นับเป็นเวลา 5 ปีแล้วที่เกิด “โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต” ที่มีชื่อย่อว่า CAC (Thai Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption)
ปรากฎการณ์นี้เกิดจากความร่วมมือจัดตั้งของ 8 องค์กร ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หอการค้าไทย หอการค้าต่างชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ก็เพราะเห็นแนวโน้มการทุจริตในประเทศไทยที่มีการ “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ลุกลามไปทุกวงการโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและสร้างความเสียหายต่อสังคมและงบประมาณรัฐอย่างมากมาย และเป็นภาระเพิ่มต้นทุนผู้ประกอบการจนน่าเป็นห่วง
เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ได้จัดสัมมนา และได้เชิญ ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD ไปฉายภาพรวมความคืบหน้าของโครงการ CAC ทำให้ได้เห็นพัฒนาการที่น่าสนใจ
ก็เพราะคู่กรณีของการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ก็คือ “ผู้รับ” ที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการก็กล้ารับเพราะคิดว่าสามารถสร้างเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างได้ ส่วน “ผู้ให้” ก็คือพ่อค้านักธุรกิจในภาคเอกชน ที่กล้าให้เพราะต้องการขายสินค้าหรือบริการ
เมื่อเกิดการรณรงค์และผนึกความร่วมมือกันแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทชั้นนำที่จะไม่ยอมรับการทุจริต และปฏิเสธร่วมกันในการให้สินบนเพื่อให้เกิดธุรกิจที่สะอาดได้เริ่มขึ้น
ผลปรากฎว่ามีบริษัทที่แสดงเจตนารมณ์การเข้าร่วมต่อต้านการทุจริตกับ CAC มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเดือนพฤษภาคม 2558 มีจำนวน 471 บริษัท (เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ 268 บริษัท) และมีบริษัทที่ผ่านการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ แล้ว 109 บริษัทที่รับรองว่าบริษัทมีนโยบายและวางแนวปฏิบัติเพื่อให้ทุกฝ่ายงานขับเคลื่อนทำจริง และมีบริษัทที่ผ่านการรับรองให้เป็นสมาชิกแนวร่วมฯ
ดร.บัณฑิต ชี้ให้เห็นว่า เริ่มได้เห็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวงการธุรกิจ เพราะกลุ่มสมาคมและสถาบันที่ร่วมก่อตั้ง CAC มีสมาชิกเข้าร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์ที่จะไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต มีการแข่งขันทางธุรกิจด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ไม่มีการวิ่งเต้น หรือจ่ายใต้โต๊ะ
จากจำนวน 268 บริษัทจดทะเบียนที่ร่วมแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านทุจริตนั้น มีบทบาทมากกว่า 60% ของมูลค่าตลาด แต่สิ่งที่น่าวัดประสิทธิภาพต้องดูกันที่การมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ทำจริงเพื่อให้ได้ใบรับรองจาก CAC นั่นแสดงว่าต้องเร่งให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ตระหนักรู้ที่จะเปลี่ยนและให้มีความพร้อมที่จะเปลี่ยน
มี 3 คำถาม-ตอบ เพื่อช่วยขยายความเข้าใจเรื่องนี้ ซึ่ง ดร.บัณฑิต แจกแจงให้ฟังว่า
1)ทำไมโครงการ CAC จึงเติบโตได้ ?
- บริษัทเอกชนไทยส่วนใหญ่รังเกียจการคอร์รัปชัน และไม่ต้องการจ่ายสินบน
- ความน่าเชื่อถือของกระบวนการรับรอง
-ภาคทางการและเครือข่ายให้การสนับสนุนโครงการ
2)โครงการ CAC มีผลต่อการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันหรือไม่?
-สร้างความตระหนักรับรู้ปัญหาคอร์รัปชัน เห็นได้จากผลสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจกว่า 78% ภาคเอกชนต้องมีบทบาทเป็นผู้แก้ปัญหา
-ช่วยพัฒนา CG หรือการกำกับดูแลกิจการในบริษัทเอกชน รวมถึงบริษัทมีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนในเรื่องการป้องกันการทุจริตติดสินบน
-เป็นเวทีสร้างความร่วมมือและผลักดันมาตรการ หรือเสนอนโยบายให้รัฐนำไปปรับปรุง เพื่อลดความเสี่ยงคอร์รัปชัน
3)บริษัทได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการ CAC
-บริษัทได้ประโยชน์จาก CG ที่ดีขึ้นและได้รับผลการประเมินด้าน CG ดีขึ้น
-ได้รับการยอมรับจากภาครัฐและบริษัทเอกชนผ่านการผลักดันสิทธิประโยชน์ที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น การเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ การได้รับคัดเลือกจากนักลงทุนสถาบัน การได้รับการสนับสนุนของธนาคารและผู้บริโภค
-บริษัทสามารถใช้เป็นช่องทางรวมตัวแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่สร้างความล่าช้าของงานบริการภาครัฐในการประกอบธุรกิจ เช่น กระบวนการ Service Level Agreement ที่ทำร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน การใช้ Integrity Pact ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การผลักดัน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
ข้อคิด...
