โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
อดีตกาลไม่นานมานี้ มักได้ยินคำเหล่านี้บ่อยๆ... “ไปไสพวกเพ่อเว่อร์”... “มาแต่ไสพวกเพ่อเว่อร์”... “บักเพ่อเว่อร์”... “เฒ่าเพ่อเว่อร์”... “ผอ.เพ่อเว่อร์”... “นายกฯ เพ่อเว่อร์” ฯลฯ
“เพ่อ” เป็นคำอีสานตรงกับคำไทยกลางว่า “เพ้อ” แปลว่า...อาการแสดงออกขณะไม่มีสติครอง หรือสติน้อยมาก เช่น บ่นเพ้อ, เพ้อคลั่ง, เพ้อฝัน, เพ้อเจ้อ ฯลฯ
“เว่อร์” ตัดมาจากภาษาอังกฤษ Over แปลว่า เกินเหตุ, เกินจริง, เกินสมควร, มากเกินไป
เว่อร์สมัยนี้จะเข้าใจดีกับวลีที่ว่า...แซ่บเวอร์ สวยเว่อร์ หล่อเว่อร์ แต่งตัวเว่อร์ เฟซเว่อร์ ไลน์เว่อร์ ฯลฯ
คนเรามีสองประเภท คือ คนพอดี กับคนไม่พอดี คนไม่พอดีนี่แหละคือคน “เพ่อเว่อร์”
สังคมเพ่อเว่อร์
วันนี้ขอเล่นคำไทยปนลาวปนฝรั่งสักหน่อย (ไทย+อีสาน+อังกฤษ) ประเทศชาติแม้จะมีอาณาเขตมีพรมแดนแน่นอน แต่มันก็เป็นโลกไร้พรมแดนตามกระแสโลก ภาษาจึงปนเปกันไปบ้างเป็นธรรมดา
“รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน-ไม่รู้จักพอก่อทุกข์ทุกเวลา” มอตโตนี้ยังใช้ได้อยู่ เพราะใช้ดูหรือส่องสังคมได้ว่าเป็นอย่างไร? อีนาฟ (Enough) ไหม? โอเว่อร์ (Over) ไหม? จะได้แก้ไขได้ถูกต้อง
สังคมเพ่อเว่อร์ คือสังคมเกินพอดี ไม่ว่าจะคิดจะทำอะไรกันมากเกิน มีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย อวดร่ำอวดรวย กินทิ้งกินขว้าง กินบ้านกินเมือง กินคอมมิชชัน ฯลฯ
กินกันแบบ “ไม่รู้อิ่มไม่รู้พอ” ตามกระแส “บริโภคนิยม”
มีนิทานเรื่องหนึ่ง เตือนสติได้ดี...
“หมาจิ้งจอกโง่ตัวหนึ่ง ได้พบกรงไก่ จึงพยายามจะสอดตัวเองผ่านซี่กรงเข้าไป แต่เพราะตัวเองอ้วนเกินไป จะสอดยังไงก็สอดไม่เข้า ก็เลยใช้วิธีการอดอาหาร 3 วัน ให้ลำตัวเล็กลง จนสามารถลอดลำตัวเข้าไปได้ในที่สุด แต่พอหลังจากกินไก่อิ่มแปล้แล้ว ลำตัวพองขึ้น ไม่สามารถจะออกจากกรงได้ ก็เลยต้องเริ่มอดอาหารอีก 3 วัน จึงออกจากกรงได้ในที่สุด เหตุการณ์นี้หมาจิ้งจอกคิดได้ จึงปลงสังเวชกับความโง่ของตัวเอง ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ เป็นเพราะความอยากของปาก ที่แท้แล้วก็เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์”
นิทานเรื่องนี้เป็นกระจกส่องตัวเอง และส่องสังคมได้อย่างดี...ถ้าท่านไปโรงพยาบาลจะพบผู้ป่วยจำนวนมากอ้วนตุ้ยนุ้ยน่ารักเหมือนหมู อันเป็นผลมาจากเหตุอยู่ดีกินดีเกินไป เลยเกิดโรคต่างๆ หมอก็ให้ยามาบำรุงรักษาคราวละเกือบหมื่นบาท สองสามเดือนพบหมอครั้ง ในขณะที่ชาวบ้านอยู่อดๆ อยากๆ ร่างกายซูบผอมแต่แข็งแรง ไม่เคยไปหาหมอ ยังทำมาหากินได้สบาย อาหารก็พื้นๆ น้ำพริกกับผักเป็นส่วนมาก นานๆ จะมีงานบุญจึงได้กินหมูเห็ดเป็ดไก่
