ASTVผู้จัดการรายวัน- "บิ๊กตู่" เผย 5 กลุ่มหลักร่วม สปท. ย้ำชัดจะต้องมีอดีต สปช. เก่าร่วมด้วย ครวญ ตั้งแต่เข้ามาชีวิตมีแต่ขาดทุน ลั่นรับไม่ได้หากได้คนเดิมที่ไม่เคยยอมรับกติกา ย้ำเมื่อทิ้งอำนาจไปแล้วจะไม่กลับมาอีก พร้อมเคาะชื่อ กรธ.-สปท. หลังกลับจากต่างประเทศ เผยกระชับขั้นตอนร่าง รธน.ร่นเวลาได้เดือนครึ่ง ยังอุบเรื่องใส่ คปป.ในร่าง รธน.ใหม่ หรือไม่ "เพื่อไทย"ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรมกับพวกรัฐประหาร
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (15 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) แถลงภายหลังการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี และ คสช. ซึ่งการแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ใช้เวลายาวนานที่สุด โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง โดยกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ วาระแรกคือการประชุมร่วม ครม.-คสช. ซึ่งตนได้ทำความเข้าใจว่า ต่อไปนี้จะบริหารราชการแผ่นดินอย่างไรต่อไป เนื่องจากระยะเวลาตามโรดแมป ต้องขยายออกไปอีก 20 เดือน ซึ่งในความจริงก็คาดหวังว่าจะให้น้อยกว่านั้น ตนได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายมาพิจารณาดูแล้ว ก็มีหลายอย่างที่ลดลงได้ไม่มากนัก แต่บางอย่างก็ลดลงได้
อย่างไรก็ตาม ก็ขอยืนยันว่าถ้าสามารถทำให้เร็วได้ก็จะทำให้เร็ว จะไม่มีการดึงไว้ในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ ประเด็นสำคัญตนได้บอกไปว่า ให้ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร ให้บ้านเมืองมีความปลอดภัย โดยจะต้องมีทั้ง 2 อย่าง คือ เรื่องประชาธิปไตย และการทำให้บ้านเมืองมีความปลอดภัย มีการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงในวันข้างหน้า โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปต้องทำให้เกิดความชัดเจนให้ได้ ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้ ว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะวันข้างหน้าก็จะมีคนมาใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในการบริหารประเทศอยู่แล้ว จึงถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ซึ่งตนได้ให้แนวทางไปแล้ว
ส่วนในเรื่องสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตนได้แถลงนโยบายของตนไปว่า จะจัดกลุ่มไหนได้บ้าง ซึ่งเคยได้พูดก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งข้าราชการประจำที่รู้ว่าแต่ละกระทรวงทำงานกันอย่างไร กลุ่มข้าราชการที่เกษียณอายุไปแล้ว ซึ่งเขาจะรู้ดีว่าปัญหาอยู่ตรงไหน กลุ่มนักการเมือง พรรคการเมือง ก็ต้องเข้ามา ซึ่งได้มอบหมายให้มีการติดต่อไปบ้างแล้ว ก็มีการเสนอตัวเข้ามาพอสมควร ซึ่งตนจะพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งถ้าเข้ามา ก็ต้องยอมรับในกติกาตรงนี้ในการปฏิรูป ไม่ใช่เข้ามาแล้วก็มาสร้างความขัดแย้งขึ้นอีก เมื่อมีหน้าที่ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้เรียบร้อย ซึ่งในส่วนของกลุ่มการเมืองนี้ ถ้าใครอยากสมัครก็ขอให้สมัครเข้ามา นอกจากพรรคการเมืองและนักการเมือง ก็ยังมีกลุ่มการเมืองอีก ตอนนี้เยอะแยะไปหมด ก็ต้องเชิญเข้ามา ซึ่งก็น่าจะครบถ้วน
นอกจากนี้ ก็จะมีกลุ่มในส่วนผู้ที่รู้กฎหมาย ต้องเข้ามาเป็นตัวแทนอยู่ใน สปท. กลุ่มนักวิชาการ ที่รู้เรื่องหลักการทางวิชาการทั้งหมด เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรื่องการปฏิรูปควรเป็นอย่างไร ซึ่งเท่าที่ศึกษาการปฏิรูปมีการตั้งแต่สมัย ร. 5 เริ่มจากการปฏิรูประบบราชการแผ่นดิน ปฏิรูปการใช้แรงงานต่างๆ ซึ่งประเทศไทยเราปฏิรูปมาตั้งแต่สมัยนั้น และยังไม่เคยปฏิรูปอะไรอีก และใช้ระบบการบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่สมัย ร. 5 วันนี้ก็ยังเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มกระทรวงเท่านั้นเอง แต่ยังขาดการบูรณาการข้ามกระทรวง การใช้งบประมาณข้ามกระทรวงในกิจการงานเดียวกัน ซึ่งตนเห็นว่าจะต้องมีการบูรณาการทั้งเรื่องแผนงาน โครงการ เจ้าหน้าที่ ตั้งแต่การจัดทำงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ กระจายความทั่วถึง และให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทั่วประเทศ
ในส่วนของ สปท. จะต้องมีกลุ่มของผู้ที่จะต้องรู้เรื่องแผนงาน และการจัดทำโครงการ เพราะความจริงยุทธศาสตร์ชาติเป็นคนละส่วน จะพูดเฉพาะกว้าง และหลักการว่าประเทศชาติจะต้องเดินอย่างไรใน 6 เรื่อง ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และเรื่องต่างๆ เพื่อจะได้เป็นร่มให้กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นอกจากนี้ ยังต้องมีกลุ่มงานด้านความมั่นคง ซึ่งจะมีทั้ง พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งที่เกษียณแล้วและยังไม่เกษียณ เพราะตนมองว่างานด้านความมั่นคงเป็นบ่อเกิดของความมีเสถียรภาพ และเดินหน้าด้านเศรษฐกิจต่างๆ ในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และจะต้องมีกลุ่มของ สปช.เดิม ซึ่งมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก็จะต้องนำเข้ามา เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องกับประเด็นในการปฏิรูป และมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสปท.ชุดใหม่ ซึ่งสุดท้ายตนอยากให้เป็นไปในทิศทางเลแนวเดียวกัน ถ้าทุกคนยังไม่เข้าใจกัน ก็จะเกิดปัญหาแบบเดิมไม่ว่าจะ 3-4 ครั้งก็จะเป็นแบบเดิม ดังนั้นวันนี้จึงจำเป็นต้องเอาคนที่รู้อยู่แล้ว รู้งาน รู้เรื่องการปฏิรูป เอามารวมกันให้ได้ รวมถึงนักการเมืองที่ต้องเป็นคนใช้รัฐธรรมนูญในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็ต้องเข้าใจตั้งแต่แรก ซึ่งตนได้ให้นโยบายไปแล้วทั้งหมด และคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว
