ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.เผยเวทีปฐกภาพิเศษกกร. 27 ส.ค.นี้เตรียมเสนอ”สมคิด “รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมศก.เร่งผลักดัน 3 ประเด็นได้แก่ การอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรระยะสั้น การปรับโครงสร้างภาษีฯเอสเอ็มอี และการผลักดันการส่งออก เพื่อฟื้นเศรษฐกิจไทยก่อนย่ำแย่หลังตัวเลขดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมก.ค.ล่าสุดต่ำสุดรอบ 6 ปี 2 เดือน กลุ่มยานยนต์จ่อหั่นเป้าผลิตรถเพื่อขายในประเทศปีนี้ใหม่ก.ย.นี้เหลือ7.5-8แสนคันจากเดิม8.5แสนคัน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 27 ส.ค.นี้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ที่ประกอบด้วยส.อ.ท. หอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทยจะจัดปฐกถาพิเศษนโยบายเศรษฐกิจและทิศทางประเทศไทยโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งในโอกาสดังกล่าวจะเสนอประเด็นให้นายสมคิดในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจแก้ปัญหาภาวเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ราคาสินค้าเกษตร 2. เอสเอ็มอีและ 3. การส่งออก หลังจากที่เคยนำเสนอครม.ที่ผ่านมาไปแล้ว
ทั้งนี้ราคาสินค้าเกษตรนั้นที่ผ่านมาตกต่ำมีผลกระทบต่อการบริโภครัฐเองก็คงต้องพิจารณาว่าจะมีมาตรการใดๆที่จะมาพยุงราคาหรืออุดหนุนราคาไม่ให้ตกต่ำโดยมองสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ และทำเป็นมาตรการระยะสั้นโดยความเหมาะสมและให้ถึงเกษตรกรโดยมองถึงการเพิ่มศักยภาพในระยะยาวด้วย ส่วนเอสเอ็มอีนั้นเป็นเรื่องของโครงสร้างภาษีที่มองแบบครบวงจรโดยเสนอให้ลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้แก่เอสเอ็มอีที่มีรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาทแบ่งเป็นกรณีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทเสีย 5% รายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทเสีย 10% และรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาทเสีย 15% โดยจะต้องมีการสนับสนุนให้ลงทะเบียนมีการจัดอบรมการทำบัญชี
“เอสเอ็มอีไทยต้องยอมรับว่า 80% หลีกเลี่ยงภาษีฯ เราก็ต้องมองให้ครบวงจรในการช่วยเขาเพื่อให้การเสียภาษีต่างๆมาอยู่บนดิน เราเองก็คุยกับสภาวิชาชีพบัญชีที่จะช่วยตรวจสอบบัญชีให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นที่สุดสถาบันการเงินก็จะปล่อยกู้โดยที่ผ่านมาเอสเอ็มอีไทยนั้นโตได้แค่ระดับหนึ่งเพราะมีกำไรก็ต้องไปลงทุนการกู้เงินเป็นเรื่องยาก” นายสุพันธุ์กล่าว
สำหรับประเด็นส่งออกต้องการเสนอให้มีการฟื้นการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาการส่งออกหรือไทยแลนด์ทีมที่มีอยู่เดิมมาทำให้เกิดรูปธรรมเพราะมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนซึ่งเห็นว่ากระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการเองลำพังคงไม่ได้ รวมถึงการดำเนินมาตรการในการเปิดตลาดใหม่ๆ เช่นการขยายความร่วมมือFTAกับประเทศอื่นๆเช่นตุรกีเพื่อเปิดประตูการค้าสู่สหภาพยุโรป ฯลฯ การแก้ปัญหาการค้าชายแดน กับกลุ่มประเทศเวียดนาม กัมพูชา เมียมา ลาว (ซีแอลเอ็มวี) เนื่องขากขณะนี้สินค้ายังติดค้างด่านหลายวัน ทำให้เสียโอกาสในการส่งออก
นายสุพันธุ์ยังกล่าวถึงสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฏาคม2558 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯอยู่ที่ระดับ 83.0ปรับตัวลดลงจากระดับ84.0ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นค่าดัชนีฯที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่7ติดต่อกันและยังเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ74เดือนหรือ6ปี2เดือนนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน2552สำหรับปัจจัยสำคัญที่ฉุดความเชื่อมั่นลดลงมาจากการชะลอตัวการเติบโตทางเศรษฐกิจ การบริโภคภายในประเทศรวมถึงการหดตัวของการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา
จ่อหั่นเป้าผลิตรถยนต์เพื่อขายในประเทศใหม่ก.ย.