สังคมบริโภคนิยมหรือสังคมเพ่อเว่อร์ ต้องอาศัยคนอื่น มีเงินจึงจะได้อยู่ได้กิน ตรงกันข้ามกับสังคมพอเพียงที่มีอยู่มีกินเลี้ยงตัวเองได้ พึ่งตัวเองได้ อยู่กับธรรมชาติจึงฉลาดทำอยู่ทำกิน
คำว่า “พอ” ก็คือ “สันโดษ”
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า... “สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ-ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง” คือเป็นทรัพย์ทางใจ เมื่อมีสันโดษก็รู้สึกว่าตัวเราร่ำรวยอยู่เสมอ ไม่จนเลย
สันโดษ คือความพอใจในสิ่งที่ทำอยู่ มีอยู่ เป็นอยู่ ได้อยู่ คนเราที่มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ ไม่เป็นบ้าไป ก็เพราะมีสันโดษ ถ้าไม่มีความพอใจบ้าง ก็จะรู้สึกกลุ้มอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดก็จะกลายเป็นโรคประสาท
คนสันโดษ จะมีอาการแห่งความยินดี อิ่ม พอ สดชื่น แจ่มใส สนุกในการทำงาน และการเป็นอยู่ ถ้าไม่มีสันโดษโดยสิ้นเชิง โลกนี้ก็จะเต็มไปด้วยคนบ้า หรือตกนรกทั้งเป็น เพราะมีแต่ความหิวอยู่ตลอดเวลา
แม้จะเป็นเศรษฐีระดับไหนของโลก หากขาดสิ้นสันโดษแล้ว ก็จะเป็นยาจกเข็ญใจอยู่ท่ามกลางกองมหาสมบัตินั่นเอง
ตามใจปากจะเป็นหมู ตามใจกูจะลำบาก ไม่เชื่อก็ลองเป็นหมูดู แล้วจะรู้สึก!
สังคมเพ่อเว่อร์พื้นๆ ที่พบเห็นดาษดื่น เช่น การแต่งตัวตามแฟชั่น เป็นต้น ดีไซเนอร์ เขาออกแบบมาอย่างไร ก็วิ่งงับกันเลย เดี๋ยวนี้สั้นจนเห็นแก้มก้น เดี๋ยวก็ฟิตรัดรูปจนสวมใส่ต้องอาศัยผู้ช่วย เดี๋ยวก็หลวมบานลากดินเป็นไม้กวาด เดี๋ยวก็สักตรงโน้นตรงนี้ เจาะหูเจาะจมูกไปทั่ว ฯลฯ อย่างนี้ไม่เรียกเพ่อเว่อร์แล้วจะให้เรียกอะไร?
เพื่อให้เห็นสังคมเพ่อเว่อร์ชัดขึ้น ขอนำคำบรรยายของ “สิริวรุณ” ในหนังสือ “จิตตานุภาพ” มาเป็นกระจกเงา สะท้อนวิถีสังคมให้ชมกัน...
...เนื่องจากอวิชชาทำให้ความรู้สึกว่า ตัวตนมีอยู่จริง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ชีวิตเป็นแค่กระแสของเหตุปัจจัยที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท เขาผู้มีความหลงผิดเหล่านั้น ก็ไม่อาจเห็นสัจธรรมของการเกิดความทุกข์ได้ ได้แต่เงี่ยหูฟังด้วยศรัทธาเท่านั้น ถ้าต้องการรู้สัจธรรม ต้องเริ่มต้นด้วยการใช้ไตรสิกขา (ทาน ศีล ภาวนา) เป็นเครื่องมือ ผู้รู้ท่านแจกแจงการทำบุญได้ง่ายๆ เป็นสิบข้อ ข้อที่สิบคือ การทำความเห็นให้ตรง เพื่ออะไรเล่า ตอบว่า เพื่อลดความวิปัลลาส ภายในจิต วิปัลลาส 4 คือ สภาวะของมนุษย์ผู้หลงผิด ตอบสนองต่อปรากฏการณ์ตรงหน้า อย่างตรงข้ามกับสัจธรรม ดังต่อไปนี้...
