แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็น 600 บริษัท ในปี 58 จาก 406 บริษัท ในปี 57 พร้อมดึงภาคธุรกิจที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงต่อการทุจริตสูง อย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการประมูลงานภาครัฐให้เข้ามาเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ ด้วย
นายบัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption) หรือ CAC เปิดเผยว่า ปี 2558 CAC ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็น 600 บริษัทในปี 2558 จาก 406 บริษัทในปี 2557 พร้อมผลักดันให้บริษัทที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไปแล้ว ดำเนินการให้มีนโยบาย และแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนด และเพิ่มจำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC เป็น 200 บริษัท ในปี 2558 จาก 78 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557
“ปีที่แล้วเป็นปีที่ภาคธุรกิจของไทยมีความตื่นตัวอย่างมากในเรื่องของธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชัน ดังจะเห็นได้จากการที่ทั้งจำนวนบริษัทที่เข้าประกาศเจตนารมณ์ และบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริบททางสังคมและการเมืองที่หันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องของความโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงการแสดงท่าทีเอาจริงเอาจังมากขึ้นของภาครัฐในการที่จะขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน”
เลขาธิการ CAC กล่าวว่า นอกจากจะตั้งเป้าหมายการขยายแนวร่วมฯ อย่างท้าทายแล้ว ในปีนี้ ทาง CAC ยังจะเน้นไปที่การพยายามดึงภาคธุรกิจที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงต่อการทุจริตสูง อย่างเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อการประมูลงานภาครัฐให้เข้ามาเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ อีกด้วย และจะพยายามผลักดันให้บริษัทที่เป็นสมาชิกแนวร่วมฯ อยู่แล้วนำนโยบายต่อต้านการทุจริตไปปฏิบัติจริงจนสามารถผ่านการรับรองจาก CAC ให้ได้เพิ่มขึ้นอีกกว่าเท่าตัว”
ปัจจัยประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ภาคธุรกิจตื่นตัวมากขึ้นกับเรื่องการต่อต้านทุจริตในช่วงปีที่ผ่านมา ก็คือ การที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สนับสนุนให้มีการจัดทำและเผยแพร่ตัวชี้วัดการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องต่อคอร์รัปชันสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย (Anti-corruption Progress Indicator) ซึ่งเป็นดัชนีที่ช่วยบ่งชี้ความก้าวหน้า และแนวทางการยกระดับให้แก่บริษัทจดทะเบียนในเรื่องการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ยังเป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้นักลงทุนทราบถึงความมุ่งมั่น และนโยบายการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องต่อคอร์รัปชันของบริษัทจดทะเบียนด้วย
สำหรับ CAC ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการนำนโยบายและมาตรฐานการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการคอร์รัปชันในระดับบริษัทธุรกิจไปปฏิบัติ บทบาทของ CAC จะเน้นในส่วนของบริษัทเอกชน ด้วยการพยายามให้มีการนำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันไปปฏิบัติให้เกิดผลจริง โดย CAC ทำงานอย่างใกล้ชิด และคู่ขนานไปกับ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT)
นายบัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption) หรือ CAC เปิดเผยว่า ปี 2558 CAC ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็น 600 บริษัทในปี 2558 จาก 406 บริษัทในปี 2557 พร้อมผลักดันให้บริษัทที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไปแล้ว ดำเนินการให้มีนโยบาย และแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนด และเพิ่มจำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC เป็น 200 บริษัท ในปี 2558 จาก 78 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557
“ปีที่แล้วเป็นปีที่ภาคธุรกิจของไทยมีความตื่นตัวอย่างมากในเรื่องของธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชัน ดังจะเห็นได้จากการที่ทั้งจำนวนบริษัทที่เข้าประกาศเจตนารมณ์ และบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริบททางสังคมและการเมืองที่หันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องของความโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงการแสดงท่าทีเอาจริงเอาจังมากขึ้นของภาครัฐในการที่จะขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน”
เลขาธิการ CAC กล่าวว่า นอกจากจะตั้งเป้าหมายการขยายแนวร่วมฯ อย่างท้าทายแล้ว ในปีนี้ ทาง CAC ยังจะเน้นไปที่การพยายามดึงภาคธุรกิจที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงต่อการทุจริตสูง อย่างเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อการประมูลงานภาครัฐให้เข้ามาเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ อีกด้วย และจะพยายามผลักดันให้บริษัทที่เป็นสมาชิกแนวร่วมฯ อยู่แล้วนำนโยบายต่อต้านการทุจริตไปปฏิบัติจริงจนสามารถผ่านการรับรองจาก CAC ให้ได้เพิ่มขึ้นอีกกว่าเท่าตัว”
ปัจจัยประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ภาคธุรกิจตื่นตัวมากขึ้นกับเรื่องการต่อต้านทุจริตในช่วงปีที่ผ่านมา ก็คือ การที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สนับสนุนให้มีการจัดทำและเผยแพร่ตัวชี้วัดการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องต่อคอร์รัปชันสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย (Anti-corruption Progress Indicator) ซึ่งเป็นดัชนีที่ช่วยบ่งชี้ความก้าวหน้า และแนวทางการยกระดับให้แก่บริษัทจดทะเบียนในเรื่องการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ยังเป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้นักลงทุนทราบถึงความมุ่งมั่น และนโยบายการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องต่อคอร์รัปชันของบริษัทจดทะเบียนด้วย
สำหรับ CAC ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการนำนโยบายและมาตรฐานการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการคอร์รัปชันในระดับบริษัทธุรกิจไปปฏิบัติ บทบาทของ CAC จะเน้นในส่วนของบริษัทเอกชน ด้วยการพยายามให้มีการนำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันไปปฏิบัติให้เกิดผลจริง โดย CAC ทำงานอย่างใกล้ชิด และคู่ขนานไปกับ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT)