รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (8 ก.ย) ได้เห็นชอบมาตรการในการเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ปีพ.ศ. 2556-2557 โดยวาระดังกล่าว เสนอโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการเยียวยาฯ ที่เสนอผ่าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการเยียวยาฯ ซึ่ง ครม.ให้ความเห็นชอบในหลักการ และวิธีการให้ความช่วยเหลือ และอนุมัติให้ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 120 ล้านบาท
โดยหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ปี พ.ศ. 2556-2557 (ชีวิตและร่างกาย) มีอัตราการช่วยเหลือเยียวยาดังนี้ 1.เสียชีวิตรายละ 4 แสนบาท 2.ทุพพลภาพและต้องฟื้นฟูสมรรถภาพรายละ 4 แสนบาท 3.ทุพลลภาพรายละ 2 แสนบาท 4.บาดเจ็บสาหัสรายละ 1 แสนบาท 5.บาดเจ็บรายละ 6 หมื่นบาท 6.บาดเจ็บเล็กน้อยรายละ 2 หมื่น บาท และนอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพรายเดือนและเงินทุนการศึกษาราย ปีให้แก่บุตรของผู้เสียชีวิตและทุพพลภาพที่กำลังศึกษาอยู่ด้วย ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนทั้งหมด 862ราย
ทั้งนี้ คณะกรรมการมีการพิจารณากรณี ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2548–2553 ในส่วนที่ยังคงค้างช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงิน ตามหลักเกณฑ์มติครม. เมื่อวันที่ 10 ม.ค.55 วันที่ 6 มี.ค.55 และวันที่ 11 ธ.ค.55 ด้วย แต่เห็นควรรอจนกว่า คดีของคณะกรรมการป.ป.ช. จะถึงที่สุดเสียก่อน จึงจะดำเนินการต่อไปได้ อีกทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งว่า ให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาว่า การรอผลคดีของป.ป.ช. ทำให้ล่าช้าไปหรือไม่ แล้วจะมีวิธีใดทำให้เร็วขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และอำนาจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
** นายกฯกำชับใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ในที่ประชุม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ จากวันนี้ถึงวันข้างหน้าอย่างคุ้มค่า และให้แต่ละกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานได้กำหนดกิจเฉพาะของตนเอง เอางานและภารกิจเป็นตัวนำ และให้ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างขัดเจนว่า หน่วยงานไหนเกี่ยวข้องเรื่องใดบ้าง เน้นย้ำว่า ต้องมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุด และนายกฯ ยังมีการสั่งการเพิ่มเติมผลจากการไปดูงาน ตรวจเยี่ยมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ อ.แม่สอด จ.ตากที่ผ่านมา ได้มีการเน้นย้ำว่าแต่ละกระทรวง ทบวง กรม จะต้องมีการพิจารณาอะไรเพิ่มเติม ก็ให้มีการสั่งการเพิ่มเติมไปเลย
นอกจากนั้นยังมีความห่วงกังวลเรื่องของที่อยู่อาศัย ที่รัฐมนตรีเคยได้พูดคุยกันว่า จะทำอย่างไรที่จะยกระดับหรือเอาคนที่อยู่ตามชุมชนต่างๆ ให้ไปอยู่บนตึกให้ได้ นายกฯ ก็ได้ย้ำว่ากระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีการหารือกับทางภาคเอกชน โดยที่ทางภาคเอกชนก็ได้มีความพร้อมที่จะประชุมกับทางรัฐบาล เพื่อดำเนินการช่วยเหลือประชาชนให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเพื่อเป็นความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการลงทุนของโครงการต่างๆ อาทิ อัญมณีสิ่งทอ เครื่องหนัง ว่าจะมีวิธีการยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของสากลได้อย่างไร โดยให้แต่ละหน่วยงานไปคิดว่า การที่จะทำสินค้าให้เป็นพรีเมี่ยม ต้องมีการนำเข้าวัสดุต้นทุนบางอย่างที่มาจากต่างประเทศมากน้อยหรือไม่ เพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศได้ และจะมีทางที่ส่งเสริมทั้งมาตรการที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีอย่างไรบ้าง
พล.อ.ประยุทธ์ยังได้พูดคุยเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชน ในเรื่องที่สำคัญ เช่น เรื่องน้ำ ว่าในปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันจะใช้เป็นน้ำใช้ได้อย่างไร และน้ำที่มีอยู่ในเขื่อนจำนวนและสัดส่วนเท่าไหร่ ก็เป็นที่น่าเป็นห่วงว่ามีน้ำปริมาณที่น่ากังวล เพราะปัจจุบันเราก็มาอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน นายกฯ ก็ได้ให้โครงการต่างที่ได้มีการอนุมัติไปแล้ว เช่น โครงการเก็บกักน้ำต่างๆ ให้เร่งดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมอย่างเร็วที่สุด และทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างยิ่งคือ ภาคเกษตรกรรม และให้เรียนรู้ที่จะปรับตัวพร้อมเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรรมที่ใช้น้ำมากให้เป็นการใช้น้ำน้อย รวมทั้ง ให้ศึกษาโครงการต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเรียนรู้และทำวิจัยอย่างแท้จริงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้ได้