1. สิ่งที่ไม่งาม มีแต่ปฏิกูล กลับมองเห็นว่างาม (เช่น ร่างกาย เป็นต้น)
2. สิ่งที่ไม่เที่ยง กลับเห็นว่าเที่ยง (เช่น สมาร์ทโฟน และเครื่องเทคโนโลยีทุกชนิด)
3.สิ่งที่เป็นทุกข์ กลับเห็นว่าเป็นสุข (เช่น การมีลูก หรือการแต่งงาน หรือการรับตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบคนอื่นอย่างมาก)
4. สิ่งที่เป็นอนัตตา กลับเห็นว่าเป็นอัตตา (เช่น แฟชั่นทุกชนิด ความทันสมัยทุกเรื่อง)
เพราะวิปัลลาส 4 นี่เอง จึงทำเรื่องสุดโต่งอย่างไม่กลัวทุกข์ เช่น เล่นกีฬาอย่างสุดโต่ง เชียร์กีฬาอย่างสุดโต่ง ชอบดาราสุดโต่ง แต่งกายเซ็กซี่สุดโต่ง ทำบ้าๆ บอๆ สุดโต่ง ฯลฯ ลดวิปัลลาส 4 ลงเสียบ้างก็ไม่ต้องพยายามทำบ้าๆ เพื่อให้มีชื่อลงกินเนสส์บุ๊ค ไม่ต้องหลงกินสเต็กมื้อละหมื่นบาท ไม่ต้องชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนม (เงินทั้งหมดมีมูลค่าที่ตราสนูปปี้ ตราคิตตี้บ้าๆ ทุกเรื่อง) ไม่ต้องจัดงานแต่งงานพิสดารเหลือบรรยาย ไม่ต้องแสดงความน่ารักจนเฟ้อ ถ้าเห็นว่าตัวอย่างดังกล่าวเป็นวิปัลลาสของมนุษย์จริงหนอ จึงจะมองเห็นว่า การจัดงานวิชาการสุดโต่ง การจัดงานบุญสุดโต่ง การจัดงานเปิดการกีฬาสุดโต่ง ฯลฯ และ ฯลฯ ก็วิปัลลาสเช่นกัน แค่ลดวิปัลลาส 4 กันคนละนิด โลกก็จะเย็นลงทันที ปัญหาทุกชนิดลดลงมหาศาล แต่ท่านเชื่อในพลังของบุญกิริยาวัตถุ 10 แต่ยังเข้านิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ ความมีชีวิตร่มเย็นเป็นสุขก็จะเกิดได้ไม่ยาก...
มักเห่อนอกตน
นอกตนในที่นี้หมายถึง อายตนะ 6 หรืออารมณ์ 6 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส ธรรมารมณ์ เรียกอีกอย่างว่า “โลก” เห่อนอกตนก็คือเห่อโลก
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนไว้ว่า...
จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจาก จิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิต เป็นมรรค
ผลอันเกิดจาก จิตเห็นจิต เป็นนิโรธ
เป็นหลักธรรมคำสอนที่อธิบายอริยสัจ 4 ได้อย่างชัดแจ้งแทงตลอด อีกองค์หนึ่ง
อายตนะภายนอก เราห้ามไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ แต่อายตนะภายในพอห้ามได้ พอคุมได้ ถ้ามีสติรู้ทัน ถ้าเผลอออกไปจริงๆ เกิดกระทบหรือผัสสะกันขึ้น เช่น จักขุผัสสะ (ตา+รูป+วิญญาณ = จักขุผัสสะไปเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ อวิชชา) ถ้าเป็นสังคมพอเพียงก็จะเล่นกันพอประมาณ หากเป็นสังคมเพ่อเว่อร์ก็จะเล่นกันสุดลิ่มทิ่มประตู เกินร้อย กระทบเมื่อใด หมุนติ้วเลย ก็ของมันมัก มันชอบอยู่แล้ว
ในตนไม่สน
ในตนก็คืออายตนะภายในหก หรืออินทรีย์หก เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น ได้แก่...ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายใน 6 นี้ ก็คือ รูปกับนาม (รูป = ตา หู จมูก ลิ้น กาย, นาม = ใจ) หรือขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (รูป คือ กาย, เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ ใจหรือนาม)