" ก็อย่ามองว่ามีแต่ทหาร มีแต่พวก เพราะทหารบางคน ผมยังไม่รู้จักเลย เพราะอยู่คนละเหล่าทัพกัน บางคนก็เกษียณไปตั้งนานแล้ว ยืนยันว่า ไม่ได้เอาแต่พวก อยากถามว่า ถ้าเป็นทหารต้องเป็นพวกกันทั้งหมดหรืออย่างไร วันนี้มันเป็นพวกไม่ได้หรอก บ้านเมืองในวันนี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งเป็นของทุกคน เราก็ต้องเอาตัวแทนมาทั้งหมด ผมไม่ได้ต้องการมีอำนาจ หรืออะไรต่างๆ ทุกวันนี้ผมขาดทุนลงทุกวัน เพราะผมไม่เคยได้ผลประโยชน์อะไรอยู่แล้ว มีแต่ขาดทุนในเรื่องของชื่อเสียง ที่ถูกทำลาย โดยคนที่มาใส่ร้ายป้ายสีผมเยอะพอสมควร มีทั้งคนที่ต่อต้าน ชอบพูดในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่อง ซึ่งผมก็ขี้เกียจโมโห นอกจากนี้ยังขาดทุนในเรื่องของชีวิต และความปลอดภัยและยังขาดทุนในเวลา ที่ผมจะได้ไปพักผ่อนเวลาก็น้อยลงเรื่อยๆ จากการทำงานแบบนี้ความกดดันก็สูง และยังไม่รู้ว่าจะได้พักผ่อนเมือไหร่ ตรงนี้ผมคิดว่าผมขาดทุน แต่ผมก็จำเป็นต้องทำ รักษาสถานการณ์เดินหน้าประเทศและแก้ปัญหาของประเทศให้ได้ ผมคิดแต่เพียงว่า ผู้ที่ได้กำไรต้องเป็นประชาชน ที่จะได้รับกำไรจากสิ่งที่ผมได้ขาดทุนไป ซึ่งผมได้พูดกับรัฐมนตรีทุกคนให้เข้าใจว่าผมคิดแบบนี้และขอให้ทุกคนคิดแบบผมได้หรือไม่ ซึ่งทุกคนก็ตกลงและยอมที่จะขาดทุน 3-4 อย่างที่บอกไป ทั้งฐานะทางสังคม คนรักก็เยอะ คนเกลียดก็มาก ซึ่งมันไม่มีความพอดี" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าตนอยู่เฉยๆ ปล่อยบ้านเมืองไปอย่างที่ผ่านมาก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 ก็ไม่รู้ว่าวันนี้จะเกิดอะไรขึ้น จะดีหรือเปล่าก็ไม่มีใครรู้ แต่ผมคิดว่ามันไม่ดี วันนี้สิ่งที่อยากขอร้องคือ ให้ทุกคนสร้างความเข้าใจว่าวันนี้บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์อะไร โดยเฉพาะ กรธ. ก็ต้องเข้าใจสถานการณ์ ซึ่งทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ ถ้าทุกคนคิดว่าผมทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็สนับสนุนตน ถ้าคิดว่าตนมีนอกมีในจะว่าอะไรตนก็รับทั้งหมด ไม่รู้จะทำอย่างไร ตนอยากจะบอกว่า ตนไม่ได้อะไรเลย เพียงแต่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนระดับหนึ่งที่เขาไว้วางใจและตนก็เอาส่วนนี้มาชดเชย ส่วนที่ถูกตำหนิต่อว่า ก็สามารถมาหล่อเลี้ยงจิตใจของตนให้อยู่ต่อได้ เพราะตนต้องทำเพื่อเขา วันนี้ตนจึงอยากขอร้องพรรคการเมือง และนักการเมืองต่างๆ และสื่อช่วยทำความเข้าใจกับสังคมว่า เรายังจะเผชิญกับสถานการณ์แบบเก่าก่อน 22 พ.ค. 57 หรือย่างไร ซึ่งวิธีการที่จะทำให้ปลอดภัย ทุกคนก็ต้องไปช่วยกันคิด ส่วนตนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องทำงานต่อไปในการบริหารแผ่นดินให้ได้ เพื่อไม่ให้ติดขัด
** รับไม่ได้กับนักการเมืองที่ไม่รับกติกา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กำลังหารือกันอยู่ต้องมีนักกฎหมายด้วย ที่ผ่านมาเอาคนจาก สปช.ใน 250 คน มาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญที่เขียนมาอาจจะไม่ค่อยสมบูรณ์ ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ เพราะมันต้องผ่านคน 250 คน ไม่ใช่ทำกัน 36 คน แล้วผ่านไปทำประชามติเลย ฉะนั้น รัฐธรรมนูญต้องกลับไปถามในคำตอบข้อที่หนึ่งว่า ควรจะทำอย่างไร จะเป็นเหมือนเดิม เหมือนเก่า หรือเหมือนกมธ.ยกร่างฯ ที่ว่ามาทั้งหมดอะไรทำให้เกิดการปฏิรูป อะไรที่ทำให้รัฐบาลหน้ามีความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน อะไรที่ทำให้บ้านเมืองไม่เสียหาย ไม่มีการละเมิดธรรมาภิบาล นั่นคือสิ่งที่ท่านต้องกังวลกับตน และคิดแบบตนคิดถ้าคิดแต่เพียงว่าเลือกตั้งมีรัฐธรรมนูญ อำนาจเป็นของประชาชนมันก็เหมือนเก่าจะทำอะไรไม่ได้
"เราเป็นอย่างนั้นมานานหลายสิบปี หลายรัฐบาล มันก็ทำไม่ได้ ปฏิรูปอะไรไม่ได้ หากถึงวันนั้น เมื่อผมไปแล้วผมไม่กลับมาอีกแล้วนะ ก็ทำกันไปสิ ฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะทิ้งไว้ให้ทุกคนคิดคือ ทำอย่างไรประเทศจะเดินหน้า ในอนาคต และวันหน้าสื่อแส่ ก็เสนอแต่สิ่งที่ดีของประเทศไทย ถ้ายังมีเรื่องราวร้ายกาจ นำเสนออยู่ทุกวันคงไม่มีใครเชื่อมั่นประเทศไทยหรอก เขาเคยชมความมีเสถียรภาพของรัฐบาลวันนี้กลับมาอีกแล้ว เริ่มมีความไม่แน่ใจ ในการเมืองของประเทศไทย ผมถามว่ามาจากใครก็มาจากคนไทยทั้งชาตินั่นแหล่ะที่ทำให้เป็นอย่างนั้น เพราะทุกคนมองอย่างเดียวประชาธิปไตย เมื่อไหร่เลือกตั้ง แล้วท่านเคยรู้ไหมว่าใครจะเป็นนายกฯ ใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นฝ่ายค้าน มีใครนอกจากที่ท่านไม่รู้จักมาอีกไหม ถ้าเขากลับเข้ามากัน ผมไม่ได้ รังเกียจนะ ถ้าเขามีการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ไม่ทำเรื่องที่เสียหายอย่างที่เป็นมาก่อน ผมก็รังเกียจเขาไม่ได้ ขณะเดียวกันคนที่ไม่เคยยอมรับกติกาเลยทั้งหมด