พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.) กล่าวถึงการตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ว่า จะพูดคุยกันในสัปดาห์นี้ สำหรับสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)จะมีสัดส่วนของนักการเมืองเข้าไปหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ว่าเขาจะมาหรือไม่ แต่ในส่วนของกรธ. คงไม่ต้องเอา เพราะถ้าเอานักการเมืองเข้าไปแล้วเดี๋ยวจะร่างกันไม่ได้สักที
ส่วนกรณีที่มี อดีตปลัดกระทรวง เสนอที่จะเข้ามาร่วมด้วยโดยเสนอผ่านสื่อนั้น นายกฯ กล่าวว่า ถ้าเสนอผ่านสื่อไม่รับเลย แต่หากใครจะเข้ามา ก็รวบรวมรายชื่อมา แล้วจะนำมาคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง โดยขณะนี้ยังไม่มีรายชื่อครบทั้ง 200 คน เพราะจะต้องดำเนินการจัดเป็นเป็นกลุ่มก่อนแล้วดูว่าครบพวกหรือยัง ว่ามีนักการเมือง ,ข้าราชการหรือไม่ และสปช.เก่า ควรจะมีด้วยหรือไม่ เพราะทั้งหมดนี้ต้องทำงานต่อ ต้องเขียนแผนทำงานแผนงานโครงการ และแผนงบประมาณ เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลหน้า สปท.ไม่ใช่ว่าจะไม่มีงานทำ เพราะสปช.ชุดแรก เขาร่างแผนดำเนินการไว้แล้ว 36 วาระ กับอีก 7 วาระพัฒนา ซึ่งสปท.จะต้องนำแผนงานต่างๆ มาย่อย และจัดทำแผนโครงการอีกครั้ง เพื่อจัดส่งรัฐบาลหน้า หรือถ้ามีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดอง(คปป.) ก็ให้นำไปส่งรัฐบาลหน้าทำ
เมื่อถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญ จะนำเอา กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิม เข้ามาด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ยังไม่ได้คิด แต่ตอนนี้ ยังไม่มีคนเก่า คนเก่าเขาก็ทำไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นผลงานของกมธ.ยกร่างฯ และ สปช.ตนก็นำมาใช้ประโยชน์ เพียงแต่ว่าจะเอามาทำอย่างไรให้ราบรื่น และสามารถทำงานได้ ต้องขอบคุณทั้ง กมธ.ยกร่างฯ และสปช.ด้วย ท่านไม่มีอะไรบกพร่อง ทำเต็มที่แล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในท่ามกลางความขัดแย้งถือว่าทำได้ดีที่สุดแล้ว
เมื่อถามว่า ภายในงาน มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมงานด้วย ได้หารืออะไรกันหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่พูดคุยอะไรกันนอกรอบ และการที่พูดแหย่ไปบนเวที ไม่ว่าจะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีไหนมา ตนก็แหย่หมด เพราตนไม่ใช่ศัตรูเขา แต่ต้องการให้ฟังว่าตนคิดอะไร และคิดว่าท่านจะไม่รังเกียจ และเข้าใจ และก็ได้อธิบายถึงหน้าที่ คปป. และ สปท. ซึ่งรู้แล้ว ใช่หรือไม่ว่า มีอำนาจเหนือรัฐบาลหรือเปล่า ตนไม่เห็นว่าจะมี
เมื่อถามว่าที่พูดอธิบายเรื่อง คปป. เพราะต้องการบอกให้ นายอภิสิทธิ์ และนักการเมืองทราบ ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ แต่ต้องการพูดให้ทุกคนที่รับฟังในห้องได้คิด ไม่ใช่นักการเมืองอย่างเดียว เพราะประเทศนี้ไม่ได้มีแต่นักการเมือง ส่วนกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ และนักการเมืองไม่เห็นด้วยกับการตั้ง คปป. นั้น ท่านไม่เห็นด้วยก็เรื่องของท่าน แต่เมื่อได้รับฟังแล้ว จะคิดได้หรือไม่ ต้องไปถามเอาเอง
