ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.แนะรัฐปฏิรูปเศรษฐกิจไทยลดพึ่งพิงการส่งออกจาก 70% ของGDP เหลือ 50% เร่งรัฐลงทุน ดูแลท่องเที่ยว และการบริโภคภาคครัวเรือนให้มากขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากศก.โลก ตั้งความหวัง”สมคิด”ทยอยคลอดมาตรการดูแลพลิกศก.ครึ่งปีหลังดีขึ้นต่อเนื่องถึงปี 2559
ย้ำประชานิยมในสินค้าเกษตรเลิกทันทีไม่ได้เพราะทำกันมานานเกินแต่ต้องค่อยๆ ปรับเป็นโซนนิ่ง พร้อมหนุนดิจิทัลอีโคโนมี
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการส่งออกคิดเป็น 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP เมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเศรษฐกิจไทยย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงดังนั้นไทยต้องพึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศให้มากขึ้นทั้งการลงทุนจากภาครัฐ และเอกชน การท่องเที่ยว
และการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน เพื่อลดสัดส่วนการส่งออกให้เหลือ 50% ของ GDP เพื่อดูแลเศรษฐกิจไทยในระยะยาวให้มีความมั่นคงมากขึ้น
“เวลานี้ฐานะการเงินเราดีมากมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 1.57 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หนี้สาธารณะเหลือไม่ถึง 40% ของGDP เปรียบประเทศเป็นบริษัทตอนนี้เรายังมีเงินแต่ขายของไม่ได้เราต้องเลี้ยงพนักงานไว้พอเศรษฐกิจมาก็จะไปได้เองแต่ไม่ใช่ไปเรียกเก็บภาษีนั่นนี่ยิ่งเลวร้ายไปใหญ่นั่นคือทำอย่างไรให้เศรษฐกิจข้างในขับเคลื่อนเพราะเวลานี้คือสินค้าเกษตรตกต่ำ รายได้เกษตรกรลดลงมากคนกลุ่มนี้ไม่มีเงินจับจ่ายแล้วก็กระทบไปยังเอสเอ็มอีต่อเนื่อง”นายสุพันธุ์กล่าว
ทั้งนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจมีนโยบายชัดเจนที่จะเข้ามาดูแลภาคการเกษตรและ เอสเอ็มอี เช่นมีกไลไกจากเงินกองทุนหมู่บ้านเข้ามาดำเนินการ ตลอดจนด้านโครงสร้างภาษีเอสเอ็มอีที่ส.อ.ท.ได้เสนอไปแล้ว ขณะที่การลงทุนก็กำลังปรับปรุงมาตรการจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ให้ดียิ่งขึ้นหากดำเนินการทั้งหมด เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะค่อยๆ ฟื้นตัวและจะต่อเนื่องไปถึงปี 2559
นายสุพันธุ์กล่าวว่า คาดว่าครม.จะเริ่มทยอยออกมาตรการดูแลเศรษฐกิจภายในประเทศออกมาซึ่งหลายคนอาจมองว่าบางมาตรการจะเข้าข่ายประชานิยมส.อ.ท.ยืนยันว่า ไม่ได้เห็นด้วยกับประชานิยมแต่จำเป็นจะต้องค่อยๆ เลิกและปรับใหม่เพราะไทยเสพติดมานานโดยเฉพาะภาคเกษตรที่มั้งระบบประกัน และจำนำ โดยต้องแบ่งโซนเพาะปลูกหากอยู่นอกโซนก็ไม่ดูแลแล้วค่อยๆ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ก็จะทำให้สามารถคาดการณ์ผลผลิตแต่ละชนิดพอที่รัฐจะประเมินเงินช่วยเหลือดูแลช่วงสินค้าตกต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยขณะนี้สินค้าเกษตรหลักที่รัฐต้องเข้ามาดูคือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลังและอ้อย
“เราต้องแก้ระยะสั้น และมองระยะยาวกรณีดิจิทัลอีโคโนมี จำเป็นจะต้องมี ไวไฟ มี 4G ทิศทางอุตสาหกรรมไปทางนี้หมดอีกหน่อยจะชิฟไปอย่างรุนแรง ต้องลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆให้รองรับไว้”นายสุพันธุ์กล่าว
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ครึ่งปีหลังแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมไทยจะฟื้นตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรกตามทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัวและปี 2559 ภาพรวมขณะนี้จะดีกว่าปี 2558 เพราะเศรษฐกิจโลกภาพรวมจะทยอยฟื้นตัว แต่ขณะนี้มีปัจจัยที่ต้องติดตามโดยเฉพาะราคาน้ำมันตลาดโลกว่าถึงจุดต่ำสุดหรือยังถ้ายังจะมีผลต่อการชะลอคำสั่งซื้อเพื่อลดการขาดทุนสต็อก นอกจากนี้สิ่งที่ยังกังวลคือ ปัญหาการค้ามนุษย์และการกระทำประมงผิดกฏหมาย(IUU Fishing) และสหรัฐฯคงอันดับไทยในเทียร์ 3 ในรายงานการค้ามนุษย์หรือ TIP ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกหากไม่เร่งแก้