แล้วกลับเข้ามาใหม่ ผมรับไม่ได้ มันต้องรับกติกาก่อน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ กล่าวอีกว่า รัฐบาลนี้จะทำปฏิรูปในระยะที่หนึ่ง และการที่ประเทศไทยจะเดินไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งที่นำไปสู่กระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น เป็นการเริ่มต้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของหัวใจการบริหารราชการแผ่นดิน ฉะนั้นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งมาบริหารประเทศ ต้องมีธรรมาภิบาล บังคับใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม นั้นคือประชาธิปไตยที่ถูกต้อง และหนึ่งปีที่ตนอยู่จะหนึ่งปีเท่าไรก็ไม่รู้ เสร็จเมื่อไรก็เมื่อนั้น นั่นแหล่ะตนจะทำในสิ่งนี้ รัฐบาลใหม่มีเวลา 4 ปี เขาควรจะมาอยู่ใน 5 ปีแรกนี้ดีหรือไม่ ในเมื่อเราเขียนว่ายุทธศาสตร์ชาติ ควรจะเดิน 20 ปี ตามที่วางไว้ระยะละ 5 ปี ตนอยู่ 1 ปีแรก 4 ปีต่อมา รัฐบาลต่อมาทำ ถ้าอยู่ต่อก็เป็น 4 ปีของเขา โดยมีหนึ่งปีที่เชื่อมต่อระหว่างกัน จะได้เก็บปัญหาอุปสรรคต่างๆ มาทบทวนแล้วทำกัน ตนคิดแบบนี้ และไม่เคยคิดให้ตัวเองเลย คิดอนาคตว่าจะทำอย่างไร วันข้างหน้าถ้าแก้ไขเรื่องรายได้อาชีพการศึกษา คนก็สามารถคิดเองได้โดยไม่ต้องมีใครนำ คนไทยพร้อมเพียงแต่ขาดคนนำในทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่สอนให้คนเอาแต่เงินโดยที่ไม่มีการพัฒนาตนเอง มีใครคิดแบบนี้บ้างหรือพูดแค่ให้คนเชื่อมั่นศรัทธาแล้วไม่ทำ ไปหามา อย่ามาไล่แต่ตนคนเดียว
**ได้ชื่อ สปท.-กรธ.ครบหลังกลับจากสหรัฐฯ
เมื่อถามว่า ขั้นตอนการดำเนินการสรรหร กรธ. และ สปท. ต้องใช้เวลากี่วัน นายกฯ กล่าวว่า ก่อนวันที่ 5 ต.ค. ทำไมหรือ จะรีบไปเรียกคนมาสมัครหรือยังไง แต่รายชื่อรอบแรกก่อนที่ตนจะเดินทางไปต่างประเทศ ต้องมีรายชื่ออกมาแล้ว ได้สั่งเอาไว้หมดแล้ว และจะกลับมาตัดสินอีกทีเมื่อเดินทางกลับมา
เมื่อถามว่า จะกระชับขั้นตอนของร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ได้เริ่มเลย มีหลายอย่าง หลายขั้นตอน ที่หารือกันในที่ประชุมครม. ว่า การใช้เวลา 4 เดือนไม่ได้ง่าย การร่างรัฐธรรมนูญ นำของเก่ามาเทียบเคียงกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย ก็คล้ายๆ กับการร่างใหม่ แต่จะพยายามเอาข้อมูลเดิมมารวมด้วย จากที่ระบุว่าจะใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญ 6 เดือน อาจจะเหลือ 4 เดือน อะไรที่ใช้เวลา 4 เดือนอาจจะเหลือ 3 เดือนครึ่ง ก็ลดได้อยู่แค่นั้น แต่ประเด็นสำคัญคือ การจัดทำรัฐธรรมนูญให้ผ่านประชามติ ทำให้เหมือนทำเนียบจารีตประเพณีลงในสมุดข่อย รู้กันหรือไม่จะให้เขียนวันนี้เสร็จพรุ่งนี้หรืออย่างไร สิ่งที่ช้าที่สุดเขียนสมุดข่อยด้วยลายมือคน ถ้าเขียนผิดก็ผิดแล้วก็ทำใหม่ สมุดข่อยมันเขียนง่ายหรืออย่างไร แต่สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้ตนอยู่ยาวหรือไม่ได้อยู่ยาว
** ยังอุบเรื่องใส่ คปป.ใน รธน.หรือไม่
เมื่อถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะนำเอาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดองและปฏิรูปประเทศ (คปป.) ใส่ไว้ด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญเก่ายังไมได้เอามาคิดเลย เรื่องนี้ก็ยังไมได้คิด คปป. ให้รัฐบาลทำอยู่ ให้ไปเทียบกับที่สปช. ทำมา ซึ่งมี 6เรื่อง ความมั่นคง เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งของประเทศ การพัฒนาคน และทรัพยากรมนุษย์ ประมาณนี้ ซึ่งเขียนอยู่ในกรอบกว้างๆ แต่กิจกรรมเป็นเรื่องที่แตกย่อยออกไป รัฐบาลหน้าก็นำหัวข้อเหล่านี้ขึ้นมาทำเท่านั้นเอง ตนแค่ต้องการให้การปฏิรูปเป็นแบบนี้เพราะตนคิดมา ซึ่งได้ถามผู้รู้แล้วและไม่ได้ผิดตรงไหน ถ้าเราไม่มีกรอบพัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ใหญ่ แผนพัฒนาประเทศก็เดินไม่ได้อยู่ดี เขียนมาให้ตาย ตั้งสภาพัฒนาฯ มาตั้งกี่ปี จ้างคนมาเท่าไหร่ เสียเงินเดือนมาเท่าไหร่ แต่รัฐบาลไม่ได้เอามาปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติประเทศเจริญไปนานแล้ว ต้อวางแผน 1 ปี 5 ปี ทำอะไรบ้าง เช่นการยกระดับรายได้ให้มากขึ้นจากปีละ 30,000 บาท เป็น 300,000บาท และเมื่อถามว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่าน ได้เตรียมการแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สมมุติว่า มีขั้นตอนที่จำเป็นต้องปรับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ต้องปรับให้เดินหน้าให้ได้
แหล่งข่าวจากที่ประชุมร่วม คสช. ครม. และ สนช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้ชี้แจงสัดส่วนของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยจะมีสัดส่วนของอดีต สปช. จำนวน 60-70 คน โดยจะห้ามตำแหน่งปลัดกระทรวง ที่อยู่ในวาระดำรงตำแหล่งเข้ามาร่วม เนื่องจากปลัดกระทรวง มีงานที่รับผิดชอบมาก ขณะที่ สัดส่วนของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากให้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กลับไปคัดเลือกสมาชิก สนช. ที่มีความเหมาะสม เข้าร่วมเป็น กรธ.ด้วย โดยมีกำหนดส่งรายชื่อทั้งหมดในวันที่ 22 ก.ย.นี้ ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะมาประกาศรายชื่อเองทั้งหมด ภายหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจร่วมประชุมยูเอ็น ที่สหรัฐอเมริกา
