โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
คำว่า “พอดี” หมายถึงเท่าที่ต้องการ, เต็มตาต้องการ, ควร, เหมาะ, เพียง, ถูก, ชอบ... “พอดี” คือ เหมาะ, ควร, พอเหมาะ, พอควร...
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านสอนว่า... “ถ้าแกเห็นตัว พ.พานได้เมื่อไร นั่นแหละจึงจะดี...ก็ตัวพอน่ะซี”
“รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน” ผู้ปรารถนาความสุขทั้งหลาย ถ้าท่านเขียนตัว พ.พานได้เมื่อไหร่ ท่านก็สุขใจเมื่อนั้น
รู้จักพอดี
สังคมโลกทุกวันนี้ เป็นสังคมไม่ค่อยพอดี ส่วนมากจะเป็นสังคมเกินพอดี หรือสังคมเว่อร์นั่นเอง เช่น แซ่บเวอร์ เรียกเวอร์ ก้มเว่อร์ อะไรๆ ก็จะเว่อร์ไปหมด
“พอดีก่อสุข-ไม่พอดีก่อทุกข์” เหตุใหญ่ใจนำอยู่ตรงไหน?
อยู่ตรงที่...กุศลมูล 3 และอกุศลมูล 3
กุศลมูล 3 คือรากเหง้าของกุศล หรือต้นตอของความดี ได้แก่...
1. อโลภะ คือความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ
2. อโทหะ คือความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา
3. อโมหะ คือความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา
อกุศลมูล 3 คือรากเหง้าของอกุศล หรือต้นตอของความชั่ว ได้แก่...
1. โลภะ คือความอยากได้
2. โทสะ คือความคิดประทุษร้าย
3. โมหะ คือความหลง
(ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา-ธรรมทั้งหลาย มีใจนำหน้า” ไม่ว่าดีหรือชั่ว กุศลหรืออกุศล มีใจนำหน้าทั้งนั้น
คนรู้จักพอดีกับคนเกินพอดี มันอยู่ตรง “ใจ” นี้เอง ไม่ต้องแปลกหรอกที่เห็นคนรวยล้นฟ้ายังโกงอยู่ เพราะเขาเป็นคนเกินพอหรือเว่อร์นั่นเอง
การจะแก้ปัญหากับคนพวกนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องจะเอาคนดีกับคนชั่วมาจับเข่าคุยกัน จูบปากกัน นั่นมันเป็นการเล่นละครตบตาประชาชน หรือทำเป็นผู้ดีมีเมตตาเท่านั้น
จะแก้จริงๆ ต้องแก้ที่ “ใจ” เขา เปลี่ยนใจเขา จากใจชั่วมาเป็นใจดี จากใจอกุศลมาเป็นใจกุศล ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย!
แต่ก็พอแก้ไขได้อยู่แบบ “เอาหินทับหญ้า” ใช้อำนาจเด็ดขาดดูแล ควบคุมอย่าให้เขามีอำนาจปกครองบ้านเมือง ถูกกดถูกทับนานๆ เข้า เขาก็จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเอง ถ้ากลับมาเป็นคนดีไม่ได้ ก็อาจเฉาตายไปตามกาลเวลา
ชีวิตคนเรามีสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นกุศลหรือคนดี อีกด้านหนึ่งเป็นอกุศลหรือคนชั่ว แต่ละด้านมันจะแข่งขันกัน เอาชนะกันอยู่ตลอดเวลา
ถ้าด้านดีชนะ ก็อยู่สุขสบาย รู้จักอิ่มจักพอ
ถ้าด้านชั่วชนะ ก็แบกทุกข์แบกปัญหาต่อไป ไม่รู้อิ่มรู้พอ ก่อแต่เพ้อเว่อร์
รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน ไม่รู้จักพอก่อทุกข์ทุกเวลา ตถตา-เช่นนั้นเอง
ย่อมมีความสุข
รู้จักพอดี-เป็นเหตุ ย่อมมีความสุข-เป็นผล เหตุดี-ผลดี เหตุชั่ว-ผลชั่ว นี่คือความถูกต้องของสังคมอารยะที่สืบสานกันมา ส่วนเหตุชั่วอยากได้ผลดี เป็นความอัปรีย์ของสังคมอนารยะ ที่ยังป่าเถื่อนอยู่ ทำผิดขนาดศาลตัดสินจำคุกแล้วยังลอยนวลอยู่ ชูคอล้อเล่นกับผู้มีอำนาจอยู่อย่างเหิมเกริม ไม่เกรงกลัวอะไรทั้งนั้น
