ASTV ผู้จัดการรายวัน-"คำนูณ"เผย กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดถกปมร้อนใหม่สัปดาห์หน้า ทั้งภาษีบาป และที่มา ส.ว. เผยเตรียมผ่าทางตันใช้เงินภาษีบาป ชง 3 ทางเลือกให้ "สสส.-ไทยพีบีเอส-กองทุนกีฬา" ต้องเข้าระบบงบประมาณ ใช้แบบเดิม แต่ต้องขออนุมัติสภา และปล่อยเหมือนเดิม "บิ๊กไทยพีบีเอส" บุกค้านไอเดีย "อุ๋ย" โวยกระทบสื่อสาธารณะ "เจษฎ์"ค้านปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ห้างทำมาตั้งแต่ คสช. ยึดอำนาจ แนะส่งไม้ต่อสภาขับเคลื่อนฯ ปูดกมธ.ยกร่างอึดอัด หลังมีคำสั่ง คสช. แทรกแซง สั่งให้มี ส.ว.สรรหาทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (6 ส.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาปรับแก้ไขบันทึกเจตนารมณ์เป็นรายมาตรา โดยเป็นการพิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 3 รัฐสภา ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ประเด็นที่ค้างการพิจารณาและประเด็นที่สังคมเรียกร้องให้ทบทวนและปรับแก้ไขนั้น ทาง กมธ.ยกร่างฯ จะนำมาพิจารณาทบทวนอีกครั้งในวันที่ 10-11 ส.ค.นี้ ซึ่งประเด็นการจัดเก็บค่าบำรุงพิเศษเข้าองค์กรนั้น จากการหารือเบื้องต้นของกมธ.ยกร่างฯ อย่างไม่เป็นทางการ เห็นตรงกันว่าประเด็นนี้ จำเป็นต้องมีการทบทวน เพราะจากการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากทางหน่วยงานภาษีต่างๆ รวมทั้งตัวบทกฎหมายขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ การเก็บค่าบำรุงองค์กรทั้ง 3 แห่ง ไม่ได้เป็นการหักจากภาษีก่อนเข้าคลัง แต่เป็นการเก็บเพิ่มจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและยาสูบตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ส่วนผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไร ตนยังไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากต้อง รอดูผลการทบทวนก่อน
ส่วนประเด็นที่มาของวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งมีการเรียกร้องให้เป็น ส.ว. แบบสรรหาทั้งหมดนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยกันเลย เนื่องจากประเด็นนี้ มีหลากหลายความคิดเห็นที่เสนอเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนตัวมองว่าเมื่อเดินมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็ไม่ควรรื้อแบบชนิดพลิกกลับทั้งหมด โดยโครงสร้างประเด็นที่มาของส.ว. น่าจะยังคงหลักการเดิมไว้ ส่วนรูปแบบของคณะกรรมการสรรหาน่าจะมีการนำมาพิจารณาให้เกิดความเหมาะสมอีกครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ที่มติของ กมธ.ยกร่างฯ ว่าจะพิจารณาเช่นไร เพราะตราบใดที่ยัง ไม่ถึงวันที่ 22 ส.ค. ซึ่งในทางทฤษฎีสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติ หากปรับเปลี่ยนมาก ก็อาจไม่ทันการได้เพราะจะต้องไปกระทบกับมาตราอื่นๆ อีกมาก
** ปม “ภาษีบาป” ยังไม่ลงตัว
นายจรัส สุวรรณมาลา กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้รับผิดชอบการยกร่างเกี่ยวกับการคลังและการงบประมาณของรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาในส่วนของค่าบำรุงองค์กรหรืองบประมาณของไทยพีบีเอส สสส. และกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าจะต้องผ่านหรือไม่ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี และคาดว่าจะนำมาทบทวนหารือในวันที่ 10-11 ส.ค.นี้ โดยยืนยันในหลักการเดิมว่าการยกเลิกกฎหมายจัดเก็บและจัดสรรภาษี เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะหรือที่เรียกว่า ภาษีบาป (Earmarked Tex) ให้แก่องค์กรอื่นๆ จะไม่มีแล้ว ซึ่งเราจะมาดูว่าองค์กรทั้ง 3 แห่งที่ตั้งมาก่อนหน้านี้จะพิจารณาอย่างไรต่อไป
