ASTVผู้จัดการรายวัน - เลขาธิการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) เผยล่าสุดบริษัทผ่านการรับรองระบบป้องกันทุจริตอีก 13 แห่ง ยอดรวมเพิ่มเป็น 122 บริษัท ระบุเป็นการชี้ให้เห็นว่าภาคเอกชนกระตือรือล้นในการขัดคอร์รัปชันในองค์กร เป็นสัญญาณที่ดีต่อภาครัฐและส่วนรวม
นายบัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ CAC ได้มีมติให้การรับรองบริษัทที่ผ่านกระบวนการประเมินตนเองว่ามีนโยบายและมีแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนดเพิ่มขึ้นอีก 13 บริษัท ทำให้จำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC เพิ่มขึ้นเป็น 122 บริษัท
“การที่มีบริษัทเข้ามาร่วมประกาศเจตนารมณ์กับ CAC และผ่านการรับรองมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือล้นของภาคเอกชนที่ต้องการส่งเสริมการทำธุรกิจที่สะอาดปลอดคอร์รัปชันให้เกิดขึ้นจริงจัง พร้อมทั้งต้องการมีส่วนร่วมในการผลักดันเรื่องนี้ ซึ่งจะเสริมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของภาครัฐให้มีพลังมากยิ่งขึ้น” นายบัณฑิตกล่าว
CAC เป็นโครงการที่บริษัทเอกชนเข้าร่วมตามความสมัครใจ ปัจจุบัน มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันกับโครงการ CAC แล้ว 485 บริษัท (เป็นบริษัทจดทะเบียน 280 บริษัท) เพิ่มขึ้นจาก 406 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557 ขณะที่จำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองเพิ่มขึ้นเป็น 122 จาก 78 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557 ในปี 2558 CAC มีเป้าที่จะเพิ่มจำนวนบริษัทเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็น 600 บริษัท และเพิ่มจำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองเป็น 200 บริษัท
ทั้งรายชื่อ 13 บริษัทที่ผ่านการรับรองในไตรมาสที่ 2/58 มีดังนี้ 1. บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด 4.บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) 5.บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด 6.บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) 7.บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) 8.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 9.บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 10.บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) 11. บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) 12. บริษัท ลานนา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) และ 13.ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
การประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันและการจ่ายสินบนของบริษัทที่เข้าร่วม ส่วนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC หมายถึงบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC และได้ผ่านกระบวนการประเมินตนเอง ที่มีการสอบทานและลงนามรับรองโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท หรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก ว่าบริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตครบถ้วนตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ CAC กำหนด ซึ่งกระบวนการรับรองของโครงการ CAC รวมถึงการชี้แจงข้อมูลและส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้กับคณะกรรมการ CAC พิจารณา ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อสงสัยหรือบริษัทเคยมีข่าวเกี่ยวกับการทุจริตมาก่อน.
นายบัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ CAC ได้มีมติให้การรับรองบริษัทที่ผ่านกระบวนการประเมินตนเองว่ามีนโยบายและมีแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนดเพิ่มขึ้นอีก 13 บริษัท ทำให้จำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC เพิ่มขึ้นเป็น 122 บริษัท
“การที่มีบริษัทเข้ามาร่วมประกาศเจตนารมณ์กับ CAC และผ่านการรับรองมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือล้นของภาคเอกชนที่ต้องการส่งเสริมการทำธุรกิจที่สะอาดปลอดคอร์รัปชันให้เกิดขึ้นจริงจัง พร้อมทั้งต้องการมีส่วนร่วมในการผลักดันเรื่องนี้ ซึ่งจะเสริมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของภาครัฐให้มีพลังมากยิ่งขึ้น” นายบัณฑิตกล่าว
CAC เป็นโครงการที่บริษัทเอกชนเข้าร่วมตามความสมัครใจ ปัจจุบัน มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันกับโครงการ CAC แล้ว 485 บริษัท (เป็นบริษัทจดทะเบียน 280 บริษัท) เพิ่มขึ้นจาก 406 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557 ขณะที่จำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองเพิ่มขึ้นเป็น 122 จาก 78 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557 ในปี 2558 CAC มีเป้าที่จะเพิ่มจำนวนบริษัทเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็น 600 บริษัท และเพิ่มจำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองเป็น 200 บริษัท
ทั้งรายชื่อ 13 บริษัทที่ผ่านการรับรองในไตรมาสที่ 2/58 มีดังนี้ 1. บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด 4.บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) 5.บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด 6.บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) 7.บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) 8.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 9.บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 10.บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) 11. บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) 12. บริษัท ลานนา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) และ 13.ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
การประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันและการจ่ายสินบนของบริษัทที่เข้าร่วม ส่วนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC หมายถึงบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC และได้ผ่านกระบวนการประเมินตนเอง ที่มีการสอบทานและลงนามรับรองโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท หรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก ว่าบริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตครบถ้วนตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ CAC กำหนด ซึ่งกระบวนการรับรองของโครงการ CAC รวมถึงการชี้แจงข้อมูลและส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้กับคณะกรรมการ CAC พิจารณา ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อสงสัยหรือบริษัทเคยมีข่าวเกี่ยวกับการทุจริตมาก่อน.