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า คาดว่าในเดือนก.ย.ส.อ.ท.คงจะพิจารณาปรับเป้าหมายการผลิตรถยนต์เพื่อการจำหน่ายในประเทศปี 2558 ใหม่โดยปรับลดลงจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้850,000 คันเหลือประมาณ 750,000-800,000 คันเนื่องจากยอมรับว่า 7
เดือนยอดขายยังไม่ดีนักเนื่องจากการบริโภคของประชาชนยังตกต่ำและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
“เป้าหมายการผลิตรถยนต์ปี 2558 ทั้งหมดเราวางไว้ที่ 2,000,000 คันเราเองก็ยังไม่คิดจะปรับเป้าการผลิตลดลงในภาพรวมเพราะเราเองก็ยังมองว่าการส่งออกน่าจะทำได้ในระดับ 1,200,000 คันอยู่ ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายนี้ก็ยังถือว่ามีการเติบโตกว่าปีที่แล้วที่ทำไว้ในระดับ 1,880,000 คัน”นายสุรพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ยอดผลิตรถยนต์ 7 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ค.58) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,101,114 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.21% แยกเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกทั้งสิ้น 683,449 คันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.42% หรือคิดเป็น 62.07% ของการผลิตทั้งหมด ส่วนยอดผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศอยู่ที่ 417,665 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.96%โดยพบว่ายอดขายรถยนต์ภายในประเทศ 7 เดือนแรกปีนี้มีทั้งสิ้น 429,972 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.8%
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 27 ส.ค.นี้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ที่ประกอบด้วยส.อ.ท. หอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทยจะจัดปฐกถาพิเศษนโยบายเศรษฐกิจและทิศทางประเทศไทยโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งในโอกาสดังกล่าวจะเสนอประเด็นให้นายสมคิดในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจแก้ปัญหาภาวเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ราคาสินค้าเกษตร 2. เอสเอ็มอีและ 3. การส่งออก หลังจากที่เคยนำเสนอครม.ที่ผ่านมาไปแล้ว
ทั้งนี้ราคาสินค้าเกษตรนั้นที่ผ่านมาตกต่ำมีผลกระทบต่อการบริโภครัฐเองก็คงต้องพิจารณาว่าจะมีมาตรการใดๆที่จะมาพยุงราคาหรืออุดหนุนราคาไม่ให้ตกต่ำโดยมองสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ และทำเป็นมาตรการระยะสั้นโดยความเหมาะสมและให้ถึงเกษตรกรโดยมองถึงการเพิ่มศักยภาพในระยะยาวด้วย ส่วนเอสเอ็มอีนั้นเป็นเรื่องของโครงสร้างภาษีที่มองแบบครบวงจรโดยเสนอให้ลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้แก่เอสเอ็มอีที่มีรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาทแบ่งเป็นกรณีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทเสีย 5% รายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทเสีย 10% และรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาทเสีย 15% โดยจะต้องมีการสนับสนุนให้ลงทะเบียนมีการจัดอบรมการทำบัญชี
“เอสเอ็มอีไทยต้องยอมรับว่า 80% หลีกเลี่ยงภาษีฯ เราก็ต้องมองให้ครบวงจรในการช่วยเขาเพื่อให้การเสียภาษีต่างๆมาอยู่บนดิน เราเองก็คุยกับสภาวิชาชีพบัญชีที่จะช่วยตรวจสอบบัญชีให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นที่สุดสถาบันการเงินก็จะปล่อยกู้โดยที่ผ่านมาเอสเอ็มอีไทยนั้นโตได้แค่ระดับหนึ่งเพราะมีกำไรก็ต้องไปลงทุนการกู้เงินเป็นเรื่องยาก” นายสุพันธุ์กล่าว
สำหรับประเด็นส่งออกต้องการเสนอให้มีการฟื้นการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาการส่งออกหรือไทยแลนด์ทีมที่มีอยู่เดิมมาทำให้เกิดรูปธรรมเพราะมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนซึ่งเห็นว่ากระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการเองลำพังคงไม่ได้ รวมถึงการดำเนินมาตรการในการเปิดตลาดใหม่ๆ เช่นการขยายความร่วมมือFTAกับประเทศอื่นๆเช่นตุรกีเพื่อเปิดประตูการค้าสู่สหภาพยุโรป ฯลฯ การแก้ปัญหาการค้าชายแดน กับกลุ่มประเทศเวียดนาม กัมพูชา เมียมา ลาว (ซีแอลเอ็มวี) เนื่องขากขณะนี้สินค้ายังติดค้างด่านหลายวัน ทำให้เสียโอกาสในการส่งออก
นายสุพันธุ์ยังกล่าวถึงสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฏาคม2558 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯอยู่ที่ระดับ 83.0ปรับตัวลดลงจากระดับ84.0ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นค่าดัชนีฯที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่7ติดต่อกันและยังเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ74เดือนหรือ6ปี2เดือนนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน2552สำหรับปัจจัยสำคัญที่ฉุดความเชื่อมั่นลดลงมาจากการชะลอตัวการเติบโตทางเศรษฐกิจ การบริโภคภายในประเทศรวมถึงการหดตัวของการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา
จ่อหั่นเป้าผลิตรถยนต์เพื่อขายในประเทศใหม่ก.ย.
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า คาดว่าในเดือนก.ย.ส.อ.ท.คงจะพิจารณาปรับเป้าหมายการผลิตรถยนต์เพื่อการจำหน่ายในประเทศปี 2558 ใหม่โดยปรับลดลงจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้850,000 คันเหลือประมาณ 750,000-800,000 คันเนื่องจากยอมรับว่า 7
เดือนยอดขายยังไม่ดีนักเนื่องจากการบริโภคของประชาชนยังตกต่ำและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
“เป้าหมายการผลิตรถยนต์ปี 2558 ทั้งหมดเราวางไว้ที่ 2,000,000 คันเราเองก็ยังไม่คิดจะปรับเป้าการผลิตลดลงในภาพรวมเพราะเราเองก็ยังมองว่าการส่งออกน่าจะทำได้ในระดับ 1,200,000 คันอยู่ ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายนี้ก็ยังถือว่ามีการเติบโตกว่าปีที่แล้วที่ทำไว้ในระดับ 1,880,000 คัน”นายสุรพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ยอดผลิตรถยนต์ 7 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ค.58) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,101,114 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.21% แยกเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกทั้งสิ้น 683,449 คันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.42% หรือคิดเป็น 62.07% ของการผลิตทั้งหมด ส่วนยอดผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศอยู่ที่ 417,665 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.96%โดยพบว่ายอดขายรถยนต์ภายในประเทศ 7 เดือนแรกปีนี้มีทั้งสิ้น 429,972 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.8%