"ปัดโถ่ นักการเมืองมีตั้งเยอะแยะ ไม่ใช่มีแต่ท่านอภิสิทธิ์คนเดียวซะที่ไหน ผมก็พูดฝากไปทุกคนนั่นแหละ แต่เมื่องานนี้มาคนเดียว ก็พูดกับท่านคนเดียว ถ้ามีใครมาอีก ก็พูดอีก ฝากไปให้เข้าใจว่า ในวันหน้าทำงานกันยังไง ถ้าไม่ได้ ก็คือไม่ได้ ไม่ได้ก็สู้กันไปเหมือนเดิม" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว หรือไม่ เพื่อรองรับสถานการณ์ หากร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังเกิดขึ้นทำประชามติไม่ผ่าน นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ได้คิด เมื่อถามย้ำว่า กรณีที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย ระบุว่า ถ้าไม่ผ่านประชามติ เป็นไปได้หรือที่จะนำเอารัฐธรรมนูญฉบับเก่าฉบับใดฉบับหนึ่ง มาเป็นตัวตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญ นายกฯ กล่าวว่า ก็เป็นไปได้ โดยจะมีการนำเอารัฐธรรมนูญ ทั้ง ปี 40 และ 50 รวมถึง ร่างของกมธ. ที่ตกไป มายำรวมกัน ซึ่งเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องผ่าน ครม.
"รัฐธรรมนูญ 50 ก็ดีบ้าง ฉบับ 40 ก็อ้างว่ามาจากประชาชน ส่วนฉบับกมธ. ก็บอกว่ามาจาก คสช. ใช่หรือไม่ วันนี้ผมมาทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย เดินหน้าได้ ผมก็มีสิทธิที่จะเอาฉบับของผมใส่เข้าไปด้วย ต้องไปดูว่า อันไหนใส่เข้าไปได้ ไม่ได้ ถ้าประชาชนเข้าใจนะ ผมถามว่าประชาธิปไตยกับไม่ประชาธิปไตย ต่างกันตรงไหน ถามว่าประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งอย่างเดียว หรือต้องมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวหรือไม่ ถ้าใช่ ผมจะไปเดี๋ยวนี้เลย คิดสิ แล้วช่วยผมอธิบาย ต้องเป็นการเลือกตั้งยังไง ผมจะไม่พูดว่า ทุจริตหรือไม่ทุจริต แต่ถามว่า ทำอย่างไรให้มีรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล แล้วทำการปฏิรูปต่อไปอย่างที่เราเสียเวลามาอย่างทุกวันนี้ ผมเหนื่อยนะ ที่ต้องอธิบายทั้งคนไทย และคนต่างชาติ จนไม่มีปัญหาแล้ว ก็ขุดมาให้มีปัญหาให้ได้ ถามว่าการที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วทรยศประชาชน มันคืออะไร ที่ดีๆ ก็มีเยอะ แต่ที่ไม่ดี พวกที่มีเรื่องฟ้องศาล ขี้โกง ต้องไม่มีอีกแล้ว ถ้าบอกว่าผมทำแย่กว่า ไปเช็คดูว่า ผมทำดีกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ถามคนไทยสิ" นายกรัฐมนตรี กล่าว
** "วิษณุ"ปัดประธานกรธ.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวนายกฯ จะทาบทามให้มาเป็นประธาน กรธ. ว่า ไม่มี ไม่มีเปลี่ยนใจ และไม่มีใครมาชวน " นายกฯไม่มีมาพูดคุย หรือชักชวนใดๆ ทั้งสิ้น เลิกพูดเรื่องผมได้แล้ว พวกคุณกำลังตกหลุม หลงประเด็น แต่ถ้าพวกคุณสนุกก็ไม่เป็นไร ผมก็สนุกด้วย"
ผู้สื่อข่าวถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 37 วรรค 7 เรื่องการทำประชามติที่จะต้องใช้เสียงของ "ผู้มีสิทธิ" หรือผู้มาใช้สิทธิ" ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำอะไรตอนนี้ ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จก่อน จะได้รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นที่พอใจกันหรือไม่ คิดว่าจะมีโอกาสผ่านการทำประชามติหรือไม่ อย่างไร แล้วค่อยมาคิดเรื่องนี้ แต่ตอนนี้ยังไม่คิดอะไร
