วานนี้ (13 ก.ย.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง "กรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่" ในสายตาประชาชน โดยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,184 คน ระหว่างวันที่ 8-12 ก.ย. ต่อกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 ก.ย.2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะต้องตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ขึ้นใหม่จำนวน 21 คน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยถึงรายชื่อ กรธ.มีเพียงกระแสข่าวลือและการคาดเดากันไปต่างๆนานา โดยผลสำรวจที่น่าสนใจอาทิ ร้อยละ 83.12 เห็นว่าคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็น กรธ.ต้องเป็นคนดี ซื่อสัตย์ ประวัติดี มีผลงาน ขณะที่ร้อยละ 81.06 เห็นว่าต้องมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน เสียสละเพื่อประเทศชาติและส่วนรวม และร้อยละ 77.45 ต้องยุติธรรม เป็นกลาง ไม่ถูกแทรกแซงหรือครอบงำในการทำงาน
ต่อข้อถามที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญควรอย่างไรจึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ร้อยละ 82.94 เห็นว่า เนื้อหาชัดเจน ไม่คลุมเครือ เป็นกลาง ให้ความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย ร้อยละ 79.50 เห็นว่าต้องผ่านการพิจารณาจากหลายฝ่ายอย่างละเอียด รอบคอบ เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย และร้อยละ 72.83 เห็นว่าต้องมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประชาชนอย่างแท้จริง
เมื่อถามถึงประโยชน์จากการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาของ สปช.ต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร้อยละ 80.26 เห็นว่าสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับจากเสียงส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.35 เห็นว่าต้องมีกระบวนการขั้นตอนที่เปิดเผย สร้างความเข้าใจกับประชาชน ในส่วนของสิ่งที่อยากฝากบอก พล.อ.ประยุทธ์ ในการเลือก กรธ. ร้อยละ 86.74 ระบุว่า ควรเลือกคนดีที่มีความเหมาะสมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ และร้อยละ 82.23 อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ เป็นต้น
** ปชช.ขอคนดีร่าง รธน.ใหม่
วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ใครควรเป็นกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณสมบัติของ กรธ.ชุดที่ 2 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.88 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง รองลงมา ร้อยละ 19.44 ระบุว่า เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญมาก่อน ขณะที่ร้อยละ 16.96 ระบุว่า เป็นผู้เข้าใจบริบททางการเมืองไทยที่แท้จริง ร้อยละ 15.28 ระบุว่า เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์หรือกฎหมายมหาชน ร้อยละ 6.24 ระบุว่า เป็นนักประนีประนอม ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นนักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และพันธมิตรฯ ร้อยละ 1.36 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของ คสช. ร้อยละ 1.20 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของนักการเมือง ร้อยละ 0.88 ระบุว่า เป็นนักประชาธิปไตยแบบตะวันตก ร้อยละ 1.28 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ ใครก็ได้ที่เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม จริงใจในการแก้ไขปัญหา เป็นคนกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมาจากทุกกลุ่มอาชีพ และร้อยละ 6.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
** สภาขับเคลื่อนฯต้องหลากหลาย
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.00 ระบุว่า เป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ รองลงมาร้อยละ 14.96 ระบุว่า เป็นนักวิชาการ ร้อยละ 12.72 ระบุว่า เป็นบุคคลที่ไม่ใช่นักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และ พันธมิตรฯ ร้อยละ 12.16 ระบุว่า เป็นอดีต สปช. หรืออดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 9.04 ระบุว่า เป็นทหาร ตำรวจ ร้อยละ 8.56 ระบุว่า เป็นนักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และ พันธมิตรฯ ร้อยละ 7.28 ระบุว่า เป็นบุคคลที่ไม่เคยเป็น สปช. หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 6.24 ระบุว่า เป็นข้าราชการประจำ ร้อยละ 4.48 ระบุว่า เป็นนักธุรกิจ ร้อยละ 4.48 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ เป็นผู้ที่เข้าใจกฎหมายบ้านเมือง รับรู้และเข้าถึงปัญหาของประชาชนและประเทศ มีความรู้ความสามารถ ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเข้ามา มีความคิดเป็นอิสระเป็นของตัวเอง ไม่ถูกชักจูง ร้อยละ 0.24 ระบุว่าไม่มีใครเหมาะสม และร้อยละ 9.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
** ย้ำตั้ง 21 กรธ.ก่อน 23 ก.ย.นี้
พล.ต.วีรชน สุคนธปฎิภาค รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศว่า การแต่งตั้งจะแล้วเสร็จก่อนที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.จะเดินทางไปร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 23 ก.ย.นี้อย่างแน่นอน เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมในการทำงานของแต่ละฝ่าย ส่วนข้อเสนอของอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) บางส่วน ที่อยากให้มีการเพิ่มโควต้าในสัดส่วนของอดีต สปช. ได้เข้าไปเป็นสภาขับเคลื่อนฯนั้น นายกฯและรัฐบาลยังไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากมีการกำหนดสัดส่วนตามที่นายกฯ ได้ระบุไปก่อนหน้านี้อยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่าถ้าจะให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย ต้องเชื่อมโยงกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง พล.ต.วีรชน กล่าวว่า รัฐบาลก็รับฟังไว้ แต่อยากให้มองว่าในช่วงเปลี่ยนผ่าน หรือช่วงรอยต่อก่อนที่จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เราต้องมีมาตรการอะไรที่เหมาะสมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาให้รอบด้าน.