รายงานข่าวจาก กมธ.ยกร่างฯ แจ้งว่า ล่าสุด กมธ.ยกร่างฯ มี 3 แนวทางการพิจารณา คือ แนวคิดที่ 1.ยกเลิกไม่ให้ทั้ง 3 องค์กรใช้ภาษีบาป แต่จะใช้วิธีให้ของบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีตามปกติ แต่ก็จะทำให้เกิดข้อเสีย คือ จากเดิมที่บริษัทเหล้า บุหรี่ ต้องเสียให้ สสส. 2% ไทยพีบีเอส 1.5% กองทุนพัฒนากีฬา 2% โดยแยกออกมาจากที่ต้องเสียให้คลัง 100% ต่อไปก็จะไม่ต้องเสียให้กับทั้ง3องค์กร แนวคิดที่ 2 ให้รับภาษีบาปเช่นเดิม แต่การใช้งบประมาณให้มาขอความเป็นชอบจากรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน ซึ่งเป็นการเพิ่มการตรวจสอบ และปฏิบัติตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ถูกต้อง และแนวคิดที่ 3 ปล่อยให้เป็นแบบเดิม โดยอ้างว่าจะได้ไม่ถูกนักการเมืองเข้ามาแทรกแซง อีกทั้งภาษีสุรา บุหรี่ ก็ไม่ต้องจ่ายภาษีบาปให้ 3 องค์กรนี้น้อยลง
ทั้งนี้ จากการที่ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม กมธ.ยกร่างฯ หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางที่ 2 เพราะจะสามารถมีการตรวจสอบงบประมาณได้เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของสำนักงบประมาณ ครม. ส.ส. กมธ.วิสามัญร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ส.ว. และสื่อมวลชน ส่วนรูปแบบเดิมมีเพียงแค่หน่วยงานเดียวที่ตรวจสอบการใช้เงิน คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขณะที่การใช้งบประมาณก็อนุญาตให้ 3 องค์กรใช้เงินไปก่อน แล้วค่อยมารายงาน ส.ส. และ ส.ว.ในภายหลัง ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่ขัดกับวินัยการเงิน การคลัง ของประเทศ อีกทั้งยังป้องกันองค์กรอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ให้มาใช้รูปแบบเดียวกับทั้ง 3 องค์กรด้วย
** “TPBS” บุกสภาค้านไอเดีย “อุ๋ย”
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส และนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส เข้ายื่นหนังสือต่อ นายมานิจ สุขสมจิต และนายสุจิต บุญบงการ รองประธานกมธ.ยกร่างฯ เพื่อขอให้ทบทวนการปรับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีและการจัดสรรเงิน โดยระบุว่า หากมีปรับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เสนอมา จะกระทบต่อไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นสื่อสาธารณะที่ทำประโยชน์เพื่อประชาชน ทำหน้าที่ตรวจสอบ และไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายใด
ขณะเดียวกันคณะผู้บริหารไทยพีบีเอส ได้ยื่นหนังสือถึง นายจุมพล รอดคำดี ประธาน กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วย โดยนายจุมพล ได้เห็นถึงความสำคัญที่จะกระทบต่อการทำงานของไทยพีบีเอส ซึ่งทาง กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนฯ จะมีการหารือกับ กมธ.ยกร่างฯ ถึงการทบทวนบทบัญญัติดังกล่าวต่อไป
** “เจษฎ์” ค้านปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง
สำหรับข้อเสนอของ สปช.บางรายที่ต้องการให้มีการปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้งนั้น นายเจษฎ์ โทณะวนิก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยว่า การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เกิดขึ้นตั้งแต่วันยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2557 แล้ว ถือเป็นการปฏิรูปปัญหาประเทศในปัจจุบันพร้อมๆ กับการวางแนวทางในอนาคต หากมีการยืดเวลาปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง จะสะท้อนให้เห็นว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพจริง และจะเกิดความไม่ชอบธรรมในอนาคต ดังนั้น สิ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือ การส่งไม้ต่อการปฏิรูปผ่านสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปยังคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปประเทศ และการสร้างความปรองดองในระยะยาวมากกว่าว่าจะมีกลไกในการทำหน้าที่สานต่อสิ่งที่ต้องการปฏิรูปมาตั้งแต่ต้นให้มี ประสิทธิภาพอย่างไร
