ศาสตราจารย์ ดร.นพ. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาการแพทย์
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และ
อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาการแพทย์
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และ
อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
TDRI โดย นางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ได้นำรายงานวิจัยเจ้าปัญหา “ผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ” มาเสนออีกรอบ ในหัวข้ออัตราส่วนการตายของมารดาต่ออัตราการเกิดมีชีพแสนคน (Maternal Mortality Ratio: MMR) โดยได้มีการนำเสนอใน www.hfocus.org/content/2015/08/10734 ว่า “ได้ประเมินข้อมูลการเสียชีวิตของมารดา จากฐานข้อมูลผู้ป่วยใน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ สํานักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) รวมถึงฐานข้อมูลการเกิดและตายจากทะเบียนราษฎรมาประมวลผล ต่างจากข้อมูลของ สธ.ที่รายงานโดยแพทย์ ซึ่งเมื่อมีการตายเกิดขึ้น แพทย์ก็ไม่ได้รายงานว่าเป็นการเสียชีวิตเพราะการคลอดทั้งหมด
ทั้งนี้ ข้อมูลที่ทำการศึกษานั้นอยู่ระหว่างปี 2550-2554 แบ่งเป็น ปี 2550 MRR ของ สธ.อยู่ที่ 12.2 ขณะที่ทีดีอาร์ไอได้ตัวเลขที่ 62.51 สูงกว่า สธ.ถึง 6 เท่า ปี 2551 MRR ของ สธ.คือ 11.3 แต่ทีดีอาร์ไออยู่ที่ 58.25 ปี 2552 MRR ของ สธ.คือ 10.8 แต่ทีดีอาร์ไออยู่ที่ 46.69 ปี 2553 MRR ของ สธ.คือ 10.2 แต่ทีดีอาร์ไอคือ 45.06 และปี 2554 MRR ของ สธ.คือ 8.9 แต่ของทีดีอาร์ไออยู่ที่ 36.69” และเน้นไปที่ความเหลื่อมล้ำทางการเงินว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตของมารดาสูง
เราได้แชร์บทความดังกล่าว พร้อมสถิติ ตารางและงานวิจัยตัวเต็มไว้บน Facebook ทำให้มีผู้รู้มากมายเข้ามาวิจารณ์ตัวเลขที่สูงผิดปกติดังกล่าวดังนี้
พล.อ.ต.หญิง แพทย์หญิง สุรีย์พร บุญจง สูตินรีแพทย์อาวุโส โรงพยาบาลภูมิพล ได้วิจารณ์ว่า
งานวิจัย ของ TDRI ดูหมิ่นสูตินรีแพทย์ งานวิจัยเรื่องการตายของมารดา(MMR) ในประเทศไทย ของ TDRI รายงานเมื่อ ธันวาคม 2557 อ่านแล้ว เข้าใจวิธีเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูลของท่าน เราใช้คำจำกัดความเดียวกัน ท่านแสดงให้เห็นว่า MMR ที่ TDRI ได้ข้อมูลมา กับ MMR ที่รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุข แตกต่างกันมาก ท่านเองก็รู้ว่า MMR ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นข้อมูลที่ได้จากสถานพยาบาลเท่านั้น ไม่ได้รวมการตายของมารดาทั่วประเทศ ที่เกิดขึ้นนอกสถานพยาบาลด้วย เพราะต้องการปรับปรุงการดูแลมารดาและทารกในครรภ์ ในสถานพยาบาล ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า MMR ลดลงเป็นลำดับ ทั้งในระดับสถานพยาบาล และระดับประเทศ
เหตุใดท่านจึงแสดงในบทวิจารณ์ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อนำมาสู่การร่วมมือจากหลายองค์กรที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลด MMR ในระดับประเทศลงให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่
