ในความตั้งใจของผมแล้ว ผมจะพยายามให้ท่านอ่านบทความชิ้นนี้ด้วยความรู้สึกสบายๆ ไม่ต้องกังวลกับตัวเลขและรูปกราฟที่รกรุงรัง ซึ่งจะทำให้บางท่านที่ไม่ค่อยจะถนัดในเรื่องนี้ต้องรู้สึกปวดหัว ผมขอเรียนย้ำว่าจะพยายามครับ
ขอเริ่มต้นด้วยของประเทศไทยก่อนนะครับ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปดูการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านหลังหนึ่งใกล้ๆ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในซอยพหลโยธิน 40 ขนาด 3 กิโลวัตต์ โดยซื้อแผ่นเก่าใช้แล้วจำนวน 12 แผ่น (โดยมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแผ่นใหม่) เท่าที่ผมสอบถามจากเจ้าของบ้านได้ความว่า ลงทุนประมาณ 1.4 แสนบาท โดยใช้บริการของกลุ่มช่างหลายสาขาซึ่งรวมตัวกันจากจังหวัดเพชรบุรีผ่านการประสานงานทางเฟซบุ๊ก
ผมถามเหตุผลในการติดตั้ง เจ้าของบ้านตอบว่า “ไม่ได้คิดเรื่องการขายไฟฟ้า แต่เพื่อต้องการลดค่าไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งปกติจ่ายเดือนละประมาณ 2-3 พันบาทไปเห็นที่โรงเรียนศรีแสงธรรมเขาติดแล้ว จึงอยากจะติดบ้าง เป็นการลดปัญหาของชาติและของโลกด้วย”
ลูกชายเจ้าของบ้านซึ่งเป็นบัณฑิตใหม่สาขาเศรษฐศาสตร์ (จากมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน) เสริมว่า “รัฐควรจะมีหน้าที่ในกิจการที่ประชาชนทำเองไม่ได้ แต่สิ่งไหนที่ประชาชนทำเองได้แล้ว รัฐควรจะส่งเสริมให้ประชาชนทำเอง” ในฐานะที่เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมประทับใจในคำพูดสั้นๆ แต่ลึกซึ้งของบัณฑิตคนนี้มากครับ
สิ่งสำคัญซึ่งผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะสนใจเหมือนผม คือค่าแรงในการติดตั้ง จากที่ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ (โรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งรู้จักกับช่างกลุ่มนี้ผ่านทางเฟซบุ๊ก) บอกผมว่า เขาคิดค่าแรงสำหรับงานนี้วัตต์ละ 5 บาทขนาด 3 กิโลวัตต์ รวม 15,000 บาท เพราะเป็นงานที่ไม่ยาก ไม่ต้องปีนหลังคาสูงๆ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง คาดว่าจะใช้เวลาทำงานเพียง 3 ชั่วโมงจึงแล้วเสร็จ เท่าที่ผมนับดูช่างมากัน 7 คนครับ
แต่เมื่อผมได้สอบถามจากหัวหน้าช่าง ได้ความว่า “คิดค่าแรงงานไม่เกินวัตต์ละ 20 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน” นอกจากนี้ทางกลุ่มช่างชุดนี้จะจัดสัมมนาใหญ่ในเรื่องนี้เพื่อ “สร้างรายได้ สร้างอาชีพ” ในวันที่ 8 เมษายน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ค่าลงทะเบียนคนละ 590 บาทครับ
ที่ได้เล่ามาแล้วเป็นความก้าวหน้าในด้านบวกหรือด้านที่ดีๆ ของภาคประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของคนที่มีแนวความคิด ความสนใจที่ใกล้เคียงกันด้วยการติดต่อถึงกันผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
พลังของการติดต่อสื่อสารถึงกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ของมนุษย์ในโลกสมัยใหม่ มันเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่รวดเร็วมาก มันไม่ใช่เป็นการขยายตัวจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 3, 4, 5, 6 แต่จะเป็นแบบ 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16, 32, 64, 128 หรือเป็นการเติบโตแบบเลขชี้กำลัง (Exponential) ซึ่งพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วราวกับจรวด
เอาอีกแล้วครับ ผมว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข แต่ก็ออกมาจนได้ แต่ใจเย็นๆ ครับ เดี๋ยวผมจะแถมด้วยภาพสวยๆ ดูเพลินๆ
ในขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวในด้านลบ คือมีการโฆษณาเกินความจริงในสื่อออนไลน์จำนวนมาก เช่น เมื่อติดโซลาร์เซลล์ขนาด 1.5 กิโลวัตต์แล้วจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ 1,200 บาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยครับ ความจริงคือขนาด 1 กิโลวัตต์จะผลิตไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 1,350 หน่วย หรือเดือนละ 113 หน่วย คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้ารวมภาษีและอื่นๆ ก็ประมาณเดือนละ 446 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการนำแผ่นโซลาร์ที่มีคุณภาพต่ำมาขายในราคาคุณภาพสูง บางรายบอกว่าสามารถขายไฟฟ้าที่เหลือให้การไฟฟ้าได้ด้วย ฯลฯ ซึ่งองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคน่าจะต้องติดตามตรวจสอบในประเด็นนี้ต่อไป
