สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคโลก ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ตลาดทุน ตลาดเงิน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ประเทศต่างๆ ของภูมิภาคต่างๆ และของโลกที่น่าสนใจ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน ว่าเกิดขึ้นแบบไหนและอย่างไร ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ประเทศจีนถูกโจมตีหลายรอบแล้ว ติดตามอ่านและดูข้อมูลของช่วงท้ายของบทความนี้ แต่ก่อนที่จะไปดูเรื่องของประเทศจีน ก็ต้องอ่านเรื่องตอนต้นนี้ก่อน เพราะเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน มีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งยุโรป จีน อาเซียน ไทย ฯลฯ
ตลาดหุ้นคือตลาดกลางซื้อขายกระดาษ (Paper Trade) หรือซื้อขายตัวเลขที่อยู่ในกระดาษ ทั้งใบหุ้น ตราสารหนี้ เงินตรา สินค้าโภคภัณฑ์ และ ฯลฯ
Hedge Funds เป็นผู้บริหารจัดการตลาดกระดาษของโลกนี้ เขาสามารถสวมรอยทำให้ตลาดขึ้นลงตามแนวทางที่เขาต้องการได้
เมื่อตลาดหุ้นขึ้นแรง นักลงทุนมีความเชื่อมั่น ค่าเงินก็สูงค่าขึ้น สภาพคล่องก็ท่วมระบบ มีการเร่งใช้สภาพคล่อง มีการให้กู้เงินมาขยายกิจการเพิ่มขึ้น ง่ายขึ้น มีการจ้างงานเพิ่ม เศรษฐกิจขยายตัวสูง จากนั้นตลาดก็ตก
เมื่อตลาดหุ้นตกแรง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เงินอ่อนค่าไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย สถาบันการเงินดึงเงินกู้กลับ ทำให้กิจการล้มลง ล้มละลาย ปิดกิจการ มีการปลดคนงาน คนตกงานมาก เศรษฐกิจถดถอย
กลไกนี้เกิดที่ประเทศไหนก็เป็นแบบเดียวกัน ไม่ว่าเกิดที่ประเทศไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มยูโรโซน หรือกับประเทศจีน
ประเทศไทยเคยประสบวิกฤตจากการพังทลายของตลาดหุ้นจนต้องเข้า IMF มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังการตกลงของตลาดหุ้นในปี 2521 ครั้งที่ 2 หลังการตกลงของตลาดหุ้นในปี 2537
ประเทศสหรัฐอเมริกาเคยประสบวิกฤตรุนแรงครั้งแรกเพราะตลาดหุ้นตกหนักในปี 1929 ที่รู้จักกันในเหตุการณ์ Great Depression ทำให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ ถดถอยรุนแรง ยุคนั้นตลาดหุ้นประเทศต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้นมากเหมือนปัจจุบันนี้ โลกมีตลาดหุ้นเพียงไม่กี่ประเทศ ผลกระทบต่อโลกจึงไม่กว้างขวางเหมือนปัจจุบัน
ทุกวันนี้โลกมีตลาดหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่า 90 ประเทศ
ประเทศที่ระบบเศรษฐกิจเล็กเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ได้น้อย หรือไม่มีผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ เลย
แต่ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่นสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ไปทั่วโลก ดังเช่นการพังทลายของตลาด NASDAQ ในปี 2000 ส่งผลกระทบต่อตลาดทุน ตลาดเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์
การโจมตีตลาด NASDAQ ปี 2000
ดูเหมือนไม่มีใครทราบว่าต้นเหตุวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2007-2008 จนกระทั่งต้องพิมพ์เงินออกมาใช้ (Quantitative Easing-QE) และกู้เงินมาเพิ่มสภาพคล่องให้ประเทศ เพิ่มเพดานหนี้ (Debt Ceiling) มาจากอะไร
ต้นเหตุเริ่มที่ปี 1999
Hedge Funds เป็นนักปฏิบัติ มีความรอบรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตลาดทุน ตลาดเงิน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของโลก ทราบว่าสิ่งผิดปกติในระบบเศรษฐกิจเกิดที่ใดบ้าง เมื่อทราบแล้วเขาก็เข้าไปหาประโยชน์จากสิ่งที่ผิดปกตินั้น จะบอกว่าเขาเข้าไปหาผลประโยชน์ หรือเขาปกป้องผลประโยชน์ของเขาก็ได้
ทุกวันนี้ Hedge Funds เป็นกลุ่มที่มั่งคั่งที่สุดในโลก เขาเป็นผู้บริหารจัดการตลาดซื้อขายกระดาษ (Paper Trade)
การปรับปรุงตัวหุ้นเข้าไปคำนวณในดัชนี NASDAQ เมื่อกลางปี 1999 (Index Reformed) ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของดัชนีสูงขึ้น ดัชนีตลาดหุ้นคือค่าตัวกลาง (Mean) อย่างหนึ่ง ค่าตัวกลางมีคุณสมบัติประจำตัว ว่ามากหรือน้อย คำนวณได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของดัชนี
NASDAQ Index เป็นดัชนีมูลค่าตลาด (Market Capitalization Weighted Index) ดัชนีตลาดหุ้นของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นดัชนีมูลค่าตลาด
ดัชนีที่รู้จัก 2 ตัว ที่เป็นดัชนีราคา (Price Weighted Index) คือ Dow Jones ของสหรัฐอเมริกา และ Nikkei 225 ของญี่ปุ่น
ดัชนีราคาจะมีค่าการแกว่งตัวต่ำ ดัชนีมูลค่าตลาดจะมีค่าการแกว่งตัวสูง
ผู้เขียนไม่สามารถหาฐานข้อมูลของดัชนีมาวัดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของดัชนีต่างๆ ได้ จึงใช้วิธีวัดหาค่าการแกว่งตัวของดัชนีแทน (Swinging) ช่วงเวลาของการวัดค่าการแกว่งตัว 4 ปี คือระหว่างปี 1999-2002 ทำกับดัชนีชี้นำตลาดหุ้นต่างๆ 40 ประเทศ แล้วก็นำตัวเลขที่ได้มาเรียงลำดับไว้ ที่เห็นนี้คือดัชนีของ 10 ประเทศที่มีการแกว่งตัวมากที่สุด
ก่อนปี 1999 NASDAQ Index มีความเบี่ยงเบนต่ำ (มีค่าการแก่วงต่ำ) ไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของดัชนีที่แกว่งตัวสูงสุดของโลก แต่หลังการปรับปรุงหุ้นตัวใหม่เข้าคำนวณดัชนีในปี 1999 (Index Reformed) ทำให้ดัชนีมีค่าแกว่งตัวสูงติดอันดับ 4 ของโลก SET Index ของประเทศไทยอยู่ที่ลำดับที่ 7
ดัชนีที่มีค่าการแกว่งตัวสูง จะอ่อนแอสูง จะถูกควบคุมหรือถูกปั่นได้ง่าย
ตัวหุ้นที่นำเข้าไปคำนวณในดัชนี NASDAQ ในปี 1999 ได้แก่หุ้นไมโครซอฟท์ และอื่นๆ อีก 3 ตัว ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูง ที่ส่งผลให้ NASDAQ Index มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการแกว่งตัวของดัชนีเพิ่มสูงขึ้นทันที หรือทำให้ดัชนีอ่อนแอลง มีเสถียรภาพน้อยลง ทำให้ถูกโจมตีได้ง่าย
NASDAQ Index ถูกลากจากระดับ 2,500 จุดในกลางปี 1999 ไปสูงสุดที่ระดับ 5,000 จุดในต้นปี 2000 จากนั้นก็ถล่มทิ้งลงมารุนแรง
การพังทลายของตลาด NASDAQ ระหว่างปี 2000-2002 ดัชนีตกลงถึง 78 เปอร์เซ็นต์
เหมือนอย่างที่นำเสนอไว้ในช่วงต้น เมื่อตลาดหุ้นตกแรง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เงินอ่อนค่าไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย สถาบันการเงินดึงเงินกู้กลับ ทำให้กิจการล้มลง ล้มละลาย ปิดกิจการ มีการปลดคนงาน คนตกงานมาก เศรษฐกิจถดถอย
เงินไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตลาด NASDAQ เริ่มตกในปี 2000 เงินเหรียญสหรัฐก็เริ่มไหลออกจากสหรัฐฯ ในปี 2000 เช่นกัน (ดูชาร์ต EUR DOLLAR) เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อมันไหลออกมา จึงทำให้เงินท่วมโลก ทำให้ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สูงขึ้น ค่าเงินประเทศต่างๆ สูงขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ราคาน้ำมัน ราคาโลหะ ราคาทองคำสูงขึ้น
เพราะเงินไหลออกจากสหรัฐฯ ไปยังประเทศต่างๆ เข้าไปในตลาดหุ้นของประเทศต่างๆ ทำให้ตลาดหุ้นต่างๆ สูงขึ้น ระหว่างปี 2001-2007 ตลาดหุ้นทั่วโลก (G91 Index) สูงขึ้นประมาณ 463 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่จะพังทลายลงรุนแรงในปี 2008 ตกลง 62 เปอร์เซ็นต์
ระหว่างปี 2001-2007 เงินบาทแข็งค่าขึ้น 48 เปอร์เซ็นต์ เป็นเหตุจากการที่ตลาด NASDAQ และ USD เสียหาย เงินไหลเข้าประเทศไทย ทำให้ค่าเงินบาทสูงขึ้น ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ของประเทศไทยเริ่มในปี 2536 เมื่อมีการนำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้น ทำให้ Hedge Funds ใช้เวลา 3 เดือน ลาก SET Index จากระดับ 1,000 จุด ไปสูงสุดที่ 1,750 ในต้นปี 2537 จากนั้นก็เทขายลงมารุนแรง
ปี 2537 2538 2539 2540 ตลาดหุ้นไทยตกต่อเนื่อง ปี 2540 ประกาศลอยค่าเงินบาท และเข้าโครงการไอเอ็มเอฟครั้งที่ 2
หลังสรุปปิดถาวร 56 สถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกไปต่ำสุดที่ 207.31 จุดเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 เกิดหนี้สาธารณะ 1.392 ล้านล้านบาท
มีความเสียหายของเอกชน ประชาชน ทั้งประเทศมีมูลค่าสูงมาก ที่ไม่ได้นำมารวมไว้
การเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นไทย การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ และ USD ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสำรองการเงินระหว่างประเทศของไทย ที่น่าสังเกตดังนี้
0 จุดเริ่มต้น นำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นขึ้นจากระดับ 1,000 จุด – 1,750 จุด แล้วพังทลายลง มีการบังคับขายหุ้นนักลงทุน ทำให้ตลาดหุ้นตกหนักลงไปอีก
1. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสุทธิของไทยเคยสูงสุดที่ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. ทุนสำรองฯ ตกลงเหลือประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟ และลอยค่าเงินบาท
3. ตลาดแนสแดกซ์ และค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย ทำให้เงินไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศไทย การที่เงินทุนไหลเข้า ทำให้ทุนสำรองเพิ่มขึ้น เงินบาทแข็งค่า ตลาดหุ้นสูงขึ้น การที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้น เงินบาทแข็งค่า ตลาดหุ้นสูงขึ้น จึงไม่ได้เกิดจากการบริหารจัดการประเทศของใคร แต่เป็นไปตามกลไกตลาดโลก ตามข้อมูลที่นำเสนอข้างต้น ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ
4. ทำให้ประเทศไทยใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนด 2 ปี
5. แม้จะมีรัฐประหารในปี 2549 เงินทุนก็ยังไหลเข้ามาไทยต่อเนื่อง
การโจมตีค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย หลังปี 1997 (2540) มาเลเซียได้กลับผูกค่าเงินริงกิตไว้ (Fixed)
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศมาเลเซีย
แต่มาเลเซียได้ผูกค่าเงินไว้ เป็นเหตุให้เงินริงกิตราคาถูก จึงมีการเข้ามาแลกซื้อเงินริงกิตอย่างมีความสุข มีการซื้อเงินริงกิตต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี เรียกว่าเป็นการโจมตีค่าเงินริงกิต สุดท้ายมาเลเซียทนไม่ไหว ต้องลอยค่าเงินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2005(2548)
“เป็นการลอยขึ้น”
การโจมตีหยวนของจีน จะเห็นว่ามีรูปแบบคล้ายกับการโจมตีค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย ทั้งนี้เพราะมีการผูกค่าเงินไว้แบบเดียวกันนั่นเอง
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศจีน
แต่จีนผูกค่าเงินหยวนไว้ เป็นเหตุให้เงินหยวนราคาถูก จึงมีการเข้ามาแลกซื้อเงินหยวนกันอย่างมีความสุข มีการซื้อเงินหยวนต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี เรียกว่าเป็นการโจมตีค่าเงินหยวน สุดท้ายจีนทนไม่ไหว ต้องลอยค่าเงินเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2005(2548)
“เป็นการลอยขึ้น”
ช่วง Hamburger Crisis จีนได้กลับไปผูกค่าเงินไว้ ทำให้ “เงินหยวน”ไม่ตกลง ต่างจาก “ค่าเงินบาทของไทย” และ “ค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย” ที่ตกลงในช่วง Hamburger Crisis
ช่วงแรก หยวนของจีน และริงกิตของมาเลเซียผูกค่าเงินไว้ เมื่อเงินทุนไหลเข้า จึงไม่เห็นว่าค่าเงินของทั้งสองสกุลเปลี่ยนแปลง ทำให้เงินของทั้ง 2 สกุลราคาถูกมาก ยิ่งทำให้เงินทุนไหลเข้ามามากขึ้น สุดท้ายยอมยกธงขาวในกลางปี 2005 ต้องลอยค่าเงิน “ลอยขึ้น” ต่างจากบาทของไทย ที่ไม่มีการผูกค่าเงินไว้ เมื่อมีเงินทุนไหลเข้า ทำให้เงินแข็งค่าขึ้นตามความเป็นจริง
ข้อแตกต่างระหว่างหยวนกับริงกิต ในช่วง Hamburger Crisis จีนกลับไปผูกค่าเงินหยวนไว้อีกครั้ง ทำให้ค่าเงินหยวนไม่ตกลงมา ส่วนมาเลเซียไม่ได้ผูกค่าเงินไว้ ทำให้ค่าเงินริงกิตตกลงมา
การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของประเทศจีน จากลอยค่าเงินแล้วก็มาผูกค่าเงิน ผูกค่าเงินแล้วก็มาลอยค่าเงิน เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ติดตามดูกันต่อไป
เมื่อก่อนทุนสำรองเงินตราต่างประเทศญี่ปุ่นสูงที่สุดในโลก ตั้งแต่ตลาด NASDAQ และค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายในปี 2000 ทำให้เงินทุนไหลออกจากอเมริกา ไหลเข้ามายังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ประเทศจีนมีการลอยค่าเงินหยวนในกลางปี 2005