อันความสุขใครๆ ก็ปรารถนา มีทั้งสุขทางกายและสุขทางใจ และสุขทั้งสอง (กาย-ใจ) ก็มี 2 ประเภท
1. สามิสสุข คือสุขอิงอามิส หรือสุขอาศัยเหยื่อล่อ หรือสุขจากวัตถุ คือกามคุณ
2. นิรามิสสุข คือสุขไม่อิงอามิส หรือสุขไม่อาศัยเหยื่อล่อ หรือสุขปลอดโปร่ง เพราะใจสงบ หรือสุขเพราะได้รู้แจ้งตามเป็นจริง
สุขทั้งสองประเภทดังกล่าว ทำให้เรารู้ว่า เราต้องการสุขประเภทไหน คนอื่นหรือสังคมส่วนมากนิยมสุขแบบไหน สุขอาศัยเหยื่อล่อกับสุขไม่อาศัยเหยื่อล่อ
สุขอาศัยเหยื่อล่อจะสอดไส้ด้วยความทุกข์ สุขไม่อาศัยเหยื่อล่อจะสอดไส้ด้วยความสงบ ซึ่งเป็นความสุขอันแท้จริง
รัฐบาลกำลังคืนความสุขให้ประชาชนเป็นเรื่องดี แต่เป็นสุขประเภทไหน? เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะรู้อยู่แล้วทั่วบ้านทั่วเมือง
รู้ดับเหตุทุกข์
คาถา เย ธมฺมา ซึ่งเป็นหัวใจพุทธศาสนา มีว่า... “ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้”
อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท คือภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย หรือธรรมที่อาศัยกันจึงเกิดขึ้นพร้อม
“เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ”
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจพุทธศาสนา
อริยสัจ 4 คือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ นี่ก็อีกหัวใจพุทธศาสนาเช่นกัน ได้แก่
1. ทุกข์ คือความทุกข์ ควรกำหนดรู้
2. สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ ควรละ
3. นิโรธ คือความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง
4. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ควรเจริญ
หัวข้อธรรมที่กล่าวมาสำคัญมาก ล้วนเป็นหัวใจพุทธศาสนา เป็นการดับทุกข์ที่ต้นเหตุ แต่ก็เข้าใจยากไม่น้อยทีเดียว จนฝรั่งผู้สนใจพุทธศาสนางง ไม่เข้าใจ เลยถาม หลวงพ่อชา สุภัทโท ว่า...
“ศาสนาพุทธสอนอะไร?”
หลวงพ่อท่านได้ชี้นิ้วไปที่ก้อนหินเขื่อง แล้วพูดว่า “ยกก้อนหินนั้นขึ้นมาสิโยม” ฝรั่งทำตาม แล้วหลวงพ่อถามว่า... “หนักไหม” ฝรั่งตอบว่า “หนักครับ”
หลวงพ่อ จึงไขปริศนาธรรมว่า... “อะไรมันหนัก ก็วางลงเถิด สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ก็มีเพียงเท่านี้”
ฝรั่งคนนั้นจะปิ๊งแวบ ซาโตริหรือเปล่า มิทราบ รู้แต่เพียงว่าปัจจุบันนี้ ลูกศิษย์หลวงพ่อชา กลายเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทั้งอยู่ในเมืองไทยและต่างประเทศจำนวนมากมาย เป็นพระที่สอนให้คนมีปัญญา มิใช่สอนให้โง่เขลาเบาปัญญา ตกเป็นเหยื่อเขาตลอด ทั้งในวัดและนอกวัด มีอยู่ให้พบเห็นโดยทั่วไป
“อะไรหนักก็วางลงเถิด แบกอยู่ทำไม” เป็นคำสอนง่ายๆ แต่ครอบคลุมและลึกซึ้งถึงธรรมทีเดียว
หนักก็คือทุกข์หรือปัญหา วางลงก็นิโรธ คือทุกข์ปัญหาหมดไป เป็นการรู้ดับเหตุทุกข์ ที่ลัดตรงและถูกต้อง กรณีที่คนยังหนักอยู่ แบกอยู่ ทุกข์อยู่ ก็เพราะไม่ยอมวาง (ใจไม่ว่าง) คงจะแบกต่อไป จนถึงวาระวางเองโดยอัตโนมัติ (ตาย)
ย่อมสุขนิรันดร์
การพิจารณาความสุข อยากให้พินิจพิจารณาพุทธภาษิต ดังต่อไปนี้...
1. นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ-สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี
2. นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ-นิพพานคือสุขอย่างยิ่ง
3. นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ-นิพพานคือว่างอย่างยิ่ง
ข้อ 1 และ ข้อ 2 ความหมายเหมือนกัน คือนิพพานหรือความสงบ คือสุขอย่างยิ่ง (สันติหรือความสงบ เป็นไวพจน์ของนิพพาน)
ข้อ 3 นิพพานหรือความสงบ คือว่างอย่างยิ่ง
นิพพานก็ดี ความสงบก็ดี เป็นสุขนิรันดร์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง เพราะมันเป็นความว่าง
ถ้าว่างสูงสุด ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ก็เป็นพุทธภาวะที่แท้จริง คือภาวะแห่งปรมานุตตรสุญญตา
เรื่องของถ้อยคำ มันยุ่งยากสลับซับซ้อนเช่นนี้แหละ ตามวิถีการปรุงแต่งแห่งโลกียธรรม
เพื่อให้รู้ทันถ้อยคำ หลวงพ่อชา สุภัทโท บอกว่า... “คำสอนของธรรมะทั้งหลายนั้น เป็นคำสมมติกันขึ้นมาพูด ตัวธรรมะแท้ๆ นั้น อยู่เหนือคำพูด”
ท่านโพธิธรรม สอนว่า... “อย่ายึดติดกับถ้อยคำ หากในหัวของท่านไม่มีถ้อยคำ ในความเงียบ นั่นแหละคือพระเจ้า คือความจริง คือนิพพาน”
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สอนว่า... “ถ้าเห็นสมมติบัญญัติแล้ว เราไม่ยึดถือ ก็เป็นวิมุตติเท่านั้น”
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ สอนว่า... “เวลาจิตว่างจากตัวกู นิพพานก็มีอยู่ ณ จิตนั้น”
“รู้จักพอดี
ย่อมมีความสุข
รู้ดับเหตุทุกข์
ย่อมสุขนิรันดร์”
ชีวิตคือ...การเดินทางออกจากบ้าน แล้วกลับบ้าน ถ้าเรายังจิตให้เป็นอิสระ ไม่ยึดถือผูกพันกับสภาวะใดๆ นั่นคือความรู้สึกอันสงบ เป็นสุขนิรันดร์ อันเป็นบ้านที่แท้จริงของเรา
คำว่า “พอดี” หมายถึงเท่าที่ต้องการ, เต็มตาต้องการ, ควร, เหมาะ, เพียง, ถูก, ชอบ... “พอดี” คือ เหมาะ, ควร, พอเหมาะ, พอควร...
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านสอนว่า... “ถ้าแกเห็นตัว พ.พานได้เมื่อไร นั่นแหละจึงจะดี...ก็ตัวพอน่ะซี”
“รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน” ผู้ปรารถนาความสุขทั้งหลาย ถ้าท่านเขียนตัว พ.พานได้เมื่อไหร่ ท่านก็สุขใจเมื่อนั้น
รู้จักพอดี
สังคมโลกทุกวันนี้ เป็นสังคมไม่ค่อยพอดี ส่วนมากจะเป็นสังคมเกินพอดี หรือสังคมเว่อร์นั่นเอง เช่น แซ่บเวอร์ เรียกเวอร์ ก้มเว่อร์ อะไรๆ ก็จะเว่อร์ไปหมด
“พอดีก่อสุข-ไม่พอดีก่อทุกข์” เหตุใหญ่ใจนำอยู่ตรงไหน?
อยู่ตรงที่...กุศลมูล 3 และอกุศลมูล 3
กุศลมูล 3 คือรากเหง้าของกุศล หรือต้นตอของความดี ได้แก่...
1. อโลภะ คือความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ
2. อโทหะ คือความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา
3. อโมหะ คือความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา
อกุศลมูล 3 คือรากเหง้าของอกุศล หรือต้นตอของความชั่ว ได้แก่...
1. โลภะ คือความอยากได้
2. โทสะ คือความคิดประทุษร้าย
3. โมหะ คือความหลง
(ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา-ธรรมทั้งหลาย มีใจนำหน้า” ไม่ว่าดีหรือชั่ว กุศลหรืออกุศล มีใจนำหน้าทั้งนั้น
คนรู้จักพอดีกับคนเกินพอดี มันอยู่ตรง “ใจ” นี้เอง ไม่ต้องแปลกหรอกที่เห็นคนรวยล้นฟ้ายังโกงอยู่ เพราะเขาเป็นคนเกินพอหรือเว่อร์นั่นเอง
การจะแก้ปัญหากับคนพวกนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องจะเอาคนดีกับคนชั่วมาจับเข่าคุยกัน จูบปากกัน นั่นมันเป็นการเล่นละครตบตาประชาชน หรือทำเป็นผู้ดีมีเมตตาเท่านั้น
จะแก้จริงๆ ต้องแก้ที่ “ใจ” เขา เปลี่ยนใจเขา จากใจชั่วมาเป็นใจดี จากใจอกุศลมาเป็นใจกุศล ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย!
แต่ก็พอแก้ไขได้อยู่แบบ “เอาหินทับหญ้า” ใช้อำนาจเด็ดขาดดูแล ควบคุมอย่าให้เขามีอำนาจปกครองบ้านเมือง ถูกกดถูกทับนานๆ เข้า เขาก็จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเอง ถ้ากลับมาเป็นคนดีไม่ได้ ก็อาจเฉาตายไปตามกาลเวลา
ชีวิตคนเรามีสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นกุศลหรือคนดี อีกด้านหนึ่งเป็นอกุศลหรือคนชั่ว แต่ละด้านมันจะแข่งขันกัน เอาชนะกันอยู่ตลอดเวลา
ถ้าด้านดีชนะ ก็อยู่สุขสบาย รู้จักอิ่มจักพอ
ถ้าด้านชั่วชนะ ก็แบกทุกข์แบกปัญหาต่อไป ไม่รู้อิ่มรู้พอ ก่อแต่เพ้อเว่อร์
รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน ไม่รู้จักพอก่อทุกข์ทุกเวลา ตถตา-เช่นนั้นเอง
ย่อมมีความสุข
รู้จักพอดี-เป็นเหตุ ย่อมมีความสุข-เป็นผล เหตุดี-ผลดี เหตุชั่ว-ผลชั่ว นี่คือความถูกต้องของสังคมอารยะที่สืบสานกันมา ส่วนเหตุชั่วอยากได้ผลดี เป็นความอัปรีย์ของสังคมอนารยะ ที่ยังป่าเถื่อนอยู่ ทำผิดขนาดศาลตัดสินจำคุกแล้วยังลอยนวลอยู่ ชูคอล้อเล่นกับผู้มีอำนาจอยู่อย่างเหิมเกริม ไม่เกรงกลัวอะไรทั้งนั้น
อันความสุขใครๆ ก็ปรารถนา มีทั้งสุขทางกายและสุขทางใจ และสุขทั้งสอง (กาย-ใจ) ก็มี 2 ประเภท
1. สามิสสุข คือสุขอิงอามิส หรือสุขอาศัยเหยื่อล่อ หรือสุขจากวัตถุ คือกามคุณ
2. นิรามิสสุข คือสุขไม่อิงอามิส หรือสุขไม่อาศัยเหยื่อล่อ หรือสุขปลอดโปร่ง เพราะใจสงบ หรือสุขเพราะได้รู้แจ้งตามเป็นจริง
สุขทั้งสองประเภทดังกล่าว ทำให้เรารู้ว่า เราต้องการสุขประเภทไหน คนอื่นหรือสังคมส่วนมากนิยมสุขแบบไหน สุขอาศัยเหยื่อล่อกับสุขไม่อาศัยเหยื่อล่อ
สุขอาศัยเหยื่อล่อจะสอดไส้ด้วยความทุกข์ สุขไม่อาศัยเหยื่อล่อจะสอดไส้ด้วยความสงบ ซึ่งเป็นความสุขอันแท้จริง
รัฐบาลกำลังคืนความสุขให้ประชาชนเป็นเรื่องดี แต่เป็นสุขประเภทไหน? เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะรู้อยู่แล้วทั่วบ้านทั่วเมือง
รู้ดับเหตุทุกข์
คาถา เย ธมฺมา ซึ่งเป็นหัวใจพุทธศาสนา มีว่า... “ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้”
อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท คือภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย หรือธรรมที่อาศัยกันจึงเกิดขึ้นพร้อม
“เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ”
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจพุทธศาสนา
อริยสัจ 4 คือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ นี่ก็อีกหัวใจพุทธศาสนาเช่นกัน ได้แก่
1. ทุกข์ คือความทุกข์ ควรกำหนดรู้
2. สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ ควรละ
3. นิโรธ คือความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง
4. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ควรเจริญ
หัวข้อธรรมที่กล่าวมาสำคัญมาก ล้วนเป็นหัวใจพุทธศาสนา เป็นการดับทุกข์ที่ต้นเหตุ แต่ก็เข้าใจยากไม่น้อยทีเดียว จนฝรั่งผู้สนใจพุทธศาสนางง ไม่เข้าใจ เลยถาม หลวงพ่อชา สุภัทโท ว่า...