จิตเห็นจิต ก็คือดูให้เห็นอายตนะภายใน 6 เห็นรูปนาม เห็นกายใจนี่เอง ซึ่งเป็นมรรคเป็นวิธีในการปฏิบัติ ผลจากมรรคก็จะเป็นนิโรธ คือความดับทุกข์นั่นแล
คนเราประกอบด้วยสองส่วน คือรูปกับนาม หรือกายกับใจ “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ใจเป็นใหญ่ ใจนำหน้า ใจอย่างไร กายก็อย่างนั้น หัวไม่ส่าย หางไม่กระดิก ทำนองนั้นล่ะ
ที่คนส่วนมากไหลไปตามกระแสเพ่อเว่อร์ เพราะเขาไม่รู้ไม่เห็นว่า ภายในตนนั้น มีสาระ มีแก่น มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ เขาเลยกลายเป็นคนประเภทเห็นสิ่งไร้สาระ ว่าเป็นสาระ เห็นสิ่งสาระ ว่าไร้สาระ เขามีความคิดผิดเสียแล้ว ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
มีของดีอยู่กับตนแท้ๆ กลับกระเสือกกระสนไปหาที่อื่น โง่หรือฉลาดก็ดูเองเถิด
มากล้นมายา
โลกคือมายา โลกคือการหลอกลวง เราประพฤติปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด ศีล 5 มิให้ขาดแม้แต่ข้อเดียวในทุกๆ วัน ศีล 8 ก็ครบทุกข้อในวันพระ บุญกุศลก็บำเพ็ญเป็นนิจ แล้วอย่างนี้ยังจะกล่าวหาฉันว่าเป็นผู้หลอกลวงอยู่หรือ
ตราบใดที่ท่านมีวิถีชีวิตตามแบบโลกียธรรม ท่านยังเป็นผู้หลอกลวงอยู่ นอกเสียจากท่านจะมีวิถีจิตแบบโลกุตตรธรรม ท่านจึงจะพ้นจากคำว่าหลอกลวง
เนื่องเพราะโลกียธรรม...เป็นสมบัติของสัตว์ที่ยังมีตัวตน ซึ่งจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งที่เป็นคู่ อันเป็นของมีอยู่ประจำโลก และเป็นที่ตั้งแห่งมิจฉาทิฏฐิ กิเลส หรือความเห็นแก่ตัวแทบทุกชนิด
เนื่องเพราะโลกุตตรธรรม...อยู่เหนือความหมายแห่งความเป็นคู่ทุกชนิด ที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นอสังขตธรรม ไม่มีปัจจัยปรุง หรือปรุงไม่ได้ ไม่หมุนเวียน ไม่มีการเกิดดับ อยู่เหนือปัญหา เหนือทุกข์ทั้งสิ้นในโลกทั้งปวง
ดังนั้น วิถีผู้คนจึงแตกต่างกันไป แบบโลกียธรรมมากมายดาษดื่น การโกหกหลอกลวง แม้จะเป็นวิถีของคนบาป แต่เรตติ้งก็ครองแชมป์ไม่เคยล่วง ส่วนจิตใจผ่องใสแบบโลกุตตรธรรม ยากจะหยั่งถึงเพราะคนรู้จริง ถึงจริง เขาไม่พูดอะไร เพราะสิ่งนั้นมันเหนือถ้อยคำ
ก็ได้แต่เดากันไป ปรุงแต่งกันไป ตามกระแสโลกีย์
“สังคมเพ่อเว่อร์
มักเห่อนอกตน
ในตนไม่สน
มากล้นมายา”
บทความวันนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นสังคมพอเพียง หรือสังคมเพ่อเว่อร์ ไม่ว่าคุณจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระ ขอจบด้วยคำสอนสะท้านจักรวาลของธรรมาจารย์ รศ.ดร.ไพเราะ ทิพยทัศน์ ณ สถานปฏิบัติธรรม อาศรมมาตา ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา...
เพื่อการบรรลุธรรม ที่นี่และเดี๋ยวนี้ จังหวะและโอกาสในการบรรลุธรรม จะเกิดกับใครก็ได้ที่สามารถเห็นแจ้งชัดด้วยตนเองว่า
“Know, Known ไม่เคยแยกกัน ไม่ต่างอะไรกับน้ำบริสุทธิ์ และน้ำเจือสีทุกชนิด”
“อย่าติด อย่าโยนทิ้ง อย่าหยุดอยู่ คือทางสายกลางที่อยู่ได้กับทุกปรากฏการณ์ของโลกาภิวัตน์”
