ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สผ.เลื่อนเป้าหมายการผลิตปิโตรเลียม 6แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 เป็นปี 2568แทน หลังราคาน้ำมันปรับลดลง และไม่ต้องการเร่งรัดซื้อกิจการเพื่อหวังบรรลุเป้าหมายจนไม่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ เชื่อปีนี้ปริมาณการขายปิโตรเลียมโตได้ 3% ยอมรับจีนลดค่าเงินหยวนกดราคาน้ำมันดิบวูบ ด้านGPSC ฟุ้งปีนี้กำไรทุบสถิติสูงสุด จ่อซื้อกิจการโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า บริษัทเลื่อนเป้าหมายการผลิตปิโตรเลียมในระดับ 6 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 ออกไปเป็นปี 2568 จากปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิคอยู่ที่ 3.7 แสนบาร์เรล/วัน เนื่องจากไม่ต้องการเร่งรัดซื้อกิจการ(M&A)ปิโตรเลียมเพิ่มหวังให้บรรลุเป้าหมาย แต่ต้องการพิจารณาลงทุนโครงการใหม่อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งราคาน้ำมันที่ปรับลดลงทำให้โครงการลงทุนใหม่อาจต้องเลื่อนการพัฒนาออกไปด้วย
โดยแหล่งปิโตรเลียมของปตท.สผ.ที่ได้มีการลงทุนสำรวจและพัฒนาอยู่แล้ว คิดเป็นกำลังการผลิต 4.3 แสนบาร์เรล/วันในปี 2568 จึงมีเวลาอีก 10ปีที่จะแสวงหาโอกาสที่จะซื้อกิจการแหล่งปิโตรเลียมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 6 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งเชื่อว่าจะน่าบรรลุเป้าหมายได้
ก่อนหน้านี้ ทางปตท.สผ.วางเป้าหมายที่จะผลิตปิโตรเลียมให้ได้ 9 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 ทำให้มีการตัดสินใจเข้าไปลงทุนโครงการออยล์แซนด์ที่แคนาดา โครงการมอนทารา ที่ออสเตรเลีย และโครงการแหล่งก๊าซฯที่โมซัมบิก แต่หลังจากนั้นได้ปรับลดเป้าหมายการผลิตลงมาเหลือระดับ 6 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 แทน จนกระทั่งราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงทำให้ปตท.สผ.ตัดสินใจทบทวนนโยบายดังกล่าวใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
สำหรับปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยปีนี้คาดว่าจะโตขึ้น 3%จากปีก่อนที่มีปริมาณการผลิตปิโตรเลียมเฉลี่ย 3.2 แสนบาร์เรล/วัน มาจากการผลิตเต็มปีของแหล่งซอติก้า และรับรู้รายได้จากการซื้อกิจการของHESS ในไทย ส่วนแหล่งเบอร์ซาบาที่อัลจีเรียคาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้
ส่วนความต้องการใช้ก๊าซฯในไทยปีนี้ไม่ได้ลดลง แต่เป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว( แอลเอ็นจี)นำเข้าเพิ่มมากขึ้น เพราะราคาแอลเอ็นจีถูกลงและปตท.มีสัญญาซื้อขายระยะยาว ทำให้ต้องลดการใช้ก๊าซฯในอ่าวไทยลง ขณะที่ปริมาณก๊าซฯในเมียนมายังป้อนให้ไทยตามปกติ
นางสาวเพ็ญจันทร์ กล่าวถึงกรณีที่จีนประกาศลดค่าเงินหยวนลงในช่วงนี้ว่า การลดค่าเงินหยวนของจีน ทำให้มีการประเมินว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลงตามไปด้วย มีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกอ่อนตัวลงตาม แต่สุดท้ายราคาน้ำมันขึ้นอยู่กับดีมานด์และซัปพลายของน้ำมัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้คล้ายกับปี 2551 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ราคาน้ำมันดิบเคยสูงถึง 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ก็อ่อนตัวลงมาต่ำกว่า 40 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในต้นปี 2552 และปลายปีเดียวกันราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นไปแตะ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงในช่วงนี้ ก็ยังสูงกว่าต้นทุนการผลิต(Unit Cost)ของปตท.สผ.ที่อยู่ระดับ 41 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งมีค่าเสื่อมอยู่ 24-25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยราคาขายปิโตรเลียมของบริษัทฯในไตรมาส 2 อยู่ที่ 48 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ดังนั้นหากราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 41 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล บริษัทฯก็จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน แต่มีเงินสดเข้ามาอยู่ แต่สิ่งที่เป็นกังวล คือผลกระทบจากรายการที่ไม่ใช่การดำเนินงานหลัก (Non-Recurring) ประกอบด้วยผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการบันทึกค่าใช้จ่ายทางภาษีรอการตัดบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่อ่อนค่าลง (Deferred Tax on Functional Currency) ซึ่งบริษัทไม่สามารถบริหารความเสี่ยงเรื่องนี้ได้ต้องรอให้กรมสรรพากรแก้ไขกฎระเบียบก่อน
