สธ. ไล่ออกข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ 7 ปี รวมกว่า 76 คน ฐานทุจริตคอร์รัปชัน เสียหายกว่า 100 ล้านบาท เผยส่วนใหญ่เป็นบุคลากรและผู้บริหารในโรงพยาบาลขนาดเล็ก ที่รับผิดชอบด้านจัดซื้อจัดจ้าง เร่งเดินหน้าปราบเต็มขั้น
วันนี้ (22 ธ.ค.) ที่ จ.เชียงใหม่ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดประชุมผู้บริหารและผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ โรงพยาบาลทุกระดับในเขตสุขภาพที่ 1 - 3 ในพื้นที่ภาคเหนือจำนวน 350 คน ว่า ข้อมูลจากกลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) รายงานว่าระหว่างปี 2550 - 2556 มีบุคลากรในสังกัดกระทำผิด ทุจริตต่อหน้าที่ ถูกลงโทษขั้นไล่ออกและปลดออกจากราชการรวม 76 คน เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ทั้งหมดเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการเงิน และเป็นผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) มากที่สุด ในจำนวนนี้มี 5 คนลงโทษตามที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด จึงได้เร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบธรรมาภิบาล วางระบบ และกลไก โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้าย การจัดซื้อจัดจ้าง การรับสิ่งของจากภาคเอกชน ให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม คุณธรรม คุ้มค่า โปร่งใส เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของ สธ. เป็นผู้ขับเคลื่อนแผน นำไปสู่การเป็นองค์กรต้นแบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัด สธ. กล่าวว่า ในปี 2558 สธ. ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนแนวทางป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ 4 ประการ สอดคล้องกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่ 1. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯระยะที่ 2 พ.ศ. 2556 - 2560 ไปสู่การปฏิบัติระดับหน่วยงานและกำหนดเป็นตัวชี้วัดของกระทรวง 2. ส่งเสริมให้บุคลากร ประพฤติตน และปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการพลเรือน สร้างค่านิยมเชิดชูความดี ซื่อสัตย์สุจริต 3. การลดความเสี่ยงในการทุจริต สร้างค่านิยมและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ และ 4. ประสานความร่วมมือเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วนและประชาชน ให้มีส่วนร่วมเฝ้าระวัง และตรวจสอบ ซึ่งขณะนี้มี อสม. จำนวน 87,800 คน และมีพยาบาล เครือข่ายประชาคม 52 ชมรม เป็นเครือข่ายสำคัญ โดยมีช่องทางแจ้งเบาะแส 24 ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.stopcorruption.moph.go.th และทางตู้ ปณ. 9 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11000 เชื่อว่าจะเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งยั่งยืนในระดับประเทศและสากล
"ทั้งนี้ เงื่อนไขความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต บุคลากรต้องมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ ผู้บริหารกระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ยึดถือความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้องเที่ยงธรรม และมีจิตสำนึกสาธารณะที่เล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มุ่งมั่นที่จะช่วยแก้ไขปัญหา” รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ธ.ค.) ที่ จ.เชียงใหม่ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดประชุมผู้บริหารและผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ โรงพยาบาลทุกระดับในเขตสุขภาพที่ 1 - 3 ในพื้นที่ภาคเหนือจำนวน 350 คน ว่า ข้อมูลจากกลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) รายงานว่าระหว่างปี 2550 - 2556 มีบุคลากรในสังกัดกระทำผิด ทุจริตต่อหน้าที่ ถูกลงโทษขั้นไล่ออกและปลดออกจากราชการรวม 76 คน เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ทั้งหมดเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการเงิน และเป็นผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) มากที่สุด ในจำนวนนี้มี 5 คนลงโทษตามที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด จึงได้เร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบธรรมาภิบาล วางระบบ และกลไก โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้าย การจัดซื้อจัดจ้าง การรับสิ่งของจากภาคเอกชน ให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม คุณธรรม คุ้มค่า โปร่งใส เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของ สธ. เป็นผู้ขับเคลื่อนแผน นำไปสู่การเป็นองค์กรต้นแบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัด สธ. กล่าวว่า ในปี 2558 สธ. ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนแนวทางป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ 4 ประการ สอดคล้องกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่ 1. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯระยะที่ 2 พ.ศ. 2556 - 2560 ไปสู่การปฏิบัติระดับหน่วยงานและกำหนดเป็นตัวชี้วัดของกระทรวง 2. ส่งเสริมให้บุคลากร ประพฤติตน และปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการพลเรือน สร้างค่านิยมเชิดชูความดี ซื่อสัตย์สุจริต 3. การลดความเสี่ยงในการทุจริต สร้างค่านิยมและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ และ 4. ประสานความร่วมมือเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วนและประชาชน ให้มีส่วนร่วมเฝ้าระวัง และตรวจสอบ ซึ่งขณะนี้มี อสม. จำนวน 87,800 คน และมีพยาบาล เครือข่ายประชาคม 52 ชมรม เป็นเครือข่ายสำคัญ โดยมีช่องทางแจ้งเบาะแส 24 ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.stopcorruption.moph.go.th และทางตู้ ปณ. 9 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11000 เชื่อว่าจะเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งยั่งยืนในระดับประเทศและสากล
"ทั้งนี้ เงื่อนไขความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต บุคลากรต้องมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ ผู้บริหารกระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ยึดถือความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้องเที่ยงธรรม และมีจิตสำนึกสาธารณะที่เล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มุ่งมั่นที่จะช่วยแก้ไขปัญหา” รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่