วานนี้ (10 ส.ค.) นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พร้อมด้วย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง และ นางทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่ 2 ร่วมกันแถลงถึงการจัดงาน "สปช.รายงานประชาชน เรื่อง เปลี่ยนประเทศไทยกับ สปช." ในวันที่ 13 ส.ค. ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ไฮแอท เซ็นทรัลเวิลด์ ในเวลา 08.00 น. ถึง 15.30 น. เพื่อสรุปผลงาน สปช. ประกอบด้วยการปฏิรูปเร็ว หรือควิกวิน 9 เรื่อง , วาระการปฏิรูป 37 วาระ , และ 6 วาระพัฒนา ซึ่งเป็นผลการศึกษาที่แตกแขนงออกมาจากแนวทางการ ปฏิรูปด้านต่าง ทั้ง 11 ด้าน ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนด โดยจะจัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อนำเสนอต่อประชาชน และจะส่งมอบผลงานให้แก่คณะรัฐมนตรี โดยในวันดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตอบรับที่จะมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
สำหรับภายในงาน มีสาระน่าสนใจ อาทิ ในช่วงเช้าจะมีการแสดงวีดีทัศน์เรื่อง "เปลี่ยนประเทศกับสปช." และการเปิดใจของ นายเทียนฉาย ในหัวข้อ "จะปฏิรูปอะไร" ส่วนช่วงบ่าย มีการนำเสนอประเด็นปฏิรูปประเทศของสมาชิก สปช. โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามหัวข้อต่างๆ อาทิ ระบบการเลือกตั้งที่สุจริตยุติธรรม การเมืองเรื่องของประชาชน เป็นต้น ส่วนช่วงเย็น จะมีพิธีปิดส่งมอบผลงานให้กับครม. โดยผ่านนายกรัฐมนตรี และถ่ายภาพหมู่ร่วมกันระหว่างแม่น้ำ 5ส ายด้วย
นายเทียนฉาย ยังกล่าวถึงกระแสการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นการแสดงความเห็นโดยบุคคลเพียงคนเดียว จึงไม่ถือว่าเป็นกระแส รวมถึงกระแสข่าวที่มีการแลกตำแหน่งในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้วย จึงเชื่อว่า สมาชิกจะมีเอกสิทธิ์ และความเป็นอิสระที่จะตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของตนเอง โดยในระยะเวลา 15 วัน นับแต่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ทาง สปช. จะไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆ เพื่อให้สมาชิกใช้เวลาพิจารณา ส่วนจะมีการจับกลุ่มหารือกัน ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ส่วนข้อเสนอให้สมาชิกสปช. ทำความเห็นส่วนตัวประกอบการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ตนมองว่า จะเป็นการสร้างความหวาดระแวง อันเป็นการบั่นทอนต่อประชาธิปไตย
**คว่ำรธน.ก็ยกร่างใหม่ แค่ยืดเวลา ไม่เสียของ
ด้านนายบวรศักดิ์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง การลงมติร่างรัฐธรรมนูญ โดยชี้แจงให้เห็นถึงการนำหลักการปฏิรูปของ สปช.ไปบัญญัติไว้ใน ภาค 4 การปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง ไว้ทั้งหมด 4 มาตรา และนำรายละเอียดบัญญัติไว้ใน ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ที่มีประมาณ 29 มาตรา แต่หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงมติ ก็ต้องยุบทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างฯ และ สปช. โดยจะมีคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. มาทำหน้าที่แทน ซึ่งการจะบรรจุเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการทั้ง 21 คน ที่มีขึ้นใหม่
ส่วนกระแสการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่รู้สึกหนักใจกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้น หากผ่านก็ไปทำประชามติ ไม่ผ่านก็ต้องปล่อยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ ระบุไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญชั่วคราว กรรมาธิการยกร่างฯ ก็อยากให้ผ่าน แต่ถ้า สปช.ส่วนใหญ่พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ควรผ่าน ก็เป็นสิ่งที่รับได้ ไม่ใช่เรื่องเสียของ แต่ก็จะทำให้เวลายืดยาวออกไปอีก ที่สำคัญคือ จะมีกรรมาธิการยกร่างฯ ใหม่ 21 คน มาจากการแต่งตั้งของคสช.