“จากที่เช็คภาคอุตสาหกรรมหลักๆ 11 อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าส่งออกสูงก็พบว่าส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่ดีกว่าครึ่งปีแรกและหลายอุตฯอยู่ในช่วงต่ำสุดแล้วเช่น ยานยนต์ ปีหน้าก็จะดีขึ้น สิ่งทอก็เช่นกัน “นายเจนกล่าว
ย้ำประชานิยมในสินค้าเกษตรเลิกทันทีไม่ได้เพราะทำกันมานานเกินแต่ต้องค่อยๆ ปรับเป็นโซนนิ่ง พร้อมหนุนดิจิทัลอีโคโนมี
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการส่งออกคิดเป็น 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP เมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเศรษฐกิจไทยย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงดังนั้นไทยต้องพึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศให้มากขึ้นทั้งการลงทุนจากภาครัฐ และเอกชน การท่องเที่ยว
และการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน เพื่อลดสัดส่วนการส่งออกให้เหลือ 50% ของ GDP เพื่อดูแลเศรษฐกิจไทยในระยะยาวให้มีความมั่นคงมากขึ้น
“เวลานี้ฐานะการเงินเราดีมากมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 1.57 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หนี้สาธารณะเหลือไม่ถึง 40% ของGDP เปรียบประเทศเป็นบริษัทตอนนี้เรายังมีเงินแต่ขายของไม่ได้เราต้องเลี้ยงพนักงานไว้พอเศรษฐกิจมาก็จะไปได้เองแต่ไม่ใช่ไปเรียกเก็บภาษีนั่นนี่ยิ่งเลวร้ายไปใหญ่นั่นคือทำอย่างไรให้เศรษฐกิจข้างในขับเคลื่อนเพราะเวลานี้คือสินค้าเกษตรตกต่ำ รายได้เกษตรกรลดลงมากคนกลุ่มนี้ไม่มีเงินจับจ่ายแล้วก็กระทบไปยังเอสเอ็มอีต่อเนื่อง”นายสุพันธุ์กล่าว
ทั้งนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจมีนโยบายชัดเจนที่จะเข้ามาดูแลภาคการเกษตรและ เอสเอ็มอี เช่นมีกไลไกจากเงินกองทุนหมู่บ้านเข้ามาดำเนินการ ตลอดจนด้านโครงสร้างภาษีเอสเอ็มอีที่ส.อ.ท.ได้เสนอไปแล้ว ขณะที่การลงทุนก็กำลังปรับปรุงมาตรการจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ให้ดียิ่งขึ้นหากดำเนินการทั้งหมด เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะค่อยๆ ฟื้นตัวและจะต่อเนื่องไปถึงปี 2559
นายสุพันธุ์กล่าวว่า คาดว่าครม.จะเริ่มทยอยออกมาตรการดูแลเศรษฐกิจภายในประเทศออกมาซึ่งหลายคนอาจมองว่าบางมาตรการจะเข้าข่ายประชานิยมส.อ.ท.ยืนยันว่า ไม่ได้เห็นด้วยกับประชานิยมแต่จำเป็นจะต้องค่อยๆ เลิกและปรับใหม่เพราะไทยเสพติดมานานโดยเฉพาะภาคเกษตรที่มั้งระบบประกัน และจำนำ โดยต้องแบ่งโซนเพาะปลูกหากอยู่นอกโซนก็ไม่ดูแลแล้วค่อยๆ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ก็จะทำให้สามารถคาดการณ์ผลผลิตแต่ละชนิดพอที่รัฐจะประเมินเงินช่วยเหลือดูแลช่วงสินค้าตกต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยขณะนี้สินค้าเกษตรหลักที่รัฐต้องเข้ามาดูคือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลังและอ้อย
“เราต้องแก้ระยะสั้น และมองระยะยาวกรณีดิจิทัลอีโคโนมี จำเป็นจะต้องมี ไวไฟ มี 4G ทิศทางอุตสาหกรรมไปทางนี้หมดอีกหน่อยจะชิฟไปอย่างรุนแรง ต้องลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆให้รองรับไว้”นายสุพันธุ์กล่าว
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ครึ่งปีหลังแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมไทยจะฟื้นตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรกตามทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัวและปี 2559 ภาพรวมขณะนี้จะดีกว่าปี 2558 เพราะเศรษฐกิจโลกภาพรวมจะทยอยฟื้นตัว แต่ขณะนี้มีปัจจัยที่ต้องติดตามโดยเฉพาะราคาน้ำมันตลาดโลกว่าถึงจุดต่ำสุดหรือยังถ้ายังจะมีผลต่อการชะลอคำสั่งซื้อเพื่อลดการขาดทุนสต็อก นอกจากนี้สิ่งที่ยังกังวลคือ ปัญหาการค้ามนุษย์และการกระทำประมงผิดกฏหมาย(IUU Fishing) และสหรัฐฯคงอันดับไทยในเทียร์ 3 ในรายงานการค้ามนุษย์หรือ TIP ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกหากไม่เร่งแก้
“จากที่เช็คภาคอุตสาหกรรมหลักๆ 11 อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าส่งออกสูงก็พบว่าส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่ดีกว่าครึ่งปีแรกและหลายอุตฯอยู่ในช่วงต่ำสุดแล้วเช่น ยานยนต์ ปีหน้าก็จะดีขึ้น สิ่งทอก็เช่นกัน “นายเจนกล่าว