ASTVผู้จัดการรายวัน"-"สมคิด"มอบนโยบาย"พาณิชย์" จัดทัพกู้เศรษฐกิจไทย เน้นดูแลค่าครองชีพ ช่วยเหลือเกษตรกร และจัดลำดับตลาดส่งออกใหม่ เพิ่มคน เพิ่มตลาดเป้าหมาย พร้อมเร่งขยายการค้าภาคบริการ เผยนายกฯ ไฟเขียวภาคเอกชนเข้าหารือ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาอุปสรรคส่งออก ย้ำการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ด้าน กกร. ชงรัฐเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานให้แก่ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมหารือ ที่กระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (2 ก.ย.) ว่า ได้นำข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ฝากให้กระทรวงพาณิชย์นำไปปฏิบัติ เพื่อรองรับกับนโยบายใหม่ๆ ของรัฐบาลในการดูแลและผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยขอให้เริ่มการทำงานในทันที และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จให้เห็นผลภายใน 3 เดือน
ทั้งนี้ ในเรื่องค่าครองชีพ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลราคาสินค้า เพราะมีเสียงบ่นว่าราคาสินค้า โดยเฉพาะอาหารยังแพงอยู่ แม้ราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงไปมาก โดยขอให้จัดทีมหรือใช้เครือข่ายของพาณิชย์จังหวัดลงพื้นที่ไปสำรวจตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้า หากพบว่ามีการฉวยโอกาสก็ให้ใช้กฎหมายจัดการขั้นเด็ดขาด ส่วนราคาสินค้าจะปรับลดลงมาได้มากน้อยแค่ไหน เชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์มีการบริหารและดูแลต้นทุนสินค้าทุกรายการอยู่ จะดูแลราคาสินค้าให้เป็นธรรมได้
ขณะเดียวกัน ขอให้จัดทำตลาดกลางสินค้าและตลาดชุมชน เพื่อกระจายสินค้าไปยังท้องถิ่นให้ทั่วถึงมากขึ้น เพื่อให้เป็นกลไกบรรเทาความเดือดให้แก่ประชาชนที่ต้องเผชิญกับปัญหาสินค้าราคาแพง แต่ยืนยันว่าจะไม่ใช้เป็นการเข้าไปแข่งขันกับร้านค้าของเอกชนที่มีอยู่เดิม เพียงแต่จะเป็นการจัดหาหรือช่วยกระจายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในบางรายการเพื่อให้ลงไปในภูมิภาคมากขึ้น
นายสมคิดกล่าวว่า ในเรื่องการดูแลราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ขอให้ดูแลราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ผิดธรรมชาติ โดยจะต้องมีการตั้งทีมลงไปตรวจสอบพื้นที่การเพาะปลูก ดูสถานการณ์ผลผลิต และกำหนดแนวทางในการดูแลเกษตรกรให้ขายสินค้าได้ในราคาที่คุ้มต้นทุน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเพิ่มราคาเป็นเท่าไร แต่ต้องมีการบริการจัดการให้เกษตรกรอยู่ได้และขายสินค้าได้ในราคาที่เหมาะสม
ส่วนเรื่องการส่งออก ยอมรับว่ากำลังเผชิญกับภาวะตลาดโลกไม่ดี ขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพใหม่ และใช้วิธีเจาะลึกเข้าไปสร้างเครือข่ายและพัฒนาตลาดที่เป็นเป้าหมาย เพราะบางประเทศเป็นตลาดใหญ่ แต่กลับมีทูตพาณิชย์ดูแลเพียงคนเดียว จึงต้องจัดทัพใหม่และเสริมบุคลกรเข้าไป เช่น อาเซียน มีเมียร์ม่าและลาว ที่จะขยายตัวได้อีก ก็ต้องเพิ่มคนเข้าไปดูแล ไม่ใช้ให้รับผิดชอบเพียง 1-2 คน หรือตลาดจีน และญี่ปุ่น ที่มีความสำคัญกับไทย ก็ต้องจัดคนเข้าไปเพิ่ม รวมถึงต้องเพิ่มการเจรจาการค้ากับกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพให้มากขึ้น และต้องทำงานประสานกับกระทรวงการต่างประเทศให้เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจการค้า นอกเหนือจากการทำงานด้านการทูต
"การผลักดันการส่งออก คนที่เป็นแม่ทัพ คือ ภาคเอกชน กระทรวงพาณิชย์เป็นตัวเสริมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้เอกชน เพื่อให้เข้าไปบุกตลาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งนายกฯ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก และขอให้ไปจัดพูดคุยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม และจากนั้นให้ไปพบนายกฯ เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค ต่อไปหากตัวเลขส่งออกติดลบ ก็ต้องถามเอกชนว่าเกิดอะไรขึ้น แต่หากมีปัญหาอุปสรรค และแก้ไขไม่ได้ ค่อยมาถามกระทรวงพาณิชย์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร"นายสมคิดกล่าว
นอกจากนี้ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ทำการส่งเสริมการค้าบริการ เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร ภาพยนตร์ และสถานพยาบาล เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้ ถือเป็นอนาคตของประเทศ ขณะเดียวกัน ต้องเร่งส่งเสริมให้มีการทำธุรกิจการค้าผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซให้มากขึ้น รวมทั้งต้องช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันให้ภาคเอกชน