ท่านกลับนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันไว้ลอยๆ ให้คนอ่านคิดเอาเองว่า ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เชื่อถือไม่ได้ มิหนำซ้ำ ท่านยังพูดในการนำเสนอรายงานวิจัยของท่าน ซึ่งนำออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยสำนักข่าวอิศราว่าเมื่อเกิดการตายของมารดาขึ้น แพทย์มักปกปิด ท่านควรออกมาแสดงความรับผิดชอบ ต่อความเห็นของท่าน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สูตินรีแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข
TDRI น่าจะมาปรึกษากับกรมอนามัย ก่อนที่จะนำผลงานวิจัยออกเผยแพร่ เพราะกรมอนามัยดูแลเรื่อง มารดาและทารกทั้งในและนอกครรภ์ เห็นข้อมูลแตกต่างกันมากตั้ง 4 เท่า กลับตีความเอาเองว่าหมอปกปิด ดูถูกกันจริงๆ สงสัยผู้วิจัยนี่ไม่มีเพื่อนเป็นหมอเลย อย่างน้อยถามเพื่อนก็ได้ มีคนท้องตายในโรงพยาบาลนี่ เรื่องใหญ่ รู้กันทั้งโรงพยาบาล รู้กันทั้งอำเภอเลยละ ปกปิดได้ไง
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมชาย ธนวัฒนาเจริญ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นว่า
จากประเด็นที่มีผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรหนึ่งออกมาให้ข่าวเรื่องอัตราตายของมารดาในประเทศไทยสูงกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขรายงาน เป็นเหตุให้ถูกท้าทายหนักมากในการออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ทั้งในฐานะสูติแพทย์และอาจารย์โรงเรียนแพทย์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพินิจพิเคราะห์พอสมควร เพราะทั้งสององค์กรเป็นองค์กรที่น่าจะเรียกได้ว่าน่าเชื่อถือทั้งคู่ แต่เมื่อมีข้อมูลขัดแย้งกัน นั่นแสดงว่ามีองค์กรใดองค์หนึ่งเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องใช่หรือไม่
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกับนิยามของคำว่า “อัตราตายของมารดา” กันเสียก่อน “อัตราตายของมารดา” หมายถึงการเสียชีวิตของสตรีในขณะตั้งครรภ์หรือจากการตั้งครรภ์ยุติไปแล้ว (อาจเป็นได้ทั้งการแท้งและการคลอดบุตร) ไม่เกิน 42 วัน (6 สัปดาห์) ต่อทารกเกิดมีชีพ 1 แสนคน โดยอาจมีสาเหตุโดยตรงคือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์เป็นพิษ การตกเลือดกลังคลอด เป็นต้น และสาเหตุโดยอ้อมคือ มีโรคบางอย่างอยู่ก่อนและถูกทำให้แย่ลงจากการตั้งครรภ์ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่จะไม่รวมการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุ การฆ่าตัวตายหรือการถูกฆาตกรรม
ซึ่ง “อัตราตายของมารดา” ที่บ่งชัดเจนมากกว่าถึงคุณภาพการให้บริการทางสาธารณสุขอยู่ที่จำนวนการเสียชีวิตของมารดาจากสาเหตุโดยตรงจากการตั้งครรภ์ ส่วนจากสาเหตุโดยอ้อมนั้นอาจขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สตรีตั้งครรภ์เป็นมะเร็งขั้นลุกลามแต่ปฏิเสธการรักษาด้วยรังสีเพราะต้องการตั้งครรภ์ต่อไป อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่ไม่ได้เป็นเพราะคุณภาพการบริการที่ไม่ดี แต่เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะเลือกการรักษาโดยทราบถึงผลดีผลเสียของการรักษา เป็นต้น
