4.5 การขออนุญาต
หากไม่คิดจะขายไฟฟ้าก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใดๆ แต่อย่าลืมว่าต้องใช้อุปกรณ์ที่การไฟฟ้าฯ รับรองคุณภาพ อย่างไรก็ตาม หากมีการติดกันเยอะๆ เกินกว่าร้อยละ 20 ของความสามารถของหม้อแปลงไฟฟ้าในบริเวณเดียวกัน ก็จะมีปัญหา แต่หากบรรยากาศเฉื่อยเนือยของภาครัฐยังคงเป็นอย่างนี้ ผมคาดว่าอีก 100 ปีก็ยังไม่มีปัญหาดังกล่าว
4.6 ระยะเวลาคืนทุน
สมมติว่าเราลงทุนขนาด 3 กิโลวัตต์ ด้วยราคา 150,000 บาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,350 หน่วยต่อกิโลวัตต์ คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ปีละ 17,577 บาท ถ้าค่าไฟฟ้าเท่าเดิมตลอดในเวลา 8 ปี ครึ่งก็จะสามารถได้ทุนคืน ที่เหลืออีก 16 ปีครึ่งก็ได้ใช้ไฟฟ้าฟรี (ไม่คิดดอกเบี้ยจากการลงทุน)
ในกรณีที่คิดค่าเสียโอกาสจากการถอนเงินที่เคยฝากธนาคารโดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี และค่าไฟฟ้าขึ้นราคาปีละ 2% (ข้อมูลย้อนหลังสิบกว่าปีขึ้นราคาปีละ 4.4%) พบว่าในปีที่ 10 กว่าๆ ก็สามารถคุ้มทุน ดังตารางที่ผมคำนวณครับ
5. บทเรียนดีๆ จากต่างประเทศ
ในขณะนี้ 43 รัฐในสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ทั้งๆ ที่รัฐส่วนใหญ่ในจำนวนนี้มีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทย วิธีการรับซื้อเขาใช้วิธีคิดมิเตอร์รวม (Net metering) เหมือนที่ผมได้อธิบายมาแล้วในหัวข้อ 4.3
ในทวีปยุโรปในหลายประเทศก็ใช้วิธีเดียวตามเอกสารในรายงานที่ผมนำปกมาแสดง
เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2558 รัฐสภาฝรั่งเศสได้ผ่านกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งริเริ่มโดยกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สาระสำคัญของกฎหมายก็คือ อาคารใหม่ทุกหลังที่อยู่ในย่านธุรกิจ เจ้าของอาคารจะถูกบังคับให้เลือกระหว่างการติดโซลาร์เซลล์หรือการปลูกพืชคลุมหลังคาเพื่อชะลอน้ำฝนไม่ให้ไหลลงมาท่วมเมือง เหมือนกับใน กทม. (คำหลังสุดนี้ ผมแถมมาเองครับ) ผมนำภาพมาให้ดูด้วยครับ
สุดท้ายครับ ในประเทศเม็กซิโก เขาได้เปลี่ยนแนวคิดในนโยบายพลังงานจากที่เคยพิจารณา 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐศาสตร์ของอุปทานพลังงาน ด้านความมั่นคงด้านพลังงาน (ที่ท่านประยุทธ์ ถามเองตอบเองกับนักข่าวว่า ไม่ขาดแคลน) และด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นการพิจารณาถึง 4 เสาหลัก คือ การยอมรับของสาธารณะ ผมตัดรูปมาลงด้วยครับ
ผมกำลังทำหน้าที่ “แฉ” (ตามคำแนะนำของ ดร.เฮอร์มานน์) ให้เห็นว่าประเทศอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้ว คสช.อย่าให้พวกพ่อค้าพลังงานและข้าราชการบางกลุ่มหลอกใช้นะครับ มันจะเสียเหลี่ยม เสียคน หมดนะ
อ้อ ประชาชนก็ต้องช่วยกันด้วยนะครับ ฉลองสงกรานต์เสร็จแล้วมาลุยกันต่อนะ นี่คือทางรอดเดียวของประชาชนเราครับ รอรัฐบาลไม่ได้ ทำเองเลย