ส่วนที่มีข้อเสนอให้สมาชิก สปช. ทำความเห็นส่วนตัวประกอบการลงมติ ร่างรัฐธรรมนูญ ตนคิดว่า ควรคำถึงหลักการที่ควรเป็นไปตามประเพณี ที่ให้ลงมติโดยเปิดเผย ด้วยการขานชื่อว่า เห็นชอบ หรือไม่ โดยไม่ต้องให้เหตุผลประกอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำกันตั้งแต่ปี 2547
" ถึงแม้ว่า สปช. จะหมดวาระไปแล้ว แต่การปฏิรูปยังไม่หมดไป เพราะในร่างรัฐธรรมนูญ ที่ยังร่างอยู่มี ภาค 4 ว่าด้วยการปฏิรูปและว่าด้วยการสร้างความปรองดอง พร้อมนำหลักการสำคัญของงานปฏิรูป 11 ด้าน ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรรมาธิการวิสามัญ18 คณะ สนช.ไปบัญญัติตามหลักการหัวใจไว้ 4 มาตรา พร้อมจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศประกอบด้วยมาตราต่างๆ 29 มาตรา ที่จะเสนอให้สภา สปช. เห็นชอบในเร็ววันนี้ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช. ทุกอย่างก็จบลง ทั้งกรรมาธิการยกร่างฯ และสปช. ก็ต้องรอให้กรรมาธิการยกร่างฯ ชุดใหม่ 21 คน มาพิจารณาว่า จะเอาอะไรที่ สปช.ทำอะไรไว้ เพื่อจะนำไปใส่ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือไม่ แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านสปช. และประชามติ ก็ถือว่างานเกือบ 1 ปีของสปช. จะต้องทำต่อไป เพราะรัฐธรรมนูญนี้จะกำหนดหลักการที่เป็นหัวใจไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ โดยกำหนดให้ สนช.ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 90 วัน รวม 6 ฉบับ"
** จี้สอบจริยธรรม"วันชัย"ยุคว่ำร่าง รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายก และเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึง นายเทียนฉาย กีระนันทน์ กรณี สมาชิกสปช. มีพฤติการณ์ หรือการกระทำที่ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ และอื่นๆ โดยนายศรีสุวรรณ พุ่งเป้าไปที่ นายวันชัย สอนศิริ สปช. ที่ออกมาให้ข่าวสนับสนุนให้คว่ำรัฐธรรมนูญ หลายครั้ง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าว เป็นการขัดหรือแย้งต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ สปช. อีกทั้งนายวันชัย ยังมีตำแหน่งเป็นเลขานุการ วิป สปช. ย่อมต้องมีวุฒิภาวะในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 31 ประกอบมาตรา 27 ที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 บัญญัติไว้ ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า นายวันชัย พยายามสร้างกระแสให้ตัวเองโดดเด่น เพื่อที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะได้เลือกให้เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หากเป็นเช่นนั้นจริง จะถือว่าเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย ตนจึงต้องการให้ประธานสปช. ใช้อำนาจดำเนินการตั้งกรรมการสอบจริยธรรมนายวันชัย และ สมาชิก สปช. ที่ออกมาสนับสนุนการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญด้วย
**ค้านแผนปฏิรูปตร.ฉบับ"ธีรยุทธ"
วานนี้ (10ส.ค.) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงเรียกร้องให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้รับรายงานการปฏิรูปกิจการตำรวจ ฉบับที่เสนอโดยพล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สปช.ในกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช. เนื่องจากรายงานฉบับของ นายธีรยุทธ หล่อเลิศรัตน์ ประธานกมธ.ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจนั้น ได้แต่งตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ สปช. เข้ามาดำเนินการ และผลการพิจารณาพบว่า ได้ละเลย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การ กระจายอำนาจตำรวจสู่จังหวัด 2. การให้พนักงานอัยการ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ มีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนตั้งแต่เริ่มคดี และ 3. การปรับระบบงานสอบสวนให้เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากผู้บังคับบัญชา พนักงานสอบสวนสามารถปฏิบัติงานได้ในลักษณะเดียวกับพนักงานอัยการ เพื่อสร้างหลักประกันความเป็นอิสระที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม หากงานสอบสวนไม่แยกออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) จะมีรูปแบบใด