"ความจริงแล้วการใช้ ผู้มีสิทธิ หรือผู้ใช้สิทธินั้น เขาคิดกันมาแล้วตั้งแต่ตอนโน้นว่า ต้องใช้เกณฑ์ของผู้มาใช้สิทธิ ไม่สามารถจะใช้ ผู้มีสิทธิได้ เพราะประชากรทั้งหมดประมาณ 66 ล้านคน ผู้มีสิทธิจะต้องมี 40 กว่าล้าน หากเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ โดยไปนับแม้กระทั่งคนอยู่บ้าน คนไม่ได้ออกมา ว่าเป็นฝ่ายที่ไม่เห็นชอบมันก็คงพิลึก ที่จริงที่เขียนไว้ก็ถือว่าชัดแล้ว แต่ถ้าจะแปลอีกอย่างหนึ่ง ก็มีช่องทางให้แปลได้ ผมถึงบอกว่า ลำพังจะแก้เพียงประเด็นนี้ประเด็นเดียว ไม่มีใครแก้หรอก แต่ถ้าจะแก้เรื่องอื่นอยู่แล้ว ก็ทำซะให้เสร็จไปทีเดียว จะได้หมดปัญหา ซึ่งก็ทำได้" รองนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า หากเสียงลงมติไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จะน่าเกลียดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็คงจะน่าเกลียดแน่ เพราะถ้าคนออกมาใช้สิทธิน้อย ก็อาจจะดูไม่แน่นหนาเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นการลงประชามติเรื่องอะไรก็ตาม แต่การลงประชามติทั้งประเทศ ซึ่งเป้าหมายมี 40 กว่าล้านคนนั้น เราจะไปคาดหมายให้คนออกมาเป็นจำนวนมากมหาศาล เพื่อให้ได้เสียงกึ่งหนึ่งของ 40 กว่าล้าน มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การลงประชามติ มันก็ไม่ใช่หน้าที่ ใครไม่มาก็ไม่ได้มีโทษอะไร ไม่ใช่การหาเสียงที่ไปเที่ยวไล่แจกเงินให้มาลงคะแนน จึงไม่มีสิ่งจูงใจอะไร และยิ่งเราไปห้าม การรณรงค์มากเกินเหตุ ก็ยิ่งไม่มีใหญ่ แต่ยอมรับว่า ถ้าตัวเลขคนมาลงประชามติน้อย แม้ว่าจะผ่านแต่ก็คงไม่งดงามนัก ก็เป็นหน้าที่ของรัฐ และกกต. ที่จะรณรงค์ให้คนออกมาใช้สิทธิให้มาก
เมื่อถามว่าคิดว่าทุกอย่างจะราบรื่นได้หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า มันควรจะ และพยายามทำให้ราบรื่นได้ แต่ผลจริงๆ จะราบรื่นหรือไม่ ขอเวลานิดหนึ่งก็จะรู้
ผู้สื่อข่าวถามถึงการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ กรธ. ว่า ตนไม่ทราบ ส่วนที่มีข่าวว่านายกฯ มอบหมายให้แต่ละกระทรวงไปคัดเลือกคนมาเป็น สปท. นั้น ก็ไม่ทราบว่านายกฯ ไปคุยเป็นส่วนตัวหรือไม่ แต่ในที่ประชุมครม. นายกฯไม่มีการสั่งการใดๆ
สำหรับที่มีการจับตาว่า จะมีทหารเข้ามาเป็นทั้ง สปท.และ กรธ. นั้น ก็เข้ามาได้ ไม่ได้ห้ามอะไร เขากำหนดแค่ว่า ต้องอายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งทหารเก่า หรือเกษียณ ก็สามารถเข้ามาได้ แต่เขาก็ต้องรู้ว่า ไม่ใช่เข้ามาโก้ ๆ ให้เต็มโควต้าเท่านั้น ต้องเข้ามาทำงาน ทุกเสียงถือว่ามีความสำคัญ เพราะต้องโหวตกัน และต้องมีความเข้าใจมิติใหม่ของการเมืองไทยในอดีต เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ความเป็นไปของรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับที่ผ่านมาด้วย เพื่อจะได้เก็บสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้ และต้องเข้าใจรัฐธรรมนูญที่เพิ่งตกไปล่าสุดด้วย แต่ถ้าเป็นทหารที่รับราชการอยู่ ก็ต้องสละตำแหน่งราชการ หรืออาจไม่รับตำแหน่ง กรธ. ก็ได้