มาดูความก้าวหน้าของภาครัฐกันบ้างครับ ล่าสุด สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ผ่านมติ “ส่งเสริมโซลาร์รูฟเสรี” ซึ่งหมายถึงให้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านและอาคารได้อย่างเสรี และให้การไฟฟ้าฯ จ่ายค่าไฟฟ้าที่เหลือให้เจ้าของบ้านในราคาที่เหมาะสม โดยไม่จำกัดจำนวน สภาปฏิรูปฯ ได้ส่งให้รัฐบาลตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมปีนี้ ภายใต้นโยบาย “ปฏิรูปเร็ว (Quick Win)” โดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมายแต่ประการใด เพียงแต่ปรับปรุงระเบียบที่เป็นอุปสรรคและคิดราคาค่าไฟฟ้าที่จะรับซื้อให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดแรงจูงใจพอสมควร แต่ไม่เอากำไรเกินควรซึ่งจะเป็นภาระกับผู้ใช้ไฟฟ้ามากเกินไป
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนแล้ว ความก้าวหน้าของภาครัฐยังเป็นแบบอืดๆ คือไม่มีอะไรคืบหน้าเลยเหมือนกับหอยทาก ในขณะที่ภาคประชาชนมีความก้าวหน้า ติดต่อประสานและแบ่งปันกันอย่างรวดเร็ว ดังที่กล่าวมาแล้ว (ตามภาพประกอบที่ผมได้มาจากนักอนาคต, Futurist กรุณาหยุดครุ่นคิดถึงความหมายของภาพสักนิดครับ)
ภายใต้ระเบียบของการไฟฟ้าฯ ในปัจจุบัน ถ้าใครคิดจะขายไฟฟ้าจะต้องยื่นคำร้องต่อทางราชการ พร้อมกับให้วิศวกรเซ็นรับรองความแข็งแรงของหลังคา (เพื่อรับน้ำหนักระบบที่จะเพิ่มขึ้น 17 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ถ้า 3 กิโลวัตต์ก็ใช้พื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร ซึ่งในความเห็นของผมแล้ว หากบ้านใดสามารถให้คน 2 คนขึ้นไปเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาได้ ก็น่าจะมีความแข็งแรงพอแล้ว)
สมมติว่า การไฟฟ้าฯ รับจะซื้อไฟฟ้าที่เหลือแล้ว เวลาเจ้าของบ้านจะเก็บเงินจะต้องไปติดต่อกับการไฟฟ้าฯ ด้วยตนเองถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือการวางบิล ครั้งที่ 2 เพื่อไปเก็บเงิน ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่เหลือเพื่อขายอาจจะพอๆ กับค่าโดยสารรถ นี่คือความล้าหลังของระบบที่ต้องถือว่าทางราชการจงใจหน่วงเหนี่ยวครับ
สถานการณ์ล่าสุดที่ผมได้ฟังจากหน่วยงานการไฟฟ้าฯ และมีการบันทึกในคณะอนุกรรมาธิการพลังงานทดแทนฯ ของสภาปฏิรูปฯ คือ ใครที่ติดโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่ใช้ (คือมิเตอร์ติดลบเมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าของเดือนก่อน) เมื่อก่อนหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ถือว่าเจ้าของบ้านมีความผิด แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีความผิดแล้ว เพียงแต่การไฟฟ้าฯ ยังไม่จ่ายเงินค่าไฟฟ้าในส่วนที่ไหลย้อนไปสู่สายส่ง (หมายเหตุระบบโซลาร์เซลล์ที่กำลังพูดถึงนี้ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ครับ)
ดังนั้น ด้วยเหตุผลนานาประการ ผมว่าผู้ใช้ไฟฟ้าอย่ารอการคืบคลานของหอยทากเลยครับ มาติดตั้งกันเลยดีกว่าครับ สิ่งที่ควรระวังนอกจากการถูกหลอกเรื่องอุปกรณ์ การอนุญาตขายไฟฟ้า ค่าแรง ดังที่กล่าวแล้ว คือการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทางการไฟฟ้าฯ รับรองคุณภาพ มิเช่นนั้นจะมีปัญหาและอันตรายในภายหลังครับ
ก่อนที่กล่าวถึงความก้าวหน้าในสหรัฐอเมริกา ผมขออนุญาตเล่าอีกเรื่องครับ แบบสบายๆ นะ
เมื่อต้นเดือนมีนาคม ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับสถาบันที่ผมเคยเรียนและทำงานมานานถึง 41 ปี ผมทราบจากผู้ฟังซึ่งเป็นผู้บริหารระดับรองคณบดีว่า ทางมหาวิทยาลัย (ซึ่งจ่ายค่าไฟฟ้าทั้งวิทยาเขตถึงปีละ 240 ล้านบาท) กำลังคิดจะให้บริษัทเอกชนมาเช่าหลังคาอาคารเพื่อติดโซลาร์เซลล์