** ต้องแก้ รธน.ปี 57 ปลดล๊อคประชามติ
นายนิรันดร์ พันธกิจ อดีตสมาชิก สปช. กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะประชุมหารือแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 37 วรรคเจ็ด เรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญเพราะเห็นว่ามาตรานี้อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคตได้ เนื่องจากการตีความคำว่าผู้มีสิทธิ กับผู้มาใช้สิทธิ หากแก้ในมาตรา 37 วรรคเจ็ด ว่าเสียงประชามติจะผ่านต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ก็ค่อนข้างสบายใจว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะผ่านการเห็นชอบจากประชาชน แต่ถ้าไม่แก้ไขให้ชัดเจน โอกาสที่จะไม่ผ่านนั้นมีสูงมาก ทั้งนี้ หากครม.เห็นชอบให้แก้มาตราดังกล่าวแล้ว ตนเสนอว่าให้แก้ในมาตราเดียวกันให้มีความชัดเจนว่า หากร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังไม่ผ่านประชามติอีก ก็ให้หยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เคยประกาศใช้แล้วมาปรับแก้ไข โดยควรจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่เคยผ่านการทำประชามติมาแล้ว เพราะถ้าจะให้ร่างแล้วทำประชามติ วนไปเรื่อยๆ มองว่าไม่เป็นผลดีและจะทำให้เราเสียงบประมาณมากเกินไป
นายนิรันดร์ กล่าวถึงการแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯ และ กรธ.ว่า ไม่มีโควต้าสำหรับสมาชิก สปช.ทั้ง 2 ตำแหน่ง แต่ส่วนตัวมองว่าสมาชิก สปช.ทั้งที่ลงมติรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ควรจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯอย่างน้อย 100 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปทุกคณะ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ให้คนที่ร่างแผนการปฏิรูปเข้าไปร่วมผลักดันสานต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งควรเปิดให้ฝ่ายการเมืองเข้าร่วมด้วย เพื่อจะได้มีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถือเป็นการลดความขัดแย้งไปในตัว