" ส่วนผลกระทบจากการป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน(เฮดจิ้ง)นั้น บริษัทฯไม่ต้องการเห็นกำไรจากการเฮดจิ้งน้ำมันที่ปัจจุบันทำขั้นต่ำระดับ 50 กว่าเหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เพราะถ้ายิ่งขาดทุนจากเฮดจิ้ง เป็นสัญญาณว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผลประกอบการในปีถัดไปดีขึ้น แต่ถ้ากำไรจากการทำเฮดจิ้งฯก็เท่ากับว่าราคาน้ำมันยังอยู่ระดับต่ำอยู่ หากราคาน้ำมันดิบคงอยู่ระดับต่ำเช่นนี้ไปถึงสิ้นปี บริษัทจะมีกำไรจากการทำเฮดจิ้งในช่วงไตรมาส3และไตรมาส 4 นี้"
ผลการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2558 ปตท.สผ. มีรายได้รวม 2.97 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24% และมีกำไรสุทธิ 299 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 68%
***GPSCลั่นปีนี้โกยกำไรทุบสถิติสูงสุด
นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน)(GPSC)ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในเครือปตท. กล่าวว่า ปีนี้บริษัทมั่นใจว่าจะมีรายได้และกำไรสุทธิทำสถิติสูงสุด หลังจากครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 1,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปีนี้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง ตามภาระเงินกู้ที่ลดลง รวมทั้งยังรับรู้รายได้จากเงินลงทุนในบริษัทต่างๆเพิ่มขึ้นด้วย คาดว่าครึ่งปีหลังนี้จะมีกำไรใกล้เคียงครึ่งปีแรก 2558
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนซื้อกิจการโรงไฟฟ้าในประเทศ 1 โรง และต่างประเทศอีก 2 โรง ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะการเงินโรงไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ รวมทั้งมีแผนลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ 9เมกะวัตต์ ทำให้สิ้นปีนี้บริษัทฯคาดว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1872 เมกะวัตต์ และปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,000เมกะวัตต์
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า บริษัทเลื่อนเป้าหมายการผลิตปิโตรเลียมในระดับ 6 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 ออกไปเป็นปี 2568 จากปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิคอยู่ที่ 3.7 แสนบาร์เรล/วัน เนื่องจากไม่ต้องการเร่งรัดซื้อกิจการ(M&A)ปิโตรเลียมเพิ่มหวังให้บรรลุเป้าหมาย แต่ต้องการพิจารณาลงทุนโครงการใหม่อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งราคาน้ำมันที่ปรับลดลงทำให้โครงการลงทุนใหม่อาจต้องเลื่อนการพัฒนาออกไปด้วย
โดยแหล่งปิโตรเลียมของปตท.สผ.ที่ได้มีการลงทุนสำรวจและพัฒนาอยู่แล้ว คิดเป็นกำลังการผลิต 4.3 แสนบาร์เรล/วันในปี 2568 จึงมีเวลาอีก 10ปีที่จะแสวงหาโอกาสที่จะซื้อกิจการแหล่งปิโตรเลียมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 6 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งเชื่อว่าจะน่าบรรลุเป้าหมายได้
ก่อนหน้านี้ ทางปตท.สผ.วางเป้าหมายที่จะผลิตปิโตรเลียมให้ได้ 9 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 ทำให้มีการตัดสินใจเข้าไปลงทุนโครงการออยล์แซนด์ที่แคนาดา โครงการมอนทารา ที่ออสเตรเลีย และโครงการแหล่งก๊าซฯที่โมซัมบิก แต่หลังจากนั้นได้ปรับลดเป้าหมายการผลิตลงมาเหลือระดับ 6 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563 แทน จนกระทั่งราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงทำให้ปตท.สผ.ตัดสินใจทบทวนนโยบายดังกล่าวใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
สำหรับปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยปีนี้คาดว่าจะโตขึ้น 3%จากปีก่อนที่มีปริมาณการผลิตปิโตรเลียมเฉลี่ย 3.2 แสนบาร์เรล/วัน มาจากการผลิตเต็มปีของแหล่งซอติก้า และรับรู้รายได้จากการซื้อกิจการของHESS ในไทย ส่วนแหล่งเบอร์ซาบาที่อัลจีเรียคาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้