*** คำถามประชามติต้องทำวันที่ 7 ก.ย.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิก สปช. และ กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกำหนดการพิจารณาการตั้งประเด็นคำถามของ สปช.ว่า ตามบัญญัติ มาตรา 37 วรรค 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ระบุไว้ว่า การเสนอประเด็นคำถามของ สปช.เพื่อนำไปทำประชามตินั้น ให้กระทำภายในวันเดียวกันกับวันที่ สปช.มีมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ การที่มี สปช.บางคนออกมาให้ข่าวว่า สปช.จะมีการหาข้อสรุปร่วมกันก่อนว่า จะเห็นควรให้มีการตั้งคำถามหรือไม่ก่อนในช่วงวันที่ 17-21 ส.ค.นี้ อาจจะกระทำการขัดรัฐธรรมนูญเพราะกระบวนการตั้งประเด็นคำถามเพื่อไปทำประชามติทำได้ในวันที่ 7 ก.ย.ภายหลังจากที่ สปช.ลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วเท่านั้น
** 9 เดือนหลังมี รธน.ใหม่ถึงได้เลือกตั้ง
ที่สำนักงาน ก.พ. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีว่า ขณะนี้คณะกรรมการแผนยุทธศาสตร์ชาติที่มีพล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รวบรวมยุทธศาสตร์ของคสช. 11 ข้อ ของรัฐบาล 11 ข้อ รวมถึง 37 ข้อของ สปช. มาจัดกลุ่ม เรียงลำดับความสำคัญการปฏิรูปก่อนหลังไว้คราวๆ แล้ว ซึ่งแผนจะทำควบคู่กับการจัดทำแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาความมั่นคง เพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งจะมีความชัดเจนหลังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ เพราะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยที่รัฐบาลและข้าราชการต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตาม นักการเมืองจะถูกถอดถอน ข้าราชการมีโทษ
ส่วนที่เป็นห่วงเรื่องของโรดแมปการเลือกตั้งว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะประกาศใช้เมื่อใดปีไหนก็ตาม ให้นับไปอีก 8-9 เดือน จะมีการเลือกตั้ง
** “ปึ้ง” จี้ สปช.เกรงใจเจ้าของเงินเดือน
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้มี สปช.บางคนพยายามจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญทิ้ง อยากถามว่าเงินเดือนพวกท่าน เงินเดือนผู้ช่วย ที่ปรึกษา ค่าเดินทาง เบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ท่านทั้งหลายนำใช้ไปตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นเงินเกือบ 1 พันล้านบาท ไม่เสียดายบ้างหรืออย่างไร เพราะถ้าคว่ำร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องเริ่มกันใหม่หมด ถ้าเงินใช้จ่ายกันไปเป็นเงินของครอบครัวจะเสียดายหรือไม่ แต่นี่เป็นเงินภาษีประชาชน คิดจะทำอะไรต้องเกรงใจเจ้าของเงินด้วย หากจะคว่ำร่างทิ้ง ขอให้พวกท่านมีความละอายใจ คืนเงินเดือน เบี้ยประชุม เงินประจำตำแหน่ง เงินเดือนผู้ช่วย ที่ปรึกษา ค่าเดินทางคืนกลับคลัง พร้อมดอกเบี้ยด้วย
** โวย “บิ๊ก คสช.” ล้วงลูกยกร่าง รธน.
นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกระแสที่มาว่า คสช. เข้ามากดดันการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯในประเด็นที่มา ส.ว.ที่ต้องการให้ที่มาแบบการสรรหาทั้งหมด พร้อมกำหนดในบทเฉพาะกาลให้ ส.ว.สรรหาชุดแรกนั้น คสช.เป็นผู้แต่งตั้งทั้งหมดว่า ในหลักการแล้ว กมธ.ยกร่างฯ มีเจตนารมณ์ให้ ส.ว.เป็นสภาพหุนิยม คือ มีความหลากหลายให้ตัวแทนจากอาชีพต่างๆ มีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่ได้ อีกทั้งคณะกรรมการสรรหาก็มีมาหลายกลุ่ม ไม่ได้รู้ว่าเป็นใครบ้าง ตรงนี้ก็ช่วยสกัด หรือล็อบบี้เข้ามาเป็น ส.ว.ได้ แต่หากให้ส.ว.เป็นการสรรหาทั้งหมด คนที่ได้เข้ามาก็จะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ทั้งนี้ หาก กมธ.ยกร่างฯยอมเปลี่ยนให้ ส.ว.เป็นแบบสรรหาทั้งหมด ถามว่าแล้วจะให้ใครมาเป็นกรรมการสรรหาที่สังคมยอมรับได้