** ไม่มีสัญญาห้าม 36 อรหันต์เป็น กรธ.
นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2 กล่าวถึงกรณี ที่ นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ทำตามสัญญาประชาคมว่า กมธ.ยกร่างฯ ทั้ง 36 คน จะไม่กลับมารับตำแหน่งใน กรธ.ว่า ตนไม่เคยสัญญาอะไร เพียงแค่พูดในรายการแห่งหนึ่งว่าตนได้ยิน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างฯ บอกว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน จะไม่ขอกลับมาร่างรัฐธรรมนูญอีก ส่วนคนอื่นๆ ก็เป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะตัดสินใจเอง ซึ่งเราไม่เคยมีการทำสัญญาประชาคมอะไรไว้ทั้งนั้น ขอให้ไปเอาเทปรายการนั้นมาดูเพื่อยืนยันได้เลย
“ผมไม่ใช่เด็กเลี้ยงแกะ เขาจะกลัวอะไรกันนักกันหนาที่ไม่อยากให้พวกผมกลับมา หรือเป็นเพราะร่างรัฐธรรมนูญที่เราร่างขึ้นมาสามารถกันนักการเมืองชั่วนักการเมืองไม่ดี ไม่ให้กลับมาสู่การเมืองอีก เป็นเรื่องจริงอย่างที่หลายคนพูด หากเป็นคนดี ก็ไม่ต้องไปกลัวอะไร” นายมานิจ กล่าว
** อดีต สปช.พร้อมรับตำแหน่ง
นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตสมาชิก สปช.กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครมาทาบทามตนให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นสภาขับเคลื่อนฯ เพราะการตัดสินใจเลือกบุคคลใดให้เข้ามาทำหน้าที่ตรงจุดนี้คือนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่วนตัวเข้าใจว่านายกรัฐมนตรีจะพิจารณาเลือกคนที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายแตกต่างกันไป คงไม่ไปเจาะจงเลือกเฉพาะคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ส่วนจะเลือกอดีต สปช.เข้ามาทำหน้าที่ด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรี แต่หากมีการทาบทามตนให้เข้ามาทำหน้าที่ ก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหาใด พร้อมทำงานและทำด้วยความเต็มที่อยู่แล้ว ถ้ามีการเปิดกว้างให้นักการเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ด้วย ก็จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้สภาขับเคลื่อนฯมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ต้องขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีว่าจะเลือกบุคคลใด
**อ้างหลายคนอยากสานงานปฏิรูป
ด้าน พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย อดีตสมาชิก สปช. กล่าวว่า อดีต สปช.หลายคนอยากจะทำงานสานต่องานด้านการปฏิรูป เพราะเสียดายหลายเรื่องที่คิดเอาไว้ แต่ยังไม่ได้ทำ ต้องดูว่าผู้มีอำนาจจะเห็นการทำงานที่ผ่านมาว่าจะสามารถสานต่อได้แค่ไหน ซึ่งข้อดีของการเอาอดีตสปช.มานั่งเป็นสภาขับเคลื่อนฯ ก็คือรู้มือกันดี เพราะหลายคนได้ทำงานร่วมกันมา รู้ทิศทางว่าใครถนัดตรงไหน ส่วนข้อดีของการนำคนนอกเข้ามาตรงนี้จะได้ในเรื่องของความหลากหลาย ดังนั้นถ้านำมาผสมกัน ก็จะได้ทั้งความหลากหลายและงานที่ต่อเนื่อง ถือว่าเป็นประโยชน์มาก
“ส่วนตัวคิดว่าโควต้าน่าจะไล่เรียงกันไม่ต่างกันมาก และไม่เกี่ยวกับอดีตสปช.จะอยู่ฝ่ายที่รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะทุกคนมีสิทธิเท่ากันอยู่ที่ผลงานที่ผ่านมาและผู้มีอำนาจจะเห็นว่าใครบ้างที่จะได้รับเลือกเข้ามานั่งสภาขับเคลื่อนฯ ผมเชื่อว่าทุกคนหวังที่จะให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ และต้องช่วยกันคิดรูปแบบว่าจะเดินต่อไปอย่างไร” พ.ต.อาณันย์ กล่าว.
** “ปู” แนะนำข้อเสนอทุกฝ่ายมาร่าง รธน.
ที่สกายปาร์ค ตึกชินวัตร ทาวเวอร์ 3 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ว่า เรื่องนี้ไม่ขอลงลึกในรายละเอียดเพราะเชื่อว่ามีผู้รู้ในการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละคณะอยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากเห็นคืออยากให้ กรธ.ชุดใหม่นำข้อเสนอต่างๆ ทั้งภาควิชาการ ฝ่ายปฏิบัติ มาหาแนวทางที่ทำให้สังคมยอมรับ เชื่อว่าจะทำให้การปฏิรูปได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้