** "บิ๊กป้อม" ย้ำต้องมีทหารใน กรธ.
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมครม.คสช.และสนช. ถึงการสรรหา กรธ. ว่า นายกฯ สั่งการให้ช่วยกันหาบุคคลที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และรู้ว่าสถานการณ์ขณะนี้เป็นอย่างไร ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร ควรจะเขียนรัฐธรรมนุญอย่างไรที่จะทำให้เกิดความปรองดองในชาติ ที่สำคัญต้องเป็นประชาธิปไตยแบบสากล รวมถึงต้องรู้ว่า คสช.เขาทำอะไรกันอยู่ ดูความต้องการในภาพรวมของประชาชน โดยให้เวลาในการดำเนินการในช่วงที่นายกฯ เดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งต้องช่วยกันหาคนเหล่านี้เข้ามาทำงาน เมื่อนายกฯกลับมาคงมีการลงนามแต่งตั้ง เพราะต้องมีการดูรายละเอียดของแต่ละบุคคลด้วย ถ้าดูไม่ละเอียดสื่อมวลชนจะไปดูละเอียดกว่า โดยในวันที่ 22 ก.ย. ที่จะมีการประชุมร่วม ครม.-คสช. จะเป็นการดูรายชื่อคร่าวๆ ก่อน โดยนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.จะยังไม่ลงนาม จะดูว่าเป็นใครบ้าง เพราะมีการเสนอเข้ามาเยอะ เนื่องจากนายกฯ สั่งการทั้งครม.ให้ไปช่วยหา
เมื่อถามว่าจะเปิดโอกาสให้กับทหารที่มีความรู้ด้านกฎหมายเข้ามาเป็น กรธ.ด้วยหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ต้องมีบ้างอย่างอดีตเจ้ากรมพระธรรมนนูญทหาร ถ้าเป็นเหตุการปกติทหารคงไม่เข้ามา เมื่อถามว่า คำว่าประชาธิปไตยที่เป็นสากล จะไม่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) และนายกฯ คนนอกใช่ หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ ถามก้าวหน้าไปไกล เพราะตนไม่ใช่คนร่าง เพียงแต่นายกฯสั่งว่า การร่างต้องเป็นหลักสากล เมื่อถามย้ำว่า กลไกขับเคลื่อนประชาธิปไตยไม่ให้มีทางตันจะเป็นอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เราก็ไม่อยากให้มีทางตัน ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้มีทางตัน
**เผยนายกฯต้องการให้ รธน.สั้นลง
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนหลังจากนี้ สนช. ต้องทำหน้าที่สอดคล้องกับ กรธ. โดยนายกฯ ให้หลักการว่า การร่างรัฐธรรมนูญต้องรวดเร็ว เนื้อหาอาจจะสั้นลง ส่วนกฎหมายลูก อะไรที่ตกผลึกแล้ว สามารถเตรียมการไว้ได้ ขณะที่รายชื่อบุคคลที่จะมาเป็น กรธ. และ สปท. ยังไม่มีการพิจารณารายชื่อในที่ประชุม คาดว่ามีการเสนอชื่อให้นายกฯเป็นการส่วนตัว และคงมีการเสนอเข้ามาบ้างแล้ว ซึ่งอยู่ที่การตัดสินใจของนายกฯ และเชื่อว่านายกฯ คงมีการปรึกษากับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
นายพรเพชร กล่าวยืนยันว่า ไม่เคยเสนอชื่อ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. เป็น กรธ. แต่อย่างที่เคยบอก ควรมีสนช.เข้าไปเป็น กรธ. เพราะมีความเชื่อมโยงกัน และวันนี้มีความชัดเจนว่า นายกฯ ต้องการให้ทำกฎหมายลูกเร็ว จึงต้องเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญ หากมีสนช.เข้าไปจะทำงานได้สะดวก
ส่วนการแต่งตั้ง สปท. ต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่เป็นข้าราชการปัจจุบัน และที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ฝ่ายความมั่นคง นักกฎหมาย อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประมาณ 50 - 60 คน ตามความเหมาะสม โดยไม่ปิดกั้นสีเสื้อ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าผู้ที่จะเข้ามาร่วมเป็น กรธ. ควรมีคุณสมบัติอย่างไร นายพรเพชร กล่าวว่า ตนไม่สามารถมองได้ แต่เชื่อว่านายกฯจะเลือกที่ดีที่สุด หากนายกฯนำรายชื่อนักกฎหมายมาปรึกษา ตนพร้อมให้คำปรึกษาได้ เนื่องจากตนน่าจะรู้จักนักกฎหมายมากพอสมควร ส่วน สนช. ที่เคยอยู่ในกมธ.ยกร่างฯ นั้น ส่วนตัวเห็นว่าไม่น่าจะเข้าร่วมกรธ. อีก เพราะเท่าที่ฟังกมธ.ยกร่างฯ ส่วนใหญ่บอกว่าไม่เหมาะสม
** "เพื่อไทย"ไม่ร่วมงานกับคณะรัฐประหาร
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรี ระบุว่าพร้อมให้นักการเมืองเข้าร่วมเป็นสมาชิก สปท. ว่า การที่พรรคซึ่งยึดมั่นในแนวทางประชาธิปไตย จะเข้าร่วมเป็นกรรมการใดๆ กับคณะรัฐประหาร โดยพื้นฐานแล้ว ถือเป็นเรื่องความยากลำบาก และที่สำคัญ เรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการหารือและตัดสินใจโดยคณะกรรมการบริหารพรรค แต่ขณะนี้พรรคไม่สามารถดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ตามประกาศของ คสช. และข้อบังคับของ กกต. ดังนั้นจึงไม่สามารถมีมติใดๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเป็นกรณีของรายบุคคล หรือส่วนตัว ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของสมาชิกพรรคแต่ละท่านจะใช้วิจารณญาณของตนเอง.