แหล่งข่าวใน กมธ.ยกร่างฯคนหนึ่ง กล่าวว่า จากการสอบถามความเห็นกมธ.ยกร่างฯ พบว่าเสียงส่วนใหญ่มีความอึดอัด ที่คสช.ได้เข้ามาแทรกแซงการทำงาน พร้อมกับชี้นำและให้ปฏิบัติตาม โดยไม่ยอมทำหนังสือขอแก้ไขมาอย่างเป็นทางการ ทั้งๆ ที่การเสนอขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของ ครม. ก็เสนอให้ที่มาส.ว.มาจากทั้ง 2 รูปแบบ คือ ทั้งการสรรหา และเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (6 ส.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาปรับแก้ไขบันทึกเจตนารมณ์เป็นรายมาตรา โดยเป็นการพิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 3 รัฐสภา ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ประเด็นที่ค้างการพิจารณาและประเด็นที่สังคมเรียกร้องให้ทบทวนและปรับแก้ไขนั้น ทาง กมธ.ยกร่างฯ จะนำมาพิจารณาทบทวนอีกครั้งในวันที่ 10-11 ส.ค.นี้ ซึ่งประเด็นการจัดเก็บค่าบำรุงพิเศษเข้าองค์กรนั้น จากการหารือเบื้องต้นของกมธ.ยกร่างฯ อย่างไม่เป็นทางการ เห็นตรงกันว่าประเด็นนี้ จำเป็นต้องมีการทบทวน เพราะจากการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากทางหน่วยงานภาษีต่างๆ รวมทั้งตัวบทกฎหมายขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ การเก็บค่าบำรุงองค์กรทั้ง 3 แห่ง ไม่ได้เป็นการหักจากภาษีก่อนเข้าคลัง แต่เป็นการเก็บเพิ่มจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและยาสูบตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ส่วนผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไร ตนยังไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากต้อง รอดูผลการทบทวนก่อน
ส่วนประเด็นที่มาของวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งมีการเรียกร้องให้เป็น ส.ว. แบบสรรหาทั้งหมดนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยกันเลย เนื่องจากประเด็นนี้ มีหลากหลายความคิดเห็นที่เสนอเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนตัวมองว่าเมื่อเดินมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็ไม่ควรรื้อแบบชนิดพลิกกลับทั้งหมด โดยโครงสร้างประเด็นที่มาของส.ว. น่าจะยังคงหลักการเดิมไว้ ส่วนรูปแบบของคณะกรรมการสรรหาน่าจะมีการนำมาพิจารณาให้เกิดความเหมาะสมอีกครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ที่มติของ กมธ.ยกร่างฯ ว่าจะพิจารณาเช่นไร เพราะตราบใดที่ยัง ไม่ถึงวันที่ 22 ส.ค. ซึ่งในทางทฤษฎีสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติ หากปรับเปลี่ยนมาก ก็อาจไม่ทันการได้เพราะจะต้องไปกระทบกับมาตราอื่นๆ อีกมาก
** ปม “ภาษีบาป” ยังไม่ลงตัว
นายจรัส สุวรรณมาลา กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้รับผิดชอบการยกร่างเกี่ยวกับการคลังและการงบประมาณของรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาในส่วนของค่าบำรุงองค์กรหรืองบประมาณของไทยพีบีเอส สสส. และกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติว่าจะต้องผ่านหรือไม่ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี และคาดว่าจะนำมาทบทวนหารือในวันที่ 10-11 ส.ค.นี้ โดยยืนยันในหลักการเดิมว่าการยกเลิกกฎหมายจัดเก็บและจัดสรรภาษี เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะหรือที่เรียกว่า ภาษีบาป (Earmarked Tex) ให้แก่องค์กรอื่นๆ จะไม่มีแล้ว ซึ่งเราจะมาดูว่าองค์กรทั้ง 3 แห่งที่ตั้งมาก่อนหน้านี้จะพิจารณาอย่างไรต่อไป
รายงานข่าวจาก กมธ.ยกร่างฯ แจ้งว่า ล่าสุด กมธ.ยกร่างฯ มี 3 แนวทางการพิจารณา คือ แนวคิดที่ 1.ยกเลิกไม่ให้ทั้ง 3 องค์กรใช้ภาษีบาป แต่จะใช้วิธีให้ของบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีตามปกติ แต่ก็จะทำให้เกิดข้อเสีย คือ จากเดิมที่บริษัทเหล้า บุหรี่ ต้องเสียให้ สสส. 2% ไทยพีบีเอส 1.5% กองทุนพัฒนากีฬา 2% โดยแยกออกมาจากที่ต้องเสียให้คลัง 100% ต่อไปก็จะไม่ต้องเสียให้กับทั้ง3องค์กร แนวคิดที่ 2 ให้รับภาษีบาปเช่นเดิม แต่การใช้งบประมาณให้มาขอความเป็นชอบจากรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน ซึ่งเป็นการเพิ่มการตรวจสอบ และปฏิบัติตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ถูกต้อง และแนวคิดที่ 3 ปล่อยให้เป็นแบบเดิม โดยอ้างว่าจะได้ไม่ถูกนักการเมืองเข้ามาแทรกแซง อีกทั้งภาษีสุรา บุหรี่ ก็ไม่ต้องจ่ายภาษีบาปให้ 3 องค์กรนี้น้อยลง