ผมใช้เวลาครุ่นคิดอยู่แค่เวลาพักดื่มน้ำครึ่งแก้วว่า “ถ้าให้บริษัทเช่า อายเขานะครับ เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่มีความเสี่ยง และคณะก็มีเงินรายได้อยู่ แถมดาดฟ้าก็เป็นพื้นเรียบๆ ถ้าคณะให้เขาเช่าจริงๆ ผมจะขอลาออกจากการเป็นศิษย์เก่า” ผมพูดไปอย่างนั้นจริงๆ อย่างมีสติ ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าจะลาออกได้อย่างไร
หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อมีข่าวการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จึงได้ทราบว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ (รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วยเกือบ 100 แห่ง) ได้นำเงินที่เหลือมาฝากที่เครดิตยูเนี่ยนแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
จากสถานการณ์ดังกล่าว แม้จะเป็นการคิดย้อนหลังก็ตาม แต่ก็ทางออกที่ยั่งยืนครับ คือสหกรณ์ออมทรัพย์ควรปล่อยเงินกู้ให้กับมหาวิทยาลัย คณะ หรือแม้แต่บุคลากรที่เป็นสมาชิกไปติดโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะได้ผลตอบแทนมากกว่าฝากกับเครดิตยูเนี่ยนแม้จะไม่ขี้โกงก็ตาม
จากการประเมินคร่าวๆ โดยท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ (ผู้มีประสบการณ์ ซึ่งผมได้ปรึกษาหารือเพื่อติดโซลาร์เซลล์ให้กับมูลนิธิแห่งหนึ่ง) พบว่า ถ้าติดขนาด 40 กิโลวัตต์จะใช้เงินประมาณ 1.6 ล้านบาทเท่านั้น ถ้าคิดเป็นผลตอบแทน (ด้วยอัตราค่าไฟฟ้า 4.50 บาทต่อหน่วย) จะได้ผลตอบแทนถึงร้อยละ 14 ถึง 15 ต่อปี
อย่าลืมว่า ไฟฟ้าเป็นสินค้าชนิดเดียวที่จำนวนการผลิตได้ต้องเท่ากับจำนวนที่จำหน่ายออกไป ดังนั้นจึงเป็นการลงทุนที่มีความมั่นคง ยั่งยืน และไม่มีความเสี่ยง และจากการคำนวณคร่าวๆ คณะวิทยาศาสตร์สามารถติดได้ถึงกว่า 1 เมกะวัตต์ หรือลงทุน 40 ล้านบาท
ช่วยคิดให้ดีๆ ครับ แล้วตัดสินใจให้สมกับที่ได้ชูคำขวัญว่า “ชี้นำสังคม สะสมความรู้” รวมถึงคณะอื่นๆ ที่ร่วมกันใช้ไฟฟ้าเดือนละกว่า 20 ล้านบาท ผมคิดว่านี่คือโอกาสที่สามารถสร้างจุดพลิกผันที่สำคัญมากๆ ครับ
คราวนี้มาที่เรื่องการเปรียบเทียบศักยภาพและความก้าวหน้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาครับ
ถ้าคิดเป็นค่าเฉลี่ยทั้งประเทศพบว่า ความเข้มของพลังงานแสงแดดต่อตารางเมตรในประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกามีความใกล้เคียงกันมากจะถือว่าเท่ากันก็ได้ครับ (ดังกราฟ พร้อมกับข้อมูลของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมนีที่มีความเข้มน้อยกว่าไทยเยอะ แต่ผลิตไฟฟ้าได้มหาศาล พอใช้สำหรับคนภาคเหนือและภาคอีสานของไทยรวมกัน)
ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐที่มีความเข้มมากที่สุดคือแคลิฟอร์เนียซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ แต่ข้อมูลที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นของรัฐจอร์เจีย (Georgia อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้เหนือรัฐฟลอลิดาที่แหลมของแผนที่) ซึ่งมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทยเล็กน้อย ผมหยิบรัฐจอร์เจียมาเล่าก็เพราะว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจแบบง่ายๆ ครับ ผมเริ่มเลยนะครับ โดยเน้นที่ภาพเพราะเข้าใจง่ายดี
ภาพแรกมาจากบทความเรื่อง “ขาขึ้นของพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power on the Rise)” ซึ่งเขียนโดย John Rogers และ Laura Wisland เมื่อสิงหาคม 2014 เผยแพร่โดย สมาคมนักวิทยาศาสตร์ที่มีความห่วงใย (The Union of Concerned Scientist)
ภาพที่เห็นเป็นโซลาร์เซลล์บนดาดฟ้าของห้าง IKEA ในเมืองหลวงของรัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นดาดฟ้าที่เหมือนกับที่ทำงานเก่าของผมครับ ถ้าผมเป็นช่าง และค่าแรงในการติดตั้งวัตต์ละ 5 บาท ผมจะรีบตะครุบเลยครับ เพราะมันง่ายต่อการเดินขึ้นไปทำงาน
คำบรรยายใต้ภาพพอสรุปได้ว่า “บริษัทใหญ่ๆ จำนวนมากในสหรัฐอเมริกาได้หันไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (have gone solar) 89% ของสาขาห้าง IKEA ได้ติดโซลาร์เซลล์แล้ว โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 ใน 3 ของที่ห้างใช้ ขณะเดียวกันห้าง Walmart ได้ติดแล้วมากกว่า 200 ระบบ จำนวน 89 เมกะวัตต์”
