ASTVผู้จัดการ - ลูกหนี้แบงก์อิสลามพาพนักงานกว่า 80 คนเข้ายื่นหนังสือถึงนายกฯร้องให้สอบสวนพฤติกรรมผู้บริหารแบงก์ หลังถูกกลั่นแกล้งทำให้เป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระ แฉเจ้าหน้าที่ลงวันทิ่ผิดไป8 เดือน ส่งผลเสียหายต่อบริษัทหลังให้นายทุนเข้าฮุบกิจการ
ที่ศูนย์บริการประชาชน (ฝั่ง ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (8 ก.ย.) นายยุทธพงษ์ พุ่มรินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์เทรดดิ้ง จำกัด พร้อมด้วยพนักงานจำนวน 80 คน เดินทางมายื่นหนังสือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ แต่ถูกธนาคารกลั่นแกล้งให้กลายเป็นลูกหนี้ตกชั้น โดยเรียกร้องให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงและดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง มีนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงษ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชวนเป็นผู้รับเรื่อง
นายยุทธพงษ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารออกใบเสร็จรับเงินไม่ถูกต้องตามความจริง โดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดย้อนหลังไป 8 เดือนนับจากวันเดือนปีธนาคารได้รับชำระจริงส่งผลให้บุคคลที่ 3 คือ คณะกรรมการธนาคารหรือผู้ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงเมื่อได้เห็นใบเสร็จที่ออกไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบริษัทได้ค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 8 เดือน จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย อันเป็นการร่วมกันและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารได้พยายามกลั่นแกล้งเพื่อให้บริษัทกลายเป็นลูกหนี้ตกชั้น โดยทางธนาคารอิสลามได้ทำหนังสือทวงถามถึงการชำระหนี้จำนวน 17,654,106.58 บาท ซึ่งทางบริษัทได้นำเงินจำนวน 14,000,000 บาท เพื่อตัดชำระหนี้ถึงสองครั้งและได้ทำหนังสือชำระหนี้ในวงเงินต่างๆ อีก 5 ฉบับ พร้อมทั้งแนบแคชเชียร์ส่งจ่ายให้แก่ธนาคารด้วย แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทมีเจตนาชำระหนี้ และไม่ได้อยากเป็นเป็นลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้กับธนาคาร แต่ทางธนาคารกลับหวังให้บริษัทเกิดความเสียหายโดยต้องการที่จะหานายทุนเข้ามาฮุบกิจการของบริษัท
“ขอให้พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามที่ร้องเรียน และขอให้มีคำสั่งให้ธนาคารอิสลาม ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัท โดยให้ตัดเงื่อนไขที่ขัดต่อกฎหมายที่ไม่ถูกหลักธรรมาภิบาลออกไปด้วย” นายยุทธพงษ์กล่าว
บริษัท วีอาร์พี เป็นผู้ดำเนินธุรกิจงานด้านยานยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติและสถานีเติมก๊าซ, วิศวกรรมก่อสร้าง วางระบบพลังงานน้ำมันและแก๊ส, ขนส่ง, การทดสอบโดยไม่ทำลาย, ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า, ประกันภัยรถยนต์ ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งกลุ่ม 200 ล้านบาท ดำเนินกิจการให้กับคู่ค้าสำคัญ บริษัท ปตท จำกัด(มหาชน), IRPC, Viny Thai, ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า,/นิสสัน/มิตซู, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้านครหลวง, กระทรวงพลังงาน, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, กรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากร
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ASTVผู้จัดการได้นำเสนอ “เบื้องหลังหนี้เสียแบงก์อิสลามพุ่ง” โดย ณ ปัจจุบัน ไอแบงก์กำลังประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล เพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จากปี 2554 ที่มีแค่ 8% เพิ่มขึ้นเป็น 49 % (ก.ค.2558) ขณะที่ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) เท่ากับติดลบถึง 22%
โดยเป็นผลมาจากนโยบายระงับการปล่อยสินเชื่อ ขณะเดียวกัน การแก้หนี้ (TDR) เป็นในลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อลูกค้าบางราย แต่ทำให้ธนาคารเสียหาย เช่น ธนาคารเกิดส่วนสูญเสีย (PV loss) โดยที่ลูกค้ามิได้มีความสามารถในการชำระหนี้ หรือผ่อนปรนเงื่อนไข เช่น พักเงินต้น และให้ผ่อนแต่อัตรากำไรในอัตราต่ำๆ เพื่อให้ดูเหมือนว่าแก้ไขหนี้ได้ แต่ในอนาคตลูกค้าเหล่านี้ก็จะกลับมาตกชั้นอยู่ดี (re-entry)
นอกจากนี้ ยังมีข้อครหาในการดูแลลูกค้ารายใหญ่โดยธนาคารกำหนดให้มีหน่วยงานที่สามเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบซึ่งว่ากันว่าเป็นพรรคพวกของผู้บริหารและเรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าในอัตราที่สูง ทำให้ลูกค้าเดือดร้อน และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่จำเป็น แทนที่จะเอาเงินจำนวนนั้นมาชำระหนี้ธนาคาร