ทั้งนี้ จากการที่ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม กมธ.ยกร่างฯ หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางที่ 2 เพราะจะสามารถมีการตรวจสอบงบประมาณได้เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของสำนักงบประมาณ ครม. ส.ส. กมธ.วิสามัญร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ส.ว. และสื่อมวลชน ส่วนรูปแบบเดิมมีเพียงแค่หน่วยงานเดียวที่ตรวจสอบการใช้เงิน คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขณะที่การใช้งบประมาณก็อนุญาตให้ 3 องค์กรใช้เงินไปก่อน แล้วค่อยมารายงาน ส.ส. และ ส.ว.ในภายหลัง ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่ขัดกับวินัยการเงิน การคลัง ของประเทศ อีกทั้งยังป้องกันองค์กรอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ให้มาใช้รูปแบบเดียวกับทั้ง 3 องค์กรด้วย
** “TPBS” บุกสภาค้านไอเดีย “อุ๋ย”
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส และนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส เข้ายื่นหนังสือต่อ นายมานิจ สุขสมจิต และนายสุจิต บุญบงการ รองประธานกมธ.ยกร่างฯ เพื่อขอให้ทบทวนการปรับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีและการจัดสรรเงิน โดยระบุว่า หากมีปรับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เสนอมา จะกระทบต่อไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นสื่อสาธารณะที่ทำประโยชน์เพื่อประชาชน ทำหน้าที่ตรวจสอบ และไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายใด
ขณะเดียวกันคณะผู้บริหารไทยพีบีเอส ได้ยื่นหนังสือถึง นายจุมพล รอดคำดี ประธาน กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วย โดยนายจุมพล ได้เห็นถึงความสำคัญที่จะกระทบต่อการทำงานของไทยพีบีเอส ซึ่งทาง กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนฯ จะมีการหารือกับ กมธ.ยกร่างฯ ถึงการทบทวนบทบัญญัติดังกล่าวต่อไป
** “เจษฎ์” ค้านปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง
สำหรับข้อเสนอของ สปช.บางรายที่ต้องการให้มีการปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้งนั้น นายเจษฎ์ โทณะวนิก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยว่า การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เกิดขึ้นตั้งแต่วันยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2557 แล้ว ถือเป็นการปฏิรูปปัญหาประเทศในปัจจุบันพร้อมๆ กับการวางแนวทางในอนาคต หากมีการยืดเวลาปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง จะสะท้อนให้เห็นว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพจริง และจะเกิดความไม่ชอบธรรมในอนาคต ดังนั้น สิ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือ การส่งไม้ต่อการปฏิรูปผ่านสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปยังคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปประเทศ และการสร้างความปรองดองในระยะยาวมากกว่าว่าจะมีกลไกในการทำหน้าที่สานต่อสิ่งที่ต้องการปฏิรูปมาตั้งแต่ต้นให้มี ประสิทธิภาพอย่างไร