“คารวะธรรม คือคารวะตน อัศจรรย์ในความรู้สึกภายในตน นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้จะผุดบังเกิด”
“เห็นทุกปรากฏการณ์เป็นเช่นนั้นเอง กรรมจะอยู่ข้างหลัง นิพพานก็แจ้งชัดต่อหน้า”
“เหนือเงื่อนไข นิพพานธรรม อมตนิรันดร์อยู่กับจิตตลอดกาล” ไม่ว่าจะเป็นจิตสัตว์นรกก็ตามที
“ในใจกลางเตาหลอมเหล็ก คือจุดเย็นของนิพพาน” ดังนั้น สัตว์นรกก็จะบรรลุธรรมได้ ถ้าพ้นวิบากกรรม
นั่นคือ...คำที่เป็นปริศนาธรรมที่เราควรขบคิด ขบแตก ขบไม่แตก ก็จะได้รู้จักตัวเองว่าเป็นอย่างไร...สิ่งบางอย่าง คิดเท่าไรก็ไม่รู้ พอหยุดคิด สิ่งบางอย่างนั้นก็ผุดขึ้น จึงได้รู้ แต่ก็อาศัยความคิดนั่นแหละ จึงรู้
อดีตกาลไม่นานมานี้ มักได้ยินคำเหล่านี้บ่อยๆ... “ไปไสพวกเพ่อเว่อร์”... “มาแต่ไสพวกเพ่อเว่อร์”... “บักเพ่อเว่อร์”... “เฒ่าเพ่อเว่อร์”... “ผอ.เพ่อเว่อร์”... “นายกฯ เพ่อเว่อร์” ฯลฯ
“เพ่อ” เป็นคำอีสานตรงกับคำไทยกลางว่า “เพ้อ” แปลว่า...อาการแสดงออกขณะไม่มีสติครอง หรือสติน้อยมาก เช่น บ่นเพ้อ, เพ้อคลั่ง, เพ้อฝัน, เพ้อเจ้อ ฯลฯ
“เว่อร์” ตัดมาจากภาษาอังกฤษ Over แปลว่า เกินเหตุ, เกินจริง, เกินสมควร, มากเกินไป
เว่อร์สมัยนี้จะเข้าใจดีกับวลีที่ว่า...แซ่บเวอร์ สวยเว่อร์ หล่อเว่อร์ แต่งตัวเว่อร์ เฟซเว่อร์ ไลน์เว่อร์ ฯลฯ
คนเรามีสองประเภท คือ คนพอดี กับคนไม่พอดี คนไม่พอดีนี่แหละคือคน “เพ่อเว่อร์”
สังคมเพ่อเว่อร์
วันนี้ขอเล่นคำไทยปนลาวปนฝรั่งสักหน่อย (ไทย+อีสาน+อังกฤษ) ประเทศชาติแม้จะมีอาณาเขตมีพรมแดนแน่นอน แต่มันก็เป็นโลกไร้พรมแดนตามกระแสโลก ภาษาจึงปนเปกันไปบ้างเป็นธรรมดา
“รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน-ไม่รู้จักพอก่อทุกข์ทุกเวลา” มอตโตนี้ยังใช้ได้อยู่ เพราะใช้ดูหรือส่องสังคมได้ว่าเป็นอย่างไร? อีนาฟ (Enough) ไหม? โอเว่อร์ (Over) ไหม? จะได้แก้ไขได้ถูกต้อง
สังคมเพ่อเว่อร์ คือสังคมเกินพอดี ไม่ว่าจะคิดจะทำอะไรกันมากเกิน มีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย อวดร่ำอวดรวย กินทิ้งกินขว้าง กินบ้านกินเมือง กินคอมมิชชัน ฯลฯ
กินกันแบบ “ไม่รู้อิ่มไม่รู้พอ” ตามกระแส “บริโภคนิยม”
มีนิทานเรื่องหนึ่ง เตือนสติได้ดี...
“หมาจิ้งจอกโง่ตัวหนึ่ง ได้พบกรงไก่ จึงพยายามจะสอดตัวเองผ่านซี่กรงเข้าไป แต่เพราะตัวเองอ้วนเกินไป จะสอดยังไงก็สอดไม่เข้า ก็เลยใช้วิธีการอดอาหาร 3 วัน ให้ลำตัวเล็กลง จนสามารถลอดลำตัวเข้าไปได้ในที่สุด แต่พอหลังจากกินไก่อิ่มแปล้แล้ว ลำตัวพองขึ้น ไม่สามารถจะออกจากกรงได้ ก็เลยต้องเริ่มอดอาหารอีก 3 วัน จึงออกจากกรงได้ในที่สุด เหตุการณ์นี้หมาจิ้งจอกคิดได้ จึงปลงสังเวชกับความโง่ของตัวเอง ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ เป็นเพราะความอยากของปาก ที่แท้แล้วก็เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์”