นายวัชระ กล่าวว่า ตนมองว่าหากขาด 3 ประเด็นดังกล่าว การปฏิรูปกิจการตำรวจ คงไม่สามารถทำให้สำเร็จ หาก สปช.ไม่ยอมรับรายงานการปฏิรูปกิจการตำรวจใน 3 ประเด็นดังกล่าว ตนจะเป็นผู้นำเสนอให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำไปกำหนดนโยบายของพรรคต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม สปช. วันนี้ ( 11 ส.ค.) จะมีวาระพิจารณาแผนปฏิรูปกิจการตำรวจ ฉบับที่มี นายธีรยุทธ เป็นผู้เสนอ
สำหรับภายในงาน มีสาระน่าสนใจ อาทิ ในช่วงเช้าจะมีการแสดงวีดีทัศน์เรื่อง "เปลี่ยนประเทศกับสปช." และการเปิดใจของ นายเทียนฉาย ในหัวข้อ "จะปฏิรูปอะไร" ส่วนช่วงบ่าย มีการนำเสนอประเด็นปฏิรูปประเทศของสมาชิก สปช. โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามหัวข้อต่างๆ อาทิ ระบบการเลือกตั้งที่สุจริตยุติธรรม การเมืองเรื่องของประชาชน เป็นต้น ส่วนช่วงเย็น จะมีพิธีปิดส่งมอบผลงานให้กับครม. โดยผ่านนายกรัฐมนตรี และถ่ายภาพหมู่ร่วมกันระหว่างแม่น้ำ 5ส ายด้วย
นายเทียนฉาย ยังกล่าวถึงกระแสการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นการแสดงความเห็นโดยบุคคลเพียงคนเดียว จึงไม่ถือว่าเป็นกระแส รวมถึงกระแสข่าวที่มีการแลกตำแหน่งในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้วย จึงเชื่อว่า สมาชิกจะมีเอกสิทธิ์ และความเป็นอิสระที่จะตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของตนเอง โดยในระยะเวลา 15 วัน นับแต่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ทาง สปช. จะไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆ เพื่อให้สมาชิกใช้เวลาพิจารณา ส่วนจะมีการจับกลุ่มหารือกัน ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ส่วนข้อเสนอให้สมาชิกสปช. ทำความเห็นส่วนตัวประกอบการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ตนมองว่า จะเป็นการสร้างความหวาดระแวง อันเป็นการบั่นทอนต่อประชาธิปไตย
**คว่ำรธน.ก็ยกร่างใหม่ แค่ยืดเวลา ไม่เสียของ
ด้านนายบวรศักดิ์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง การลงมติร่างรัฐธรรมนูญ โดยชี้แจงให้เห็นถึงการนำหลักการปฏิรูปของ สปช.ไปบัญญัติไว้ใน ภาค 4 การปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง ไว้ทั้งหมด 4 มาตรา และนำรายละเอียดบัญญัติไว้ใน ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ที่มีประมาณ 29 มาตรา แต่หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงมติ ก็ต้องยุบทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างฯ และ สปช. โดยจะมีคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. มาทำหน้าที่แทน ซึ่งการจะบรรจุเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการทั้ง 21 คน ที่มีขึ้นใหม่
ส่วนกระแสการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่รู้สึกหนักใจกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้น หากผ่านก็ไปทำประชามติ ไม่ผ่านก็ต้องปล่อยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ ระบุไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญชั่วคราว กรรมาธิการยกร่างฯ ก็อยากให้ผ่าน แต่ถ้า สปช.ส่วนใหญ่พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ควรผ่าน ก็เป็นสิ่งที่รับได้ ไม่ใช่เรื่องเสียของ แต่ก็จะทำให้เวลายืดยาวออกไปอีก ที่สำคัญคือ จะมีกรรมาธิการยกร่างฯ ใหม่ 21 คน มาจากการแต่งตั้งของคสช.
