ASTVผู้จัดการรายวัน-ป.ป.ช.แถลงเปิดสำนวนถอน 248 ส.ส. แก้รัฐธรรมนูญปี 50 ชี้ผิดชัดเจน จงใจปลอมแปลงร่าง ด้าน "วิโรจน์"นำทีมอดีต สส. รุมแถลงคัดค้านทุกข้อกล่าวหา ซัดคำร้องไม่ถูกต้อง ยันมีร่างแก้ไขร่างเดียว บี้ สนช. ใช้มาตรฐานเดียวกับอดีต 38 สว. ล่าสุดตั้งกมธ.ซักถาม 7 คน นัด 6 ส.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (15 ก.ค.) มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในการประชุมนัดพิเศษ วาระเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 248 คน ออกจากตำแหน่ง ตาม มาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยเป็นการแถลงเปิดสำนวนตามรายงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการแถลงคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนของผู้ถูกกล่าวหา ตามข้อบังคับ ข้อ 154 วรรคหนึ่ง โดยมีนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. เป็นตัวแทนผู้แถลงเปิดคดี
ขณะที่ตัวแทนอดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย 6 คน นำโดย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต ส.ส.กทม. พล.ร.อ.สุรพล จันทร์แดง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายภราดร ปริศนานันทกุล อดีต ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา โดยมีอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆ เข้ามาร่วมรับฟังการแถลงเปิดสำนวนคดีในห้องประชุมด้วย
** ป.ป.ช.ซัดปลอมแปลงร่างแก้รัฐธรรมนูญ
นายวิชัย วิวิตเสวี คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แถลงเปิดสำนวนคดีว่า คณะกรรมการป.ป.ช.เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ร่วมกันลงรายมือชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. นำโดย นายอุดมเดช รัตนเสถียร จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 58 และขัดต่อ พ.ร.บ. ป.ป.ช. ปี พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554 ซ้ำผู้ถูกกล่าวหายังร่วมลงรายมือชื่อในรัฐธรรมนูญ และร่วมลงมติเห็นชอบในวาระต่างๆ ด้วย ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญที่ลงมตินั้น เป็นคนละฉบับกับที่ได้เสนอให้แก้ไขไป โดยเฉพาะได้มีการแก้ไขหลักการสำคัญใน มาตรา 116 วรรคสอง ที่มีผลให้ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งส.ว. ที่สิ้นสุดวาระสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องรอเวลา 2 ปี ถือเป็นการลงมติร่างรัฐธรรมนูญคนละฉบับที่ได้เสนอ โดยร่างดังกล่าวไม่มีสมาชิกลงรายมือชื่อรับรอง ทำให้ญัตติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ
โดย ป.ป.ช. พิจารณาฐานความผิดออกเป็น 7 กลุ่ม แต่ที่ยื่นมายัง สนช. มีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 239 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. รวมทั้งพิจารณาและลงมติในวาระ 1 วาระ 2 และวาระ 3 ถือว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
กลุ่มที่ 2 ผู้ถูกกล่าวหา คือ นายอภิรักษ์ ศิรินาวิน ที่ลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พิจารณาและลงมติในวาระ 2 และ วาระ 3 ถูกชี้มูลความผิดขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
กลุ่มที่ 3 ผู้ถูกกล่าวหารวม10 คน ที่ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญพิจารณาและลงมติในวาระที่ 3 ถือว่าจงใจใช้อำนาจขัดต่อบัญญัติรัฐธรรมนูญ
กลุ่มที่ 4 ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 2 คน คือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี และนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ที่ร่วมลงมติในวาระ 1 แต่ป.ป.ช.เสียงส่วนใหญ่มีมติเห็นว่าไม่ให้ส่งสำนวนมายังสนช.