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (15 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) แถลงภายหลังการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี และ คสช. ซึ่งการแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ใช้เวลายาวนานที่สุด โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง โดยกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ วาระแรกคือการประชุมร่วม ครม.-คสช. ซึ่งตนได้ทำความเข้าใจว่า ต่อไปนี้จะบริหารราชการแผ่นดินอย่างไรต่อไป เนื่องจากระยะเวลาตามโรดแมป ต้องขยายออกไปอีก 20 เดือน ซึ่งในความจริงก็คาดหวังว่าจะให้น้อยกว่านั้น ตนได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายมาพิจารณาดูแล้ว ก็มีหลายอย่างที่ลดลงได้ไม่มากนัก แต่บางอย่างก็ลดลงได้
อย่างไรก็ตาม ก็ขอยืนยันว่าถ้าสามารถทำให้เร็วได้ก็จะทำให้เร็ว จะไม่มีการดึงไว้ในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ ประเด็นสำคัญตนได้บอกไปว่า ให้ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร ให้บ้านเมืองมีความปลอดภัย โดยจะต้องมีทั้ง 2 อย่าง คือ เรื่องประชาธิปไตย และการทำให้บ้านเมืองมีความปลอดภัย มีการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงในวันข้างหน้า โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปต้องทำให้เกิดความชัดเจนให้ได้ ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้ ว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะวันข้างหน้าก็จะมีคนมาใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในการบริหารประเทศอยู่แล้ว จึงถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ซึ่งตนได้ให้แนวทางไปแล้ว
ส่วนในเรื่องสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตนได้แถลงนโยบายของตนไปว่า จะจัดกลุ่มไหนได้บ้าง ซึ่งเคยได้พูดก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งข้าราชการประจำที่รู้ว่าแต่ละกระทรวงทำงานกันอย่างไร กลุ่มข้าราชการที่เกษียณอายุไปแล้ว ซึ่งเขาจะรู้ดีว่าปัญหาอยู่ตรงไหน กลุ่มนักการเมือง พรรคการเมือง ก็ต้องเข้ามา ซึ่งได้มอบหมายให้มีการติดต่อไปบ้างแล้ว ก็มีการเสนอตัวเข้ามาพอสมควร ซึ่งตนจะพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งถ้าเข้ามา ก็ต้องยอมรับในกติกาตรงนี้ในการปฏิรูป ไม่ใช่เข้ามาแล้วก็มาสร้างความขัดแย้งขึ้นอีก เมื่อมีหน้าที่ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้เรียบร้อย ซึ่งในส่วนของกลุ่มการเมืองนี้ ถ้าใครอยากสมัครก็ขอให้สมัครเข้ามา นอกจากพรรคการเมืองและนักการเมือง ก็ยังมีกลุ่มการเมืองอีก ตอนนี้เยอะแยะไปหมด ก็ต้องเชิญเข้ามา ซึ่งก็น่าจะครบถ้วน
นอกจากนี้ ก็จะมีกลุ่มในส่วนผู้ที่รู้กฎหมาย ต้องเข้ามาเป็นตัวแทนอยู่ใน สปท. กลุ่มนักวิชาการ ที่รู้เรื่องหลักการทางวิชาการทั้งหมด เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรื่องการปฏิรูปควรเป็นอย่างไร ซึ่งเท่าที่ศึกษาการปฏิรูปมีการตั้งแต่สมัย ร. 5 เริ่มจากการปฏิรูประบบราชการแผ่นดิน ปฏิรูปการใช้แรงงานต่างๆ ซึ่งประเทศไทยเราปฏิรูปมาตั้งแต่สมัยนั้น และยังไม่เคยปฏิรูปอะไรอีก และใช้ระบบการบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่สมัย ร. 5 วันนี้ก็ยังเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มกระทรวงเท่านั้นเอง แต่ยังขาดการบูรณาการข้ามกระทรวง การใช้งบประมาณข้ามกระทรวงในกิจการงานเดียวกัน ซึ่งตนเห็นว่าจะต้องมีการบูรณาการทั้งเรื่องแผนงาน โครงการ เจ้าหน้าที่ ตั้งแต่การจัดทำงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ กระจายความทั่วถึง และให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทั่วประเทศ
ในส่วนของ สปท. จะต้องมีกลุ่มของผู้ที่จะต้องรู้เรื่องแผนงาน และการจัดทำโครงการ เพราะความจริงยุทธศาสตร์ชาติเป็นคนละส่วน จะพูดเฉพาะกว้าง และหลักการว่าประเทศชาติจะต้องเดินอย่างไรใน 6 เรื่อง ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และเรื่องต่างๆ เพื่อจะได้เป็นร่มให้กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นอกจากนี้ ยังต้องมีกลุ่มงานด้านความมั่นคง ซึ่งจะมีทั้ง พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งที่เกษียณแล้วและยังไม่เกษียณ เพราะตนมองว่างานด้านความมั่นคงเป็นบ่อเกิดของความมีเสถียรภาพ และเดินหน้าด้านเศรษฐกิจต่างๆ ในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และจะต้องมีกลุ่มของ สปช.เดิม ซึ่งมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก็จะต้องนำเข้ามา เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องกับประเด็นในการปฏิรูป และมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสปท.ชุดใหม่ ซึ่งสุดท้ายตนอยากให้เป็นไปในทิศทางเลแนวเดียวกัน ถ้าทุกคนยังไม่เข้าใจกัน ก็จะเกิดปัญหาแบบเดิมไม่ว่าจะ 3-4 ครั้งก็จะเป็นแบบเดิม ดังนั้นวันนี้จึงจำเป็นต้องเอาคนที่รู้อยู่แล้ว รู้งาน รู้เรื่องการปฏิรูป เอามารวมกันให้ได้ รวมถึงนักการเมืองที่ต้องเป็นคนใช้รัฐธรรมนูญในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็ต้องเข้าใจตั้งแต่แรก ซึ่งตนได้ให้นโยบายไปแล้วทั้งหมด และคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว
" ก็อย่ามองว่ามีแต่ทหาร มีแต่พวก เพราะทหารบางคน ผมยังไม่รู้จักเลย เพราะอยู่คนละเหล่าทัพกัน บางคนก็เกษียณไปตั้งนานแล้ว ยืนยันว่า ไม่ได้เอาแต่พวก อยากถามว่า ถ้าเป็นทหารต้องเป็นพวกกันทั้งหมดหรืออย่างไร วันนี้มันเป็นพวกไม่ได้หรอก บ้านเมืองในวันนี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งเป็นของทุกคน เราก็ต้องเอาตัวแทนมาทั้งหมด ผมไม่ได้ต้องการมีอำนาจ หรืออะไรต่างๆ ทุกวันนี้ผมขาดทุนลงทุกวัน เพราะผมไม่เคยได้ผลประโยชน์อะไรอยู่แล้ว มีแต่ขาดทุนในเรื่องของชื่อเสียง ที่ถูกทำลาย โดยคนที่มาใส่ร้ายป้ายสีผมเยอะพอสมควร มีทั้งคนที่ต่อต้าน ชอบพูดในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่อง ซึ่งผมก็ขี้เกียจโมโห นอกจากนี้ยังขาดทุนในเรื่องของชีวิต และความปลอดภัยและยังขาดทุนในเวลา ที่ผมจะได้ไปพักผ่อนเวลาก็น้อยลงเรื่อยๆ จากการทำงานแบบนี้ความกดดันก็สูง และยังไม่รู้ว่าจะได้พักผ่อนเมือไหร่ ตรงนี้ผมคิดว่าผมขาดทุน แต่ผมก็จำเป็นต้องทำ รักษาสถานการณ์เดินหน้าประเทศและแก้ปัญหาของประเทศให้ได้ ผมคิดแต่เพียงว่า ผู้ที่ได้กำไรต้องเป็นประชาชน ที่จะได้รับกำไรจากสิ่งที่ผมได้ขาดทุนไป ซึ่งผมได้พูดกับรัฐมนตรีทุกคนให้เข้าใจว่าผมคิดแบบนี้และขอให้ทุกคนคิดแบบผมได้หรือไม่ ซึ่งทุกคนก็ตกลงและยอมที่จะขาดทุน 3-4 อย่างที่บอกไป ทั้งฐานะทางสังคม คนรักก็เยอะ คนเกลียดก็มาก ซึ่งมันไม่มีความพอดี" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าตนอยู่เฉยๆ ปล่อยบ้านเมืองไปอย่างที่ผ่านมาก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 ก็ไม่รู้ว่าวันนี้จะเกิดอะไรขึ้น จะดีหรือเปล่าก็ไม่มีใครรู้ แต่ผมคิดว่ามันไม่ดี วันนี้สิ่งที่อยากขอร้องคือ ให้ทุกคนสร้างความเข้าใจว่าวันนี้บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์อะไร โดยเฉพาะ กรธ. ก็ต้องเข้าใจสถานการณ์ ซึ่งทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ ถ้าทุกคนคิดว่าผมทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็สนับสนุนตน ถ้าคิดว่าตนมีนอกมีในจะว่าอะไรตนก็รับทั้งหมด ไม่รู้จะทำอย่างไร ตนอยากจะบอกว่า ตนไม่ได้อะไรเลย เพียงแต่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนระดับหนึ่งที่เขาไว้วางใจและตนก็เอาส่วนนี้มาชดเชย ส่วนที่ถูกตำหนิต่อว่า ก็สามารถมาหล่อเลี้ยงจิตใจของตนให้อยู่ต่อได้ เพราะตนต้องทำเพื่อเขา วันนี้ตนจึงอยากขอร้องพรรคการเมือง และนักการเมืองต่างๆ และสื่อช่วยทำความเข้าใจกับสังคมว่า เรายังจะเผชิญกับสถานการณ์แบบเก่าก่อน 22 พ.ค. 57 หรือย่างไร ซึ่งวิธีการที่จะทำให้ปลอดภัย ทุกคนก็ต้องไปช่วยกันคิด ส่วนตนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องทำงานต่อไปในการบริหารแผ่นดินให้ได้ เพื่อไม่ให้ติดขัด
** รับไม่ได้กับนักการเมืองที่ไม่รับกติกา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กำลังหารือกันอยู่ต้องมีนักกฎหมายด้วย ที่ผ่านมาเอาคนจาก สปช.ใน 250 คน มาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญที่เขียนมาอาจจะไม่ค่อยสมบูรณ์ ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ เพราะมันต้องผ่านคน 250 คน ไม่ใช่ทำกัน 36 คน แล้วผ่านไปทำประชามติเลย ฉะนั้น รัฐธรรมนูญต้องกลับไปถามในคำตอบข้อที่หนึ่งว่า ควรจะทำอย่างไร จะเป็นเหมือนเดิม เหมือนเก่า หรือเหมือนกมธ.ยกร่างฯ ที่ว่ามาทั้งหมดอะไรทำให้เกิดการปฏิรูป อะไรที่ทำให้รัฐบาลหน้ามีความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน อะไรที่ทำให้บ้านเมืองไม่เสียหาย ไม่มีการละเมิดธรรมาภิบาล นั่นคือสิ่งที่ท่านต้องกังวลกับตน และคิดแบบตนคิดถ้าคิดแต่เพียงว่าเลือกตั้งมีรัฐธรรมนูญ อำนาจเป็นของประชาชนมันก็เหมือนเก่าจะทำอะไรไม่ได้
"เราเป็นอย่างนั้นมานานหลายสิบปี หลายรัฐบาล มันก็ทำไม่ได้ ปฏิรูปอะไรไม่ได้ หากถึงวันนั้น เมื่อผมไปแล้วผมไม่กลับมาอีกแล้วนะ ก็ทำกันไปสิ ฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะทิ้งไว้ให้ทุกคนคิดคือ ทำอย่างไรประเทศจะเดินหน้า ในอนาคต และวันหน้าสื่อแส่ ก็เสนอแต่สิ่งที่ดีของประเทศไทย ถ้ายังมีเรื่องราวร้ายกาจ นำเสนออยู่ทุกวันคงไม่มีใครเชื่อมั่นประเทศไทยหรอก เขาเคยชมความมีเสถียรภาพของรัฐบาลวันนี้กลับมาอีกแล้ว เริ่มมีความไม่แน่ใจ ในการเมืองของประเทศไทย ผมถามว่ามาจากใครก็มาจากคนไทยทั้งชาตินั่นแหล่ะที่ทำให้เป็นอย่างนั้น เพราะทุกคนมองอย่างเดียวประชาธิปไตย เมื่อไหร่เลือกตั้ง แล้วท่านเคยรู้ไหมว่าใครจะเป็นนายกฯ ใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นฝ่ายค้าน มีใครนอกจากที่ท่านไม่รู้จักมาอีกไหม ถ้าเขากลับเข้ามากัน ผมไม่ได้ รังเกียจนะ ถ้าเขามีการปรับปรุงพัฒนาตัวเอง ไม่ทำเรื่องที่เสียหายอย่างที่เป็นมาก่อน ผมก็รังเกียจเขาไม่ได้ ขณะเดียวกันคนที่ไม่เคยยอมรับกติกาเลยทั้งหมด แล้วกลับเข้ามาใหม่ ผมรับไม่ได้ มันต้องรับกติกาก่อน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ กล่าวอีกว่า รัฐบาลนี้จะทำปฏิรูปในระยะที่หนึ่ง และการที่ประเทศไทยจะเดินไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งที่นำไปสู่กระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น เป็นการเริ่มต้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของหัวใจการบริหารราชการแผ่นดิน ฉะนั้นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งมาบริหารประเทศ ต้องมีธรรมาภิบาล บังคับใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม นั้นคือประชาธิปไตยที่ถูกต้อง และหนึ่งปีที่ตนอยู่จะหนึ่งปีเท่าไรก็ไม่รู้ เสร็จเมื่อไรก็เมื่อนั้น นั่นแหล่ะตนจะทำในสิ่งนี้ รัฐบาลใหม่มีเวลา 4 ปี เขาควรจะมาอยู่ใน 5 ปีแรกนี้ดีหรือไม่ ในเมื่อเราเขียนว่ายุทธศาสตร์ชาติ ควรจะเดิน 20 ปี ตามที่วางไว้ระยะละ 5 ปี ตนอยู่ 1 ปีแรก 4 ปีต่อมา รัฐบาลต่อมาทำ ถ้าอยู่ต่อก็เป็น 4 ปีของเขา โดยมีหนึ่งปีที่เชื่อมต่อระหว่างกัน จะได้เก็บปัญหาอุปสรรคต่างๆ มาทบทวนแล้วทำกัน ตนคิดแบบนี้ และไม่เคยคิดให้ตัวเองเลย คิดอนาคตว่าจะทำอย่างไร วันข้างหน้าถ้าแก้ไขเรื่องรายได้อาชีพการศึกษา คนก็สามารถคิดเองได้โดยไม่ต้องมีใครนำ คนไทยพร้อมเพียงแต่ขาดคนนำในทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่สอนให้คนเอาแต่เงินโดยที่ไม่มีการพัฒนาตนเอง มีใครคิดแบบนี้บ้างหรือพูดแค่ให้คนเชื่อมั่นศรัทธาแล้วไม่ทำ ไปหามา อย่ามาไล่แต่ตนคนเดียว
**ได้ชื่อ สปท.-กรธ.ครบหลังกลับจากสหรัฐฯ
เมื่อถามว่า ขั้นตอนการดำเนินการสรรหร กรธ. และ สปท. ต้องใช้เวลากี่วัน นายกฯ กล่าวว่า ก่อนวันที่ 5 ต.ค. ทำไมหรือ จะรีบไปเรียกคนมาสมัครหรือยังไง แต่รายชื่อรอบแรกก่อนที่ตนจะเดินทางไปต่างประเทศ ต้องมีรายชื่ออกมาแล้ว ได้สั่งเอาไว้หมดแล้ว และจะกลับมาตัดสินอีกทีเมื่อเดินทางกลับมา
เมื่อถามว่า จะกระชับขั้นตอนของร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ได้เริ่มเลย มีหลายอย่าง หลายขั้นตอน ที่หารือกันในที่ประชุมครม. ว่า การใช้เวลา 4 เดือนไม่ได้ง่าย การร่างรัฐธรรมนูญ นำของเก่ามาเทียบเคียงกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย ก็คล้ายๆ กับการร่างใหม่ แต่จะพยายามเอาข้อมูลเดิมมารวมด้วย จากที่ระบุว่าจะใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญ 6 เดือน อาจจะเหลือ 4 เดือน อะไรที่ใช้เวลา 4 เดือนอาจจะเหลือ 3 เดือนครึ่ง ก็ลดได้อยู่แค่นั้น แต่ประเด็นสำคัญคือ การจัดทำรัฐธรรมนูญให้ผ่านประชามติ ทำให้เหมือนทำเนียบจารีตประเพณีลงในสมุดข่อย รู้กันหรือไม่จะให้เขียนวันนี้เสร็จพรุ่งนี้หรืออย่างไร สิ่งที่ช้าที่สุดเขียนสมุดข่อยด้วยลายมือคน ถ้าเขียนผิดก็ผิดแล้วก็ทำใหม่ สมุดข่อยมันเขียนง่ายหรืออย่างไร แต่สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้ตนอยู่ยาวหรือไม่ได้อยู่ยาว
** ยังอุบเรื่องใส่ คปป.ใน รธน.หรือไม่
เมื่อถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะนำเอาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดองและปฏิรูปประเทศ (คปป.) ใส่ไว้ด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญเก่ายังไมได้เอามาคิดเลย เรื่องนี้ก็ยังไมได้คิด คปป. ให้รัฐบาลทำอยู่ ให้ไปเทียบกับที่สปช. ทำมา ซึ่งมี 6เรื่อง ความมั่นคง เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งของประเทศ การพัฒนาคน และทรัพยากรมนุษย์ ประมาณนี้ ซึ่งเขียนอยู่ในกรอบกว้างๆ แต่กิจกรรมเป็นเรื่องที่แตกย่อยออกไป รัฐบาลหน้าก็นำหัวข้อเหล่านี้ขึ้นมาทำเท่านั้นเอง ตนแค่ต้องการให้การปฏิรูปเป็นแบบนี้เพราะตนคิดมา ซึ่งได้ถามผู้รู้แล้วและไม่ได้ผิดตรงไหน ถ้าเราไม่มีกรอบพัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ใหญ่ แผนพัฒนาประเทศก็เดินไม่ได้อยู่ดี เขียนมาให้ตาย ตั้งสภาพัฒนาฯ มาตั้งกี่ปี จ้างคนมาเท่าไหร่ เสียเงินเดือนมาเท่าไหร่ แต่รัฐบาลไม่ได้เอามาปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติประเทศเจริญไปนานแล้ว ต้อวางแผน 1 ปี 5 ปี ทำอะไรบ้าง เช่นการยกระดับรายได้ให้มากขึ้นจากปีละ 30,000 บาท เป็น 300,000บาท และเมื่อถามว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่าน ได้เตรียมการแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สมมุติว่า มีขั้นตอนที่จำเป็นต้องปรับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ต้องปรับให้เดินหน้าให้ได้
แหล่งข่าวจากที่ประชุมร่วม คสช. ครม. และ สนช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้ชี้แจงสัดส่วนของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยจะมีสัดส่วนของอดีต สปช. จำนวน 60-70 คน โดยจะห้ามตำแหน่งปลัดกระทรวง ที่อยู่ในวาระดำรงตำแหล่งเข้ามาร่วม เนื่องจากปลัดกระทรวง มีงานที่รับผิดชอบมาก ขณะที่ สัดส่วนของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากให้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กลับไปคัดเลือกสมาชิก สนช. ที่มีความเหมาะสม เข้าร่วมเป็น กรธ.ด้วย โดยมีกำหนดส่งรายชื่อทั้งหมดในวันที่ 22 ก.ย.นี้ ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะมาประกาศรายชื่อเองทั้งหมด ภายหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจร่วมประชุมยูเอ็น ที่สหรัฐอเมริกา