ส่วนที่มีข้อเสนอให้สมาชิก สปช. ทำความเห็นส่วนตัวประกอบการลงมติ ร่างรัฐธรรมนูญ ตนคิดว่า ควรคำถึงหลักการที่ควรเป็นไปตามประเพณี ที่ให้ลงมติโดยเปิดเผย ด้วยการขานชื่อว่า เห็นชอบ หรือไม่ โดยไม่ต้องให้เหตุผลประกอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำกันตั้งแต่ปี 2547
" ถึงแม้ว่า สปช. จะหมดวาระไปแล้ว แต่การปฏิรูปยังไม่หมดไป เพราะในร่างรัฐธรรมนูญ ที่ยังร่างอยู่มี ภาค 4 ว่าด้วยการปฏิรูปและว่าด้วยการสร้างความปรองดอง พร้อมนำหลักการสำคัญของงานปฏิรูป 11 ด้าน ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรรมาธิการวิสามัญ18 คณะ สนช.ไปบัญญัติตามหลักการหัวใจไว้ 4 มาตรา พร้อมจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศประกอบด้วยมาตราต่างๆ 29 มาตรา ที่จะเสนอให้สภา สปช. เห็นชอบในเร็ววันนี้ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช. ทุกอย่างก็จบลง ทั้งกรรมาธิการยกร่างฯ และสปช. ก็ต้องรอให้กรรมาธิการยกร่างฯ ชุดใหม่ 21 คน มาพิจารณาว่า จะเอาอะไรที่ สปช.ทำอะไรไว้ เพื่อจะนำไปใส่ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือไม่ แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านสปช. และประชามติ ก็ถือว่างานเกือบ 1 ปีของสปช. จะต้องทำต่อไป เพราะรัฐธรรมนูญนี้จะกำหนดหลักการที่เป็นหัวใจไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ โดยกำหนดให้ สนช.ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 90 วัน รวม 6 ฉบับ"
** จี้สอบจริยธรรม"วันชัย"ยุคว่ำร่าง รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายก และเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึง นายเทียนฉาย กีระนันทน์ กรณี สมาชิกสปช. มีพฤติการณ์ หรือการกระทำที่ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ และอื่นๆ โดยนายศรีสุวรรณ พุ่งเป้าไปที่ นายวันชัย สอนศิริ สปช. ที่ออกมาให้ข่าวสนับสนุนให้คว่ำรัฐธรรมนูญ หลายครั้ง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าว เป็นการขัดหรือแย้งต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ สปช. อีกทั้งนายวันชัย ยังมีตำแหน่งเป็นเลขานุการ วิป สปช. ย่อมต้องมีวุฒิภาวะในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 31 ประกอบมาตรา 27 ที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 บัญญัติไว้ ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า นายวันชัย พยายามสร้างกระแสให้ตัวเองโดดเด่น เพื่อที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะได้เลือกให้เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หากเป็นเช่นนั้นจริง จะถือว่าเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย ตนจึงต้องการให้ประธานสปช. ใช้อำนาจดำเนินการตั้งกรรมการสอบจริยธรรมนายวันชัย และ สมาชิก สปช. ที่ออกมาสนับสนุนการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญด้วย
**ค้านแผนปฏิรูปตร.ฉบับ"ธีรยุทธ"
วานนี้ (10ส.ค.) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงเรียกร้องให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้รับรายงานการปฏิรูปกิจการตำรวจ ฉบับที่เสนอโดยพล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สปช.ในกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช. เนื่องจากรายงานฉบับของ นายธีรยุทธ หล่อเลิศรัตน์ ประธานกมธ.ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจนั้น ได้แต่งตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ สปช. เข้ามาดำเนินการ และผลการพิจารณาพบว่า ได้ละเลย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การ กระจายอำนาจตำรวจสู่จังหวัด 2. การให้พนักงานอัยการ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ มีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนตั้งแต่เริ่มคดี และ 3. การปรับระบบงานสอบสวนให้เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากผู้บังคับบัญชา พนักงานสอบสวนสามารถปฏิบัติงานได้ในลักษณะเดียวกับพนักงานอัยการ เพื่อสร้างหลักประกันความเป็นอิสระที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม หากงานสอบสวนไม่แยกออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) จะมีรูปแบบใด
นายวัชระ กล่าวว่า ตนมองว่าหากขาด 3 ประเด็นดังกล่าว การปฏิรูปกิจการตำรวจ คงไม่สามารถทำให้สำเร็จ หาก สปช.ไม่ยอมรับรายงานการปฏิรูปกิจการตำรวจใน 3 ประเด็นดังกล่าว ตนจะเป็นผู้นำเสนอให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำไปกำหนดนโยบายของพรรคต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม สปช. วันนี้ ( 11 ส.ค.) จะมีวาระพิจารณาแผนปฏิรูปกิจการตำรวจ ฉบับที่มี นายธีรยุทธ เป็นผู้เสนอ