เพื่อจะสืบค้นให้ได้ว่า ในรัฐจอร์เจียเขาผลิตไฟฟ้าได้จำนวนเท่าใดต่อกิโลวัตต์ ก็ได้พบความจริงจากรายงานเรื่อง BRIGHTER FUTURE : A Study on Solar in U.S. Schoolsเผยแพร่โดย The Solar Foundation เมื่อเดือนกันยายน 2014 ซึ่งเป็นการติดในโรงเรียนมัธยมปลายต่างๆ จำนวน 3,727โรงทั่วประเทศ พบว่า โรงเรียนในรัฐจอร์เจียจำนวน 34 โรง ได้ติดโซลาร์เซลล์จำนวน 1,048 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1.3 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่าไฟฟ้า 104,528 ดอลลาร์
หรือผลิตได้เฉลี่ย 1,241 หน่วยต่อกิโลวัตต์ ในราคาค่าไฟฟ้าหน่วยละ 0.0803 ดอลลาร์ต่อหน่วย หรือ 2.65 บาทต่อหน่วย (หมายเหตุ (1) ในประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 1,350 หน่วยต่อกิโลวัตต์ และ (2) เพิ่งรู้ว่าค่าไฟฟ้าในรัฐจอร์เจียถูกกว่าราคาในประเทศไทย) ผมได้ตัดภาพจากรายงานดังกล่าวมาให้ดูด้วย ใครสนใจรัฐไหนก็ดูเอาเองครับ แต่รัฐแคลิฟอร์เนียผลิตได้ 1,413 หน่วยต่อกิโลวัตต์
โครงการติดโซลาร์เซลล์ให้กับโรงเรียนมัธยมปลายจำนวน 3,727 โรงเรียน มีกำลังการผลิตรวมกัน 489.8 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 642.2 ล้านหน่วย (เฉลี่ย 1,311 หน่วยต่อกิโลวัตต์) สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 77.8 ล้านดอลลาร์ (เฉลี่ยหน่วยละ 4.00 บาท)เงินที่ประหยัดได้เพียงพอสำหรับค่าเงินเดือนครู 2,200 คนตลอด 25 ปีหรืออาจจะถึง 30 ปีตามอายุการใช้งานของแผ่นโซลาร์
อย่างไรก็ตาม จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้มีเพียงแค่ 3% ของจำนวนโรงเรียนมัธยมปลายทั้งประเทศเท่านั้น
ในด้านการจ้างงาน จากข้อมูลพบว่า ในปี 2013 กิจการโซลาร์เซลล์มีการจ้างงานทั่วประเทศถึง 1.4 แสนคน โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2010 ถึง 53% และคาดว่าในสิ้นปี 2014 จะมีการจ้างงานในธุรกิจนี้รวมถึง 1.6 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น 14% โดยครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคการติดตั้ง (ดังกราฟ)
รายงานฉบับนี้ ยังได้ระบุอีกว่า เนื่องจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะกระจายตัวอยู่ทั่วไป จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการจ้างงานสำหรับคนในท้องถิ่นได้จำนวนมากเป็นการกระจายรายได้
อนึ่ง แม้ว่าต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องก็จริง แต่จากรายงานเรื่อง “Revolution Now: The Future Arrives for Four Clean Energy Technologies” ของ U.S. DEPARTMENT OF ENERGY เมื่อกันยายน 2013 ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั้งระบบไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าแผงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับค่าการขออนุญาตและค่าแรงในการติดตั้งซึ่งเรียกว่า “Soft Cost” โดยที่ “Soft Cost” ในสหรัฐอเมริกาสูงกว่าในประเทศเยอรมนีถึง 5 เท่าตัว”
และเพื่อให้เห็นภาพรวมถึงความก้าวหน้าในสหรัฐอเมริกา ผมขอสรุปอย่างง่ายๆจากการคำนวณของผมเอง ดังนี้ครับ “ในปี 2014 ในทุกๆ 2 นาทีได้มีบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาได้ติดโซลาร์เซลล์ขนาด 4.5 กิโลวัตต์เพิ่มขึ้นหนึ่งหลัง ในขณะที่เมื่อปีก่อนต้องใช้เวลานานกว่าคือ 3 นาที นั่นคือ มีการเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง” ในขณะที่กลุ่มช่างจากจังหวัดเพชรบุรีบอกผมว่า ในแต่ละเดือนพวกเขาได้รับงานติดตั้ง 3 หลัง
จากเรื่องราวที่ผมได้เล่าและเปรียบเทียบตามที่ได้กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า ปัญหาของพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนในการผลิตที่อ้างว่าสูง แต่ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศที่ชอบดีแต่ปาก ชอบแก้ตัวสารพัด และขาดความกล้าหาญที่จะลดผลประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานที่ผูกขาด
ท่านผู้อ่านคิดอย่างไรครับในเมื่อรัฐบาลอืดเหมือนหอยทาก ภาคประชาชนจึงควรมาร่วมมือกัน มาช่วยเหลือกันเอง มาแบ่งปันความรู้ ต้นทุนการลงทุนก็จะลดลงมาเยอะความมั่นใจจะเพิ่มขึ้น ความใฝ่ฝันที่จะพึ่งตนเองและช่วยชาติช่วยโลกก็จะเป็นมรรคเป็นผลได้เร็วขึ้น จงเชื่อมั่นในพลังของการสื่อสารและพลังของคนเล็กคนน้อยซึ่งอีกไม่นานจะแพร่หลายราวกับเชื้อโรคระบาดเหมือนกับหลายประเทศ