จนถึงปัจจุบันนี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นรากเหง้าของความเลวร้ายที่ทำลายคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานและส่งผลร้ายถึงสังคมและประเทศชาติ
การขยับตัวของผู้นำรัฐบาลในการให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำการทุจริตในหลายวงการจึงได้รับการชื่นชมและเห็นผลดีของการใช้อำนาจในทางที่ควร
การขับเคลื่อนโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตจึงเป็นการเริ่มส่งสัญญาณที่ถูกต้องที่ไม่สนับสนุนการฉ้อฉลไม่ว่าจะเกิดในองค์กรธุรกิจเอง หรือไปเกี่ยวข้องกับภาครัฐในการจัดซื้อจัดจ้างที่ทำให้ต้นทุนของราชการสูงเกินจริง แล้วในที่สุดก็จะย้อนกลับมาเป็นภาระของทุกคนในสังคมไทย
แนวโน้มของกระแสโลก เห็นชัดได้จากการมีมาตรฐานการประเมินความน่าเชื่อถือและความยั่งยืนในการจะคบค้า และการลงทุน โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาองค์กรที่ดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบด้วยการสร้างคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) ต่อสังคม (Social) และมีธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งรวมถึงการต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption)
นอกจากนี้ ก.ล.ต.จะผลักดันเกณฑ์มาตรการเป็นแนวปฏิบัติให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินการ แล้วสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ก็ยังได้ส่งตัวแทน “อาสาพิทักษ์สิทธิผู้ถือหุ้น” เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของทุกบจ. และมักจะยกมือถามบริษัทที่ยังไม่เข้าเป็นแนวร่วมต่อต้านทุจริต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ บลจ.บัวหลวง ซึ่งบริหาร “กองทุนรวมคนไทยใจดี” ซึ่งใช้หลักพิจารณาเลือกลงทุนในหุ้นที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ESGC บจ.ที่เข้าร่วมและได้การรับรองจาก CAC ก็ยิ่งมีคุณลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จะยิ่งกดดันบริษัทจดทะเบียนให้เข้าสู่แนวโน้มที่ดีของกระแสต่อต้านการทุจริตที่ชัดเจนขึ้น
suwatmgr@gmail.com
ปรากฎการณ์นี้เกิดจากความร่วมมือจัดตั้งของ 8 องค์กร ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หอการค้าไทย หอการค้าต่างชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ก็เพราะเห็นแนวโน้มการทุจริตในประเทศไทยที่มีการ “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ลุกลามไปทุกวงการโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและสร้างความเสียหายต่อสังคมและงบประมาณรัฐอย่างมากมาย และเป็นภาระเพิ่มต้นทุนผู้ประกอบการจนน่าเป็นห่วง
เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ได้จัดสัมมนา และได้เชิญ ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD ไปฉายภาพรวมความคืบหน้าของโครงการ CAC ทำให้ได้เห็นพัฒนาการที่น่าสนใจ
ก็เพราะคู่กรณีของการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ก็คือ “ผู้รับ” ที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการก็กล้ารับเพราะคิดว่าสามารถสร้างเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างได้ ส่วน “ผู้ให้” ก็คือพ่อค้านักธุรกิจในภาคเอกชน ที่กล้าให้เพราะต้องการขายสินค้าหรือบริการ
เมื่อเกิดการรณรงค์และผนึกความร่วมมือกันแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทชั้นนำที่จะไม่ยอมรับการทุจริต และปฏิเสธร่วมกันในการให้สินบนเพื่อให้เกิดธุรกิจที่สะอาดได้เริ่มขึ้น
ผลปรากฎว่ามีบริษัทที่แสดงเจตนารมณ์การเข้าร่วมต่อต้านการทุจริตกับ CAC มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเดือนพฤษภาคม 2558 มีจำนวน 471 บริษัท (เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ 268 บริษัท) และมีบริษัทที่ผ่านการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ แล้ว 109 บริษัทที่รับรองว่าบริษัทมีนโยบายและวางแนวปฏิบัติเพื่อให้ทุกฝ่ายงานขับเคลื่อนทำจริง และมีบริษัทที่ผ่านการรับรองให้เป็นสมาชิกแนวร่วมฯ
ดร.บัณฑิต ชี้ให้เห็นว่า เริ่มได้เห็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวงการธุรกิจ เพราะกลุ่มสมาคมและสถาบันที่ร่วมก่อตั้ง CAC มีสมาชิกเข้าร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์ที่จะไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต มีการแข่งขันทางธุรกิจด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ไม่มีการวิ่งเต้น หรือจ่ายใต้โต๊ะ
จากจำนวน 268 บริษัทจดทะเบียนที่ร่วมแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านทุจริตนั้น มีบทบาทมากกว่า 60% ของมูลค่าตลาด แต่สิ่งที่น่าวัดประสิทธิภาพต้องดูกันที่การมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ทำจริงเพื่อให้ได้ใบรับรองจาก CAC นั่นแสดงว่าต้องเร่งให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ตระหนักรู้ที่จะเปลี่ยนและให้มีความพร้อมที่จะเปลี่ยน
มี 3 คำถาม-ตอบ เพื่อช่วยขยายความเข้าใจเรื่องนี้ ซึ่ง ดร.บัณฑิต แจกแจงให้ฟังว่า
1)ทำไมโครงการ CAC จึงเติบโตได้ ?
