นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการประสานการบริหารการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม มีผลบังคับใช้เมื่อวานนี้ และมีการระบุให้ทำประชามติ จึงมีการประชุมเพื่อเตรียมการ เบื้องต้นยังเห็นว่าไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวันออกเสียงประชามติ ที่กำหนดไว้เดิม คือวันที่ 10 ม.ค. 59 แม้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อาจจะขอขยายเวลาในการยกร่างรัฐธรรมนูญออกไปอีก 30 วัน
ส่วนการเตรียมการล่วงหน้า กกต.จะมีการเปิดศูนย์อำนวยการออกเสียงประชามติ ในวันที่ 1 ก.ย. และจากการที่รัฐธรรมนูญ กำหนดให้ กกต. ต้องจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญ และเผยแพร่ไปยังประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประมาณ 23 ล้านครัวเรือน รวมถึงต้องจัดพิมพ์บัตรออกเสียงประชามติ ที่คาดว่าอาจจะต้องใช้บัตร 3 ใบ ต่อผู้ออกเสียง 1 คน จึงจำเป็นที่จะต้องสรรหาโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพในการพิมพ์ ทั้งบัตรออกเสียง และเอกสารเผยแพร่
ดังนั้นในวันที่ 17 ก.ค. ตนก็จะลงนามประกาศเชิญชวนให้โรงพิมพ์ทั้งของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ที่คิดว่ามีศักยภาพในการจัดพิมพ์เอกสารทั้งสองส่วน ได้มีการเสนอตัวว่า มีความพร้อมที่จะรับงานดังกล่าวมากน้อยเพียงใด คาดว่าจะทราบผลภายในสิ้นเดือนนี้
ส่วนเรื่องงบประมาณที่จะใช้ ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะขึ้นอยู่กับจำนวนคำถามที่จะใช้ในการออกเสียง และจำนวนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะจัดพิมพ์ ซึ่งต้องรอความชัดเจนก่อน แต่เบื้องต้นจากการคำนวณจำนวนหน่วยออกเสียง ที่จะมีประมาณ 98,000 หน่วย และจำนวนกรรมการประจำหน่วยที่จะใช้ 7-10 คน คาดว่าจะใช้งบประมาณเฉพาะในส่วนนี้ ไม่เกิน 2 พันล้านบาท
นายภุชงค์ กล่าวด้วยว่า กกต.ค่อนข้างหนักใจ กับการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ กกต.ต้องจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญ และเผยแพร่ไปยังประชาชนให้ได้ร้อยละ 80 หรือประมาณ 19 ล้านครัวเรือน ก่อนถึงวันออกเสียง 30-45 วัน ซึ่งเท่ากับว่า หากกำหนดวันออกเสียงในวันที่ 10 ม.ค. 59 จะต้องมีการเผยแพร่เอกสารให้แล้วเสร็จ ภายในช่วงปลายเดือนพ.ย. เมื่อนับเวลาที่ สปช. เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่อย่างช้า ในวันที่ 6 ก.ย. ระยะเวลาที่มีค่อนข้างกระชั้นชิด การจัดพิมพ์โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามปกติอาจมีปัญหา แต่ กกต. ก็พายามที่จะไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ จะยึดเรื่องการประกวดราคา ซึ่งจะประสานไปยัง สตง. และ ป.ป.ช. เข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม แผนการทำประชามติ ที่มีการประชุมในครั้งนี้จะมีการเสนอต่อที่ประชุมกกต.ในวันที่ 21 ก.ค.นี้ด้วย
ส่วนการเตรียมการล่วงหน้า กกต.จะมีการเปิดศูนย์อำนวยการออกเสียงประชามติ ในวันที่ 1 ก.ย. และจากการที่รัฐธรรมนูญ กำหนดให้ กกต. ต้องจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญ และเผยแพร่ไปยังประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประมาณ 23 ล้านครัวเรือน รวมถึงต้องจัดพิมพ์บัตรออกเสียงประชามติ ที่คาดว่าอาจจะต้องใช้บัตร 3 ใบ ต่อผู้ออกเสียง 1 คน จึงจำเป็นที่จะต้องสรรหาโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพในการพิมพ์ ทั้งบัตรออกเสียง และเอกสารเผยแพร่
ดังนั้นในวันที่ 17 ก.ค. ตนก็จะลงนามประกาศเชิญชวนให้โรงพิมพ์ทั้งของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ที่คิดว่ามีศักยภาพในการจัดพิมพ์เอกสารทั้งสองส่วน ได้มีการเสนอตัวว่า มีความพร้อมที่จะรับงานดังกล่าวมากน้อยเพียงใด คาดว่าจะทราบผลภายในสิ้นเดือนนี้
ส่วนเรื่องงบประมาณที่จะใช้ ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะขึ้นอยู่กับจำนวนคำถามที่จะใช้ในการออกเสียง และจำนวนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะจัดพิมพ์ ซึ่งต้องรอความชัดเจนก่อน แต่เบื้องต้นจากการคำนวณจำนวนหน่วยออกเสียง ที่จะมีประมาณ 98,000 หน่วย และจำนวนกรรมการประจำหน่วยที่จะใช้ 7-10 คน คาดว่าจะใช้งบประมาณเฉพาะในส่วนนี้ ไม่เกิน 2 พันล้านบาท
นายภุชงค์ กล่าวด้วยว่า กกต.ค่อนข้างหนักใจ กับการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ กกต.ต้องจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญ และเผยแพร่ไปยังประชาชนให้ได้ร้อยละ 80 หรือประมาณ 19 ล้านครัวเรือน ก่อนถึงวันออกเสียง 30-45 วัน ซึ่งเท่ากับว่า หากกำหนดวันออกเสียงในวันที่ 10 ม.ค. 59 จะต้องมีการเผยแพร่เอกสารให้แล้วเสร็จ ภายในช่วงปลายเดือนพ.ย. เมื่อนับเวลาที่ สปช. เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่อย่างช้า ในวันที่ 6 ก.ย. ระยะเวลาที่มีค่อนข้างกระชั้นชิด การจัดพิมพ์โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามปกติอาจมีปัญหา แต่ กกต. ก็พายามที่จะไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ จะยึดเรื่องการประกวดราคา ซึ่งจะประสานไปยัง สตง. และ ป.ป.ช. เข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม แผนการทำประชามติ ที่มีการประชุมในครั้งนี้จะมีการเสนอต่อที่ประชุมกกต.ในวันที่ 21 ก.ค.นี้ด้วย