พบว่าปี 2004 – 2005 ทุนสำรองของญี่ปุ่นสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่จากปี 2006 เป็นต้นมา จีนกลายมาเป็นประเทศที่มีทุนสำรองสูงที่สุดของโลก
ดูเหมือนปี 2014 ทุนสำรองของจีนได้ชะลอการเพิ่มสูงขึ้น
ทุนสำรองที่สูง หมายถึงสภาพคล่องในประเทศสูง ทำให้มีการขยายกิจการมากขึ้น มีการจ้างงานมากขึ้น มีผลให้จีดีพีของประเทศจีนเป็นตัวเลข 2 หลักมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี เรียกว่าฟองสบู่โป่ง หลังจากนั้นฟองสบู่อาจจะแตก
เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก บทความนี้พยายามแสดงให้เห็นถึงการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 ที่ทำให้เงินไหลออกจากสหรัฐฯ ไหลออกมาท่วมโลก เรื่องดังกล่าวไม่เพียงก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศสหรัฐฯ เท่านั้น ยังทำให้เศรษฐกิจโลกปั่นป่วนและเสียหายในเวลาต่อมา รุนแรง ทำให้เศรษฐกิจของโลกไม่มีเสถียรภาพ
ดูจากการสูงขึ้นและตกลงของกราฟตลาดหุ้นและค่าเงินต่างๆ ที่นำเสนอข้างต้น แสดงถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจของโลกโดยรวม
ความเสียหายของสหรัฐอเมริกา สภาพคล่องเสียหาย เอกชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กล้มลงเกือบค่อนประเทศ อัตราการว่างเงินเพิ่มสูง มีการพิมพ์เงินออกมาใช้รวม 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มเพดานหนี้กว่า 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ผู้คนเดือดร้อนออกมาเดินตามท้องถนน (Occupy Wall Street)
ความเสียหายของยุโรป สภาพคล่องเสียหาย เอกชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กล้มลงในหลายประเทศ มีประเทศต่างๆ ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ไม่น้อยกว่า 12 ประเทศ ประเทศกรีซเกิดปัญหาต่อเนื่องเรื้อรังมากที่สุดในยูโรโซน ผู้คนเดือดร้อนในหลายประเทศออกมาประท้วงตามท้องถนน บางคนใช้น้ำมันราดตัวและจุดไฟเผาตัวเอง
ความเสียหายของประเทศจีน ที่ผ่านมา มีความเสียหายระดับหนึ่ง ระหว่างปี 2000-2007 ค่าเงินหยวนและตลาดหุ้นถูกโจมตีมาครั้งหนึ่งแล้ว ปี 2008 ประเทศจีนกลับไปผูกค่าเงินไว้อีกครั้ง จึงไม่เห็นว่าค่าเงินหยวนเสียหาย แต่ตลาดหุ้นจีนก็ถูกถล่มหนักเช่นกัน ดัชนีตลาดหุ้นตกลงถึง 72 เปอร์เซ็นต์
ดูเหมือนว่าในปี 2015 นี้เริ่มมีการโจมตีเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง และมีประเทศจีนรวมอยู่ในนั้นด้วย ต้องตามดูต่อไปสัก 4-5 ปีจึงจะเห็นความเสียหาย ความเสียหายแสดงให้เห็นโดยตลาดหุ้นพังทลาย ค่าเงินพังทลาย ทุนสำรองฯ ตกลง
จะเห็นว่าไม่มีประเทศใดรอดพ้นจากความเสียหาย โดยเฉพาะประเทศที่มีตลาดหุ้น ไม่ว่าประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่ อเมริกาก็ได้รับความเสียหาย ยูโรโซนก็ได้รับความเสียหาย ประเทศไทยก็เคยได้รับความเสียหายจนต้องเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง ประเทศจีนก็อาจจะกำลังตามมา
ความเสียของประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มในปี 2000 นำความเสียหายมาสู่อเมริกาเอง และมาสู่โลกที่ทารุณมากเป็นประวัติการณ์ ทำให้เศรษฐกิจโลกเบี่ยงเบนมากขึ้น ผิดปกติมากขึ้น ทำให้เงินท่วมโลก เงินท่วมโลก แต่ชาวโลกยากจนลง Hedge Fund กลุ่มองค์กรที่เป็นทั้งของรัฐและของเอกชน เป็นกลุ่มที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ทุนสำรองที่อยู่ตามประเทศต่างๆ เป็นของกลุ่มเขาเป็นส่วนใหญ่ เขาพร้อมที่จะย้ายออกหากพบว่าระบบเศรษฐกิจที่ใดเสียหาย และย้ายเข้าไปประเทศที่ระบบเศรษฐกิจไม่เสียหาย
โลกต้องการมั่งคั่งเร็ว แทนที่จะให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่างช้าๆ คิดกันว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งระดมทุน เพื่อสร้างความเจริญให้ระบบ แต่ตลาดหุ้นคือสิ่งผิดปกติในโลกทุนนิยม เป็นอบายมุขกองโตที่สุดในโลก ผู้เขียนไม่ตำหนิการปฏิบัติการหรือการกระทำของ Hedge Funds หากจะตำหนิก็จะตำหนิการที่โลกมี Paper Trade มากกว่า