- บริษัทเอกชนไทยส่วนใหญ่รังเกียจการคอร์รัปชัน และไม่ต้องการจ่ายสินบน
- ความน่าเชื่อถือของกระบวนการรับรอง
-ภาคทางการและเครือข่ายให้การสนับสนุนโครงการ
2)โครงการ CAC มีผลต่อการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันหรือไม่?
-สร้างความตระหนักรับรู้ปัญหาคอร์รัปชัน เห็นได้จากผลสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจกว่า 78% ภาคเอกชนต้องมีบทบาทเป็นผู้แก้ปัญหา
-ช่วยพัฒนา CG หรือการกำกับดูแลกิจการในบริษัทเอกชน รวมถึงบริษัทมีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนในเรื่องการป้องกันการทุจริตติดสินบน
-เป็นเวทีสร้างความร่วมมือและผลักดันมาตรการ หรือเสนอนโยบายให้รัฐนำไปปรับปรุง เพื่อลดความเสี่ยงคอร์รัปชัน
3)บริษัทได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการ CAC
-บริษัทได้ประโยชน์จาก CG ที่ดีขึ้นและได้รับผลการประเมินด้าน CG ดีขึ้น
-ได้รับการยอมรับจากภาครัฐและบริษัทเอกชนผ่านการผลักดันสิทธิประโยชน์ที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น การเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ การได้รับคัดเลือกจากนักลงทุนสถาบัน การได้รับการสนับสนุนของธนาคารและผู้บริโภค
-บริษัทสามารถใช้เป็นช่องทางรวมตัวแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่สร้างความล่าช้าของงานบริการภาครัฐในการประกอบธุรกิจ เช่น กระบวนการ Service Level Agreement ที่ทำร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน การใช้ Integrity Pact ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การผลักดัน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
ข้อคิด...
จนถึงปัจจุบันนี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นรากเหง้าของความเลวร้ายที่ทำลายคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานและส่งผลร้ายถึงสังคมและประเทศชาติ
การขยับตัวของผู้นำรัฐบาลในการให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำการทุจริตในหลายวงการจึงได้รับการชื่นชมและเห็นผลดีของการใช้อำนาจในทางที่ควร
การขับเคลื่อนโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตจึงเป็นการเริ่มส่งสัญญาณที่ถูกต้องที่ไม่สนับสนุนการฉ้อฉลไม่ว่าจะเกิดในองค์กรธุรกิจเอง หรือไปเกี่ยวข้องกับภาครัฐในการจัดซื้อจัดจ้างที่ทำให้ต้นทุนของราชการสูงเกินจริง แล้วในที่สุดก็จะย้อนกลับมาเป็นภาระของทุกคนในสังคมไทย
แนวโน้มของกระแสโลก เห็นชัดได้จากการมีมาตรฐานการประเมินความน่าเชื่อถือและความยั่งยืนในการจะคบค้า และการลงทุน โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาองค์กรที่ดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบด้วยการสร้างคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) ต่อสังคม (Social) และมีธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งรวมถึงการต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption)
นอกจากนี้ ก.ล.ต.จะผลักดันเกณฑ์มาตรการเป็นแนวปฏิบัติให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินการ แล้วสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ก็ยังได้ส่งตัวแทน “อาสาพิทักษ์สิทธิผู้ถือหุ้น” เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของทุกบจ. และมักจะยกมือถามบริษัทที่ยังไม่เข้าเป็นแนวร่วมต่อต้านทุจริต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ บลจ.บัวหลวง ซึ่งบริหาร “กองทุนรวมคนไทยใจดี” ซึ่งใช้หลักพิจารณาเลือกลงทุนในหุ้นที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ESGC บจ.ที่เข้าร่วมและได้การรับรองจาก CAC ก็ยิ่งมีคุณลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จะยิ่งกดดันบริษัทจดทะเบียนให้เข้าสู่แนวโน้มที่ดีของกระแสต่อต้านการทุจริตที่ชัดเจนขึ้น
suwatmgr@gmail.com