วานนี้ (11ส.ค.) ที่อาคารรับรองเกษะโกมล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ว่า มีการพูดคุยกันถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยตนมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปหารือกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ในประเด็นข้อเสนอคลัสเตอร์ศักยภาพที่จะพัฒนาในระยะแรก โดยมี 7 คลัสเตอร์ ประกอบด้วย 1.คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิค 3. ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 4. แปรรูปอาหาร 5. แปรรูปยางพารา (ไม่รวมไม้ยางพารา) 6. ไอที และ 7. สิ่งทอ ซึ่งเรากำลังพิจารณาว่า แต่ละคลัสเตอร์จะอยู่ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดใด ตลอดจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม ก็ดูว่าแต่ละพื้นที่มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร เช่น พื้นที่ภาคใต้ เป็นยางพารา ภาคตะวันออก น่าจะเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งต้องทำให้เกิดให้ได้ และต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่จะสามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนกับเราอย่างไร ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจพิเศษครั้งต่อไปจะได้คำตอบในประเด็นเหล่านี้ เพื่อจะให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดผังเมืองไว้รองรับเอาไว้ว่าตรงกัน หรือไม่ รวมทั้งเรื่องสิทธิประโยชน์ว่าตรงไหนจะให้สิทธิประโยชน์ได้บ้าง โดยจะเอาไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศอีกด้วย เช่น ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม การดำเนินการดังกล่าวเป็นการสะกัดการไหลออกของแรงงาน ตลอดจนถึงการดึงดูดนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุน
เมื่อถามถึงอุปสรรคการดำเนินการ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า อาจจะเป็นเรื่องการประสานงาน แต่ทางบีโอไอ สภาพัฒน์ฯ และกระทรวงมหาดไทย จะไปพูดคุยกันให้เกิดความชัดเจน โดยมีคณะกรรมการฯของตนเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ถ้าพบว่าติดปัญหาใดเราจะรีบดำเนินการ จากนั้นจะรายงานให้นายกฯรับทราบต่อไป อย่างไรก็ตามเราจะทำให้เร็วที่สุด และให้เสร็จภายในปีนี้
เมื่อถามว่าได้นำเอาข้อสังเกตของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ มาปรับให้หรือไม่ รองนายกฯ ประวิตร กล่าวว่า "คงไม่ เพราะเป็นคนละประเด็นกัน ประเด็นของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เป็นเรื่องของการบริหาร ผมไม่ยุ่งเกี่ยว และไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ เพียงแต่ว่าหน้าที่ผมจะดูว่าอะไรที่ติดขัดก็ให้หน่วยงานต่างๆ มาประสานงานกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจน"
**สั่งทอ.ช่วยแก้ปัญหา ICAO
พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึง การดำเนินตามพันธกรณีระหว่างประเทศในประเด็นผลการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินจากองค์กรการบินระหว่างประเทศ ว่า ในวันนี้อยากให้เร่งรัด ให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยมอบหมายให้กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ร่วมหารือกับกองทัพอากาศ ส่วนจำเป็นต้องใช้คำสั่งอะไรหรือไม่ ตนคิดว่าต้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหารือกันอยู่ พิจารณาว่าบางเรื่องก้าวหน้าอย่างไร และบางเรื่องก้าวหน้าไม่ได้ตรงไหน แล้วจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เราอยากให้เกิดความชัดเจน เพื่อให้องค์กรการบริระหว่างประเทศเกิดความมั่นใจว่าเราจริงจังในการแก้ไขปัญหา พร้อมกันนี้สัปดาห์หน้าจะมีการพุดคุยกันอีกครั้ง
เมื่อถามว่า จะใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ถ้าจำเป็น ก็ใช้ แต่ถ้าไม่จำเป็น ก็จะไม่ใช้ หากเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้หรอก" รองนายกฯ กล่าว
เมื่อถามถึงอุปสรรคการดำเนินการ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า อาจจะเป็นเรื่องการประสานงาน แต่ทางบีโอไอ สภาพัฒน์ฯ และกระทรวงมหาดไทย จะไปพูดคุยกันให้เกิดความชัดเจน โดยมีคณะกรรมการฯของตนเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ถ้าพบว่าติดปัญหาใดเราจะรีบดำเนินการ จากนั้นจะรายงานให้นายกฯรับทราบต่อไป อย่างไรก็ตามเราจะทำให้เร็วที่สุด และให้เสร็จภายในปีนี้
เมื่อถามว่าได้นำเอาข้อสังเกตของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ มาปรับให้หรือไม่ รองนายกฯ ประวิตร กล่าวว่า "คงไม่ เพราะเป็นคนละประเด็นกัน ประเด็นของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เป็นเรื่องของการบริหาร ผมไม่ยุ่งเกี่ยว และไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ เพียงแต่ว่าหน้าที่ผมจะดูว่าอะไรที่ติดขัดก็ให้หน่วยงานต่างๆ มาประสานงานกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจน"
**สั่งทอ.ช่วยแก้ปัญหา ICAO
พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึง การดำเนินตามพันธกรณีระหว่างประเทศในประเด็นผลการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินจากองค์กรการบินระหว่างประเทศ ว่า ในวันนี้อยากให้เร่งรัด ให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยมอบหมายให้กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ร่วมหารือกับกองทัพอากาศ ส่วนจำเป็นต้องใช้คำสั่งอะไรหรือไม่ ตนคิดว่าต้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหารือกันอยู่ พิจารณาว่าบางเรื่องก้าวหน้าอย่างไร และบางเรื่องก้าวหน้าไม่ได้ตรงไหน แล้วจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เราอยากให้เกิดความชัดเจน เพื่อให้องค์กรการบริระหว่างประเทศเกิดความมั่นใจว่าเราจริงจังในการแก้ไขปัญหา พร้อมกันนี้สัปดาห์หน้าจะมีการพุดคุยกันอีกครั้ง
เมื่อถามว่า จะใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ถ้าจำเป็น ก็ใช้ แต่ถ้าไม่จำเป็น ก็จะไม่ใช้ หากเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้หรอก" รองนายกฯ กล่าว