นิทานเรื่องนี้เป็นกระจกส่องตัวเอง และส่องสังคมได้อย่างดี...ถ้าท่านไปโรงพยาบาลจะพบผู้ป่วยจำนวนมากอ้วนตุ้ยนุ้ยน่ารักเหมือนหมู อันเป็นผลมาจากเหตุอยู่ดีกินดีเกินไป เลยเกิดโรคต่างๆ หมอก็ให้ยามาบำรุงรักษาคราวละเกือบหมื่นบาท สองสามเดือนพบหมอครั้ง ในขณะที่ชาวบ้านอยู่อดๆ อยากๆ ร่างกายซูบผอมแต่แข็งแรง ไม่เคยไปหาหมอ ยังทำมาหากินได้สบาย อาหารก็พื้นๆ น้ำพริกกับผักเป็นส่วนมาก นานๆ จะมีงานบุญจึงได้กินหมูเห็ดเป็ดไก่
สังคมบริโภคนิยมหรือสังคมเพ่อเว่อร์ ต้องอาศัยคนอื่น มีเงินจึงจะได้อยู่ได้กิน ตรงกันข้ามกับสังคมพอเพียงที่มีอยู่มีกินเลี้ยงตัวเองได้ พึ่งตัวเองได้ อยู่กับธรรมชาติจึงฉลาดทำอยู่ทำกิน
คำว่า “พอ” ก็คือ “สันโดษ”
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า... “สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ-ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง” คือเป็นทรัพย์ทางใจ เมื่อมีสันโดษก็รู้สึกว่าตัวเราร่ำรวยอยู่เสมอ ไม่จนเลย
สันโดษ คือความพอใจในสิ่งที่ทำอยู่ มีอยู่ เป็นอยู่ ได้อยู่ คนเราที่มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ ไม่เป็นบ้าไป ก็เพราะมีสันโดษ ถ้าไม่มีความพอใจบ้าง ก็จะรู้สึกกลุ้มอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดก็จะกลายเป็นโรคประสาท
คนสันโดษ จะมีอาการแห่งความยินดี อิ่ม พอ สดชื่น แจ่มใส สนุกในการทำงาน และการเป็นอยู่ ถ้าไม่มีสันโดษโดยสิ้นเชิง โลกนี้ก็จะเต็มไปด้วยคนบ้า หรือตกนรกทั้งเป็น เพราะมีแต่ความหิวอยู่ตลอดเวลา
แม้จะเป็นเศรษฐีระดับไหนของโลก หากขาดสิ้นสันโดษแล้ว ก็จะเป็นยาจกเข็ญใจอยู่ท่ามกลางกองมหาสมบัตินั่นเอง
ตามใจปากจะเป็นหมู ตามใจกูจะลำบาก ไม่เชื่อก็ลองเป็นหมูดู แล้วจะรู้สึก!
สังคมเพ่อเว่อร์พื้นๆ ที่พบเห็นดาษดื่น เช่น การแต่งตัวตามแฟชั่น เป็นต้น ดีไซเนอร์ เขาออกแบบมาอย่างไร ก็วิ่งงับกันเลย เดี๋ยวนี้สั้นจนเห็นแก้มก้น เดี๋ยวก็ฟิตรัดรูปจนสวมใส่ต้องอาศัยผู้ช่วย เดี๋ยวก็หลวมบานลากดินเป็นไม้กวาด เดี๋ยวก็สักตรงโน้นตรงนี้ เจาะหูเจาะจมูกไปทั่ว ฯลฯ อย่างนี้ไม่เรียกเพ่อเว่อร์แล้วจะให้เรียกอะไร?
เพื่อให้เห็นสังคมเพ่อเว่อร์ชัดขึ้น ขอนำคำบรรยายของ “สิริวรุณ” ในหนังสือ “จิตตานุภาพ” มาเป็นกระจกเงา สะท้อนวิถีสังคมให้ชมกัน...
...เนื่องจากอวิชชาทำให้ความรู้สึกว่า ตัวตนมีอยู่จริง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ชีวิตเป็นแค่กระแสของเหตุปัจจัยที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท เขาผู้มีความหลงผิดเหล่านั้น ก็ไม่อาจเห็นสัจธรรมของการเกิดความทุกข์ได้ ได้แต่เงี่ยหูฟังด้วยศรัทธาเท่านั้น ถ้าต้องการรู้สัจธรรม ต้องเริ่มต้นด้วยการใช้ไตรสิกขา (ทาน ศีล ภาวนา) เป็นเครื่องมือ ผู้รู้ท่านแจกแจงการทำบุญได้ง่ายๆ เป็นสิบข้อ ข้อที่สิบคือ การทำความเห็นให้ตรง เพื่ออะไรเล่า ตอบว่า เพื่อลดความวิปัลลาส ภายในจิต วิปัลลาส 4 คือ สภาวะของมนุษย์ผู้หลงผิด ตอบสนองต่อปรากฏการณ์ตรงหน้า อย่างตรงข้ามกับสัจธรรม ดังต่อไปนี้...