กลุ่มที่ 5 ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 3 คน ซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว ประกอบด้วย พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสมพล เกยุราพันธุ์ และนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ซึ่งป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ให้จำหน่ายคดีออก
ส่วนกลุ่มที่ 6 และ กลุ่มที่ 7 อยู่ในระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ ในกลุ่มที่ 1 มีสมาชิก 2 คน ประกอบด้วยนายทองดี มนิสสาร และนายตุ่น จินตะเวช ได้ถึงแก่กรรม จึงไม่ต้องนำมาพิจารณาตามข้อบังคับ
** อดีตส.ส.โต้แย้งทุกข้อหา
ต่อมาตัวแทนอดีต ส.ส.ต่างทยอยแถลงโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของป.ป.ช. ทุกข้อกล่าวหา เริ่มจากพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรง เป็นการประหารชีวิตทางการเมือง ตั้งแต่การดำเนินกระบวนการไต่สวนของป.ป.ช. การลงมติและความไม่โปร่งใสบางเรื่องของป.ป.ช. ซึ่งตนเพิ่งเห็นคำร้องหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าพวกตนฝ่าฝืนมาตรา 68 เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2556 เท่าที่ดู น่าจะเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ระบุว่า ผู้ร้องต้องระบุชื่อ ที่อยู่อาชีพ เลขบัตรประชาชน และลงวันที่ร้องด้วยตนเอง แต่ว่าผู้ร้องในคำร้องไม่เป็นเช่นนั้น
นอกจากนั้น ยังมีระเบียบของวุฒิสภา ที่สอดคล้องกับกฎหมายป.ป.ช.ว่าแบบคำร้องขอให้พิจารณาถอดถอนต้องเป็นแบบพิมพ์ แต่คำร้องของผู้ยื่นถอดถอนไม่ได้ทำตาม จึงถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งเป็นโทษมหันต์ ผู้ร้องต้องมีหลักแหล่งไม่ใช่เอาคนหลักลอยมาแกล้งร้องหรือเป็นอีแอบ
นอกจากนี้ ป.ป.ช.ได้ยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 20 พ.ย.2556 กรณีมีผู้ร้องว่าพวกตนแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 พวกตนยืนยันว่าไม่ได้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแก้ไขหรือล้มล้างการปกครอง แต่เป็นการทำหน้าที่ในองค์กรนิติบัญญัติ ซึ่งให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ส่วนการกล่าวหาและแจ้งข้อกล่าวพวกตน ตนเคยไปให้การที่ป.ป.ช.ก็แปลกใจมากว่า เมื่อไปถึงมีนิติกร 2 คน สอบถามตนว่าร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขมีกี่ร่าง รู้หรือไม่ว่ามี 2 ร่าง และมีการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งตนชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญมีร่างเดียว คือ ร่างที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำเสนอ แต่บางถ้อยคำตกหล่นไปจึงนำร่างมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ ยืนยันว่าเป็นร่างเดิม และตลอดเวลาการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา ก็ไม่เห็นมีใครท้วงติงว่ามี 2 ร่าง