นายสมคิดกล่าวว่า สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะ เพราะรัฐบาลต้องการสร้างการเติบโตจากภายในประเทศ ซึ่งอดีตที่ผ่านมา จะเน้นการให้ความสำคัญกับการส่งออก แต่จะเห็นว่าปัจจุบันเริ่มเกิดความไม่สมดุล โดยการพัฒนาประเทศจะต้องเน้นการสร้างความสมดุลทั้งในและต่างประเทศควบคู่กัน ดังนั้น จะต้องสร้างกระบวนการการค้าภายในประเทศให้เกิดความคึกคักและเข้มแข็งให้ได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า จะนำข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปตีโจทย์ และจะจัดประชุมเวิร์กชอปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแปลงออกมาเป็นภาคปฏิบัติ โดยจะเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายภาย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในระยะเวลาภายใน 3 เดือนตามที่กำหนด
วันเดียวกันนี้ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย ได้เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ประกอบด้วยสมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
นายบุญทักษ์ กล่าวว่า จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นด้วยการอัดเม็ดเงินลงสู่ระบบ 1.3 แสนล้านบาท เชื่อว่าจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศให้ดีขึ้นได้ และคาดว่าจะเห็นผลใน 3 เดือน ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายมองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ครม. ล่าสุด จะเป็นการดำเนินนโยบายลักษณะประชานิยมนั้น ต้องการให้มองในแง่ของการนำนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติมากกว่าว่าเม็ดเงินเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดการผลิตและบริโภคที่เป็นห่วงโซ่หรือไม่ หากที่สุดเน้นเฉพาะไปกระตุ้นแค่การบริโภคเพียงด้านเดียว ก็จะเข้าข่ายเป็นประชานิยม แต่หากลงไปสู่ระดับชุมชนเพิ่มขีดความสามารถให้ชุมชนและกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็ว ก็ถือว่าไม่ใช่
นายบุญทักษ์กล่าวว่า กกร. ต้องการเสนอมาตรการเพิ่มเติมในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน และระยะกลาง 6-12 เดือน เพิ่มเติมให้รัฐบาลดำเนินการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
โดยมาตรการระยะสั้นเร่งด่วนมี 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การเพิ่มศักยภาพให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ด้วยการลดภาษีเงินได้ให้กับ SMEs ที่มีรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท โดยเก็บเป็นขั้นบันไดจากปัจจุบันเสีย 20% เหลือ 5-15% เพื่อให้จูงใจการจ่ายภาษีถูกต้องตามกฏหมาย สนับสนุนให้มีการใช้ซอฟแวร์ทางบัญชีที่ได้มาตรฐานและการฝึกอบรมSMEsจัดทำบัญชี ซึ่งข้อเสนอนี้ทาง กกร. โดยส.อ.ท.ได้เคยนำเสนอไว้แล้ว 2.การผลักการค้าชายแดน ที่ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายการค้าชายแดนที่ 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2560 จากปัจจุบันที่มูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท การขยายบทบาทหน้าที่ของพาณิชย์จังหวัดเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน และจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า SMEs Outlet ในพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพ
3.เสนอให้ตั้งทีมเศรษฐกิจ ของจังหวัดโดยมีผู้แทนจากกกร.และหน่วยงานราชการ 7แห่งในการกำกับดูแลของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแลเศรษฐกิจจังหวัดโดยเฉพาะในการกระตุ้นให้เกิดการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาคมากขึ้น 4.การสร้างกำลังซื้อภายในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ การเร่งรัดการระบายสต็อกข้าวอย่างน้อย 50% เพื่อที่จะได้เงินหมุนเวียนในระบบและลดค่าใช้จ่ายของรัฐ
สำหรับระยะกลาง 6-12เดือน ได้แก่ 1.การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยให้เน้นสหกรณ์การเกษตรเพื่อสนับสนุนเกษตรกรทั้งด้านการผลิตและการตลาด 2.การปรับวิธีการสรรหาผู้แทนการค้าไทย โดยให้ กกร.ร่วมในการจัดสรรหาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประเทศในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี 3.สนับสนุนโครงการ Product Champion เพื่อยกระดับ SMEs ให้มีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานและเติบโตสู่ตลาดหลักทรัพย์
