ASTVผู้จัดการรายวัน - ส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. 58 ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนและเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ปัจจัยหลักจากภาวะแรงซื้อในประเทศถดถอยจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งออกชะลอตัว ด้านกลุ่มยานยนต์จ่อหดเป้าผลิตรถยนต์ปีนี้เหลือแค่ 2 ล้านคันรอสรุปตัวเลขทางการมิ.ย.นี้อีกรอบ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนเมษายน 2558จำนวน 1,202 ราย ครอบคลุม 43 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ระดับ 86.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.7ในเดือนมีนาคมซึ่งยังคงเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่ต.ค. 57 ทั้งนี้ค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
" ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยและปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อการบริโภคและการใช้จ่ายโดยในเฉพาะภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายภายในประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาพคล่องของการดำเนินกิจการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกลางและขนาดย่อมและอีกส่วนจากภาวะการส่งออกที่ยังคงชะลอตัว"นายสุพันธุ์กล่าว
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.1 เพิ่มขึ้นจาก 100.4 ในเดือนมีนาคม โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนเมษายนนี้ คือเร่งแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเพื่อเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ อีกทั้งเสนอให้ภาครัฐปรับโครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.เตรียม ทบทวนประมาณการยอดผลิตรถยนต์ปี 2558 ทั้งปีซึ่งคาดว่าจะเสร็จมิ.ย.นี้เบื้องต้นภาพรวมยอดการผลิตรถยนต์ปี นี้น่าจะอยู่ระดับ 2 ล้านคันจากที่คาดไว้ 2.13 ล้านคันเนื่องจากยอดขายรถยนต์ในประเทศยังคงมีทิศทางลดลงซึ่ง ล่าสุดเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 54,058 คันลดลงจากเดือนเดียวของปีก่อน 26.2% และ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 27.06% รวม 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) มียอดขายในประเทศ 251,845 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกับปีก่อน 15.3%ซึ่งปัจจัยหลักมาจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำส่งผลต่อแรงซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศชะลอตัวและส่งผลกระทบต่อเนื่องให้สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยกู้
"ยอมรับว่าเป้าหมายการผลิตเพื่อขายในประเทศปีนี้ที่คาดไว้ 9.5 แสนคัน แบ่งเป็นผลิตเอง 9.3 แสนคัน และนำเข้า 2 หมื่นคัน จะต้องปรับลดลงแน่นอนแต่จะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าภายในเดือนมิ.ย.นี้ หากรัฐบาลมีการลงทุนชัดเจนมากขึ้นกว่าปัจจุบัน คาดยอดผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศน่าจะลดลง 5 หมื่นคัน เหลือ 9 แสนคัน แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีการลงทุนเลยก็มีโอกาสที่ยอดผลิตในประเทศจะลดลงเหลือ 8.5 แสนคัน"นายสุรพงษ์ กล่าว
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนเมษายน 2558จำนวน 1,202 ราย ครอบคลุม 43 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ระดับ 86.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.7ในเดือนมีนาคมซึ่งยังคงเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่ต.ค. 57 ทั้งนี้ค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
" ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยและปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อการบริโภคและการใช้จ่ายโดยในเฉพาะภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายภายในประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาพคล่องของการดำเนินกิจการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกลางและขนาดย่อมและอีกส่วนจากภาวะการส่งออกที่ยังคงชะลอตัว"นายสุพันธุ์กล่าว
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.1 เพิ่มขึ้นจาก 100.4 ในเดือนมีนาคม โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนเมษายนนี้ คือเร่งแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเพื่อเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ อีกทั้งเสนอให้ภาครัฐปรับโครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.เตรียม ทบทวนประมาณการยอดผลิตรถยนต์ปี 2558 ทั้งปีซึ่งคาดว่าจะเสร็จมิ.ย.นี้เบื้องต้นภาพรวมยอดการผลิตรถยนต์ปี นี้น่าจะอยู่ระดับ 2 ล้านคันจากที่คาดไว้ 2.13 ล้านคันเนื่องจากยอดขายรถยนต์ในประเทศยังคงมีทิศทางลดลงซึ่ง ล่าสุดเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 54,058 คันลดลงจากเดือนเดียวของปีก่อน 26.2% และ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 27.06% รวม 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) มียอดขายในประเทศ 251,845 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกับปีก่อน 15.3%ซึ่งปัจจัยหลักมาจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำส่งผลต่อแรงซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศชะลอตัวและส่งผลกระทบต่อเนื่องให้สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยกู้
"ยอมรับว่าเป้าหมายการผลิตเพื่อขายในประเทศปีนี้ที่คาดไว้ 9.5 แสนคัน แบ่งเป็นผลิตเอง 9.3 แสนคัน และนำเข้า 2 หมื่นคัน จะต้องปรับลดลงแน่นอนแต่จะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าภายในเดือนมิ.ย.นี้ หากรัฐบาลมีการลงทุนชัดเจนมากขึ้นกว่าปัจจุบัน คาดยอดผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศน่าจะลดลง 5 หมื่นคัน เหลือ 9 แสนคัน แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีการลงทุนเลยก็มีโอกาสที่ยอดผลิตในประเทศจะลดลงเหลือ 8.5 แสนคัน"นายสุรพงษ์ กล่าว