พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการโครงการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ติดตามและกำชับให้การดำเนินโครงการกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งดำนินการผ่านธนาคารรัฐ 3 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงไทย ให้มีความพร้อมมากที่สุด ทั้งระบบการให้บริการ การให้คำปรึกษาของเจ้าหน้าที่ และทดสอบระบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อให้มีความ สมบูรณ์ และพร้อมให้บริการในวันเปิดโครงการ
"ในเบื้องต้นทราบว่า ธ.ก.ส.ได้มีการซักซ้อมอบรมเจ้าหน้าที่ และทดสอบระบบแล้ว ขณะที่ธนาคารออมสินได้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่แล้ว และกำลังทดสอบระบบรวมทั้งทำเรื่องชี้แจงไปยังธนาคารสาขา ทั้งนี้ คาดว่าวันเปิดโครงการจะเลื่อนจากกำหนดเดิมคือ วันที่ 18 ส.ค. เป็นวันที่ 20 ส.ค. เพื่อให้มีช่วงเวลาในการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบอย่างทั่วถึงครอบคลุมมากที่สุด"
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุนการออมแห่งชาติ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญ ซึ่งคาดว่ามีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ อาชีพเกษตรกรรม แม่ค้าหาบเร่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อ หรือแรงงานรายวัน ที่ไม่มีระบบสวัสดิการ ซึ่งสามารถสมัครได้ตั้งแต่อายุ15-60 ปี โดยใช้เอกสารหลักฐานเพียงบัตรประจำประชาชนใบเดียว ทั้งนี้เพื่อให้พี่น้องประชาชนกลุ่มนี้ได้สร้างระบบการออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณของตนเอง โดยรัฐบาลจะสมทบเงินให้ส่วนหนึ่ง ปีละไม่เกิน 13,200 บาท เมื่อออมจนเกษียณอายุ 60 ปี กองทุนจะจ่ายเงินบำนาญให้ทุกเดือน ตลอดชีพ
** สปช.ชง 3แนวทางปฏิรูปการเงิน
วานนี้ (2 ส.ค.) ที่รัฐสภา นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่าคณะกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอวาระการปฏิรูปที่ 13 การปฏิรูปการเงินฐานรากและสหกรณ์ออมทรัพย์ (รอบ 2) ซึ่งที่ประชุมสปช. มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 58 พร้อมส่งรายงานและร่างกฎหมายให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยมี 3 ประเด็นหลักคือ 1. การปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์ และเครดิตยูเนียน 2. แนวทางให้ความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน 3. การปฏิรูปการเงินฐานราก
นายสมชัย กล่าวว่าในประเด็นที่ 1 การปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน เป็นอีกประเด็นที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน ได้เป็นหลักสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มของสมาชิกในการดูแลซึ่งกันและกัน และช่วยให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก อย่างไรก็ตามกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน ได้ขยายกิจการขึ้นอย่างรวดเร็ว และในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีบางแห่งที่เริ่มประสบปัญหาในการดำเนินการ จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล เพื่อยกระดับมาตรฐาน และสร้างความมั่นคงยั่งยืนในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน เป็นที่พึ่งทางการเงินให้กับสมาชิกอย่างแท้จริง
สำหรับประเด็นที่ 2 แนวทางให้ความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคนไทยจำนวนมากยังขาดความรู้ทางการเงิน และไม่สามารถบริหารการเงินส่วนบุคคลและครอบครัวได้ จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมแนวทางการให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนอย่างครอบคลุม และทั่วถึงด้วยการกำหนดให้การให้ความรู้ทางการเงิน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องดำเนินการ รวมทั้งจัดตั้ง “สถาบันส่งเสริมความรู้ทางการเงินแห่งชาติ”เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการวางยุทธศาสตร์ด้านนโยบายและดำเนินการอย่างสอดประสาน อันจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเงินต่างๆ ของประชาชนได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งทั้ง 3 เรื่อง จะเป็นการปฏิรูประบบการเงินของประเทศครั้งสำคัญ ที่จะเปลี่ยนชี้วัดของคนไทย 30 ล้านคน ที่จะลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่การวางรากฐานการพัฒนาที่สมดุล และสร้างอนาคตให้กับประเทศและประชาชนอย่างทั่วถึง