1. สิ่งที่ไม่งาม มีแต่ปฏิกูล กลับมองเห็นว่างาม (เช่น ร่างกาย เป็นต้น)
2. สิ่งที่ไม่เที่ยง กลับเห็นว่าเที่ยง (เช่น สมาร์ทโฟน และเครื่องเทคโนโลยีทุกชนิด)
3.สิ่งที่เป็นทุกข์ กลับเห็นว่าเป็นสุข (เช่น การมีลูก หรือการแต่งงาน หรือการรับตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบคนอื่นอย่างมาก)
4. สิ่งที่เป็นอนัตตา กลับเห็นว่าเป็นอัตตา (เช่น แฟชั่นทุกชนิด ความทันสมัยทุกเรื่อง)
เพราะวิปัลลาส 4 นี่เอง จึงทำเรื่องสุดโต่งอย่างไม่กลัวทุกข์ เช่น เล่นกีฬาอย่างสุดโต่ง เชียร์กีฬาอย่างสุดโต่ง ชอบดาราสุดโต่ง แต่งกายเซ็กซี่สุดโต่ง ทำบ้าๆ บอๆ สุดโต่ง ฯลฯ ลดวิปัลลาส 4 ลงเสียบ้างก็ไม่ต้องพยายามทำบ้าๆ เพื่อให้มีชื่อลงกินเนสส์บุ๊ค ไม่ต้องหลงกินสเต็กมื้อละหมื่นบาท ไม่ต้องชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนม (เงินทั้งหมดมีมูลค่าที่ตราสนูปปี้ ตราคิตตี้บ้าๆ ทุกเรื่อง) ไม่ต้องจัดงานแต่งงานพิสดารเหลือบรรยาย ไม่ต้องแสดงความน่ารักจนเฟ้อ ถ้าเห็นว่าตัวอย่างดังกล่าวเป็นวิปัลลาสของมนุษย์จริงหนอ จึงจะมองเห็นว่า การจัดงานวิชาการสุดโต่ง การจัดงานบุญสุดโต่ง การจัดงานเปิดการกีฬาสุดโต่ง ฯลฯ และ ฯลฯ ก็วิปัลลาสเช่นกัน แค่ลดวิปัลลาส 4 กันคนละนิด โลกก็จะเย็นลงทันที ปัญหาทุกชนิดลดลงมหาศาล แต่ท่านเชื่อในพลังของบุญกิริยาวัตถุ 10 แต่ยังเข้านิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ ความมีชีวิตร่มเย็นเป็นสุขก็จะเกิดได้ไม่ยาก...
มักเห่อนอกตน
นอกตนในที่นี้หมายถึง อายตนะ 6 หรืออารมณ์ 6 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส ธรรมารมณ์ เรียกอีกอย่างว่า “โลก” เห่อนอกตนก็คือเห่อโลก
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนไว้ว่า...
จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจาก จิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิต เป็นมรรค
ผลอันเกิดจาก จิตเห็นจิต เป็นนิโรธ
เป็นหลักธรรมคำสอนที่อธิบายอริยสัจ 4 ได้อย่างชัดแจ้งแทงตลอด อีกองค์หนึ่ง
อายตนะภายนอก เราห้ามไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ แต่อายตนะภายในพอห้ามได้ พอคุมได้ ถ้ามีสติรู้ทัน ถ้าเผลอออกไปจริงๆ เกิดกระทบหรือผัสสะกันขึ้น เช่น จักขุผัสสะ (ตา+รูป+วิญญาณ = จักขุผัสสะไปเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ อวิชชา) ถ้าเป็นสังคมพอเพียงก็จะเล่นกันพอประมาณ หากเป็นสังคมเพ่อเว่อร์ก็จะเล่นกันสุดลิ่มทิ่มประตู เกินร้อย กระทบเมื่อใด หมุนติ้วเลย ก็ของมันมัก มันชอบอยู่แล้ว
ในตนไม่สน
ในตนก็คืออายตนะภายในหก หรืออินทรีย์หก เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น ได้แก่...ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายใน 6 นี้ ก็คือ รูปกับนาม (รูป = ตา หู จมูก ลิ้น กาย, นาม = ใจ) หรือขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (รูป คือ กาย, เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ ใจหรือนาม)
จิตเห็นจิต ก็คือดูให้เห็นอายตนะภายใน 6 เห็นรูปนาม เห็นกายใจนี่เอง ซึ่งเป็นมรรคเป็นวิธีในการปฏิบัติ ผลจากมรรคก็จะเป็นนิโรธ คือความดับทุกข์นั่นแล
คนเราประกอบด้วยสองส่วน คือรูปกับนาม หรือกายกับใจ “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ใจเป็นใหญ่ ใจนำหน้า ใจอย่างไร กายก็อย่างนั้น หัวไม่ส่าย หางไม่กระดิก ทำนองนั้นล่ะ