** อ้างต้องใช้มาตรฐานเดียวกับ38ส.ว.
พล.ต.ท.วิโรจน์กล่าวว่า ส่วนที่กล่าวหาว่าพวกตนลงมติแก้ไขประเด็นที่มา ส.ว. เป็นการกระทำที่ส่อว่าล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ข้อหานี้ตนไม่เคยทราบมาก่อน ไม่เคยมีการแจ้งหรือตั้งประเด็นในการไต่สวน แล้วมาสรุปตอนท้ายแบบนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมรวบหัวรวบหาง เพราะการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 130 ถือเป็นเอกสิทธิ์ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้
"อยากให้ประธาน สนช. และสมาชิก สนช. ช่วยถามป.ป.ช.ว่า เรื่องที่เสนอถอดถอนเป็นกรณีเดียวกันกับ ส.ว. 38 คน ที่พิจารณาก่อนหน้านี้หรือไม่ เป็นข้อหาเดียวกัน เกิดในห้องเดียวกันเวลาเดียวกัน ซึ่ง ป.ป.ช.คงไม่โกหกว่าไม่จริง ถ้าใช่ก็อยากฝากประธานฯ และสมาชิกสนช.ทุกคนเรื่องมาตรฐานที่ลงมติไว้ว่าควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน"
นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พวกตนไม่มีตำแหน่งไหนให้ถอดถอนแล้ว เพราะได้พ้นตำแหน่งไปแล้ว ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ป.ป.ช.ได้ชี้มูลขณะนี้เป็นอดีตแล้ว จึงเท่ากับว่า ฐานความผิดดังกล่าวที่จะนำไปสู่การถอดถอนได้ถูกยกเลิกแล้วเช่นเดียวกัน
** รุมจวกป.ป.ช.เลือกปฏิบัติ
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า ข้อกล่าวหาเรื่องเอกสารปลอมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะทุกเอกสารได้มีการตรวจสอบโดยนิติกรของรัฐสภา ก่อนที่จะบรรจุเข้าวาระการประชุม หลังจากที่ผู้กล่าวหา 114 คน ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. ที่ได้รับเรื่องไว้พิจารณาทันที ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า ป.ป.ช. มีคดีค้างอยู่เป็นพันคดี แต่ทำไมคดีของพวกตนถึงได้มีการเร่งรัดดำเนินการโดยเร็วพลัน
“ผมยืนยันว่าในวาระแรกผู้กล่าวหาทั้ง 114 คน ร่วมสังฆกรรมด้วยแน่นอน ทั้งที่พวกผมปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส. โดยชอบธรรม ถ้าคิดเช่นนี้ควรปฏิรูปรัฐสภาก่อนอันดับแรก ที่ให้ทุกคนยอมรับข้อบังคบรัฐสภา ดังนั้น จึงขอความเห็นใจจาก สนช.ให้พิจารณาว่าจะถอดถอนหรือไม่ ยืนยันอีกว่าสิ่งที่พวกผมได้กระทำไป โดยเงื่อนไขที่สุจริต”
ส่วน พล.ร.อ.สุรพล จันทน์แดง อดีต ส.ส.ชลบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ป.ป.ช.ปฏิบัติงานไร้สาระ เสียเวลาโดยใช่เหตุ ทั้งที่รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยกเลิกไปแล้ว ส.ส.ก็หมดความเป็นสมาชิกภาพ ไม่รู้ว่าจะถอดถอนใคร ที่เหลือให้ถอดถอนตนตอนนี้ก็มีแต่ถอนหงอกกับถอนการเป็นข้าราชการบำนาญ ซึ่งตนได้ปฏิบัติตามหน้าที่แท้ๆ ในฐานะ ส.ส. แต่พวกท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกลับมาทำให้ยุ่งเหยิง หรือว่าการถอดถอนนี้ ท่านต้องทำให้ได้เพื่อให้บรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหรือกลัวพวกตนจะไปลงสมัครรับเลือกตั้ง
** อ้างส.ส.มีเอกสิทธิ์ในการออกเสียง
นายชวลิต วิยชสุทธิ์ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย ระบุว่า ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291ให้เอกสิทธิ์ ส.ส.ในการออกเสียงลงคะแนน ไม่สามารถนำไปฟ้องร้องได้ การที่ป.ป.ช.แบ่งกลุ่มการออกเสียงลงคะแนน เท่ากับละเมิดรัฐธรรมนูญ เสียเองหรือไม่ ในสำนวนบอกว่ามีการใช้เอกสิทธิ์ลงคะแนนในญัตติแรกแล้วเท่ากับยอมรับการมีเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาใช่หรือไม่ เมื่อยอมรับแล้วทำไมยังแบ่งกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาตามที่สำนวนส่งมา ส่วนที่ว่าเอกสิทธิ์ไม่คุ้มครองญัตติที่ไม่แก้ไขจากเดิมหรือญัตติปลอม ยืนยันว่ามีญัตติแก้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวเป็นฉบับจริง และผู้ร้องใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริตนายอภิสิทธิ์ร่วมแปรญัตติวาระ2 แต่พอแพ้โหวตกลับนำหลักการที่ตนเองเห็นชอบในญัตติมาฟ้องร้องพวกตน
***ตั้งกรรมการซักถามนัดประชุม6ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากตัวแทนอดีตส.ส.ทยอยชี้แจงไป10 คน นายยุทธนา ทัพเจริญ สมาชิกสนช. ได้เสนอให้ยุติการแถลง เพราะเริ่มมีประเด็นซ้ำกัน โดยที่ประชุมเห็นด้วย นายสามารถจึงขอไปหารือกับสมาชิก โดยได้กล่าวว่าได้มีการแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มอบฉันทะให้ตัวแทนชี้แจงแทน และกลุ่มรักษาสิทธิ์ชี้แจงเอง แต่หลังจากหารือแล้ว และทั้งวันอดีตส.ส.ได้เป็นตัวแทนมาแล้วทั้งสิ้น 11คน และสมาชิกได้ฟังประเด็นต่างๆ แล้ว เห็นว่าครอบคลุมทุกประเด็น จึงไม่ติดใจจะชี้แจงอีก หวังสนช.ได้ฟังครบถ้วนแล้ว อีกทั้งเหตุผลก็เช่นเดียวกับ อดีต 38 ส.ว. และกรณีของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และนายนิคม ไวยรัชพานิช ชี้แจงไปแล้ว ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาไม่ติดใจที่จะชี้แจงต่อ
จากนั้น ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถามจำนวน 7 คน และกำหนดนัดประชุมเพื่อซักถามในวันที่ 6 ส.ค. เวลา 10.00 น. ส่วนสมาชิกที่จะยืนญัตติประเด็นซักถามจะต้องส่งภายในเวลา 12.00 น.ของวันที่ 20 ก.ค. และให้คู่กรณีส่งยื่นคำขอแถลงการณ์สำนวนปิดคดีด้วยวาจาภายใน วันที่ 21 ก.ค. แต่หากประสงค์จะยื่นปิดคดีเป็นหนังสือ ให้ยื่นได้ภายในวันที่ 27 ก.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (15 ก.ค.) มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในการประชุมนัดพิเศษ วาระเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 248 คน ออกจากตำแหน่ง ตาม มาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยเป็นการแถลงเปิดสำนวนตามรายงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการแถลงคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนของผู้ถูกกล่าวหา ตามข้อบังคับ ข้อ 154 วรรคหนึ่ง โดยมีนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. เป็นตัวแทนผู้แถลงเปิดคดี
ขณะที่ตัวแทนอดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย 6 คน นำโดย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต ส.ส.กทม. พล.ร.อ.สุรพล จันทร์แดง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายภราดร ปริศนานันทกุล อดีต ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา โดยมีอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆ เข้ามาร่วมรับฟังการแถลงเปิดสำนวนคดีในห้องประชุมด้วย
** ป.ป.ช.ซัดปลอมแปลงร่างแก้รัฐธรรมนูญ
นายวิชัย วิวิตเสวี คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แถลงเปิดสำนวนคดีว่า คณะกรรมการป.ป.ช.เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ร่วมกันลงรายมือชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. นำโดย นายอุดมเดช รัตนเสถียร จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 58 และขัดต่อ พ.ร.บ. ป.ป.ช. ปี พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554 ซ้ำผู้ถูกกล่าวหายังร่วมลงรายมือชื่อในรัฐธรรมนูญ และร่วมลงมติเห็นชอบในวาระต่างๆ ด้วย ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญที่ลงมตินั้น เป็นคนละฉบับกับที่ได้เสนอให้แก้ไขไป โดยเฉพาะได้มีการแก้ไขหลักการสำคัญใน มาตรา 116 วรรคสอง ที่มีผลให้ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งส.ว. ที่สิ้นสุดวาระสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องรอเวลา 2 ปี ถือเป็นการลงมติร่างรัฐธรรมนูญคนละฉบับที่ได้เสนอ โดยร่างดังกล่าวไม่มีสมาชิกลงรายมือชื่อรับรอง ทำให้ญัตติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ
โดย ป.ป.ช. พิจารณาฐานความผิดออกเป็น 7 กลุ่ม แต่ที่ยื่นมายัง สนช. มีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 239 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. รวมทั้งพิจารณาและลงมติในวาระ 1 วาระ 2 และวาระ 3 ถือว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
กลุ่มที่ 2 ผู้ถูกกล่าวหา คือ นายอภิรักษ์ ศิรินาวิน ที่ลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พิจารณาและลงมติในวาระ 2 และ วาระ 3 ถูกชี้มูลความผิดขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
กลุ่มที่ 3 ผู้ถูกกล่าวหารวม10 คน ที่ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญพิจารณาและลงมติในวาระที่ 3 ถือว่าจงใจใช้อำนาจขัดต่อบัญญัติรัฐธรรมนูญ
กลุ่มที่ 4 ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 2 คน คือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี และนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ที่ร่วมลงมติในวาระ 1 แต่ป.ป.ช.เสียงส่วนใหญ่มีมติเห็นว่าไม่ให้ส่งสำนวนมายังสนช.
กลุ่มที่ 5 ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 3 คน ซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว ประกอบด้วย พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสมพล เกยุราพันธุ์ และนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ซึ่งป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ให้จำหน่ายคดีออก
ส่วนกลุ่มที่ 6 และ กลุ่มที่ 7 อยู่ในระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ ในกลุ่มที่ 1 มีสมาชิก 2 คน ประกอบด้วยนายทองดี มนิสสาร และนายตุ่น จินตะเวช ได้ถึงแก่กรรม จึงไม่ต้องนำมาพิจารณาตามข้อบังคับ
** อดีตส.ส.โต้แย้งทุกข้อหา
ต่อมาตัวแทนอดีต ส.ส.ต่างทยอยแถลงโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของป.ป.ช. ทุกข้อกล่าวหา เริ่มจากพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรง เป็นการประหารชีวิตทางการเมือง ตั้งแต่การดำเนินกระบวนการไต่สวนของป.ป.ช. การลงมติและความไม่โปร่งใสบางเรื่องของป.ป.ช. ซึ่งตนเพิ่งเห็นคำร้องหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าพวกตนฝ่าฝืนมาตรา 68 เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2556 เท่าที่ดู น่าจะเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ระบุว่า ผู้ร้องต้องระบุชื่อ ที่อยู่อาชีพ เลขบัตรประชาชน และลงวันที่ร้องด้วยตนเอง แต่ว่าผู้ร้องในคำร้องไม่เป็นเช่นนั้น
นอกจากนั้น ยังมีระเบียบของวุฒิสภา ที่สอดคล้องกับกฎหมายป.ป.ช.ว่าแบบคำร้องขอให้พิจารณาถอดถอนต้องเป็นแบบพิมพ์ แต่คำร้องของผู้ยื่นถอดถอนไม่ได้ทำตาม จึงถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งเป็นโทษมหันต์ ผู้ร้องต้องมีหลักแหล่งไม่ใช่เอาคนหลักลอยมาแกล้งร้องหรือเป็นอีแอบ
นอกจากนี้ ป.ป.ช.ได้ยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 20 พ.ย.2556 กรณีมีผู้ร้องว่าพวกตนแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 พวกตนยืนยันว่าไม่ได้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแก้ไขหรือล้มล้างการปกครอง แต่เป็นการทำหน้าที่ในองค์กรนิติบัญญัติ ซึ่งให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ส่วนการกล่าวหาและแจ้งข้อกล่าวพวกตน ตนเคยไปให้การที่ป.ป.ช.ก็แปลกใจมากว่า เมื่อไปถึงมีนิติกร 2 คน สอบถามตนว่าร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขมีกี่ร่าง รู้หรือไม่ว่ามี 2 ร่าง และมีการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งตนชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญมีร่างเดียว คือ ร่างที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำเสนอ แต่บางถ้อยคำตกหล่นไปจึงนำร่างมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ ยืนยันว่าเป็นร่างเดิม และตลอดเวลาการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา ก็ไม่เห็นมีใครท้วงติงว่ามี 2 ร่าง
** อ้างต้องใช้มาตรฐานเดียวกับ38ส.ว.
พล.ต.ท.วิโรจน์กล่าวว่า ส่วนที่กล่าวหาว่าพวกตนลงมติแก้ไขประเด็นที่มา ส.ว. เป็นการกระทำที่ส่อว่าล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ข้อหานี้ตนไม่เคยทราบมาก่อน ไม่เคยมีการแจ้งหรือตั้งประเด็นในการไต่สวน แล้วมาสรุปตอนท้ายแบบนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมรวบหัวรวบหาง เพราะการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 130 ถือเป็นเอกสิทธิ์ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้
"อยากให้ประธาน สนช. และสมาชิก สนช. ช่วยถามป.ป.ช.ว่า เรื่องที่เสนอถอดถอนเป็นกรณีเดียวกันกับ ส.ว. 38 คน ที่พิจารณาก่อนหน้านี้หรือไม่ เป็นข้อหาเดียวกัน เกิดในห้องเดียวกันเวลาเดียวกัน ซึ่ง ป.ป.ช.คงไม่โกหกว่าไม่จริง ถ้าใช่ก็อยากฝากประธานฯ และสมาชิกสนช.ทุกคนเรื่องมาตรฐานที่ลงมติไว้ว่าควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน"
นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พวกตนไม่มีตำแหน่งไหนให้ถอดถอนแล้ว เพราะได้พ้นตำแหน่งไปแล้ว ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ป.ป.ช.ได้ชี้มูลขณะนี้เป็นอดีตแล้ว จึงเท่ากับว่า ฐานความผิดดังกล่าวที่จะนำไปสู่การถอดถอนได้ถูกยกเลิกแล้วเช่นเดียวกัน
** รุมจวกป.ป.ช.เลือกปฏิบัติ
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า ข้อกล่าวหาเรื่องเอกสารปลอมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะทุกเอกสารได้มีการตรวจสอบโดยนิติกรของรัฐสภา ก่อนที่จะบรรจุเข้าวาระการประชุม หลังจากที่ผู้กล่าวหา 114 คน ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. ที่ได้รับเรื่องไว้พิจารณาทันที ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า ป.ป.ช. มีคดีค้างอยู่เป็นพันคดี แต่ทำไมคดีของพวกตนถึงได้มีการเร่งรัดดำเนินการโดยเร็วพลัน
“ผมยืนยันว่าในวาระแรกผู้กล่าวหาทั้ง 114 คน ร่วมสังฆกรรมด้วยแน่นอน ทั้งที่พวกผมปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส. โดยชอบธรรม ถ้าคิดเช่นนี้ควรปฏิรูปรัฐสภาก่อนอันดับแรก ที่ให้ทุกคนยอมรับข้อบังคบรัฐสภา ดังนั้น จึงขอความเห็นใจจาก สนช.ให้พิจารณาว่าจะถอดถอนหรือไม่ ยืนยันอีกว่าสิ่งที่พวกผมได้กระทำไป โดยเงื่อนไขที่สุจริต”
ส่วน พล.ร.อ.สุรพล จันทน์แดง อดีต ส.ส.ชลบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ป.ป.ช.ปฏิบัติงานไร้สาระ เสียเวลาโดยใช่เหตุ ทั้งที่รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยกเลิกไปแล้ว ส.ส.ก็หมดความเป็นสมาชิกภาพ ไม่รู้ว่าจะถอดถอนใคร ที่เหลือให้ถอดถอนตนตอนนี้ก็มีแต่ถอนหงอกกับถอนการเป็นข้าราชการบำนาญ ซึ่งตนได้ปฏิบัติตามหน้าที่แท้ๆ ในฐานะ ส.ส. แต่พวกท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกลับมาทำให้ยุ่งเหยิง หรือว่าการถอดถอนนี้ ท่านต้องทำให้ได้เพื่อให้บรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหรือกลัวพวกตนจะไปลงสมัครรับเลือกตั้ง