ด้านนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของประเด็นที่ 3 การปฏิรูปการเงินฐานราก จะช่วยยกระดับให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบท ในการเข้าถึงแหล่งการออม และแหล่งทุน ที่จะนำมาใช้ในการสร้างอาชีพ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ ส่วนร่าง พ.ร.บ.การเงินระดับฐานราก พ.ศ... มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะจัดตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบการเงิน ระดับฐานรากภายใต้กระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำและขับเคลื่อนแผนแม่บท และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการเงินระดับฐานรากของประเทศ รวมทั้งสร้างโครงข่ายการเงินระดับฐานราก โดยยกระดับสถาบันการเงินชุมชน หรือกลุ่มออมทรัพย์ที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่โครงข่าย โดยให้มีฐานะเป็นลูกข่ายที่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งพัฒนายกระดับด้านมาตรฐานการบัญชี การบริหารความเสี่ยง และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของลูกข่าย ร่วมกับภาคี พร้อมทั้งจัดสรรผลกำไรจากโครงข่ายเข้าสู่กองทุนพัฒนาระบบการเงินระดับฐานราก เพื่อใช้ในการดำเนินการ เพื่อให้ไม่เป็นภาระต่อทางการ ตลอดจนสร้างกลไกการกำกับดูแลและความมั่นคงทางการเงินระยะยาวผ่านการตรวจสอบของแม่ข่าย
"การปฏิรูปทั้ง 3 ด้านนี้ คือ การปฏิรูประบบการเงินระดับฐานราก การปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน และแนวทางการให้ความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน จะเป็นการปฏิรูประบบการเงินของประเทศครั้งสำคัญ ที่จะเปลี่ยนชี้วัดของคนไทยนับ 30 ล้านคน ลดความเหลื่อมล้ำนำไปสู่การวางรากฐานการพัฒนาที่สมดุล และสร้างอนาคตให้กับประเทศและประชาชนอย่างทั่วถึง" นายกอบศักดิ์ กล่าว
"ในเบื้องต้นทราบว่า ธ.ก.ส.ได้มีการซักซ้อมอบรมเจ้าหน้าที่ และทดสอบระบบแล้ว ขณะที่ธนาคารออมสินได้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่แล้ว และกำลังทดสอบระบบรวมทั้งทำเรื่องชี้แจงไปยังธนาคารสาขา ทั้งนี้ คาดว่าวันเปิดโครงการจะเลื่อนจากกำหนดเดิมคือ วันที่ 18 ส.ค. เป็นวันที่ 20 ส.ค. เพื่อให้มีช่วงเวลาในการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบอย่างทั่วถึงครอบคลุมมากที่สุด"
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุนการออมแห่งชาติ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญ ซึ่งคาดว่ามีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ อาชีพเกษตรกรรม แม่ค้าหาบเร่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อ หรือแรงงานรายวัน ที่ไม่มีระบบสวัสดิการ ซึ่งสามารถสมัครได้ตั้งแต่อายุ15-60 ปี โดยใช้เอกสารหลักฐานเพียงบัตรประจำประชาชนใบเดียว ทั้งนี้เพื่อให้พี่น้องประชาชนกลุ่มนี้ได้สร้างระบบการออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณของตนเอง โดยรัฐบาลจะสมทบเงินให้ส่วนหนึ่ง ปีละไม่เกิน 13,200 บาท เมื่อออมจนเกษียณอายุ 60 ปี กองทุนจะจ่ายเงินบำนาญให้ทุกเดือน ตลอดชีพ
** สปช.ชง 3แนวทางปฏิรูปการเงิน
วานนี้ (2 ส.ค.) ที่รัฐสภา นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่าคณะกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอวาระการปฏิรูปที่ 13 การปฏิรูปการเงินฐานรากและสหกรณ์ออมทรัพย์ (รอบ 2) ซึ่งที่ประชุมสปช. มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 58 พร้อมส่งรายงานและร่างกฎหมายให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยมี 3 ประเด็นหลักคือ 1. การปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์ และเครดิตยูเนียน 2. แนวทางให้ความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน 3. การปฏิรูปการเงินฐานราก
