นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุม คณะกรรมการยกร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และระยะเวลาในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ที่ประชุมได้ยกร่างประกาศดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีข้อสังเกตในบางเรื่อง ซึ่งก็จะมีการไปปรับแก้ และเสนอต่อที่ประชุมกกต. ในวันที่ 29 มิ.ย. นี้ เพื่อที่เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว กกต.ก็จะได้นำเสนอประกาศดังกล่าว ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้ ในร่างประกาศที่สำนักงานยกร่างขึ้น จะอยู่บนพื้นฐานว่า คำถามที่จะมีการทำประชามติ จะมีทั้งสิ้นไม่เกิน 3 คำถาม ตามที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดไว้ และแบ่งออกเป็นทั้งสิ้น 10 หมวด 30 ข้อ อาทิ หมวดว่าด้วยการหน่วยออกเสียงประชามติ บัญชีผู้มีสิทธิออกเสียง การลงคะแนนออกเสียง การนับคะแนนออกเสียง การเผยแพร่ จัดส่งร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
โดยจะเป็นการกำหนดกรอบเนื้อหากว้างๆ อาทิ บัตรออกเสียง และหีบบัตรออกเสียง กำหนดให้แยกตามจำนวนคำถามที่จะมีการทำประชามติ โดยบัตรออกเสียง จะไม่มีช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ดังนั้นถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ใช้สิทธิกาในช่องเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ก็ถือว่าเป็นบัตรเสีย ส่วนวันออกเสียงประชามติ กำหนดให้เป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ โดยงดการออกเสียงนอกราชอาณาจักร และงดการลงคะแนนออกเสียงล่วงหน้า แต่จัดให้มีการลงคะแนนออกเสียงนอกเขตจังหวัดในวันออกเสียงประชามติ ส่วนการคัดค้านการออกเสียงประชามติ กำหนดไว้ใน 2 ประเด็น คือเรื่องการคัดค้านการออกเสียง ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงจำนวน 10 คน ยื่นร้องคัดค้านได้ แต่หากการคัดค้านไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลประชามติ ก็ไม่ต้องจัดให้มีการลงประชามติใหม่
นายบุณยเกียรติ กล่าวอีกว่า ในร่างประกาศ จะไม่มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการณรงค์ออกเสียงประชามติ ว่า ผู้ที่จะรณรงค์ต้องมาขึ้นทะเบียนกับ กกต. หรือไม่ รวมทั้งการจัดสรรเวลาการรณรงค์ออกเสียง เพราะรายละเอียดดังกล่าว จะมีการกำหนดไว้ในระเบียบของ กกต.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ทางสำนักงาน จะมีการดำเนินการยกร่างต่อไป หลังจากที่ประกาศฉบับดังกล่าวผ่านการเห็นชอบของสนช.แล้ว
ส่วนวันออกเสียงประชามติ แม้ กกต.จะกำหนดเบื้องต้น เป็นวันที่ 10 ม.ค.59 แต่ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาถึงขั้นตอนของการจัดพิมพ์ และเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ ไปยังผู้มีสิทธิออกเสียง 19 ล้านคน ถ้าสามารถเผยแพร่ได้ไม่น้อยกว่า 80% หลังวันเผยแพร่ ไม่เกิน 30-45 วัน ก็จะสามารถจัดการออกเสียงประชามติได้ ดังนั้นถ้ามีการดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการออกเสียงประชามติ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นในการจัดทำประชามติ แม้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2557 จะกำหนดให้มีการทำประชามติ มากกว่า 1 ประเด็นได้ แต่หากประเด็นที่ถาม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้มีผลผูกพันให้รัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปปฏิบัติตาม
"ประเด็นหลักที่จะมีการถามก็คือ จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ส่วนประเด็นรอง หากถามเกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ เช่น ควรจะมีนายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ ถ้าประชาชนมีความเห็นเป็นอย่างไร ก็จะมีผลให้กรรมาธิการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามผลประชามติ แต่ถ้าเป็นคำถามที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ถามเรื่องกาสิโน เรื่องให้รัฐบาลอยู่ต่ออีก 2 ปี หรือ ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ถ้าผลประชามติเป็นอย่างไรกฎหมายไม่ได้บังคับว่า รัฐต้องปฏิบัติตาม แต่ผลประชามติจะเหมือนเป็นข้อมูลให้รัฐบาลใช้ประกอบในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น" นายบุณยเกียรติ กล่าว
ทั้งนี้ ในร่างประกาศที่สำนักงานยกร่างขึ้น จะอยู่บนพื้นฐานว่า คำถามที่จะมีการทำประชามติ จะมีทั้งสิ้นไม่เกิน 3 คำถาม ตามที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดไว้ และแบ่งออกเป็นทั้งสิ้น 10 หมวด 30 ข้อ อาทิ หมวดว่าด้วยการหน่วยออกเสียงประชามติ บัญชีผู้มีสิทธิออกเสียง การลงคะแนนออกเสียง การนับคะแนนออกเสียง การเผยแพร่ จัดส่งร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
โดยจะเป็นการกำหนดกรอบเนื้อหากว้างๆ อาทิ บัตรออกเสียง และหีบบัตรออกเสียง กำหนดให้แยกตามจำนวนคำถามที่จะมีการทำประชามติ โดยบัตรออกเสียง จะไม่มีช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ดังนั้นถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ใช้สิทธิกาในช่องเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ก็ถือว่าเป็นบัตรเสีย ส่วนวันออกเสียงประชามติ กำหนดให้เป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ โดยงดการออกเสียงนอกราชอาณาจักร และงดการลงคะแนนออกเสียงล่วงหน้า แต่จัดให้มีการลงคะแนนออกเสียงนอกเขตจังหวัดในวันออกเสียงประชามติ ส่วนการคัดค้านการออกเสียงประชามติ กำหนดไว้ใน 2 ประเด็น คือเรื่องการคัดค้านการออกเสียง ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงจำนวน 10 คน ยื่นร้องคัดค้านได้ แต่หากการคัดค้านไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลประชามติ ก็ไม่ต้องจัดให้มีการลงประชามติใหม่
นายบุณยเกียรติ กล่าวอีกว่า ในร่างประกาศ จะไม่มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการณรงค์ออกเสียงประชามติ ว่า ผู้ที่จะรณรงค์ต้องมาขึ้นทะเบียนกับ กกต. หรือไม่ รวมทั้งการจัดสรรเวลาการรณรงค์ออกเสียง เพราะรายละเอียดดังกล่าว จะมีการกำหนดไว้ในระเบียบของ กกต.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ทางสำนักงาน จะมีการดำเนินการยกร่างต่อไป หลังจากที่ประกาศฉบับดังกล่าวผ่านการเห็นชอบของสนช.แล้ว
ส่วนวันออกเสียงประชามติ แม้ กกต.จะกำหนดเบื้องต้น เป็นวันที่ 10 ม.ค.59 แต่ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาถึงขั้นตอนของการจัดพิมพ์ และเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ ไปยังผู้มีสิทธิออกเสียง 19 ล้านคน ถ้าสามารถเผยแพร่ได้ไม่น้อยกว่า 80% หลังวันเผยแพร่ ไม่เกิน 30-45 วัน ก็จะสามารถจัดการออกเสียงประชามติได้ ดังนั้นถ้ามีการดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการออกเสียงประชามติ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นในการจัดทำประชามติ แม้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2557 จะกำหนดให้มีการทำประชามติ มากกว่า 1 ประเด็นได้ แต่หากประเด็นที่ถาม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้มีผลผูกพันให้รัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปปฏิบัติตาม
"ประเด็นหลักที่จะมีการถามก็คือ จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ส่วนประเด็นรอง หากถามเกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ เช่น ควรจะมีนายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ ถ้าประชาชนมีความเห็นเป็นอย่างไร ก็จะมีผลให้กรรมาธิการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามผลประชามติ แต่ถ้าเป็นคำถามที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ถามเรื่องกาสิโน เรื่องให้รัฐบาลอยู่ต่ออีก 2 ปี หรือ ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ถ้าผลประชามติเป็นอย่างไรกฎหมายไม่ได้บังคับว่า รัฐต้องปฏิบัติตาม แต่ผลประชามติจะเหมือนเป็นข้อมูลให้รัฐบาลใช้ประกอบในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น" นายบุณยเกียรติ กล่าว