นอกจากนั้นยังมีการพูดคุยเรื่องการเก็บกักจากแม่น้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำสายหลักทั้งแม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน ว่าเราจะมีพื้นที่เก็บกักน้ำได้อย่างไร เช่นมีการหาพื้นที่ทำเป็นแม่น้ำทะเลสาบ และได้ทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องของการลดส่วนสินค้าภาคเกษตรต่างๆที่จะสามารถให้เหมาะสมกับปริมาณของน้ำในปัจจุบัน
โดยหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ปี พ.ศ. 2556-2557 (ชีวิตและร่างกาย) มีอัตราการช่วยเหลือเยียวยาดังนี้ 1.เสียชีวิตรายละ 4 แสนบาท 2.ทุพพลภาพและต้องฟื้นฟูสมรรถภาพรายละ 4 แสนบาท 3.ทุพลลภาพรายละ 2 แสนบาท 4.บาดเจ็บสาหัสรายละ 1 แสนบาท 5.บาดเจ็บรายละ 6 หมื่นบาท 6.บาดเจ็บเล็กน้อยรายละ 2 หมื่น บาท และนอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพรายเดือนและเงินทุนการศึกษาราย ปีให้แก่บุตรของผู้เสียชีวิตและทุพพลภาพที่กำลังศึกษาอยู่ด้วย ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนทั้งหมด 862ราย
ทั้งนี้ คณะกรรมการมีการพิจารณากรณี ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2548–2553 ในส่วนที่ยังคงค้างช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงิน ตามหลักเกณฑ์มติครม. เมื่อวันที่ 10 ม.ค.55 วันที่ 6 มี.ค.55 และวันที่ 11 ธ.ค.55 ด้วย แต่เห็นควรรอจนกว่า คดีของคณะกรรมการป.ป.ช. จะถึงที่สุดเสียก่อน จึงจะดำเนินการต่อไปได้ อีกทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งว่า ให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาว่า การรอผลคดีของป.ป.ช. ทำให้ล่าช้าไปหรือไม่ แล้วจะมีวิธีใดทำให้เร็วขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และอำนาจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
** นายกฯกำชับใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ในที่ประชุม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ จากวันนี้ถึงวันข้างหน้าอย่างคุ้มค่า และให้แต่ละกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานได้กำหนดกิจเฉพาะของตนเอง เอางานและภารกิจเป็นตัวนำ และให้ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างขัดเจนว่า หน่วยงานไหนเกี่ยวข้องเรื่องใดบ้าง เน้นย้ำว่า ต้องมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุด และนายกฯ ยังมีการสั่งการเพิ่มเติมผลจากการไปดูงาน ตรวจเยี่ยมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ อ.แม่สอด จ.ตากที่ผ่านมา ได้มีการเน้นย้ำว่าแต่ละกระทรวง ทบวง กรม จะต้องมีการพิจารณาอะไรเพิ่มเติม ก็ให้มีการสั่งการเพิ่มเติมไปเลย
นอกจากนั้นยังมีความห่วงกังวลเรื่องของที่อยู่อาศัย ที่รัฐมนตรีเคยได้พูดคุยกันว่า จะทำอย่างไรที่จะยกระดับหรือเอาคนที่อยู่ตามชุมชนต่างๆ ให้ไปอยู่บนตึกให้ได้ นายกฯ ก็ได้ย้ำว่ากระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีการหารือกับทางภาคเอกชน โดยที่ทางภาคเอกชนก็ได้มีความพร้อมที่จะประชุมกับทางรัฐบาล เพื่อดำเนินการช่วยเหลือประชาชนให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเพื่อเป็นความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการลงทุนของโครงการต่างๆ อาทิ อัญมณีสิ่งทอ เครื่องหนัง ว่าจะมีวิธีการยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของสากลได้อย่างไร โดยให้แต่ละหน่วยงานไปคิดว่า การที่จะทำสินค้าให้เป็นพรีเมี่ยม ต้องมีการนำเข้าวัสดุต้นทุนบางอย่างที่มาจากต่างประเทศมากน้อยหรือไม่ เพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศได้ และจะมีทางที่ส่งเสริมทั้งมาตรการที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีอย่างไรบ้าง
พล.อ.ประยุทธ์ยังได้พูดคุยเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชน ในเรื่องที่สำคัญ เช่น เรื่องน้ำ ว่าในปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันจะใช้เป็นน้ำใช้ได้อย่างไร และน้ำที่มีอยู่ในเขื่อนจำนวนและสัดส่วนเท่าไหร่ ก็เป็นที่น่าเป็นห่วงว่ามีน้ำปริมาณที่น่ากังวล เพราะปัจจุบันเราก็มาอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน นายกฯ ก็ได้ให้โครงการต่างที่ได้มีการอนุมัติไปแล้ว เช่น โครงการเก็บกักน้ำต่างๆ ให้เร่งดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมอย่างเร็วที่สุด และทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างยิ่งคือ ภาคเกษตรกรรม และให้เรียนรู้ที่จะปรับตัวพร้อมเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรรมที่ใช้น้ำมากให้เป็นการใช้น้ำน้อย รวมทั้ง ให้ศึกษาโครงการต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเรียนรู้และทำวิจัยอย่างแท้จริงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้ได้
นอกจากนั้นยังมีการพูดคุยเรื่องการเก็บกักจากแม่น้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำสายหลักทั้งแม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน ว่าเราจะมีพื้นที่เก็บกักน้ำได้อย่างไร เช่นมีการหาพื้นที่ทำเป็นแม่น้ำทะเลสาบ และได้ทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องของการลดส่วนสินค้าภาคเกษตรต่างๆที่จะสามารถให้เหมาะสมกับปริมาณของน้ำในปัจจุบัน