**"วิรัตน์" แนะตัดทิ้งคปป.
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำว่า ก่อนที่จะมีการบัญญัติเรื่องของ คปป. ลงไป ตนเคยพูดว่า ที่ผ่านมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลังจากที่มีการเอามาตรา 181-182 มีการเอาโอเพ่นลิสต์ออกแล้ว ตนเชื่อว่าน่าจะผ่านการลงมติของสปช. และผ่านการประชามติได้ แต่พอมามีการบัญญัติเรื่องของ คปป.เข้ามา ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำ
การกระทำของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการลักหลับ เพราะประกาศในช่วงโค้งสุดท้าย และประกาศโดยไม่มีสัญญาณใดๆ ถ้าหากมีการบัญญัติกันก่อนหน้านี้ ก็คงจะมีการวิจารณ์กันว่าเรื่องนี้จะมีผลได้หรือผลเสียอย่างไร ดังนั้นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกคว่ำ มาปรับแก้ให้เหมาะสม โดยแก้ในส่วนของ คปป. ออกไป และแก้ไขในมาตราที่เกี่ยวข้องกับอำนาจขององค์กรป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ตามหลักการโดยยึดหลักการของรัฐธรรมนูญปี 2550
"เอาสิ่งดีๆในร่างรัฐธรรมนูญของอาจารย์บวรศักดิ์ มาปรับแก้ไขแล้วตัด คปป.ออกวันเดียว ก็เสร็จ แล้วก็ดึงข้อดีของรัฐธรรมนูญ 40-50 มา เอามาผนวก เท่าที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 และเพิ่มอำนาจให้ ป.ป.ช. ผมว่าทำแบบนี้ก็น่าจะไปได้" นายวิรัตน์ กล่าว
**สนช. เหมาะร่วม กรธ.มากกว่า 2 คน
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. คนที่ 2 กล่าวถึงข้อเสนอให้สมาชิก สนช. 1-2 คน เข้าไปร่วมเป็น กรธ. ว่า คงต้องหารือกับคณะรัฐมนตรี ซึ่งหากมีการร้องขอให้ สนช.เข้าไปทำหน้าที่มากกว่าจำนวนดังกล่าว ก็มีความพร้อมที่จะส่ง สนช.เข้าไปทำหน้าที่ เนื่องจากสมาชิก สนช. ล้วนมีสามารถ ขณะที่คุณสมบัติของกรธ.นั้น ตนคิดว่า ไม่ควรมีนักการเมือง เพราะจะทำให้เกิดข้อครหาได้ ขณะเดียวกัน การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็ควรนำข้อเสนอของกมธ.ยกร่างฯ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน มาเป็นที่ตั้ง เพราะระยะเวลาในการทำงานมีเพียง 6 เดือนเท่านั้น ส่วนประเด็นที่มีข้อครหาในประเด็นทางการเมือง ก็ควรรับฟังความเห็นของประชาชนมาเป็นตัดสินใจก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี สำหรับการประชุมร่วม คสช.ครม. และ สนช. ในวันที่ 15 ก.ย. นี้ คิดว่าน่าจะมีการหารือถึงการตั้งแต่งบุคคลเข้าไปเป็น กรธ. กับ สปท. ด้วย