** อ้างส.ส.มีเอกสิทธิ์ในการออกเสียง
นายชวลิต วิยชสุทธิ์ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย ระบุว่า ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291ให้เอกสิทธิ์ ส.ส.ในการออกเสียงลงคะแนน ไม่สามารถนำไปฟ้องร้องได้ การที่ป.ป.ช.แบ่งกลุ่มการออกเสียงลงคะแนน เท่ากับละเมิดรัฐธรรมนูญ เสียเองหรือไม่ ในสำนวนบอกว่ามีการใช้เอกสิทธิ์ลงคะแนนในญัตติแรกแล้วเท่ากับยอมรับการมีเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาใช่หรือไม่ เมื่อยอมรับแล้วทำไมยังแบ่งกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาตามที่สำนวนส่งมา ส่วนที่ว่าเอกสิทธิ์ไม่คุ้มครองญัตติที่ไม่แก้ไขจากเดิมหรือญัตติปลอม ยืนยันว่ามีญัตติแก้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวเป็นฉบับจริง และผู้ร้องใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริตนายอภิสิทธิ์ร่วมแปรญัตติวาระ2 แต่พอแพ้โหวตกลับนำหลักการที่ตนเองเห็นชอบในญัตติมาฟ้องร้องพวกตน
***ตั้งกรรมการซักถามนัดประชุม6ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากตัวแทนอดีตส.ส.ทยอยชี้แจงไป10 คน นายยุทธนา ทัพเจริญ สมาชิกสนช. ได้เสนอให้ยุติการแถลง เพราะเริ่มมีประเด็นซ้ำกัน โดยที่ประชุมเห็นด้วย นายสามารถจึงขอไปหารือกับสมาชิก โดยได้กล่าวว่าได้มีการแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มอบฉันทะให้ตัวแทนชี้แจงแทน และกลุ่มรักษาสิทธิ์ชี้แจงเอง แต่หลังจากหารือแล้ว และทั้งวันอดีตส.ส.ได้เป็นตัวแทนมาแล้วทั้งสิ้น 11คน และสมาชิกได้ฟังประเด็นต่างๆ แล้ว เห็นว่าครอบคลุมทุกประเด็น จึงไม่ติดใจจะชี้แจงอีก หวังสนช.ได้ฟังครบถ้วนแล้ว อีกทั้งเหตุผลก็เช่นเดียวกับ อดีต 38 ส.ว. และกรณีของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และนายนิคม ไวยรัชพานิช ชี้แจงไปแล้ว ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาไม่ติดใจที่จะชี้แจงต่อ
จากนั้น ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถามจำนวน 7 คน และกำหนดนัดประชุมเพื่อซักถามในวันที่ 6 ส.ค. เวลา 10.00 น. ส่วนสมาชิกที่จะยืนญัตติประเด็นซักถามจะต้องส่งภายในเวลา 12.00 น.ของวันที่ 20 ก.ค. และให้คู่กรณีส่งยื่นคำขอแถลงการณ์สำนวนปิดคดีด้วยวาจาภายใน วันที่ 21 ก.ค. แต่หากประสงค์จะยื่นปิดคดีเป็นหนังสือ ให้ยื่นได้ภายในวันที่ 27 ก.ค.