ที่คนส่วนมากไหลไปตามกระแสเพ่อเว่อร์ เพราะเขาไม่รู้ไม่เห็นว่า ภายในตนนั้น มีสาระ มีแก่น มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ เขาเลยกลายเป็นคนประเภทเห็นสิ่งไร้สาระ ว่าเป็นสาระ เห็นสิ่งสาระ ว่าไร้สาระ เขามีความคิดผิดเสียแล้ว ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
มีของดีอยู่กับตนแท้ๆ กลับกระเสือกกระสนไปหาที่อื่น โง่หรือฉลาดก็ดูเองเถิด
มากล้นมายา
โลกคือมายา โลกคือการหลอกลวง เราประพฤติปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด ศีล 5 มิให้ขาดแม้แต่ข้อเดียวในทุกๆ วัน ศีล 8 ก็ครบทุกข้อในวันพระ บุญกุศลก็บำเพ็ญเป็นนิจ แล้วอย่างนี้ยังจะกล่าวหาฉันว่าเป็นผู้หลอกลวงอยู่หรือ
ตราบใดที่ท่านมีวิถีชีวิตตามแบบโลกียธรรม ท่านยังเป็นผู้หลอกลวงอยู่ นอกเสียจากท่านจะมีวิถีจิตแบบโลกุตตรธรรม ท่านจึงจะพ้นจากคำว่าหลอกลวง
เนื่องเพราะโลกียธรรม...เป็นสมบัติของสัตว์ที่ยังมีตัวตน ซึ่งจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งที่เป็นคู่ อันเป็นของมีอยู่ประจำโลก และเป็นที่ตั้งแห่งมิจฉาทิฏฐิ กิเลส หรือความเห็นแก่ตัวแทบทุกชนิด
เนื่องเพราะโลกุตตรธรรม...อยู่เหนือความหมายแห่งความเป็นคู่ทุกชนิด ที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นอสังขตธรรม ไม่มีปัจจัยปรุง หรือปรุงไม่ได้ ไม่หมุนเวียน ไม่มีการเกิดดับ อยู่เหนือปัญหา เหนือทุกข์ทั้งสิ้นในโลกทั้งปวง
ดังนั้น วิถีผู้คนจึงแตกต่างกันไป แบบโลกียธรรมมากมายดาษดื่น การโกหกหลอกลวง แม้จะเป็นวิถีของคนบาป แต่เรตติ้งก็ครองแชมป์ไม่เคยล่วง ส่วนจิตใจผ่องใสแบบโลกุตตรธรรม ยากจะหยั่งถึงเพราะคนรู้จริง ถึงจริง เขาไม่พูดอะไร เพราะสิ่งนั้นมันเหนือถ้อยคำ
ก็ได้แต่เดากันไป ปรุงแต่งกันไป ตามกระแสโลกีย์
“สังคมเพ่อเว่อร์
มักเห่อนอกตน
ในตนไม่สน
มากล้นมายา”
บทความวันนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นสังคมพอเพียง หรือสังคมเพ่อเว่อร์ ไม่ว่าคุณจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระ ขอจบด้วยคำสอนสะท้านจักรวาลของธรรมาจารย์ รศ.ดร.ไพเราะ ทิพยทัศน์ ณ สถานปฏิบัติธรรม อาศรมมาตา ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา...
เพื่อการบรรลุธรรม ที่นี่และเดี๋ยวนี้ จังหวะและโอกาสในการบรรลุธรรม จะเกิดกับใครก็ได้ที่สามารถเห็นแจ้งชัดด้วยตนเองว่า
“Know, Known ไม่เคยแยกกัน ไม่ต่างอะไรกับน้ำบริสุทธิ์ และน้ำเจือสีทุกชนิด”
“อย่าติด อย่าโยนทิ้ง อย่าหยุดอยู่ คือทางสายกลางที่อยู่ได้กับทุกปรากฏการณ์ของโลกาภิวัตน์”
“คารวะธรรม คือคารวะตน อัศจรรย์ในความรู้สึกภายในตน นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้จะผุดบังเกิด”
“เห็นทุกปรากฏการณ์เป็นเช่นนั้นเอง กรรมจะอยู่ข้างหลัง นิพพานก็แจ้งชัดต่อหน้า”
“เหนือเงื่อนไข นิพพานธรรม อมตนิรันดร์อยู่กับจิตตลอดกาล” ไม่ว่าจะเป็นจิตสัตว์นรกก็ตามที
“ในใจกลางเตาหลอมเหล็ก คือจุดเย็นของนิพพาน” ดังนั้น สัตว์นรกก็จะบรรลุธรรมได้ ถ้าพ้นวิบากกรรม
นั่นคือ...คำที่เป็นปริศนาธรรมที่เราควรขบคิด ขบแตก ขบไม่แตก ก็จะได้รู้จักตัวเองว่าเป็นอย่างไร...สิ่งบางอย่าง คิดเท่าไรก็ไม่รู้ พอหยุดคิด สิ่งบางอย่างนั้นก็ผุดขึ้น จึงได้รู้ แต่ก็อาศัยความคิดนั่นแหละ จึงรู้