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคโลก ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ตลาดทุน ตลาดเงิน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ประเทศต่างๆ ของภูมิภาคต่างๆ และของโลกที่น่าสนใจ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน ว่าเกิดขึ้นแบบไหนและอย่างไร ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ประเทศจีนถูกโจมตีหลายรอบแล้ว ติดตามอ่านและดูข้อมูลของช่วงท้ายของบทความนี้ แต่ก่อนที่จะไปดูเรื่องของประเทศจีน ก็ต้องอ่านเรื่องตอนต้นนี้ก่อน เพราะเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน มีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งยุโรป จีน อาเซียน ไทย ฯลฯ
ตลาดหุ้นคือตลาดกลางซื้อขายกระดาษ (Paper Trade) หรือซื้อขายตัวเลขที่อยู่ในกระดาษ ทั้งใบหุ้น ตราสารหนี้ เงินตรา สินค้าโภคภัณฑ์ และ ฯลฯ
Hedge Funds เป็นผู้บริหารจัดการตลาดกระดาษของโลกนี้ เขาสามารถสวมรอยทำให้ตลาดขึ้นลงตามแนวทางที่เขาต้องการได้
เมื่อตลาดหุ้นขึ้นแรง นักลงทุนมีความเชื่อมั่น ค่าเงินก็สูงค่าขึ้น สภาพคล่องก็ท่วมระบบ มีการเร่งใช้สภาพคล่อง มีการให้กู้เงินมาขยายกิจการเพิ่มขึ้น ง่ายขึ้น มีการจ้างงานเพิ่ม เศรษฐกิจขยายตัวสูง จากนั้นตลาดก็ตก
เมื่อตลาดหุ้นตกแรง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เงินอ่อนค่าไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย สถาบันการเงินดึงเงินกู้กลับ ทำให้กิจการล้มลง ล้มละลาย ปิดกิจการ มีการปลดคนงาน คนตกงานมาก เศรษฐกิจถดถอย
กลไกนี้เกิดที่ประเทศไหนก็เป็นแบบเดียวกัน ไม่ว่าเกิดที่ประเทศไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มยูโรโซน หรือกับประเทศจีน
ประเทศไทยเคยประสบวิกฤตจากการพังทลายของตลาดหุ้นจนต้องเข้า IMF มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังการตกลงของตลาดหุ้นในปี 2521 ครั้งที่ 2 หลังการตกลงของตลาดหุ้นในปี 2537
ประเทศสหรัฐอเมริกาเคยประสบวิกฤตรุนแรงครั้งแรกเพราะตลาดหุ้นตกหนักในปี 1929 ที่รู้จักกันในเหตุการณ์ Great Depression ทำให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ ถดถอยรุนแรง ยุคนั้นตลาดหุ้นประเทศต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้นมากเหมือนปัจจุบันนี้ โลกมีตลาดหุ้นเพียงไม่กี่ประเทศ ผลกระทบต่อโลกจึงไม่กว้างขวางเหมือนปัจจุบัน
ทุกวันนี้โลกมีตลาดหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่า 90 ประเทศ
ประเทศที่ระบบเศรษฐกิจเล็กเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ได้น้อย หรือไม่มีผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ เลย
แต่ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่นสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ไปทั่วโลก ดังเช่นการพังทลายของตลาด NASDAQ ในปี 2000 ส่งผลกระทบต่อตลาดทุน ตลาดเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์
การโจมตีตลาด NASDAQ ปี 2000
ดูเหมือนไม่มีใครทราบว่าต้นเหตุวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2007-2008 จนกระทั่งต้องพิมพ์เงินออกมาใช้ (Quantitative Easing-QE) และกู้เงินมาเพิ่มสภาพคล่องให้ประเทศ เพิ่มเพดานหนี้ (Debt Ceiling) มาจากอะไร
ต้นเหตุเริ่มที่ปี 1999
Hedge Funds เป็นนักปฏิบัติ มีความรอบรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตลาดทุน ตลาดเงิน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของโลก ทราบว่าสิ่งผิดปกติในระบบเศรษฐกิจเกิดที่ใดบ้าง เมื่อทราบแล้วเขาก็เข้าไปหาประโยชน์จากสิ่งที่ผิดปกตินั้น จะบอกว่าเขาเข้าไปหาผลประโยชน์ หรือเขาปกป้องผลประโยชน์ของเขาก็ได้
ทุกวันนี้ Hedge Funds เป็นกลุ่มที่มั่งคั่งที่สุดในโลก เขาเป็นผู้บริหารจัดการตลาดซื้อขายกระดาษ (Paper Trade)
การปรับปรุงตัวหุ้นเข้าไปคำนวณในดัชนี NASDAQ เมื่อกลางปี 1999 (Index Reformed) ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของดัชนีสูงขึ้น ดัชนีตลาดหุ้นคือค่าตัวกลาง (Mean) อย่างหนึ่ง ค่าตัวกลางมีคุณสมบัติประจำตัว ว่ามากหรือน้อย คำนวณได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของดัชนี
NASDAQ Index เป็นดัชนีมูลค่าตลาด (Market Capitalization Weighted Index) ดัชนีตลาดหุ้นของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นดัชนีมูลค่าตลาด
ดัชนีที่รู้จัก 2 ตัว ที่เป็นดัชนีราคา (Price Weighted Index) คือ Dow Jones ของสหรัฐอเมริกา และ Nikkei 225 ของญี่ปุ่น
ดัชนีราคาจะมีค่าการแกว่งตัวต่ำ ดัชนีมูลค่าตลาดจะมีค่าการแกว่งตัวสูง
ผู้เขียนไม่สามารถหาฐานข้อมูลของดัชนีมาวัดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของดัชนีต่างๆ ได้ จึงใช้วิธีวัดหาค่าการแกว่งตัวของดัชนีแทน (Swinging) ช่วงเวลาของการวัดค่าการแกว่งตัว 4 ปี คือระหว่างปี 1999-2002 ทำกับดัชนีชี้นำตลาดหุ้นต่างๆ 40 ประเทศ แล้วก็นำตัวเลขที่ได้มาเรียงลำดับไว้ ที่เห็นนี้คือดัชนีของ 10 ประเทศที่มีการแกว่งตัวมากที่สุด
ก่อนปี 1999 NASDAQ Index มีความเบี่ยงเบนต่ำ (มีค่าการแก่วงต่ำ) ไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของดัชนีที่แกว่งตัวสูงสุดของโลก แต่หลังการปรับปรุงหุ้นตัวใหม่เข้าคำนวณดัชนีในปี 1999 (Index Reformed) ทำให้ดัชนีมีค่าแกว่งตัวสูงติดอันดับ 4 ของโลก SET Index ของประเทศไทยอยู่ที่ลำดับที่ 7
ดัชนีที่มีค่าการแกว่งตัวสูง จะอ่อนแอสูง จะถูกควบคุมหรือถูกปั่นได้ง่าย
ตัวหุ้นที่นำเข้าไปคำนวณในดัชนี NASDAQ ในปี 1999 ได้แก่หุ้นไมโครซอฟท์ และอื่นๆ อีก 3 ตัว ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูง ที่ส่งผลให้ NASDAQ Index มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการแกว่งตัวของดัชนีเพิ่มสูงขึ้นทันที หรือทำให้ดัชนีอ่อนแอลง มีเสถียรภาพน้อยลง ทำให้ถูกโจมตีได้ง่าย
NASDAQ Index ถูกลากจากระดับ 2,500 จุดในกลางปี 1999 ไปสูงสุดที่ระดับ 5,000 จุดในต้นปี 2000 จากนั้นก็ถล่มทิ้งลงมารุนแรง
การพังทลายของตลาด NASDAQ ระหว่างปี 2000-2002 ดัชนีตกลงถึง 78 เปอร์เซ็นต์
เหมือนอย่างที่นำเสนอไว้ในช่วงต้น เมื่อตลาดหุ้นตกแรง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เงินอ่อนค่าไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย สถาบันการเงินดึงเงินกู้กลับ ทำให้กิจการล้มลง ล้มละลาย ปิดกิจการ มีการปลดคนงาน คนตกงานมาก เศรษฐกิจถดถอย
เงินไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตลาด NASDAQ เริ่มตกในปี 2000 เงินเหรียญสหรัฐก็เริ่มไหลออกจากสหรัฐฯ ในปี 2000 เช่นกัน (ดูชาร์ต EUR DOLLAR) เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อมันไหลออกมา จึงทำให้เงินท่วมโลก ทำให้ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สูงขึ้น ค่าเงินประเทศต่างๆ สูงขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ราคาน้ำมัน ราคาโลหะ ราคาทองคำสูงขึ้น
เพราะเงินไหลออกจากสหรัฐฯ ไปยังประเทศต่างๆ เข้าไปในตลาดหุ้นของประเทศต่างๆ ทำให้ตลาดหุ้นต่างๆ สูงขึ้น ระหว่างปี 2001-2007 ตลาดหุ้นทั่วโลก (G91 Index) สูงขึ้นประมาณ 463 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่จะพังทลายลงรุนแรงในปี 2008 ตกลง 62 เปอร์เซ็นต์
ระหว่างปี 2001-2007 เงินบาทแข็งค่าขึ้น 48 เปอร์เซ็นต์ เป็นเหตุจากการที่ตลาด NASDAQ และ USD เสียหาย เงินไหลเข้าประเทศไทย ทำให้ค่าเงินบาทสูงขึ้น ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ของประเทศไทยเริ่มในปี 2536 เมื่อมีการนำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้น ทำให้ Hedge Funds ใช้เวลา 3 เดือน ลาก SET Index จากระดับ 1,000 จุด ไปสูงสุดที่ 1,750 ในต้นปี 2537 จากนั้นก็เทขายลงมารุนแรง
ปี 2537 2538 2539 2540 ตลาดหุ้นไทยตกต่อเนื่อง ปี 2540 ประกาศลอยค่าเงินบาท และเข้าโครงการไอเอ็มเอฟครั้งที่ 2
หลังสรุปปิดถาวร 56 สถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกไปต่ำสุดที่ 207.31 จุดเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 เกิดหนี้สาธารณะ 1.392 ล้านล้านบาท
มีความเสียหายของเอกชน ประชาชน ทั้งประเทศมีมูลค่าสูงมาก ที่ไม่ได้นำมารวมไว้
การเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นไทย การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ และ USD ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสำรองการเงินระหว่างประเทศของไทย ที่น่าสังเกตดังนี้
0 จุดเริ่มต้น นำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นขึ้นจากระดับ 1,000 จุด – 1,750 จุด แล้วพังทลายลง มีการบังคับขายหุ้นนักลงทุน ทำให้ตลาดหุ้นตกหนักลงไปอีก
1. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสุทธิของไทยเคยสูงสุดที่ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. ทุนสำรองฯ ตกลงเหลือประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟ และลอยค่าเงินบาท
3. ตลาดแนสแดกซ์ และค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย ทำให้เงินไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศไทย การที่เงินทุนไหลเข้า ทำให้ทุนสำรองเพิ่มขึ้น เงินบาทแข็งค่า ตลาดหุ้นสูงขึ้น การที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้น เงินบาทแข็งค่า ตลาดหุ้นสูงขึ้น จึงไม่ได้เกิดจากการบริหารจัดการประเทศของใคร แต่เป็นไปตามกลไกตลาดโลก ตามข้อมูลที่นำเสนอข้างต้น ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ
4. ทำให้ประเทศไทยใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนด 2 ปี
5. แม้จะมีรัฐประหารในปี 2549 เงินทุนก็ยังไหลเข้ามาไทยต่อเนื่อง
การโจมตีค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย หลังปี 1997 (2540) มาเลเซียได้กลับผูกค่าเงินริงกิตไว้ (Fixed)
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศมาเลเซีย
แต่มาเลเซียได้ผูกค่าเงินไว้ เป็นเหตุให้เงินริงกิตราคาถูก จึงมีการเข้ามาแลกซื้อเงินริงกิตอย่างมีความสุข มีการซื้อเงินริงกิตต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี เรียกว่าเป็นการโจมตีค่าเงินริงกิต สุดท้ายมาเลเซียทนไม่ไหว ต้องลอยค่าเงินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2005(2548)
“เป็นการลอยขึ้น”
การโจมตีหยวนของจีน จะเห็นว่ามีรูปแบบคล้ายกับการโจมตีค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย ทั้งนี้เพราะมีการผูกค่าเงินไว้แบบเดียวกันนั่นเอง
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศจีน
แต่จีนผูกค่าเงินหยวนไว้ เป็นเหตุให้เงินหยวนราคาถูก จึงมีการเข้ามาแลกซื้อเงินหยวนกันอย่างมีความสุข มีการซื้อเงินหยวนต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี เรียกว่าเป็นการโจมตีค่าเงินหยวน สุดท้ายจีนทนไม่ไหว ต้องลอยค่าเงินเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2005(2548)
“เป็นการลอยขึ้น”
ช่วง Hamburger Crisis จีนได้กลับไปผูกค่าเงินไว้ ทำให้ “เงินหยวน”ไม่ตกลง ต่างจาก “ค่าเงินบาทของไทย” และ “ค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย” ที่ตกลงในช่วง Hamburger Crisis
ช่วงแรก หยวนของจีน และริงกิตของมาเลเซียผูกค่าเงินไว้ เมื่อเงินทุนไหลเข้า จึงไม่เห็นว่าค่าเงินของทั้งสองสกุลเปลี่ยนแปลง ทำให้เงินของทั้ง 2 สกุลราคาถูกมาก ยิ่งทำให้เงินทุนไหลเข้ามามากขึ้น สุดท้ายยอมยกธงขาวในกลางปี 2005 ต้องลอยค่าเงิน “ลอยขึ้น” ต่างจากบาทของไทย ที่ไม่มีการผูกค่าเงินไว้ เมื่อมีเงินทุนไหลเข้า ทำให้เงินแข็งค่าขึ้นตามความเป็นจริง
ข้อแตกต่างระหว่างหยวนกับริงกิต ในช่วง Hamburger Crisis จีนกลับไปผูกค่าเงินหยวนไว้อีกครั้ง ทำให้ค่าเงินหยวนไม่ตกลงมา ส่วนมาเลเซียไม่ได้ผูกค่าเงินไว้ ทำให้ค่าเงินริงกิตตกลงมา
การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของประเทศจีน จากลอยค่าเงินแล้วก็มาผูกค่าเงิน ผูกค่าเงินแล้วก็มาลอยค่าเงิน เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ติดตามดูกันต่อไป
เมื่อก่อนทุนสำรองเงินตราต่างประเทศญี่ปุ่นสูงที่สุดในโลก ตั้งแต่ตลาด NASDAQ และค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายในปี 2000 ทำให้เงินทุนไหลออกจากอเมริกา ไหลเข้ามายังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ประเทศจีนมีการลอยค่าเงินหยวนในกลางปี 2005