ส่วนกรณีที่มี อดีตปลัดกระทรวง เสนอที่จะเข้ามาร่วมด้วยโดยเสนอผ่านสื่อนั้น นายกฯ กล่าวว่า ถ้าเสนอผ่านสื่อไม่รับเลย แต่หากใครจะเข้ามา ก็รวบรวมรายชื่อมา แล้วจะนำมาคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง โดยขณะนี้ยังไม่มีรายชื่อครบทั้ง 200 คน เพราะจะต้องดำเนินการจัดเป็นเป็นกลุ่มก่อนแล้วดูว่าครบพวกหรือยัง ว่ามีนักการเมือง ,ข้าราชการหรือไม่ และสปช.เก่า ควรจะมีด้วยหรือไม่ เพราะทั้งหมดนี้ต้องทำงานต่อ ต้องเขียนแผนทำงานแผนงานโครงการ และแผนงบประมาณ เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลหน้า สปท.ไม่ใช่ว่าจะไม่มีงานทำ เพราะสปช.ชุดแรก เขาร่างแผนดำเนินการไว้แล้ว 36 วาระ กับอีก 7 วาระพัฒนา ซึ่งสปท.จะต้องนำแผนงานต่างๆ มาย่อย และจัดทำแผนโครงการอีกครั้ง เพื่อจัดส่งรัฐบาลหน้า หรือถ้ามีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดอง(คปป.) ก็ให้นำไปส่งรัฐบาลหน้าทำ
เมื่อถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญ จะนำเอา กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิม เข้ามาด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ยังไม่ได้คิด แต่ตอนนี้ ยังไม่มีคนเก่า คนเก่าเขาก็ทำไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นผลงานของกมธ.ยกร่างฯ และ สปช.ตนก็นำมาใช้ประโยชน์ เพียงแต่ว่าจะเอามาทำอย่างไรให้ราบรื่น และสามารถทำงานได้ ต้องขอบคุณทั้ง กมธ.ยกร่างฯ และสปช.ด้วย ท่านไม่มีอะไรบกพร่อง ทำเต็มที่แล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในท่ามกลางความขัดแย้งถือว่าทำได้ดีที่สุดแล้ว
เมื่อถามว่า ภายในงาน มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมงานด้วย ได้หารืออะไรกันหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่พูดคุยอะไรกันนอกรอบ และการที่พูดแหย่ไปบนเวที ไม่ว่าจะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีไหนมา ตนก็แหย่หมด เพราตนไม่ใช่ศัตรูเขา แต่ต้องการให้ฟังว่าตนคิดอะไร และคิดว่าท่านจะไม่รังเกียจ และเข้าใจ และก็ได้อธิบายถึงหน้าที่ คปป. และ สปท. ซึ่งรู้แล้ว ใช่หรือไม่ว่า มีอำนาจเหนือรัฐบาลหรือเปล่า ตนไม่เห็นว่าจะมี
เมื่อถามว่าที่พูดอธิบายเรื่อง คปป. เพราะต้องการบอกให้ นายอภิสิทธิ์ และนักการเมืองทราบ ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ แต่ต้องการพูดให้ทุกคนที่รับฟังในห้องได้คิด ไม่ใช่นักการเมืองอย่างเดียว เพราะประเทศนี้ไม่ได้มีแต่นักการเมือง ส่วนกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ และนักการเมืองไม่เห็นด้วยกับการตั้ง คปป. นั้น ท่านไม่เห็นด้วยก็เรื่องของท่าน แต่เมื่อได้รับฟังแล้ว จะคิดได้หรือไม่ ต้องไปถามเอาเอง
"ปัดโถ่ นักการเมืองมีตั้งเยอะแยะ ไม่ใช่มีแต่ท่านอภิสิทธิ์คนเดียวซะที่ไหน ผมก็พูดฝากไปทุกคนนั่นแหละ แต่เมื่องานนี้มาคนเดียว ก็พูดกับท่านคนเดียว ถ้ามีใครมาอีก ก็พูดอีก ฝากไปให้เข้าใจว่า ในวันหน้าทำงานกันยังไง ถ้าไม่ได้ ก็คือไม่ได้ ไม่ได้ก็สู้กันไปเหมือนเดิม" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว หรือไม่ เพื่อรองรับสถานการณ์ หากร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังเกิดขึ้นทำประชามติไม่ผ่าน นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ได้คิด