** ชี้ไม่แก้ ม.35 ร่าง รธน.ไม่จบ
ด้าน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เขียนข้อความผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า การตั้ง กรธ.คงทำได้เสร็จในวันที่ 22 ก.ย.นี้ แต่ใครจะมาเขียนรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่แก้ไขมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ก็ไม่มีวันเป็นประชาธิปไตยได้ แม้จะเขียนใหม่กี่ครั้ง หรือทำประชามติกี่หน ประชาชนคงไม่รับและตนจะคว่ำรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยการร่างรัฐธรรมนูญต้องทำเพื่อประเทศและลูกหลานในอนาคต ต้องไม่คิดเพื่อตัวเองตนไม่สนใจว่า คสช.จะอยู่นานแค่ไหน อยากอยู่นานก็อยู่ และไม่คิดแย่งอำนาจ เพราะอำนาจถ้าได้มาไม่ถูกต้อง ก็ไม่มีความหมาย ธรรมชาติของคนมีอำนาจคือกลัวคนมาแย่งอำนาจ
** เตือนฝ่ายการเมืองระวังร่วมร่าง รธน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ตนมองว่าจะต้องปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญที่ สปช.ไม่ให้ความเห็นชอบ อีกทั้งตนคิดว่าหากเป็นบรรยากาศของความร่วมมือ เปิดกว้างและพูดกันตรงไปตรงมาถึงปัญหาในอดีตที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับว่ามีส่วนสร้างปัญหาขึ้นมา หากมีสร้างบรรยากาศอย่างนี้ได้ ก็จะเป็นไปตามความตั้งใจของประชาชนส่วนใหญ่ที่จะปฏิรูปและพาประเทศพ้นจากปัญหาได้
“ในส่วนของ กรธ.ไม่ควรให้ความสำคัญเรื่องโควต้า เพราะหวังว่า กรธ.ทั้ง 21 คนจะมีบทบาทในเรื่องการประสานความเห็นของฝ่ายต่างๆมากกว่า และในส่วนนักการเมืองอยากให้ระมัดระวัง เพราะหากเข้าไปเป็น กรธ.แล้วไม่ครบทุกฝ่าย หรือถูกมองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนก็จะเป็นปัญหา จึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันและให้ความร่วมมือเพื่อสร้างรัฐธรรมนูญที่ดีออกมาให้ประชาชน เพราะสุดท้ายประชาชนต้องเป็นผู้ให้ความเห็นชอบผ่านการลงประชามติ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ปชป.ปัดมีโควต้าในสภาขับเคลื่อนฯ
เมื่อถามว่าหากในอนาคตมีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าควรจะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาแก้ไขแทนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่าไปเริ่มคิดว่าคว่ำหรือไม่คว่ำ แต่ควรจะคิดว่าจะทำอย่างให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และแก้ปัญหาได้ปฏิรูปได้ ไม่ย้อนกลับไปสู่การเมืองแบบเดิม และทำอย่างไรให้บ้านเมืองก้าวไปข้างหน้าได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาธิปัตย์มีโควต้าเข้าร่วมสภาขับเคลื่อนฯหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าจะมีโควต้าหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนให้เป็นอำนาจ คสช.ดำเนินการแต่งตั้ง และตนก็ยังไม่แน่ใจว่าสภาขับเคลื่อนฯจะมีบทบาทอำนาจหน้าที่ที่จะผลักดันการปฏิรูปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถึงเวลาปฏิรูปจริงๆต้องใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ซึ่งสภาขับเคลื่อนฯไม่มีอำนาจนั้น แต่คิดว่าอาจจะเป็นเวทีที่หลายฝ่ายมาช่วยกันสนับสนุนให้การปฏิรูปเกิดขึ้น ซึ่งตนคิดว่าคงไม่มีใครมีปัญหากับตรงนี้
** จุดพลุยัดปฏิรูปทหารใน รธน.
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องพิจารณาว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ควรมีหรือไม่ ถ้าควรมีจะมีอำนาจขนาดไหน ระบบเลือกตั้ง ส.ส.ควรเปลี่ยนแปลงไหม ที่มานายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร รวมถึงกรณี ส.ว.ด้วย ทั้งนี้ หากพิจารณาประเด็นเหล่านี้แล้วเสร็จน่าจะใช้เวลาแค่เดือนเดียว แต่ที่ระบุไว้มากกว่าหนึ่งเดือนเพราะอยากอยู่ต่อ ทั้งนี้ ยังยืนยันด้วยว่า ควรมีการบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปทหารไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย เพราะมีการวิจารณ์ว่า ทหารรับใช้ควรมีหรือไม่ บ้านพักคนที่เกษียณแล้วควรจะให้อยู่ต่อหรือไม่ เนื่องจากประเทศอยู่ในช่วงปฏิรูปก็ควรปฏิรูปทั้งระบบ
นายประมวล เอมเปีย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อได้ กรธ.ครบ 21 คนแล้ว ควรเปิดเวทีกลางหรือพื้นที่ให้ทุกฝ่าย ทุกพรรค ร่วมแสดงความเห็นอย่างเป็นธรรมตามที่สากลประเทศในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกใช้ปฏิบัติ ไม่ใช่การตั้งธง หรือการให้องค์กรใหม่ เช่น คปป.ที่มีอำนาจรัฐซ้อนรัฐ จะกลายเป็นประเด็นปัญหาขัดแย้งขึ้นอีก ทั้งนี้ หากมีการรับฟังทุกฝ่ายมองปัญหาอนาคต และสถานการณ์ปัจจุบัน เชื่อว่า สังคมไทยและทุกฝ่ายจะยอมรับกฎกติกาใหม่นี้ได้.