*** คำถามประชามติต้องทำวันที่ 7 ก.ย.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิก สปช. และ กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกำหนดการพิจารณาการตั้งประเด็นคำถามของ สปช.ว่า ตามบัญญัติ มาตรา 37 วรรค 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ระบุไว้ว่า การเสนอประเด็นคำถามของ สปช.เพื่อนำไปทำประชามตินั้น ให้กระทำภายในวันเดียวกันกับวันที่ สปช.มีมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ การที่มี สปช.บางคนออกมาให้ข่าวว่า สปช.จะมีการหาข้อสรุปร่วมกันก่อนว่า จะเห็นควรให้มีการตั้งคำถามหรือไม่ก่อนในช่วงวันที่ 17-21 ส.ค.นี้ อาจจะกระทำการขัดรัฐธรรมนูญเพราะกระบวนการตั้งประเด็นคำถามเพื่อไปทำประชามติทำได้ในวันที่ 7 ก.ย.ภายหลังจากที่ สปช.ลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วเท่านั้น
** 9 เดือนหลังมี รธน.ใหม่ถึงได้เลือกตั้ง
ที่สำนักงาน ก.พ. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีว่า ขณะนี้คณะกรรมการแผนยุทธศาสตร์ชาติที่มีพล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รวบรวมยุทธศาสตร์ของคสช. 11 ข้อ ของรัฐบาล 11 ข้อ รวมถึง 37 ข้อของ สปช. มาจัดกลุ่ม เรียงลำดับความสำคัญการปฏิรูปก่อนหลังไว้คราวๆ แล้ว ซึ่งแผนจะทำควบคู่กับการจัดทำแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาความมั่นคง เพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งจะมีความชัดเจนหลังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ เพราะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยที่รัฐบาลและข้าราชการต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตาม นักการเมืองจะถูกถอดถอน ข้าราชการมีโทษ
ส่วนที่เป็นห่วงเรื่องของโรดแมปการเลือกตั้งว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะประกาศใช้เมื่อใดปีไหนก็ตาม ให้นับไปอีก 8-9 เดือน จะมีการเลือกตั้ง
** “ปึ้ง” จี้ สปช.เกรงใจเจ้าของเงินเดือน
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้มี สปช.บางคนพยายามจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญทิ้ง อยากถามว่าเงินเดือนพวกท่าน เงินเดือนผู้ช่วย ที่ปรึกษา ค่าเดินทาง เบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ท่านทั้งหลายนำใช้ไปตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นเงินเกือบ 1 พันล้านบาท ไม่เสียดายบ้างหรืออย่างไร เพราะถ้าคว่ำร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องเริ่มกันใหม่หมด ถ้าเงินใช้จ่ายกันไปเป็นเงินของครอบครัวจะเสียดายหรือไม่ แต่นี่เป็นเงินภาษีประชาชน คิดจะทำอะไรต้องเกรงใจเจ้าของเงินด้วย หากจะคว่ำร่างทิ้ง ขอให้พวกท่านมีความละอายใจ คืนเงินเดือน เบี้ยประชุม เงินประจำตำแหน่ง เงินเดือนผู้ช่วย ที่ปรึกษา ค่าเดินทางคืนกลับคลัง พร้อมดอกเบี้ยด้วย
** โวย “บิ๊ก คสช.” ล้วงลูกยกร่าง รธน.
นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกระแสที่มาว่า คสช. เข้ามากดดันการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯในประเด็นที่มา ส.ว.ที่ต้องการให้ที่มาแบบการสรรหาทั้งหมด พร้อมกำหนดในบทเฉพาะกาลให้ ส.ว.สรรหาชุดแรกนั้น คสช.เป็นผู้แต่งตั้งทั้งหมดว่า ในหลักการแล้ว กมธ.ยกร่างฯ มีเจตนารมณ์ให้ ส.ว.เป็นสภาพหุนิยม คือ มีความหลากหลายให้ตัวแทนจากอาชีพต่างๆ มีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่ได้ อีกทั้งคณะกรรมการสรรหาก็มีมาหลายกลุ่ม ไม่ได้รู้ว่าเป็นใครบ้าง ตรงนี้ก็ช่วยสกัด หรือล็อบบี้เข้ามาเป็น ส.ว.ได้ แต่หากให้ส.ว.เป็นการสรรหาทั้งหมด คนที่ได้เข้ามาก็จะเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ทั้งนี้ หาก กมธ.ยกร่างฯยอมเปลี่ยนให้ ส.ว.เป็นแบบสรรหาทั้งหมด ถามว่าแล้วจะให้ใครมาเป็นกรรมการสรรหาที่สังคมยอมรับได้
แหล่งข่าวใน กมธ.ยกร่างฯคนหนึ่ง กล่าวว่า จากการสอบถามความเห็นกมธ.ยกร่างฯ พบว่าเสียงส่วนใหญ่มีความอึดอัด ที่คสช.ได้เข้ามาแทรกแซงการทำงาน พร้อมกับชี้นำและให้ปฏิบัติตาม โดยไม่ยอมทำหนังสือขอแก้ไขมาอย่างเป็นทางการ ทั้งๆ ที่การเสนอขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของ ครม. ก็เสนอให้ที่มาส.ว.มาจากทั้ง 2 รูปแบบ คือ ทั้งการสรรหา และเลือกตั้ง