เมื่อถามย้ำว่า กรณีที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย ระบุว่า ถ้าไม่ผ่านประชามติ เป็นไปได้หรือที่จะนำเอารัฐธรรมนูญฉบับเก่าฉบับใดฉบับหนึ่ง มาเป็นตัวตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญ นายกฯ กล่าวว่า ก็เป็นไปได้ โดยจะมีการนำเอารัฐธรรมนูญ ทั้ง ปี 40 และ 50 รวมถึง ร่างของกมธ. ที่ตกไป มายำรวมกัน ซึ่งเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องผ่าน ครม.
"รัฐธรรมนูญ 50 ก็ดีบ้าง ฉบับ 40 ก็อ้างว่ามาจากประชาชน ส่วนฉบับกมธ. ก็บอกว่ามาจาก คสช. ใช่หรือไม่ วันนี้ผมมาทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย เดินหน้าได้ ผมก็มีสิทธิที่จะเอาฉบับของผมใส่เข้าไปด้วย ต้องไปดูว่า อันไหนใส่เข้าไปได้ ไม่ได้ ถ้าประชาชนเข้าใจนะ ผมถามว่าประชาธิปไตยกับไม่ประชาธิปไตย ต่างกันตรงไหน ถามว่าประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งอย่างเดียว หรือต้องมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวหรือไม่ ถ้าใช่ ผมจะไปเดี๋ยวนี้เลย คิดสิ แล้วช่วยผมอธิบาย ต้องเป็นการเลือกตั้งยังไง ผมจะไม่พูดว่า ทุจริตหรือไม่ทุจริต แต่ถามว่า ทำอย่างไรให้มีรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล แล้วทำการปฏิรูปต่อไปอย่างที่เราเสียเวลามาอย่างทุกวันนี้ ผมเหนื่อยนะ ที่ต้องอธิบายทั้งคนไทย และคนต่างชาติ จนไม่มีปัญหาแล้ว ก็ขุดมาให้มีปัญหาให้ได้ ถามว่าการที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วทรยศประชาชน มันคืออะไร ที่ดีๆ ก็มีเยอะ แต่ที่ไม่ดี พวกที่มีเรื่องฟ้องศาล ขี้โกง ต้องไม่มีอีกแล้ว ถ้าบอกว่าผมทำแย่กว่า ไปเช็คดูว่า ผมทำดีกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ถามคนไทยสิ" นายกรัฐมนตรี กล่าว
** "วิษณุ"ปัดประธานกรธ.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวนายกฯ จะทาบทามให้มาเป็นประธาน กรธ. ว่า ไม่มี ไม่มีเปลี่ยนใจ และไม่มีใครมาชวน " นายกฯไม่มีมาพูดคุย หรือชักชวนใดๆ ทั้งสิ้น เลิกพูดเรื่องผมได้แล้ว พวกคุณกำลังตกหลุม หลงประเด็น แต่ถ้าพวกคุณสนุกก็ไม่เป็นไร ผมก็สนุกด้วย"
ผู้สื่อข่าวถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 37 วรรค 7 เรื่องการทำประชามติที่จะต้องใช้เสียงของ "ผู้มีสิทธิ" หรือผู้มาใช้สิทธิ" ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำอะไรตอนนี้ ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จก่อน จะได้รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นที่พอใจกันหรือไม่ คิดว่าจะมีโอกาสผ่านการทำประชามติหรือไม่ อย่างไร แล้วค่อยมาคิดเรื่องนี้ แต่ตอนนี้ยังไม่คิดอะไร