ต่อข้อถามที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญควรอย่างไรจึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ร้อยละ 82.94 เห็นว่า เนื้อหาชัดเจน ไม่คลุมเครือ เป็นกลาง ให้ความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย ร้อยละ 79.50 เห็นว่าต้องผ่านการพิจารณาจากหลายฝ่ายอย่างละเอียด รอบคอบ เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย และร้อยละ 72.83 เห็นว่าต้องมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประชาชนอย่างแท้จริง
เมื่อถามถึงประโยชน์จากการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาของ สปช.ต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร้อยละ 80.26 เห็นว่าสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับจากเสียงส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.35 เห็นว่าต้องมีกระบวนการขั้นตอนที่เปิดเผย สร้างความเข้าใจกับประชาชน ในส่วนของสิ่งที่อยากฝากบอก พล.อ.ประยุทธ์ ในการเลือก กรธ. ร้อยละ 86.74 ระบุว่า ควรเลือกคนดีที่มีความเหมาะสมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ และร้อยละ 82.23 อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ เป็นต้น
** ปชช.ขอคนดีร่าง รธน.ใหม่
วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ใครควรเป็นกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณสมบัติของ กรธ.ชุดที่ 2 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.88 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง รองลงมา ร้อยละ 19.44 ระบุว่า เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญมาก่อน ขณะที่ร้อยละ 16.96 ระบุว่า เป็นผู้เข้าใจบริบททางการเมืองไทยที่แท้จริง ร้อยละ 15.28 ระบุว่า เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์หรือกฎหมายมหาชน ร้อยละ 6.24 ระบุว่า เป็นนักประนีประนอม ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นนักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และพันธมิตรฯ ร้อยละ 1.36 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของ คสช. ร้อยละ 1.20 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของนักการเมือง ร้อยละ 0.88 ระบุว่า เป็นนักประชาธิปไตยแบบตะวันตก ร้อยละ 1.28 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ ใครก็ได้ที่เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม จริงใจในการแก้ไขปัญหา เป็นคนกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมาจากทุกกลุ่มอาชีพ และร้อยละ 6.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
** สภาขับเคลื่อนฯต้องหลากหลาย
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.00 ระบุว่า เป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ รองลงมาร้อยละ 14.96 ระบุว่า เป็นนักวิชาการ ร้อยละ 12.72 ระบุว่า เป็นบุคคลที่ไม่ใช่นักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และ พันธมิตรฯ ร้อยละ 12.16 ระบุว่า เป็นอดีต สปช. หรืออดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 9.04 ระบุว่า เป็นทหาร ตำรวจ ร้อยละ 8.56 ระบุว่า เป็นนักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และ พันธมิตรฯ ร้อยละ 7.28 ระบุว่า เป็นบุคคลที่ไม่เคยเป็น สปช. หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 6.24 ระบุว่า เป็นข้าราชการประจำ ร้อยละ 4.48 ระบุว่า เป็นนักธุรกิจ ร้อยละ 4.48 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ เป็นผู้ที่เข้าใจกฎหมายบ้านเมือง รับรู้และเข้าถึงปัญหาของประชาชนและประเทศ มีความรู้ความสามารถ ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเข้ามา มีความคิดเป็นอิสระเป็นของตัวเอง ไม่ถูกชักจูง ร้อยละ 0.24 ระบุว่าไม่มีใครเหมาะสม และร้อยละ 9.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
** ย้ำตั้ง 21 กรธ.ก่อน 23 ก.ย.นี้
พล.ต.วีรชน สุคนธปฎิภาค รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศว่า การแต่งตั้งจะแล้วเสร็จก่อนที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.จะเดินทางไปร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 23 ก.ย.นี้อย่างแน่นอน เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมในการทำงานของแต่ละฝ่าย ส่วนข้อเสนอของอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) บางส่วน ที่อยากให้มีการเพิ่มโควต้าในสัดส่วนของอดีต สปช. ได้เข้าไปเป็นสภาขับเคลื่อนฯนั้น นายกฯและรัฐบาลยังไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากมีการกำหนดสัดส่วนตามที่นายกฯ ได้ระบุไปก่อนหน้านี้อยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่าถ้าจะให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย ต้องเชื่อมโยงกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง พล.ต.วีรชน กล่าวว่า รัฐบาลก็รับฟังไว้ แต่อยากให้มองว่าในช่วงเปลี่ยนผ่าน หรือช่วงรอยต่อก่อนที่จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เราต้องมีมาตรการอะไรที่เหมาะสมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาให้รอบด้าน.