ส่วนความต้องการใช้ก๊าซฯในไทยปีนี้ไม่ได้ลดลง แต่เป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว( แอลเอ็นจี)นำเข้าเพิ่มมากขึ้น เพราะราคาแอลเอ็นจีถูกลงและปตท.มีสัญญาซื้อขายระยะยาว ทำให้ต้องลดการใช้ก๊าซฯในอ่าวไทยลง ขณะที่ปริมาณก๊าซฯในเมียนมายังป้อนให้ไทยตามปกติ
นางสาวเพ็ญจันทร์ กล่าวถึงกรณีที่จีนประกาศลดค่าเงินหยวนลงในช่วงนี้ว่า การลดค่าเงินหยวนของจีน ทำให้มีการประเมินว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลงตามไปด้วย มีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกอ่อนตัวลงตาม แต่สุดท้ายราคาน้ำมันขึ้นอยู่กับดีมานด์และซัปพลายของน้ำมัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้คล้ายกับปี 2551 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ราคาน้ำมันดิบเคยสูงถึง 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ก็อ่อนตัวลงมาต่ำกว่า 40 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในต้นปี 2552 และปลายปีเดียวกันราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นไปแตะ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงในช่วงนี้ ก็ยังสูงกว่าต้นทุนการผลิต(Unit Cost)ของปตท.สผ.ที่อยู่ระดับ 41 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งมีค่าเสื่อมอยู่ 24-25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยราคาขายปิโตรเลียมของบริษัทฯในไตรมาส 2 อยู่ที่ 48 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ดังนั้นหากราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 41 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล บริษัทฯก็จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน แต่มีเงินสดเข้ามาอยู่ แต่สิ่งที่เป็นกังวล คือผลกระทบจากรายการที่ไม่ใช่การดำเนินงานหลัก (Non-Recurring) ประกอบด้วยผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการบันทึกค่าใช้จ่ายทางภาษีรอการตัดบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่อ่อนค่าลง (Deferred Tax on Functional Currency) ซึ่งบริษัทไม่สามารถบริหารความเสี่ยงเรื่องนี้ได้ต้องรอให้กรมสรรพากรแก้ไขกฎระเบียบก่อน
" ส่วนผลกระทบจากการป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน(เฮดจิ้ง)นั้น บริษัทฯไม่ต้องการเห็นกำไรจากการเฮดจิ้งน้ำมันที่ปัจจุบันทำขั้นต่ำระดับ 50 กว่าเหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เพราะถ้ายิ่งขาดทุนจากเฮดจิ้ง เป็นสัญญาณว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผลประกอบการในปีถัดไปดีขึ้น แต่ถ้ากำไรจากการทำเฮดจิ้งฯก็เท่ากับว่าราคาน้ำมันยังอยู่ระดับต่ำอยู่ หากราคาน้ำมันดิบคงอยู่ระดับต่ำเช่นนี้ไปถึงสิ้นปี บริษัทจะมีกำไรจากการทำเฮดจิ้งในช่วงไตรมาส3และไตรมาส 4 นี้"
ผลการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2558 ปตท.สผ. มีรายได้รวม 2.97 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24% และมีกำไรสุทธิ 299 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 68%
***GPSCลั่นปีนี้โกยกำไรทุบสถิติสูงสุด
นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน)(GPSC)ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในเครือปตท. กล่าวว่า ปีนี้บริษัทมั่นใจว่าจะมีรายได้และกำไรสุทธิทำสถิติสูงสุด หลังจากครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 1,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปีนี้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง ตามภาระเงินกู้ที่ลดลง รวมทั้งยังรับรู้รายได้จากเงินลงทุนในบริษัทต่างๆเพิ่มขึ้นด้วย คาดว่าครึ่งปีหลังนี้จะมีกำไรใกล้เคียงครึ่งปีแรก 2558
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนซื้อกิจการโรงไฟฟ้าในประเทศ 1 โรง และต่างประเทศอีก 2 โรง ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะการเงินโรงไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ รวมทั้งมีแผนลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ 9เมกะวัตต์ ทำให้สิ้นปีนี้บริษัทฯคาดว่าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1872 เมกะวัตต์ และปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,000เมกะวัตต์