"ความจริงแล้วการใช้ ผู้มีสิทธิ หรือผู้ใช้สิทธินั้น เขาคิดกันมาแล้วตั้งแต่ตอนโน้นว่า ต้องใช้เกณฑ์ของผู้มาใช้สิทธิ ไม่สามารถจะใช้ ผู้มีสิทธิได้ เพราะประชากรทั้งหมดประมาณ 66 ล้านคน ผู้มีสิทธิจะต้องมี 40 กว่าล้าน หากเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ โดยไปนับแม้กระทั่งคนอยู่บ้าน คนไม่ได้ออกมา ว่าเป็นฝ่ายที่ไม่เห็นชอบมันก็คงพิลึก ที่จริงที่เขียนไว้ก็ถือว่าชัดแล้ว แต่ถ้าจะแปลอีกอย่างหนึ่ง ก็มีช่องทางให้แปลได้ ผมถึงบอกว่า ลำพังจะแก้เพียงประเด็นนี้ประเด็นเดียว ไม่มีใครแก้หรอก แต่ถ้าจะแก้เรื่องอื่นอยู่แล้ว ก็ทำซะให้เสร็จไปทีเดียว จะได้หมดปัญหา ซึ่งก็ทำได้" รองนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า หากเสียงลงมติไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จะน่าเกลียดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็คงจะน่าเกลียดแน่ เพราะถ้าคนออกมาใช้สิทธิน้อย ก็อาจจะดูไม่แน่นหนาเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นการลงประชามติเรื่องอะไรก็ตาม แต่การลงประชามติทั้งประเทศ ซึ่งเป้าหมายมี 40 กว่าล้านคนนั้น เราจะไปคาดหมายให้คนออกมาเป็นจำนวนมากมหาศาล เพื่อให้ได้เสียงกึ่งหนึ่งของ 40 กว่าล้าน มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การลงประชามติ มันก็ไม่ใช่หน้าที่ ใครไม่มาก็ไม่ได้มีโทษอะไร ไม่ใช่การหาเสียงที่ไปเที่ยวไล่แจกเงินให้มาลงคะแนน จึงไม่มีสิ่งจูงใจอะไร และยิ่งเราไปห้าม การรณรงค์มากเกินเหตุ ก็ยิ่งไม่มีใหญ่ แต่ยอมรับว่า ถ้าตัวเลขคนมาลงประชามติน้อย แม้ว่าจะผ่านแต่ก็คงไม่งดงามนัก ก็เป็นหน้าที่ของรัฐ และกกต. ที่จะรณรงค์ให้คนออกมาใช้สิทธิให้มาก
เมื่อถามว่าคิดว่าทุกอย่างจะราบรื่นได้หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า มันควรจะ และพยายามทำให้ราบรื่นได้ แต่ผลจริงๆ จะราบรื่นหรือไม่ ขอเวลานิดหนึ่งก็จะรู้
ผู้สื่อข่าวถามถึงการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ กรธ. ว่า ตนไม่ทราบ ส่วนที่มีข่าวว่านายกฯ มอบหมายให้แต่ละกระทรวงไปคัดเลือกคนมาเป็น สปท. นั้น ก็ไม่ทราบว่านายกฯ ไปคุยเป็นส่วนตัวหรือไม่ แต่ในที่ประชุมครม. นายกฯไม่มีการสั่งการใดๆ
สำหรับที่มีการจับตาว่า จะมีทหารเข้ามาเป็นทั้ง สปท.และ กรธ. นั้น ก็เข้ามาได้ ไม่ได้ห้ามอะไร เขากำหนดแค่ว่า ต้องอายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งทหารเก่า หรือเกษียณ ก็สามารถเข้ามาได้ แต่เขาก็ต้องรู้ว่า ไม่ใช่เข้ามาโก้ ๆ ให้เต็มโควต้าเท่านั้น ต้องเข้ามาทำงาน ทุกเสียงถือว่ามีความสำคัญ เพราะต้องโหวตกัน และต้องมีความเข้าใจมิติใหม่ของการเมืองไทยในอดีต เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ความเป็นไปของรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับที่ผ่านมาด้วย เพื่อจะได้เก็บสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้ และต้องเข้าใจรัฐธรรมนูญที่เพิ่งตกไปล่าสุดด้วย แต่ถ้าเป็นทหารที่รับราชการอยู่ ก็ต้องสละตำแหน่งราชการ หรืออาจไม่รับตำแหน่ง กรธ. ก็ได้