ขอเริ่มต้นด้วยของประเทศไทยก่อนนะครับ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปดูการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านหลังหนึ่งใกล้ๆ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในซอยพหลโยธิน 40 ขนาด 3 กิโลวัตต์ โดยซื้อแผ่นเก่าใช้แล้วจำนวน 12 แผ่น (โดยมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแผ่นใหม่) เท่าที่ผมสอบถามจากเจ้าของบ้านได้ความว่า ลงทุนประมาณ 1.4 แสนบาท โดยใช้บริการของกลุ่มช่างหลายสาขาซึ่งรวมตัวกันจากจังหวัดเพชรบุรีผ่านการประสานงานทางเฟซบุ๊ก
ผมถามเหตุผลในการติดตั้ง เจ้าของบ้านตอบว่า “ไม่ได้คิดเรื่องการขายไฟฟ้า แต่เพื่อต้องการลดค่าไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งปกติจ่ายเดือนละประมาณ 2-3 พันบาทไปเห็นที่โรงเรียนศรีแสงธรรมเขาติดแล้ว จึงอยากจะติดบ้าง เป็นการลดปัญหาของชาติและของโลกด้วย”
ลูกชายเจ้าของบ้านซึ่งเป็นบัณฑิตใหม่สาขาเศรษฐศาสตร์ (จากมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน) เสริมว่า “รัฐควรจะมีหน้าที่ในกิจการที่ประชาชนทำเองไม่ได้ แต่สิ่งไหนที่ประชาชนทำเองได้แล้ว รัฐควรจะส่งเสริมให้ประชาชนทำเอง” ในฐานะที่เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมประทับใจในคำพูดสั้นๆ แต่ลึกซึ้งของบัณฑิตคนนี้มากครับ
สิ่งสำคัญซึ่งผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะสนใจเหมือนผม คือค่าแรงในการติดตั้ง จากที่ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ (โรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งรู้จักกับช่างกลุ่มนี้ผ่านทางเฟซบุ๊ก) บอกผมว่า เขาคิดค่าแรงสำหรับงานนี้วัตต์ละ 5 บาทขนาด 3 กิโลวัตต์ รวม 15,000 บาท เพราะเป็นงานที่ไม่ยาก ไม่ต้องปีนหลังคาสูงๆ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง คาดว่าจะใช้เวลาทำงานเพียง 3 ชั่วโมงจึงแล้วเสร็จ เท่าที่ผมนับดูช่างมากัน 7 คนครับ
แต่เมื่อผมได้สอบถามจากหัวหน้าช่าง ได้ความว่า “คิดค่าแรงงานไม่เกินวัตต์ละ 20 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน” นอกจากนี้ทางกลุ่มช่างชุดนี้จะจัดสัมมนาใหญ่ในเรื่องนี้เพื่อ “สร้างรายได้ สร้างอาชีพ” ในวันที่ 8 เมษายน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ค่าลงทะเบียนคนละ 590 บาทครับ
ที่ได้เล่ามาแล้วเป็นความก้าวหน้าในด้านบวกหรือด้านที่ดีๆ ของภาคประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของคนที่มีแนวความคิด ความสนใจที่ใกล้เคียงกันด้วยการติดต่อถึงกันผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
พลังของการติดต่อสื่อสารถึงกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ของมนุษย์ในโลกสมัยใหม่ มันเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่รวดเร็วมาก มันไม่ใช่เป็นการขยายตัวจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 3, 4, 5, 6 แต่จะเป็นแบบ 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16, 32, 64, 128 หรือเป็นการเติบโตแบบเลขชี้กำลัง (Exponential) ซึ่งพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วราวกับจรวด
เอาอีกแล้วครับ ผมว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข แต่ก็ออกมาจนได้ แต่ใจเย็นๆ ครับ เดี๋ยวผมจะแถมด้วยภาพสวยๆ ดูเพลินๆ
ในขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวในด้านลบ คือมีการโฆษณาเกินความจริงในสื่อออนไลน์จำนวนมาก เช่น เมื่อติดโซลาร์เซลล์ขนาด 1.5 กิโลวัตต์แล้วจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ 1,200 บาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยครับ ความจริงคือขนาด 1 กิโลวัตต์จะผลิตไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 1,350 หน่วย หรือเดือนละ 113 หน่วย คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้ารวมภาษีและอื่นๆ ก็ประมาณเดือนละ 446 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการนำแผ่นโซลาร์ที่มีคุณภาพต่ำมาขายในราคาคุณภาพสูง บางรายบอกว่าสามารถขายไฟฟ้าที่เหลือให้การไฟฟ้าได้ด้วย ฯลฯ ซึ่งองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคน่าจะต้องติดตามตรวจสอบในประเด็นนี้ต่อไป