นายสมชัย กล่าวว่าในประเด็นที่ 1 การปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน เป็นอีกประเด็นที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน ได้เป็นหลักสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มของสมาชิกในการดูแลซึ่งกันและกัน และช่วยให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก อย่างไรก็ตามกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน ได้ขยายกิจการขึ้นอย่างรวดเร็ว และในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีบางแห่งที่เริ่มประสบปัญหาในการดำเนินการ จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล เพื่อยกระดับมาตรฐาน และสร้างความมั่นคงยั่งยืนในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน เป็นที่พึ่งทางการเงินให้กับสมาชิกอย่างแท้จริง
สำหรับประเด็นที่ 2 แนวทางให้ความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคนไทยจำนวนมากยังขาดความรู้ทางการเงิน และไม่สามารถบริหารการเงินส่วนบุคคลและครอบครัวได้ จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมแนวทางการให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนอย่างครอบคลุม และทั่วถึงด้วยการกำหนดให้การให้ความรู้ทางการเงิน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องดำเนินการ รวมทั้งจัดตั้ง “สถาบันส่งเสริมความรู้ทางการเงินแห่งชาติ”เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการวางยุทธศาสตร์ด้านนโยบายและดำเนินการอย่างสอดประสาน อันจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเงินต่างๆ ของประชาชนได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งทั้ง 3 เรื่อง จะเป็นการปฏิรูประบบการเงินของประเทศครั้งสำคัญ ที่จะเปลี่ยนชี้วัดของคนไทย 30 ล้านคน ที่จะลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่การวางรากฐานการพัฒนาที่สมดุล และสร้างอนาคตให้กับประเทศและประชาชนอย่างทั่วถึง
ด้านนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของประเด็นที่ 3 การปฏิรูปการเงินฐานราก จะช่วยยกระดับให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบท ในการเข้าถึงแหล่งการออม และแหล่งทุน ที่จะนำมาใช้ในการสร้างอาชีพ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ ส่วนร่าง พ.ร.บ.การเงินระดับฐานราก พ.ศ... มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะจัดตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบการเงิน ระดับฐานรากภายใต้กระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำและขับเคลื่อนแผนแม่บท และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการเงินระดับฐานรากของประเทศ รวมทั้งสร้างโครงข่ายการเงินระดับฐานราก โดยยกระดับสถาบันการเงินชุมชน หรือกลุ่มออมทรัพย์ที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่โครงข่าย โดยให้มีฐานะเป็นลูกข่ายที่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งพัฒนายกระดับด้านมาตรฐานการบัญชี การบริหารความเสี่ยง และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของลูกข่าย ร่วมกับภาคี พร้อมทั้งจัดสรรผลกำไรจากโครงข่ายเข้าสู่กองทุนพัฒนาระบบการเงินระดับฐานราก เพื่อใช้ในการดำเนินการ เพื่อให้ไม่เป็นภาระต่อทางการ ตลอดจนสร้างกลไกการกำกับดูแลและความมั่นคงทางการเงินระยะยาวผ่านการตรวจสอบของแม่ข่าย
"การปฏิรูปทั้ง 3 ด้านนี้ คือ การปฏิรูประบบการเงินระดับฐานราก การปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียน และแนวทางการให้ความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน จะเป็นการปฏิรูประบบการเงินของประเทศครั้งสำคัญ ที่จะเปลี่ยนชี้วัดของคนไทยนับ 30 ล้านคน ลดความเหลื่อมล้ำนำไปสู่การวางรากฐานการพัฒนาที่สมดุล และสร้างอนาคตให้กับประเทศและประชาชนอย่างทั่วถึง" นายกอบศักดิ์ กล่าว