**"วิรัตน์" แนะตัดทิ้งคปป.
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำว่า ก่อนที่จะมีการบัญญัติเรื่องของ คปป. ลงไป ตนเคยพูดว่า ที่ผ่านมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลังจากที่มีการเอามาตรา 181-182 มีการเอาโอเพ่นลิสต์ออกแล้ว ตนเชื่อว่าน่าจะผ่านการลงมติของสปช. และผ่านการประชามติได้ แต่พอมามีการบัญญัติเรื่องของ คปป.เข้ามา ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำ
การกระทำของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการลักหลับ เพราะประกาศในช่วงโค้งสุดท้าย และประกาศโดยไม่มีสัญญาณใดๆ ถ้าหากมีการบัญญัติกันก่อนหน้านี้ ก็คงจะมีการวิจารณ์กันว่าเรื่องนี้จะมีผลได้หรือผลเสียอย่างไร ดังนั้นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกคว่ำ มาปรับแก้ให้เหมาะสม โดยแก้ในส่วนของ คปป. ออกไป และแก้ไขในมาตราที่เกี่ยวข้องกับอำนาจขององค์กรป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ตามหลักการโดยยึดหลักการของรัฐธรรมนูญปี 2550
"เอาสิ่งดีๆในร่างรัฐธรรมนูญของอาจารย์บวรศักดิ์ มาปรับแก้ไขแล้วตัด คปป.ออกวันเดียว ก็เสร็จ แล้วก็ดึงข้อดีของรัฐธรรมนูญ 40-50 มา เอามาผนวก เท่าที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 และเพิ่มอำนาจให้ ป.ป.ช. ผมว่าทำแบบนี้ก็น่าจะไปได้" นายวิรัตน์ กล่าว
**สนช. เหมาะร่วม กรธ.มากกว่า 2 คน
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. คนที่ 2 กล่าวถึงข้อเสนอให้สมาชิก สนช. 1-2 คน เข้าไปร่วมเป็น กรธ. ว่า คงต้องหารือกับคณะรัฐมนตรี ซึ่งหากมีการร้องขอให้ สนช.เข้าไปทำหน้าที่มากกว่าจำนวนดังกล่าว ก็มีความพร้อมที่จะส่ง สนช.เข้าไปทำหน้าที่ เนื่องจากสมาชิก สนช. ล้วนมีสามารถ ขณะที่คุณสมบัติของกรธ.นั้น ตนคิดว่า ไม่ควรมีนักการเมือง เพราะจะทำให้เกิดข้อครหาได้ ขณะเดียวกัน การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็ควรนำข้อเสนอของกมธ.ยกร่างฯ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน มาเป็นที่ตั้ง เพราะระยะเวลาในการทำงานมีเพียง 6 เดือนเท่านั้น ส่วนประเด็นที่มีข้อครหาในประเด็นทางการเมือง ก็ควรรับฟังความเห็นของประชาชนมาเป็นตัดสินใจก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี สำหรับการประชุมร่วม คสช.ครม. และ สนช. ในวันที่ 15 ก.ย. นี้ คิดว่าน่าจะมีการหารือถึงการตั้งแต่งบุคคลเข้าไปเป็น กรธ. กับ สปท. ด้วย