นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะเลขาคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนช.เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำของประเทศ ระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2569 ครอบคลุม 6 ด้าน คือน้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม การบำบัดน้ำเสีย การเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ และการบริหารจัดการทั้งระบบ
ทั้งนี้ สำหรับยุทธศาสตร์เร่งด่วนที่จะต้องทำให้เสร็จสิ้นในปี 2559 คือจะต้องเร่งสร้างประปาหมู่บ้านทั้งหมด 7,000 แห่งทั่วประเทศ โดยขณะนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอีก 3,000 แห่ง รวมถึงการขยายพื้นที่ชลประทานให้ได้อีก 650,000 ไร่
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้สั่งการในที่ประชุม ให้ศึกษาเพิ่มเติมใน 4 แนวทาง คือ การผันน้ำจากฝั่งตะวันตกมาเสริมการใช้น้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา การตัดน้ำโดยตรงจากแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านคลองสำแหร่หรือคลองเปรมประชากรสายเก่า ฝั่งรังสิตเพื่อเข้าสู่โรงสูบน้ำของการประปานครหลวง ตัดปัญหาน้ำหายข้างทาง หาแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่จังหวัดนครนายก และศึกษาน้ำก้นถังใน 2 เขื่อนใหญ่ ทั้งภูมิพล และสิริกิต์ ที่มีปริมาณ 7500 ล้านลูกบาศก์เมตร ว่าจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบตามข้อเสนอของกรมทรัพยากรน้ำ ที่ขอให้มีการลดใช้น้ำในส่วนราชการเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 19 ของทั้งหมด ลงลงอีกร้อยละ 1.9 เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับภาคเกษตรกรรมและภาคเอกชนได้นำไปปฏิบัติร่วมกัน
ทั้งนี้ สำหรับยุทธศาสตร์เร่งด่วนที่จะต้องทำให้เสร็จสิ้นในปี 2559 คือจะต้องเร่งสร้างประปาหมู่บ้านทั้งหมด 7,000 แห่งทั่วประเทศ โดยขณะนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอีก 3,000 แห่ง รวมถึงการขยายพื้นที่ชลประทานให้ได้อีก 650,000 ไร่
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้สั่งการในที่ประชุม ให้ศึกษาเพิ่มเติมใน 4 แนวทาง คือ การผันน้ำจากฝั่งตะวันตกมาเสริมการใช้น้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา การตัดน้ำโดยตรงจากแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านคลองสำแหร่หรือคลองเปรมประชากรสายเก่า ฝั่งรังสิตเพื่อเข้าสู่โรงสูบน้ำของการประปานครหลวง ตัดปัญหาน้ำหายข้างทาง หาแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่จังหวัดนครนายก และศึกษาน้ำก้นถังใน 2 เขื่อนใหญ่ ทั้งภูมิพล และสิริกิต์ ที่มีปริมาณ 7500 ล้านลูกบาศก์เมตร ว่าจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบตามข้อเสนอของกรมทรัพยากรน้ำ ที่ขอให้มีการลดใช้น้ำในส่วนราชการเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 19 ของทั้งหมด ลงลงอีกร้อยละ 1.9 เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับภาคเกษตรกรรมและภาคเอกชนได้นำไปปฏิบัติร่วมกัน