** ต้องแก้ รธน.ปี 57 ปลดล๊อคประชามติ
นายนิรันดร์ พันธกิจ อดีตสมาชิก สปช. กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะประชุมหารือแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 37 วรรคเจ็ด เรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญเพราะเห็นว่ามาตรานี้อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคตได้ เนื่องจากการตีความคำว่าผู้มีสิทธิ กับผู้มาใช้สิทธิ หากแก้ในมาตรา 37 วรรคเจ็ด ว่าเสียงประชามติจะผ่านต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ก็ค่อนข้างสบายใจว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะผ่านการเห็นชอบจากประชาชน แต่ถ้าไม่แก้ไขให้ชัดเจน โอกาสที่จะไม่ผ่านนั้นมีสูงมาก ทั้งนี้ หากครม.เห็นชอบให้แก้มาตราดังกล่าวแล้ว ตนเสนอว่าให้แก้ในมาตราเดียวกันให้มีความชัดเจนว่า หากร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังไม่ผ่านประชามติอีก ก็ให้หยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เคยประกาศใช้แล้วมาปรับแก้ไข โดยควรจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่เคยผ่านการทำประชามติมาแล้ว เพราะถ้าจะให้ร่างแล้วทำประชามติ วนไปเรื่อยๆ มองว่าไม่เป็นผลดีและจะทำให้เราเสียงบประมาณมากเกินไป
นายนิรันดร์ กล่าวถึงการแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯ และ กรธ.ว่า ไม่มีโควต้าสำหรับสมาชิก สปช.ทั้ง 2 ตำแหน่ง แต่ส่วนตัวมองว่าสมาชิก สปช.ทั้งที่ลงมติรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ควรจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯอย่างน้อย 100 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปทุกคณะ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ให้คนที่ร่างแผนการปฏิรูปเข้าไปร่วมผลักดันสานต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งควรเปิดให้ฝ่ายการเมืองเข้าร่วมด้วย เพื่อจะได้มีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถือเป็นการลดความขัดแย้งไปในตัว
** ไม่มีสัญญาห้าม 36 อรหันต์เป็น กรธ.
นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2 กล่าวถึงกรณี ที่ นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ทำตามสัญญาประชาคมว่า กมธ.ยกร่างฯ ทั้ง 36 คน จะไม่กลับมารับตำแหน่งใน กรธ.ว่า ตนไม่เคยสัญญาอะไร เพียงแค่พูดในรายการแห่งหนึ่งว่าตนได้ยิน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างฯ บอกว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน จะไม่ขอกลับมาร่างรัฐธรรมนูญอีก ส่วนคนอื่นๆ ก็เป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะตัดสินใจเอง ซึ่งเราไม่เคยมีการทำสัญญาประชาคมอะไรไว้ทั้งนั้น ขอให้ไปเอาเทปรายการนั้นมาดูเพื่อยืนยันได้เลย
“ผมไม่ใช่เด็กเลี้ยงแกะ เขาจะกลัวอะไรกันนักกันหนาที่ไม่อยากให้พวกผมกลับมา หรือเป็นเพราะร่างรัฐธรรมนูญที่เราร่างขึ้นมาสามารถกันนักการเมืองชั่วนักการเมืองไม่ดี ไม่ให้กลับมาสู่การเมืองอีก เป็นเรื่องจริงอย่างที่หลายคนพูด หากเป็นคนดี ก็ไม่ต้องไปกลัวอะไร” นายมานิจ กล่าว