ในการศึกษาขององค์กรที่นำเสนอข่าวนั้น ระเบียบวิธีวิจัยชี้ชัดว่าไม่นับการเสียชีวิตของมารดาที่เกิดจากอุบัติเหตุ การฆ่าตัวตายหรือการถูกฆาตกรรม แต่ปัญหาของความแตกต่างของข้อมูลอาจอยู่ที่การนำเสนอตัวเลขของสาเหตุการตายของมารดาโดยตรงหรือโดยอ้อม ดังนั้นอาจไม่ได้อยู่ที่ว่า ข้อมูลของทั้งสองฝ่ายใดถูกหรือผิด แต่อยู่ที่วิธีการเก็บข้อมูลและการใช้นิยาม "อัตราการตายของแม่" คนละแบบจึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้แบบปีต่อปี
ปัญหาในเรื่องนี้จึงน่าจะอยู่ที่การนำเสนอที่ไม่ได้ดูรายละเอียดของข้อมูลอีกฝ่ายหนึ่งอย่างละเอียด นำไปสู่การเปรียบเทียบที่ไม่ใช่คู่เปรียบที่ควรนำมาเทียบกัน เพราะสามารถก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและผลกระทบทางลบต่างๆตามมาได้มากมาย ความจริงแล้วควรศึกษาให้ดีหรือปรึกษาหารือร่วมกันเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้นำไปสู่ความเข้าใจผิดที่อาจขยายวงกว้างและไม่ได้ช่วยในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศแต่อย่างใด”
จะเห็นได้ว่า การนิยามความหมายของ MMR ของ TDRI มีปัญหา โดยรวมการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ วัณโรค เบาหวาน และโรคอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการคลอดเข้าไปในอัตราการเสียชีวิตของมารดา เอาไว้ด้วยทำให้ตัวเลขสูงผิดปกติ
ดังที่ อาจารย์ ดร. ยงยุทธ์ ไชยพงศ์ แห่งภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้วิจารณ์เรื่องนี้ไว้ว่า
“คำนิยามของตัวแปรที่นำไปใช้ในการประมาณค่าลักษณะประชากรเพื่อนำเสนอผลการศึกษานะ อย่าได้พลาดเชียว”
ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคำถามว่า
1.เวลาทำวิจัย เมื่อพบความต่างกันควรอธิบายให้ได้ว่าต่างเพราะอะไร ก่อนจะเผยแพร่
2.เวลาทำวิจัยแล้วพบว่าอัตราการตายสูงควรศึกษาหาเหตุผลทันที
3.ตกลงอัตราการตายในผู้ป่วยบัตรทองเป็นยังไง ไม่เห็นบอกซะที กี่เดือนแล้วนะ
ในส่วนของคุณภาพของข้อมูล มีความผิดปกติหลายประการ อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ศึกษาตารางที่ 9.7 ของรายงานตัวเต็มของ TDRI แล้วตั้งข้อสังเกตว่า
ข้อมูล การตายของมารดาในการศึกษาของ TDRI โดย ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ แม่ อายุ 45-49 บางเขตรายงานเป็น 0 เลย คือเขต 2 เขต 6 เขต 8 เขต 10 ในขณะที่บางเขต รายงานเกือบ 1000 ทำให้น่าสงสัยได้ว่าข้อมูลไม่ถูกต้องณ จุดนี้ ในสายตาของนักสถิติ ข้อแรก มารดาอายุ 45-49 โอกาสตั้งครรภ์มีน้อยกว่าเยอะ แม้จะเสี่ยงสูง แต่ที่สะท้อนเห็นชัดคือ มีการรายงานว่าไม่มีเลย ขณะที่บางเขตมีท่วมท้น แสดงว่าข้อมูลย้อนแย้งกันเอง และการ query ข้อมูล ผิดพลาดมาก อาจจะเกิดจากการกวาดการตายอย่างอื่นเข้าไปปนเยอะ ข้อมูลมีปัญหา pattern ย้อนแย้งกันเอง ไม่เป็น ธรรมชาติ
นายแพทย์ธนพร ปิตาสวัสดิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