มาดูความก้าวหน้าของภาครัฐกันบ้างครับ ล่าสุด สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ผ่านมติ “ส่งเสริมโซลาร์รูฟเสรี” ซึ่งหมายถึงให้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านและอาคารได้อย่างเสรี และให้การไฟฟ้าฯ จ่ายค่าไฟฟ้าที่เหลือให้เจ้าของบ้านในราคาที่เหมาะสม โดยไม่จำกัดจำนวน สภาปฏิรูปฯ ได้ส่งให้รัฐบาลตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมปีนี้ ภายใต้นโยบาย “ปฏิรูปเร็ว (Quick Win)” โดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมายแต่ประการใด เพียงแต่ปรับปรุงระเบียบที่เป็นอุปสรรคและคิดราคาค่าไฟฟ้าที่จะรับซื้อให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดแรงจูงใจพอสมควร แต่ไม่เอากำไรเกินควรซึ่งจะเป็นภาระกับผู้ใช้ไฟฟ้ามากเกินไป
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนแล้ว ความก้าวหน้าของภาครัฐยังเป็นแบบอืดๆ คือไม่มีอะไรคืบหน้าเลยเหมือนกับหอยทาก ในขณะที่ภาคประชาชนมีความก้าวหน้า ติดต่อประสานและแบ่งปันกันอย่างรวดเร็ว ดังที่กล่าวมาแล้ว (ตามภาพประกอบที่ผมได้มาจากนักอนาคต, Futurist กรุณาหยุดครุ่นคิดถึงความหมายของภาพสักนิดครับ)
ภายใต้ระเบียบของการไฟฟ้าฯ ในปัจจุบัน ถ้าใครคิดจะขายไฟฟ้าจะต้องยื่นคำร้องต่อทางราชการ พร้อมกับให้วิศวกรเซ็นรับรองความแข็งแรงของหลังคา (เพื่อรับน้ำหนักระบบที่จะเพิ่มขึ้น 17 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ถ้า 3 กิโลวัตต์ก็ใช้พื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร ซึ่งในความเห็นของผมแล้ว หากบ้านใดสามารถให้คน 2 คนขึ้นไปเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาได้ ก็น่าจะมีความแข็งแรงพอแล้ว)
สมมติว่า การไฟฟ้าฯ รับจะซื้อไฟฟ้าที่เหลือแล้ว เวลาเจ้าของบ้านจะเก็บเงินจะต้องไปติดต่อกับการไฟฟ้าฯ ด้วยตนเองถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือการวางบิล ครั้งที่ 2 เพื่อไปเก็บเงิน ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่เหลือเพื่อขายอาจจะพอๆ กับค่าโดยสารรถ นี่คือความล้าหลังของระบบที่ต้องถือว่าทางราชการจงใจหน่วงเหนี่ยวครับ
สถานการณ์ล่าสุดที่ผมได้ฟังจากหน่วยงานการไฟฟ้าฯ และมีการบันทึกในคณะอนุกรรมาธิการพลังงานทดแทนฯ ของสภาปฏิรูปฯ คือ ใครที่ติดโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่ใช้ (คือมิเตอร์ติดลบเมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าของเดือนก่อน) เมื่อก่อนหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ถือว่าเจ้าของบ้านมีความผิด แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีความผิดแล้ว เพียงแต่การไฟฟ้าฯ ยังไม่จ่ายเงินค่าไฟฟ้าในส่วนที่ไหลย้อนไปสู่สายส่ง (หมายเหตุระบบโซลาร์เซลล์ที่กำลังพูดถึงนี้ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ครับ)
ดังนั้น ด้วยเหตุผลนานาประการ ผมว่าผู้ใช้ไฟฟ้าอย่ารอการคืบคลานของหอยทากเลยครับ มาติดตั้งกันเลยดีกว่าครับ สิ่งที่ควรระวังนอกจากการถูกหลอกเรื่องอุปกรณ์ การอนุญาตขายไฟฟ้า ค่าแรง ดังที่กล่าวแล้ว คือการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทางการไฟฟ้าฯ รับรองคุณภาพ มิเช่นนั้นจะมีปัญหาและอันตรายในภายหลังครับ
ก่อนที่กล่าวถึงความก้าวหน้าในสหรัฐอเมริกา ผมขออนุญาตเล่าอีกเรื่องครับ แบบสบายๆ นะ
เมื่อต้นเดือนมีนาคม ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับสถาบันที่ผมเคยเรียนและทำงานมานานถึง 41 ปี ผมทราบจากผู้ฟังซึ่งเป็นผู้บริหารระดับรองคณบดีว่า ทางมหาวิทยาลัย (ซึ่งจ่ายค่าไฟฟ้าทั้งวิทยาเขตถึงปีละ 240 ล้านบาท) กำลังคิดจะให้บริษัทเอกชนมาเช่าหลังคาอาคารเพื่อติดโซลาร์เซลล์
ผมใช้เวลาครุ่นคิดอยู่แค่เวลาพักดื่มน้ำครึ่งแก้วว่า “ถ้าให้บริษัทเช่า อายเขานะครับ เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่มีความเสี่ยง และคณะก็มีเงินรายได้อยู่ แถมดาดฟ้าก็เป็นพื้นเรียบๆ ถ้าคณะให้เขาเช่าจริงๆ ผมจะขอลาออกจากการเป็นศิษย์เก่า” ผมพูดไปอย่างนั้นจริงๆ อย่างมีสติ ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าจะลาออกได้อย่างไร
หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อมีข่าวการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จึงได้ทราบว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ (รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วยเกือบ 100 แห่ง) ได้นำเงินที่เหลือมาฝากที่เครดิตยูเนี่ยนแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
จากสถานการณ์ดังกล่าว แม้จะเป็นการคิดย้อนหลังก็ตาม แต่ก็ทางออกที่ยั่งยืนครับ คือสหกรณ์ออมทรัพย์ควรปล่อยเงินกู้ให้กับมหาวิทยาลัย คณะ หรือแม้แต่บุคลากรที่เป็นสมาชิกไปติดโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะได้ผลตอบแทนมากกว่าฝากกับเครดิตยูเนี่ยนแม้จะไม่ขี้โกงก็ตาม
จากการประเมินคร่าวๆ โดยท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ (ผู้มีประสบการณ์ ซึ่งผมได้ปรึกษาหารือเพื่อติดโซลาร์เซลล์ให้กับมูลนิธิแห่งหนึ่ง) พบว่า ถ้าติดขนาด 40 กิโลวัตต์จะใช้เงินประมาณ 1.6 ล้านบาทเท่านั้น ถ้าคิดเป็นผลตอบแทน (ด้วยอัตราค่าไฟฟ้า 4.50 บาทต่อหน่วย) จะได้ผลตอบแทนถึงร้อยละ 14 ถึง 15 ต่อปี
อย่าลืมว่า ไฟฟ้าเป็นสินค้าชนิดเดียวที่จำนวนการผลิตได้ต้องเท่ากับจำนวนที่จำหน่ายออกไป ดังนั้นจึงเป็นการลงทุนที่มีความมั่นคง ยั่งยืน และไม่มีความเสี่ยง และจากการคำนวณคร่าวๆ คณะวิทยาศาสตร์สามารถติดได้ถึงกว่า 1 เมกะวัตต์ หรือลงทุน 40 ล้านบาท
ช่วยคิดให้ดีๆ ครับ แล้วตัดสินใจให้สมกับที่ได้ชูคำขวัญว่า “ชี้นำสังคม สะสมความรู้” รวมถึงคณะอื่นๆ ที่ร่วมกันใช้ไฟฟ้าเดือนละกว่า 20 ล้านบาท ผมคิดว่านี่คือโอกาสที่สามารถสร้างจุดพลิกผันที่สำคัญมากๆ ครับ
คราวนี้มาที่เรื่องการเปรียบเทียบศักยภาพและความก้าวหน้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาครับ
ถ้าคิดเป็นค่าเฉลี่ยทั้งประเทศพบว่า ความเข้มของพลังงานแสงแดดต่อตารางเมตรในประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกามีความใกล้เคียงกันมากจะถือว่าเท่ากันก็ได้ครับ (ดังกราฟ พร้อมกับข้อมูลของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมนีที่มีความเข้มน้อยกว่าไทยเยอะ แต่ผลิตไฟฟ้าได้มหาศาล พอใช้สำหรับคนภาคเหนือและภาคอีสานของไทยรวมกัน)
ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐที่มีความเข้มมากที่สุดคือแคลิฟอร์เนียซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ แต่ข้อมูลที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นของรัฐจอร์เจีย (Georgia อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้เหนือรัฐฟลอลิดาที่แหลมของแผนที่) ซึ่งมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทยเล็กน้อย ผมหยิบรัฐจอร์เจียมาเล่าก็เพราะว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจแบบง่ายๆ ครับ ผมเริ่มเลยนะครับ โดยเน้นที่ภาพเพราะเข้าใจง่ายดี
ภาพแรกมาจากบทความเรื่อง “ขาขึ้นของพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power on the Rise)” ซึ่งเขียนโดย John Rogers และ Laura Wisland เมื่อสิงหาคม 2014 เผยแพร่โดย สมาคมนักวิทยาศาสตร์ที่มีความห่วงใย (The Union of Concerned Scientist)
ภาพที่เห็นเป็นโซลาร์เซลล์บนดาดฟ้าของห้าง IKEA ในเมืองหลวงของรัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นดาดฟ้าที่เหมือนกับที่ทำงานเก่าของผมครับ ถ้าผมเป็นช่าง และค่าแรงในการติดตั้งวัตต์ละ 5 บาท ผมจะรีบตะครุบเลยครับ เพราะมันง่ายต่อการเดินขึ้นไปทำงาน
คำบรรยายใต้ภาพพอสรุปได้ว่า “บริษัทใหญ่ๆ จำนวนมากในสหรัฐอเมริกาได้หันไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (have gone solar) 89% ของสาขาห้าง IKEA ได้ติดโซลาร์เซลล์แล้ว โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 ใน 3 ของที่ห้างใช้ ขณะเดียวกันห้าง Walmart ได้ติดแล้วมากกว่า 200 ระบบ จำนวน 89 เมกะวัตต์”