** อดีต สปช.พร้อมรับตำแหน่ง
นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตสมาชิก สปช.กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครมาทาบทามตนให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นสภาขับเคลื่อนฯ เพราะการตัดสินใจเลือกบุคคลใดให้เข้ามาทำหน้าที่ตรงจุดนี้คือนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่วนตัวเข้าใจว่านายกรัฐมนตรีจะพิจารณาเลือกคนที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายแตกต่างกันไป คงไม่ไปเจาะจงเลือกเฉพาะคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ส่วนจะเลือกอดีต สปช.เข้ามาทำหน้าที่ด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรี แต่หากมีการทาบทามตนให้เข้ามาทำหน้าที่ ก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหาใด พร้อมทำงานและทำด้วยความเต็มที่อยู่แล้ว ถ้ามีการเปิดกว้างให้นักการเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ด้วย ก็จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้สภาขับเคลื่อนฯมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ต้องขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีว่าจะเลือกบุคคลใด
**อ้างหลายคนอยากสานงานปฏิรูป
ด้าน พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย อดีตสมาชิก สปช. กล่าวว่า อดีต สปช.หลายคนอยากจะทำงานสานต่องานด้านการปฏิรูป เพราะเสียดายหลายเรื่องที่คิดเอาไว้ แต่ยังไม่ได้ทำ ต้องดูว่าผู้มีอำนาจจะเห็นการทำงานที่ผ่านมาว่าจะสามารถสานต่อได้แค่ไหน ซึ่งข้อดีของการเอาอดีตสปช.มานั่งเป็นสภาขับเคลื่อนฯ ก็คือรู้มือกันดี เพราะหลายคนได้ทำงานร่วมกันมา รู้ทิศทางว่าใครถนัดตรงไหน ส่วนข้อดีของการนำคนนอกเข้ามาตรงนี้จะได้ในเรื่องของความหลากหลาย ดังนั้นถ้านำมาผสมกัน ก็จะได้ทั้งความหลากหลายและงานที่ต่อเนื่อง ถือว่าเป็นประโยชน์มาก
“ส่วนตัวคิดว่าโควต้าน่าจะไล่เรียงกันไม่ต่างกันมาก และไม่เกี่ยวกับอดีตสปช.จะอยู่ฝ่ายที่รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะทุกคนมีสิทธิเท่ากันอยู่ที่ผลงานที่ผ่านมาและผู้มีอำนาจจะเห็นว่าใครบ้างที่จะได้รับเลือกเข้ามานั่งสภาขับเคลื่อนฯ ผมเชื่อว่าทุกคนหวังที่จะให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ และต้องช่วยกันคิดรูปแบบว่าจะเดินต่อไปอย่างไร” พ.ต.อาณันย์ กล่าว.
** “ปู” แนะนำข้อเสนอทุกฝ่ายมาร่าง รธน.
ที่สกายปาร์ค ตึกชินวัตร ทาวเวอร์ 3 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ว่า เรื่องนี้ไม่ขอลงลึกในรายละเอียดเพราะเชื่อว่ามีผู้รู้ในการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละคณะอยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากเห็นคืออยากให้ กรธ.ชุดใหม่นำข้อเสนอต่างๆ ทั้งภาควิชาการ ฝ่ายปฏิบัติ มาหาแนวทางที่ทำให้สังคมยอมรับ เชื่อว่าจะทำให้การปฏิรูปได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้
** ชี้ไม่แก้ ม.35 ร่าง รธน.ไม่จบ
ด้าน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เขียนข้อความผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า การตั้ง กรธ.คงทำได้เสร็จในวันที่ 22 ก.ย.นี้ แต่ใครจะมาเขียนรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่แก้ไขมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ก็ไม่มีวันเป็นประชาธิปไตยได้ แม้จะเขียนใหม่กี่ครั้ง หรือทำประชามติกี่หน ประชาชนคงไม่รับและตนจะคว่ำรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยการร่างรัฐธรรมนูญต้องทำเพื่อประเทศและลูกหลานในอนาคต ต้องไม่คิดเพื่อตัวเองตนไม่สนใจว่า คสช.จะอยู่นานแค่ไหน อยากอยู่นานก็อยู่ และไม่คิดแย่งอำนาจ เพราะอำนาจถ้าได้มาไม่ถูกต้อง ก็ไม่มีความหมาย ธรรมชาติของคนมีอำนาจคือกลัวคนมาแย่งอำนาจ