พบว่าปี 2004 – 2005 ทุนสำรองของญี่ปุ่นสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่จากปี 2006 เป็นต้นมา จีนกลายมาเป็นประเทศที่มีทุนสำรองสูงที่สุดของโลก
ดูเหมือนปี 2014 ทุนสำรองของจีนได้ชะลอการเพิ่มสูงขึ้น
ทุนสำรองที่สูง หมายถึงสภาพคล่องในประเทศสูง ทำให้มีการขยายกิจการมากขึ้น มีการจ้างงานมากขึ้น มีผลให้จีดีพีของประเทศจีนเป็นตัวเลข 2 หลักมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี เรียกว่าฟองสบู่โป่ง หลังจากนั้นฟองสบู่อาจจะแตก
เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก บทความนี้พยายามแสดงให้เห็นถึงการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 ที่ทำให้เงินไหลออกจากสหรัฐฯ ไหลออกมาท่วมโลก เรื่องดังกล่าวไม่เพียงก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศสหรัฐฯ เท่านั้น ยังทำให้เศรษฐกิจโลกปั่นป่วนและเสียหายในเวลาต่อมา รุนแรง ทำให้เศรษฐกิจของโลกไม่มีเสถียรภาพ
ดูจากการสูงขึ้นและตกลงของกราฟตลาดหุ้นและค่าเงินต่างๆ ที่นำเสนอข้างต้น แสดงถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจของโลกโดยรวม
ความเสียหายของสหรัฐอเมริกา สภาพคล่องเสียหาย เอกชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กล้มลงเกือบค่อนประเทศ อัตราการว่างเงินเพิ่มสูง มีการพิมพ์เงินออกมาใช้รวม 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มเพดานหนี้กว่า 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ผู้คนเดือดร้อนออกมาเดินตามท้องถนน (Occupy Wall Street)
ความเสียหายของยุโรป สภาพคล่องเสียหาย เอกชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กล้มลงในหลายประเทศ มีประเทศต่างๆ ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ไม่น้อยกว่า 12 ประเทศ ประเทศกรีซเกิดปัญหาต่อเนื่องเรื้อรังมากที่สุดในยูโรโซน ผู้คนเดือดร้อนในหลายประเทศออกมาประท้วงตามท้องถนน บางคนใช้น้ำมันราดตัวและจุดไฟเผาตัวเอง
ความเสียหายของประเทศจีน ที่ผ่านมา มีความเสียหายระดับหนึ่ง ระหว่างปี 2000-2007 ค่าเงินหยวนและตลาดหุ้นถูกโจมตีมาครั้งหนึ่งแล้ว ปี 2008 ประเทศจีนกลับไปผูกค่าเงินไว้อีกครั้ง จึงไม่เห็นว่าค่าเงินหยวนเสียหาย แต่ตลาดหุ้นจีนก็ถูกถล่มหนักเช่นกัน ดัชนีตลาดหุ้นตกลงถึง 72 เปอร์เซ็นต์
ดูเหมือนว่าในปี 2015 นี้เริ่มมีการโจมตีเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง และมีประเทศจีนรวมอยู่ในนั้นด้วย ต้องตามดูต่อไปสัก 4-5 ปีจึงจะเห็นความเสียหาย ความเสียหายแสดงให้เห็นโดยตลาดหุ้นพังทลาย ค่าเงินพังทลาย ทุนสำรองฯ ตกลง
จะเห็นว่าไม่มีประเทศใดรอดพ้นจากความเสียหาย โดยเฉพาะประเทศที่มีตลาดหุ้น ไม่ว่าประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่ อเมริกาก็ได้รับความเสียหาย ยูโรโซนก็ได้รับความเสียหาย ประเทศไทยก็เคยได้รับความเสียหายจนต้องเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง ประเทศจีนก็อาจจะกำลังตามมา
ความเสียของประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มในปี 2000 นำความเสียหายมาสู่อเมริกาเอง และมาสู่โลกที่ทารุณมากเป็นประวัติการณ์ ทำให้เศรษฐกิจโลกเบี่ยงเบนมากขึ้น ผิดปกติมากขึ้น ทำให้เงินท่วมโลก เงินท่วมโลก แต่ชาวโลกยากจนลง Hedge Fund กลุ่มองค์กรที่เป็นทั้งของรัฐและของเอกชน เป็นกลุ่มที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ทุนสำรองที่อยู่ตามประเทศต่างๆ เป็นของกลุ่มเขาเป็นส่วนใหญ่ เขาพร้อมที่จะย้ายออกหากพบว่าระบบเศรษฐกิจที่ใดเสียหาย และย้ายเข้าไปประเทศที่ระบบเศรษฐกิจไม่เสียหาย
โลกต้องการมั่งคั่งเร็ว แทนที่จะให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่างช้าๆ คิดกันว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งระดมทุน เพื่อสร้างความเจริญให้ระบบ แต่ตลาดหุ้นคือสิ่งผิดปกติในโลกทุนนิยม เป็นอบายมุขกองโตที่สุดในโลก ผู้เขียนไม่ตำหนิการปฏิบัติการหรือการกระทำของ Hedge Funds หากจะตำหนิก็จะตำหนิการที่โลกมี Paper Trade มากกว่า