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานให้แก่ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมหารือ ที่กระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (2 ก.ย.) ว่า ได้นำข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ฝากให้กระทรวงพาณิชย์นำไปปฏิบัติ เพื่อรองรับกับนโยบายใหม่ๆ ของรัฐบาลในการดูแลและผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยขอให้เริ่มการทำงานในทันที และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จให้เห็นผลภายใน 3 เดือน
ทั้งนี้ ในเรื่องค่าครองชีพ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลราคาสินค้า เพราะมีเสียงบ่นว่าราคาสินค้า โดยเฉพาะอาหารยังแพงอยู่ แม้ราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงไปมาก โดยขอให้จัดทีมหรือใช้เครือข่ายของพาณิชย์จังหวัดลงพื้นที่ไปสำรวจตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้า หากพบว่ามีการฉวยโอกาสก็ให้ใช้กฎหมายจัดการขั้นเด็ดขาด ส่วนราคาสินค้าจะปรับลดลงมาได้มากน้อยแค่ไหน เชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์มีการบริหารและดูแลต้นทุนสินค้าทุกรายการอยู่ จะดูแลราคาสินค้าให้เป็นธรรมได้
ขณะเดียวกัน ขอให้จัดทำตลาดกลางสินค้าและตลาดชุมชน เพื่อกระจายสินค้าไปยังท้องถิ่นให้ทั่วถึงมากขึ้น เพื่อให้เป็นกลไกบรรเทาความเดือดให้แก่ประชาชนที่ต้องเผชิญกับปัญหาสินค้าราคาแพง แต่ยืนยันว่าจะไม่ใช้เป็นการเข้าไปแข่งขันกับร้านค้าของเอกชนที่มีอยู่เดิม เพียงแต่จะเป็นการจัดหาหรือช่วยกระจายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในบางรายการเพื่อให้ลงไปในภูมิภาคมากขึ้น
นายสมคิดกล่าวว่า ในเรื่องการดูแลราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ขอให้ดูแลราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ผิดธรรมชาติ โดยจะต้องมีการตั้งทีมลงไปตรวจสอบพื้นที่การเพาะปลูก ดูสถานการณ์ผลผลิต และกำหนดแนวทางในการดูแลเกษตรกรให้ขายสินค้าได้ในราคาที่คุ้มต้นทุน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเพิ่มราคาเป็นเท่าไร แต่ต้องมีการบริการจัดการให้เกษตรกรอยู่ได้และขายสินค้าได้ในราคาที่เหมาะสม
ส่วนเรื่องการส่งออก ยอมรับว่ากำลังเผชิญกับภาวะตลาดโลกไม่ดี ขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพใหม่ และใช้วิธีเจาะลึกเข้าไปสร้างเครือข่ายและพัฒนาตลาดที่เป็นเป้าหมาย เพราะบางประเทศเป็นตลาดใหญ่ แต่กลับมีทูตพาณิชย์ดูแลเพียงคนเดียว จึงต้องจัดทัพใหม่และเสริมบุคลกรเข้าไป เช่น อาเซียน มีเมียร์ม่าและลาว ที่จะขยายตัวได้อีก ก็ต้องเพิ่มคนเข้าไปดูแล ไม่ใช้ให้รับผิดชอบเพียง 1-2 คน หรือตลาดจีน และญี่ปุ่น ที่มีความสำคัญกับไทย ก็ต้องจัดคนเข้าไปเพิ่ม รวมถึงต้องเพิ่มการเจรจาการค้ากับกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพให้มากขึ้น และต้องทำงานประสานกับกระทรวงการต่างประเทศให้เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจการค้า นอกเหนือจากการทำงานด้านการทูต
"การผลักดันการส่งออก คนที่เป็นแม่ทัพ คือ ภาคเอกชน กระทรวงพาณิชย์เป็นตัวเสริมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้เอกชน เพื่อให้เข้าไปบุกตลาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งนายกฯ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก และขอให้ไปจัดพูดคุยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม และจากนั้นให้ไปพบนายกฯ เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค ต่อไปหากตัวเลขส่งออกติดลบ ก็ต้องถามเอกชนว่าเกิดอะไรขึ้น แต่หากมีปัญหาอุปสรรค และแก้ไขไม่ได้ ค่อยมาถามกระทรวงพาณิชย์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร"นายสมคิดกล่าว
นอกจากนี้ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ทำการส่งเสริมการค้าบริการ เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร ภาพยนตร์ และสถานพยาบาล เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้ ถือเป็นอนาคตของประเทศ ขณะเดียวกัน ต้องเร่งส่งเสริมให้มีการทำธุรกิจการค้าผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซให้มากขึ้น รวมทั้งต้องช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันให้ภาคเอกชน