“มีเคสแม่ตั้งครรภ์ อายุมากเกิน 40 แล้ว complete heart block ตาย ก็นับเป็นการตายของมารดาด้วย”
อาจารย์ ดร.ยงยุทธ์ ไชยพงศ์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
“0 คือไม่มีการตั้งครรภ์และคลอดบุตรหรือเปล่า หัวตารางเขียนคำว่าอัตราส่วน ซึ่งตรงกับคำว่า Ratio ในสถิติศาสตร์ หมายถึงการนำค่าตัวแปรสองตัวมาทำการหารกันเพื่อแสงดให้เห็นความแตกต่างในเชิงเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น Dependency Ratio ตัวเลขในตารางได้มาจากการคำนวณอย่างไร ค่าตัวเลขที่ผันแปรในแต่ละเขตเป็นจริงขนาดนี้หรือ ในแต่ละหมวดอายุ และในรวมทุกหมดอายุ ตัวเลขพวกนี้สื่อให้ทราบถึงคุณภาพทางการแพทย์ในการดูแลมารดาตอนคลอดบุตรที่โรงพยาบาล อายุเยอะแล้วหากมีการตั้งครรภ์นี่ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะความเสี่ยงสูง ค่าตัวเลขของเขต 7 ในหมวดอายุ 45-49 เป็น 1052.63 เทียบกับ 0 ของเขต 2, 6, 8, 10 นี่เกิดอะไรขึ้น เท่าที่เคยทราบมาตามธรรมชาติแล้วก็มีได้ แต่ตามความเป็นจริงในปัจจุบันที่ความรู้ความเข้าใจในทางการแพทย์ที่ประชาชนมีมากขึ้นกว่าเดิมถึงผลที่ตามมาทั้งที่มีต่อมารดาและบุตร คงทำให้การตั้งครรภ์ของคนในหมวดอายุนี้น้อยลงมาก”
รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิง ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และระบาดวิทยา แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งข้อสังเกตกับ ตารางที่ 9.7 ของ TDRI เอาไว้ว่า
“ตกลงแถวล่างสุดคือตัวเลขอะไร แถวบนคือตัวเลขอะไร ตารางนี้ถ้าส่งมาเป็น manuscript ให้ review ขอบอกว่า reject ทันที ถ้าเป็นนักศึกษาในหลักสูตรคงให้ สอบตกเช่นกัน ชื่อตารางน่าจะผิดเพราะหน่วยคือ ต่อการเกิดมีชีพ100000 คน ขอคำอธิบายด้วยว่ามีหลักการอะไรถึงเลือกแบ่งช่วงอายุ ทีละ 5 แบ่งแบบนี้แล้วผู้วิจัยต้องมีสมมุติฐานอะไรอยู่ในใจหรือไม่ และที่สำคัญควรแสดงขนาดตัวอย่าง (Sample size) ในแต่ละช่องประกอบด้วย 0 ในตารางคงเป็นเพราะในเขตนั้นไม่มีหญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิต หรือไม่มีหญิงตั้งครรภ์ที่อายุ 45-49 ปี เป็นไปได้หรือ? หรือไม่มีหญิงตั้งครรภ์ในช่วงอายุเท่านั้น และทำไมมีเป็นบางเขตและบางเขตไม่มี? และที่ดูว่าเยอะๆน่ะ ต้องขอดูขนาดตัวอย่าง ความเป็นไปได้ที่คาดเดาคือ หญิงตั้งครรภ์ช่วงอายุเยอะมีน้อย ตีซะว่าอาจจะ 10 คนในเขต และตายซะหลายคน นี่ยังไม่ได้แจกแจงนะว่าตายจากอะไร คงเอาการตายจากสาเหตุอื่นๆมารวมหมด”
ดร. อเนก สุวรรณบัณฑิต นักรังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
“อยากรู้จำนวนเต็มของแม่ที่อายุเกิน 45 ปี เดี๋ยวนี้มีกันปีละกี่คนเชียว (ก็รณรงค์ให้มีลูกก่อน 40 ปี กันจนรู้ว่าไม่ควรมีลูกหลัง 40 แล้วยังหาอัตราต่อการเกิดมีชีพ 1 แสนคนได้นี่ น่าแปลกใจมาก”
รองศาสตราจารย์ ดร. นัยพินิจ คชภักดี สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตั้งคำถามว่า
“มีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในการนำเสนอหรือเปล่า?”
พลอากาศตรี นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภาและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับตารางนี้ของ TDRI ว่า
“คุณภาพข้อมูลต้องดูเป็นอย่างแรก”
นายแพทย์จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์โรคมะเร็ง ให้ความเห็นว่า
การไม่กลั่นกรองทำความสะอาดข้อมูลเป็นความผิดร้ายแรงในการทำงานวิจัยของ TDRI
เนื่องจากมีความผิดพลาดของข้อมูลและการขาดความรู้เรื่องระบาดวิทยาและการแพทย์ของ TDRI ทำให้แพทย์หลายคนแสดงความคิดเห็นต่องานวิจัยชิ้นนี้ของ TDRI เอาไว้ว่า
นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่า
....แต่น่าเสียใจที่ผู้วิจัยเอง โทษกระบวนการรายงานของกระทรวงที่ต่ำเกินไปเพราะ ปกปิดข้อมูล เรารับไม่ได้จริงๆ นี่คือจริยธรรมของวิชาชีพครับ ....เบื้องหลังข้อมูลกระทรวงมีแต่ของ สธ.นะครับ เราไม่รวมคนตายใน รพ.ทหาร ตำรวจ มหาวิทยาลัย และเอกชน แต่ทะเบียนราษฎร์ได้ตัวเลขมาหมดครับ ....จริงแล้วผู้วิจัยควรจะวิจัยหาสาเหตุต่อว่าทำไมต่างกัน ไม่ใช่มาสรุปให้ร้ายแพทย์พยาบาลของรพ.ในสธ. ....หรือตั้งข้อสังเกตุให้คนอื่นไปทำต่อโดยไม่สรุปมั่วๆครับ
นายแพทย์สุธิต คุณประดิษฐ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรม(ระดับ 10) สาขาสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน ได้วิจารณ์ว่า
“TDRI น่าจะต้องศึกษาเรื่อง MMR ให้มากกว่านี้ครับ ต้องศึกษา MMR ของกรมอนามัยที่รายงาน MMR เท่ากับ 32:100,000 การเกิดมีชีพ ในปี 2556 มีรายละเอียดดีมากกว่า TDRI อีกครับ มีรายละเอียดระบุสาเหตุ ทั้ง direct และ indirect cause และรายละเอียดอื่น/ หากจะทำรายงานควรจะ Review literature ให้ complete ครับ”
นายแพทย์จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์โรคมะเร็ง วิจารณ์ว่า
ยิ่งพอไปดูเนื้อหา แล้วเจอว่า วิธีการทางระบาดวิทยาผิดชัดเจน ผมว่าไม่ได้การแล้ว เราต้องรับผิดชอบสังคมบ้าง ด้วยการท้วงสิ่งผิดป้องกัน การนำพาไปสู่หายนะทางนโยบายสุขภาพเพราะ การวิจัยที่มีปัญหาจริยธรรมและมาตรฐาน ซึ่ง Mislead National Policy ยิ่งเป็น การให้ทุนโดย สสส. ภายใต้ สปสช. ก็ยิ่งเป็นการทำผิดกฎหมาย ทำให้รัฐเสียหาย ทางต้นสังกัด ต้องชี้แจง และ ปปช. ควรเข้าตรวจสอบการใช้งบประมาณด้วยซ้ำ ถามว่า ผู้วิจัย เรื่องนี้ และ ประธาน TDRI กล้ารับการตรวจสอบจากกรรมการกลาง และ แสดงความรับผิดชอบ มั้ย?
อาจารย์นายแพทย์ ดร. สกล สิงหะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้วิจารณ์ว่า
การแปลผลระดับนี้ ต้องแปลแบบ academic จะแปลแบบ casual นั่งคุยกันข้างโต๊ะอาหารไม่ได้ เพราะบริบทขององค์กร TDRI เป็น ultra-academic ระดับผลักดันนโยบายประเทศ การบอกว่าอะไรใช่อะไรไม่ใช่มีผลกระทบมากมาย ไม่ควรจะชิวๆบอกว่าหมอ "มักจะ" โน่นนี่นั่น คนไข้ "มักจะ" โน่นนี่นั่น ยิ่งวลีอย่าง "หมอส่วนใหญ่" นั้นค่อนข้างจะ unprofessional เอามากๆ ผมไม่ชอบที่คนทำวิจัยวิพากษ์คนอื่นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม อย่าง casual มากเหลือเกิน
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ราชบัณฑิต และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ได้กล่าวว่า
“อยากรู้ว่างานวิจัยชิ้นนี้ได้เงินทุนวิจัยไปเท่าไหร่”