** เตือนฝ่ายการเมืองระวังร่วมร่าง รธน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ตนมองว่าจะต้องปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญที่ สปช.ไม่ให้ความเห็นชอบ อีกทั้งตนคิดว่าหากเป็นบรรยากาศของความร่วมมือ เปิดกว้างและพูดกันตรงไปตรงมาถึงปัญหาในอดีตที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับว่ามีส่วนสร้างปัญหาขึ้นมา หากมีสร้างบรรยากาศอย่างนี้ได้ ก็จะเป็นไปตามความตั้งใจของประชาชนส่วนใหญ่ที่จะปฏิรูปและพาประเทศพ้นจากปัญหาได้
“ในส่วนของ กรธ.ไม่ควรให้ความสำคัญเรื่องโควต้า เพราะหวังว่า กรธ.ทั้ง 21 คนจะมีบทบาทในเรื่องการประสานความเห็นของฝ่ายต่างๆมากกว่า และในส่วนนักการเมืองอยากให้ระมัดระวัง เพราะหากเข้าไปเป็น กรธ.แล้วไม่ครบทุกฝ่าย หรือถูกมองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนก็จะเป็นปัญหา จึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันและให้ความร่วมมือเพื่อสร้างรัฐธรรมนูญที่ดีออกมาให้ประชาชน เพราะสุดท้ายประชาชนต้องเป็นผู้ให้ความเห็นชอบผ่านการลงประชามติ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ปชป.ปัดมีโควต้าในสภาขับเคลื่อนฯ
เมื่อถามว่าหากในอนาคตมีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าควรจะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาแก้ไขแทนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่าไปเริ่มคิดว่าคว่ำหรือไม่คว่ำ แต่ควรจะคิดว่าจะทำอย่างให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และแก้ปัญหาได้ปฏิรูปได้ ไม่ย้อนกลับไปสู่การเมืองแบบเดิม และทำอย่างไรให้บ้านเมืองก้าวไปข้างหน้าได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาธิปัตย์มีโควต้าเข้าร่วมสภาขับเคลื่อนฯหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าจะมีโควต้าหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนให้เป็นอำนาจ คสช.ดำเนินการแต่งตั้ง และตนก็ยังไม่แน่ใจว่าสภาขับเคลื่อนฯจะมีบทบาทอำนาจหน้าที่ที่จะผลักดันการปฏิรูปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถึงเวลาปฏิรูปจริงๆต้องใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ซึ่งสภาขับเคลื่อนฯไม่มีอำนาจนั้น แต่คิดว่าอาจจะเป็นเวทีที่หลายฝ่ายมาช่วยกันสนับสนุนให้การปฏิรูปเกิดขึ้น ซึ่งตนคิดว่าคงไม่มีใครมีปัญหากับตรงนี้
** จุดพลุยัดปฏิรูปทหารใน รธน.
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องพิจารณาว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ควรมีหรือไม่ ถ้าควรมีจะมีอำนาจขนาดไหน ระบบเลือกตั้ง ส.ส.ควรเปลี่ยนแปลงไหม ที่มานายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร รวมถึงกรณี ส.ว.ด้วย ทั้งนี้ หากพิจารณาประเด็นเหล่านี้แล้วเสร็จน่าจะใช้เวลาแค่เดือนเดียว แต่ที่ระบุไว้มากกว่าหนึ่งเดือนเพราะอยากอยู่ต่อ ทั้งนี้ ยังยืนยันด้วยว่า ควรมีการบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปทหารไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย เพราะมีการวิจารณ์ว่า ทหารรับใช้ควรมีหรือไม่ บ้านพักคนที่เกษียณแล้วควรจะให้อยู่ต่อหรือไม่ เนื่องจากประเทศอยู่ในช่วงปฏิรูปก็ควรปฏิรูปทั้งระบบ
นายประมวล เอมเปีย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อได้ กรธ.ครบ 21 คนแล้ว ควรเปิดเวทีกลางหรือพื้นที่ให้ทุกฝ่าย ทุกพรรค ร่วมแสดงความเห็นอย่างเป็นธรรมตามที่สากลประเทศในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกใช้ปฏิบัติ ไม่ใช่การตั้งธง หรือการให้องค์กรใหม่ เช่น คปป.ที่มีอำนาจรัฐซ้อนรัฐ จะกลายเป็นประเด็นปัญหาขัดแย้งขึ้นอีก ทั้งนี้ หากมีการรับฟังทุกฝ่ายมองปัญหาอนาคต และสถานการณ์ปัจจุบัน เชื่อว่า สังคมไทยและทุกฝ่ายจะยอมรับกฎกติกาใหม่นี้ได้.