ที่ศูนย์บริการประชาชน (ฝั่ง ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (8 ก.ย.) นายยุทธพงษ์ พุ่มรินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์เทรดดิ้ง จำกัด พร้อมด้วยพนักงานจำนวน 80 คน เดินทางมายื่นหนังสือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ แต่ถูกธนาคารกลั่นแกล้งให้กลายเป็นลูกหนี้ตกชั้น โดยเรียกร้องให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงและดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง มีนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงษ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชวนเป็นผู้รับเรื่อง
นายยุทธพงษ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารออกใบเสร็จรับเงินไม่ถูกต้องตามความจริง โดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดย้อนหลังไป 8 เดือนนับจากวันเดือนปีธนาคารได้รับชำระจริงส่งผลให้บุคคลที่ 3 คือ คณะกรรมการธนาคารหรือผู้ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงเมื่อได้เห็นใบเสร็จที่ออกไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบริษัทได้ค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 8 เดือน จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย อันเป็นการร่วมกันและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารได้พยายามกลั่นแกล้งเพื่อให้บริษัทกลายเป็นลูกหนี้ตกชั้น โดยทางธนาคารอิสลามได้ทำหนังสือทวงถามถึงการชำระหนี้จำนวน 17,654,106.58 บาท ซึ่งทางบริษัทได้นำเงินจำนวน 14,000,000 บาท เพื่อตัดชำระหนี้ถึงสองครั้งและได้ทำหนังสือชำระหนี้ในวงเงินต่างๆ อีก 5 ฉบับ พร้อมทั้งแนบแคชเชียร์ส่งจ่ายให้แก่ธนาคารด้วย แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทมีเจตนาชำระหนี้ และไม่ได้อยากเป็นเป็นลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้กับธนาคาร แต่ทางธนาคารกลับหวังให้บริษัทเกิดความเสียหายโดยต้องการที่จะหานายทุนเข้ามาฮุบกิจการของบริษัท
“ขอให้พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามที่ร้องเรียน และขอให้มีคำสั่งให้ธนาคารอิสลาม ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัท โดยให้ตัดเงื่อนไขที่ขัดต่อกฎหมายที่ไม่ถูกหลักธรรมาภิบาลออกไปด้วย” นายยุทธพงษ์กล่าว
บริษัท วีอาร์พี เป็นผู้ดำเนินธุรกิจงานด้านยานยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติและสถานีเติมก๊าซ, วิศวกรรมก่อสร้าง วางระบบพลังงานน้ำมันและแก๊ส, ขนส่ง, การทดสอบโดยไม่ทำลาย, ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า, ประกันภัยรถยนต์ ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งกลุ่ม 200 ล้านบาท ดำเนินกิจการให้กับคู่ค้าสำคัญ บริษัท ปตท จำกัด(มหาชน), IRPC, Viny Thai, ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า,/นิสสัน/มิตซู, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้านครหลวง, กระทรวงพลังงาน, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, กรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากร
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ASTVผู้จัดการได้นำเสนอ “เบื้องหลังหนี้เสียแบงก์อิสลามพุ่ง” โดย ณ ปัจจุบัน ไอแบงก์กำลังประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล เพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จากปี 2554 ที่มีแค่ 8% เพิ่มขึ้นเป็น 49 % (ก.ค.2558) ขณะที่ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) เท่ากับติดลบถึง 22%
โดยเป็นผลมาจากนโยบายระงับการปล่อยสินเชื่อ ขณะเดียวกัน การแก้หนี้ (TDR) เป็นในลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อลูกค้าบางราย แต่ทำให้ธนาคารเสียหาย เช่น ธนาคารเกิดส่วนสูญเสีย (PV loss) โดยที่ลูกค้ามิได้มีความสามารถในการชำระหนี้ หรือผ่อนปรนเงื่อนไข เช่น พักเงินต้น และให้ผ่อนแต่อัตรากำไรในอัตราต่ำๆ เพื่อให้ดูเหมือนว่าแก้ไขหนี้ได้ แต่ในอนาคตลูกค้าเหล่านี้ก็จะกลับมาตกชั้นอยู่ดี (re-entry)
นอกจากนี้ ยังมีข้อครหาในการดูแลลูกค้ารายใหญ่โดยธนาคารกำหนดให้มีหน่วยงานที่สามเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบซึ่งว่ากันว่าเป็นพรรคพวกของผู้บริหารและเรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าในอัตราที่สูง ทำให้ลูกค้าเดือดร้อน และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่จำเป็น แทนที่จะเอาเงินจำนวนนั้นมาชำระหนี้ธนาคาร