นายสมคิดกล่าวว่า สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะ เพราะรัฐบาลต้องการสร้างการเติบโตจากภายในประเทศ ซึ่งอดีตที่ผ่านมา จะเน้นการให้ความสำคัญกับการส่งออก แต่จะเห็นว่าปัจจุบันเริ่มเกิดความไม่สมดุล โดยการพัฒนาประเทศจะต้องเน้นการสร้างความสมดุลทั้งในและต่างประเทศควบคู่กัน ดังนั้น จะต้องสร้างกระบวนการการค้าภายในประเทศให้เกิดความคึกคักและเข้มแข็งให้ได้ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า จะนำข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปตีโจทย์ และจะจัดประชุมเวิร์กชอปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแปลงออกมาเป็นภาคปฏิบัติ โดยจะเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายภาย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในระยะเวลาภายใน 3 เดือนตามที่กำหนด
วันเดียวกันนี้ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย ได้เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ประกอบด้วยสมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
นายบุญทักษ์ กล่าวว่า จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นด้วยการอัดเม็ดเงินลงสู่ระบบ 1.3 แสนล้านบาท เชื่อว่าจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศให้ดีขึ้นได้ และคาดว่าจะเห็นผลใน 3 เดือน ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายมองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ครม. ล่าสุด จะเป็นการดำเนินนโยบายลักษณะประชานิยมนั้น ต้องการให้มองในแง่ของการนำนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติมากกว่าว่าเม็ดเงินเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดการผลิตและบริโภคที่เป็นห่วงโซ่หรือไม่ หากที่สุดเน้นเฉพาะไปกระตุ้นแค่การบริโภคเพียงด้านเดียว ก็จะเข้าข่ายเป็นประชานิยม แต่หากลงไปสู่ระดับชุมชนเพิ่มขีดความสามารถให้ชุมชนและกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็ว ก็ถือว่าไม่ใช่
นายบุญทักษ์กล่าวว่า กกร. ต้องการเสนอมาตรการเพิ่มเติมในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน และระยะกลาง 6-12 เดือน เพิ่มเติมให้รัฐบาลดำเนินการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
โดยมาตรการระยะสั้นเร่งด่วนมี 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การเพิ่มศักยภาพให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ด้วยการลดภาษีเงินได้ให้กับ SMEs ที่มีรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท โดยเก็บเป็นขั้นบันไดจากปัจจุบันเสีย 20% เหลือ 5-15% เพื่อให้จูงใจการจ่ายภาษีถูกต้องตามกฏหมาย สนับสนุนให้มีการใช้ซอฟแวร์ทางบัญชีที่ได้มาตรฐานและการฝึกอบรมSMEsจัดทำบัญชี ซึ่งข้อเสนอนี้ทาง กกร. โดยส.อ.ท.ได้เคยนำเสนอไว้แล้ว 2.การผลักการค้าชายแดน ที่ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายการค้าชายแดนที่ 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2560 จากปัจจุบันที่มูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท การขยายบทบาทหน้าที่ของพาณิชย์จังหวัดเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน และจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า SMEs Outlet ในพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพ
3.เสนอให้ตั้งทีมเศรษฐกิจ ของจังหวัดโดยมีผู้แทนจากกกร.และหน่วยงานราชการ 7แห่งในการกำกับดูแลของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแลเศรษฐกิจจังหวัดโดยเฉพาะในการกระตุ้นให้เกิดการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาคมากขึ้น 4.การสร้างกำลังซื้อภายในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ การเร่งรัดการระบายสต็อกข้าวอย่างน้อย 50% เพื่อที่จะได้เงินหมุนเวียนในระบบและลดค่าใช้จ่ายของรัฐ
สำหรับระยะกลาง 6-12เดือน ได้แก่ 1.การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยให้เน้นสหกรณ์การเกษตรเพื่อสนับสนุนเกษตรกรทั้งด้านการผลิตและการตลาด 2.การปรับวิธีการสรรหาผู้แทนการค้าไทย โดยให้ กกร.ร่วมในการจัดสรรหาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประเทศในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี 3.สนับสนุนโครงการ Product Champion เพื่อยกระดับ SMEs ให้มีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานและเติบโตสู่ตลาดหลักทรัพย์