** "บิ๊กป้อม" ย้ำต้องมีทหารใน กรธ.
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมครม.คสช.และสนช. ถึงการสรรหา กรธ. ว่า นายกฯ สั่งการให้ช่วยกันหาบุคคลที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และรู้ว่าสถานการณ์ขณะนี้เป็นอย่างไร ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร ควรจะเขียนรัฐธรรมนุญอย่างไรที่จะทำให้เกิดความปรองดองในชาติ ที่สำคัญต้องเป็นประชาธิปไตยแบบสากล รวมถึงต้องรู้ว่า คสช.เขาทำอะไรกันอยู่ ดูความต้องการในภาพรวมของประชาชน โดยให้เวลาในการดำเนินการในช่วงที่นายกฯ เดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งต้องช่วยกันหาคนเหล่านี้เข้ามาทำงาน เมื่อนายกฯกลับมาคงมีการลงนามแต่งตั้ง เพราะต้องมีการดูรายละเอียดของแต่ละบุคคลด้วย ถ้าดูไม่ละเอียดสื่อมวลชนจะไปดูละเอียดกว่า โดยในวันที่ 22 ก.ย. ที่จะมีการประชุมร่วม ครม.-คสช. จะเป็นการดูรายชื่อคร่าวๆ ก่อน โดยนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.จะยังไม่ลงนาม จะดูว่าเป็นใครบ้าง เพราะมีการเสนอเข้ามาเยอะ เนื่องจากนายกฯ สั่งการทั้งครม.ให้ไปช่วยหา
เมื่อถามว่าจะเปิดโอกาสให้กับทหารที่มีความรู้ด้านกฎหมายเข้ามาเป็น กรธ.ด้วยหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ต้องมีบ้างอย่างอดีตเจ้ากรมพระธรรมนนูญทหาร ถ้าเป็นเหตุการปกติทหารคงไม่เข้ามา เมื่อถามว่า คำว่าประชาธิปไตยที่เป็นสากล จะไม่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) และนายกฯ คนนอกใช่ หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ ถามก้าวหน้าไปไกล เพราะตนไม่ใช่คนร่าง เพียงแต่นายกฯสั่งว่า การร่างต้องเป็นหลักสากล เมื่อถามย้ำว่า กลไกขับเคลื่อนประชาธิปไตยไม่ให้มีทางตันจะเป็นอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เราก็ไม่อยากให้มีทางตัน ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้มีทางตัน
**เผยนายกฯต้องการให้ รธน.สั้นลง
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนหลังจากนี้ สนช. ต้องทำหน้าที่สอดคล้องกับ กรธ. โดยนายกฯ ให้หลักการว่า การร่างรัฐธรรมนูญต้องรวดเร็ว เนื้อหาอาจจะสั้นลง ส่วนกฎหมายลูก อะไรที่ตกผลึกแล้ว สามารถเตรียมการไว้ได้ ขณะที่รายชื่อบุคคลที่จะมาเป็น กรธ. และ สปท. ยังไม่มีการพิจารณารายชื่อในที่ประชุม คาดว่ามีการเสนอชื่อให้นายกฯเป็นการส่วนตัว และคงมีการเสนอเข้ามาบ้างแล้ว ซึ่งอยู่ที่การตัดสินใจของนายกฯ และเชื่อว่านายกฯ คงมีการปรึกษากับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
นายพรเพชร กล่าวยืนยันว่า ไม่เคยเสนอชื่อ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. เป็น กรธ. แต่อย่างที่เคยบอก ควรมีสนช.เข้าไปเป็น กรธ. เพราะมีความเชื่อมโยงกัน และวันนี้มีความชัดเจนว่า นายกฯ ต้องการให้ทำกฎหมายลูกเร็ว จึงต้องเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญ หากมีสนช.เข้าไปจะทำงานได้สะดวก
ส่วนการแต่งตั้ง สปท. ต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่เป็นข้าราชการปัจจุบัน และที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ฝ่ายความมั่นคง นักกฎหมาย อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประมาณ 50 - 60 คน ตามความเหมาะสม โดยไม่ปิดกั้นสีเสื้อ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าผู้ที่จะเข้ามาร่วมเป็น กรธ. ควรมีคุณสมบัติอย่างไร นายพรเพชร กล่าวว่า ตนไม่สามารถมองได้ แต่เชื่อว่านายกฯจะเลือกที่ดีที่สุด หากนายกฯนำรายชื่อนักกฎหมายมาปรึกษา ตนพร้อมให้คำปรึกษาได้ เนื่องจากตนน่าจะรู้จักนักกฎหมายมากพอสมควร ส่วน สนช. ที่เคยอยู่ในกมธ.ยกร่างฯ นั้น ส่วนตัวเห็นว่าไม่น่าจะเข้าร่วมกรธ. อีก เพราะเท่าที่ฟังกมธ.ยกร่างฯ ส่วนใหญ่บอกว่าไม่เหมาะสม
** "เพื่อไทย"ไม่ร่วมงานกับคณะรัฐประหาร
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรี ระบุว่าพร้อมให้นักการเมืองเข้าร่วมเป็นสมาชิก สปท. ว่า การที่พรรคซึ่งยึดมั่นในแนวทางประชาธิปไตย จะเข้าร่วมเป็นกรรมการใดๆ กับคณะรัฐประหาร โดยพื้นฐานแล้ว ถือเป็นเรื่องความยากลำบาก และที่สำคัญ เรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการหารือและตัดสินใจโดยคณะกรรมการบริหารพรรค แต่ขณะนี้พรรคไม่สามารถดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ตามประกาศของ คสช. และข้อบังคับของ กกต. ดังนั้นจึงไม่สามารถมีมติใดๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเป็นกรณีของรายบุคคล หรือส่วนตัว ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของสมาชิกพรรคแต่ละท่านจะใช้วิจารณญาณของตนเอง.