“ศาสนาพุทธสอนอะไร?”
หลวงพ่อท่านได้ชี้นิ้วไปที่ก้อนหินเขื่อง แล้วพูดว่า “ยกก้อนหินนั้นขึ้นมาสิโยม” ฝรั่งทำตาม แล้วหลวงพ่อถามว่า... “หนักไหม” ฝรั่งตอบว่า “หนักครับ”
หลวงพ่อ จึงไขปริศนาธรรมว่า... “อะไรมันหนัก ก็วางลงเถิด สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ก็มีเพียงเท่านี้”
ฝรั่งคนนั้นจะปิ๊งแวบ ซาโตริหรือเปล่า มิทราบ รู้แต่เพียงว่าปัจจุบันนี้ ลูกศิษย์หลวงพ่อชา กลายเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทั้งอยู่ในเมืองไทยและต่างประเทศจำนวนมากมาย เป็นพระที่สอนให้คนมีปัญญา มิใช่สอนให้โง่เขลาเบาปัญญา ตกเป็นเหยื่อเขาตลอด ทั้งในวัดและนอกวัด มีอยู่ให้พบเห็นโดยทั่วไป
“อะไรหนักก็วางลงเถิด แบกอยู่ทำไม” เป็นคำสอนง่ายๆ แต่ครอบคลุมและลึกซึ้งถึงธรรมทีเดียว
หนักก็คือทุกข์หรือปัญหา วางลงก็นิโรธ คือทุกข์ปัญหาหมดไป เป็นการรู้ดับเหตุทุกข์ ที่ลัดตรงและถูกต้อง กรณีที่คนยังหนักอยู่ แบกอยู่ ทุกข์อยู่ ก็เพราะไม่ยอมวาง (ใจไม่ว่าง) คงจะแบกต่อไป จนถึงวาระวางเองโดยอัตโนมัติ (ตาย)
ย่อมสุขนิรันดร์
การพิจารณาความสุข อยากให้พินิจพิจารณาพุทธภาษิต ดังต่อไปนี้...
1. นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ-สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี
2. นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ-นิพพานคือสุขอย่างยิ่ง
3. นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ-นิพพานคือว่างอย่างยิ่ง
ข้อ 1 และ ข้อ 2 ความหมายเหมือนกัน คือนิพพานหรือความสงบ คือสุขอย่างยิ่ง (สันติหรือความสงบ เป็นไวพจน์ของนิพพาน)
ข้อ 3 นิพพานหรือความสงบ คือว่างอย่างยิ่ง
นิพพานก็ดี ความสงบก็ดี เป็นสุขนิรันดร์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง เพราะมันเป็นความว่าง
ถ้าว่างสูงสุด ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ก็เป็นพุทธภาวะที่แท้จริง คือภาวะแห่งปรมานุตตรสุญญตา
เรื่องของถ้อยคำ มันยุ่งยากสลับซับซ้อนเช่นนี้แหละ ตามวิถีการปรุงแต่งแห่งโลกียธรรม
เพื่อให้รู้ทันถ้อยคำ หลวงพ่อชา สุภัทโท บอกว่า... “คำสอนของธรรมะทั้งหลายนั้น เป็นคำสมมติกันขึ้นมาพูด ตัวธรรมะแท้ๆ นั้น อยู่เหนือคำพูด”
ท่านโพธิธรรม สอนว่า... “อย่ายึดติดกับถ้อยคำ หากในหัวของท่านไม่มีถ้อยคำ ในความเงียบ นั่นแหละคือพระเจ้า คือความจริง คือนิพพาน”
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สอนว่า... “ถ้าเห็นสมมติบัญญัติแล้ว เราไม่ยึดถือ ก็เป็นวิมุตติเท่านั้น”
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ สอนว่า... “เวลาจิตว่างจากตัวกู นิพพานก็มีอยู่ ณ จิตนั้น”
“รู้จักพอดี
ย่อมมีความสุข
รู้ดับเหตุทุกข์
ย่อมสุขนิรันดร์”
ชีวิตคือ...การเดินทางออกจากบ้าน แล้วกลับบ้าน ถ้าเรายังจิตให้เป็นอิสระ ไม่ยึดถือผูกพันกับสภาวะใดๆ นั่นคือความรู้สึกอันสงบ เป็นสุขนิรันดร์ อันเป็นบ้านที่แท้จริงของเรา