เพื่อจะสืบค้นให้ได้ว่า ในรัฐจอร์เจียเขาผลิตไฟฟ้าได้จำนวนเท่าใดต่อกิโลวัตต์ ก็ได้พบความจริงจากรายงานเรื่อง BRIGHTER FUTURE : A Study on Solar in U.S. Schoolsเผยแพร่โดย The Solar Foundation เมื่อเดือนกันยายน 2014 ซึ่งเป็นการติดในโรงเรียนมัธยมปลายต่างๆ จำนวน 3,727โรงทั่วประเทศ พบว่า โรงเรียนในรัฐจอร์เจียจำนวน 34 โรง ได้ติดโซลาร์เซลล์จำนวน 1,048 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1.3 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่าไฟฟ้า 104,528 ดอลลาร์
หรือผลิตได้เฉลี่ย 1,241 หน่วยต่อกิโลวัตต์ ในราคาค่าไฟฟ้าหน่วยละ 0.0803 ดอลลาร์ต่อหน่วย หรือ 2.65 บาทต่อหน่วย (หมายเหตุ (1) ในประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 1,350 หน่วยต่อกิโลวัตต์ และ (2) เพิ่งรู้ว่าค่าไฟฟ้าในรัฐจอร์เจียถูกกว่าราคาในประเทศไทย) ผมได้ตัดภาพจากรายงานดังกล่าวมาให้ดูด้วย ใครสนใจรัฐไหนก็ดูเอาเองครับ แต่รัฐแคลิฟอร์เนียผลิตได้ 1,413 หน่วยต่อกิโลวัตต์
โครงการติดโซลาร์เซลล์ให้กับโรงเรียนมัธยมปลายจำนวน 3,727 โรงเรียน มีกำลังการผลิตรวมกัน 489.8 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 642.2 ล้านหน่วย (เฉลี่ย 1,311 หน่วยต่อกิโลวัตต์) สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 77.8 ล้านดอลลาร์ (เฉลี่ยหน่วยละ 4.00 บาท)เงินที่ประหยัดได้เพียงพอสำหรับค่าเงินเดือนครู 2,200 คนตลอด 25 ปีหรืออาจจะถึง 30 ปีตามอายุการใช้งานของแผ่นโซลาร์
อย่างไรก็ตาม จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้มีเพียงแค่ 3% ของจำนวนโรงเรียนมัธยมปลายทั้งประเทศเท่านั้น
ในด้านการจ้างงาน จากข้อมูลพบว่า ในปี 2013 กิจการโซลาร์เซลล์มีการจ้างงานทั่วประเทศถึง 1.4 แสนคน โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2010 ถึง 53% และคาดว่าในสิ้นปี 2014 จะมีการจ้างงานในธุรกิจนี้รวมถึง 1.6 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น 14% โดยครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคการติดตั้ง (ดังกราฟ)
รายงานฉบับนี้ ยังได้ระบุอีกว่า เนื่องจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะกระจายตัวอยู่ทั่วไป จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการจ้างงานสำหรับคนในท้องถิ่นได้จำนวนมากเป็นการกระจายรายได้
อนึ่ง แม้ว่าต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องก็จริง แต่จากรายงานเรื่อง “Revolution Now: The Future Arrives for Four Clean Energy Technologies” ของ U.S. DEPARTMENT OF ENERGY เมื่อกันยายน 2013 ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั้งระบบไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าแผงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับค่าการขออนุญาตและค่าแรงในการติดตั้งซึ่งเรียกว่า “Soft Cost” โดยที่ “Soft Cost” ในสหรัฐอเมริกาสูงกว่าในประเทศเยอรมนีถึง 5 เท่าตัว”
และเพื่อให้เห็นภาพรวมถึงความก้าวหน้าในสหรัฐอเมริกา ผมขอสรุปอย่างง่ายๆจากการคำนวณของผมเอง ดังนี้ครับ “ในปี 2014 ในทุกๆ 2 นาทีได้มีบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาได้ติดโซลาร์เซลล์ขนาด 4.5 กิโลวัตต์เพิ่มขึ้นหนึ่งหลัง ในขณะที่เมื่อปีก่อนต้องใช้เวลานานกว่าคือ 3 นาที นั่นคือ มีการเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง” ในขณะที่กลุ่มช่างจากจังหวัดเพชรบุรีบอกผมว่า ในแต่ละเดือนพวกเขาได้รับงานติดตั้ง 3 หลัง
จากเรื่องราวที่ผมได้เล่าและเปรียบเทียบตามที่ได้กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า ปัญหาของพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนในการผลิตที่อ้างว่าสูง แต่ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศที่ชอบดีแต่ปาก ชอบแก้ตัวสารพัด และขาดความกล้าหาญที่จะลดผลประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานที่ผูกขาด
ท่านผู้อ่านคิดอย่างไรครับในเมื่อรัฐบาลอืดเหมือนหอยทาก ภาคประชาชนจึงควรมาร่วมมือกัน มาช่วยเหลือกันเอง มาแบ่งปันความรู้ ต้นทุนการลงทุนก็จะลดลงมาเยอะความมั่นใจจะเพิ่มขึ้น ความใฝ่ฝันที่จะพึ่งตนเองและช่วยชาติช่วยโลกก็จะเป็นมรรคเป็นผลได้เร็วขึ้น จงเชื่อมั่นในพลังของการสื่อสารและพลังของคนเล็กคนน้อยซึ่งอีกไม่นานจะแพร่หลายราวกับเชื้อโรคระบาดเหมือนกับหลายประเทศ