เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (13ก.ค.) ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) มีรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน เข้าร่วม โดยพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การทำงานขณะนี้มีทั้งเดินหน้า และขจัดข้อขัดแย้ง ตรวจสอบทุจริต ให้มีความเป็นรูปธรรมโดยทำได้หลายมิติ ซึ่งขณะนี้เป็นมิติด้านความมั่นคง แต่ปัญหาหลักขณะนี้คือ การขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ประชาชนยังมีความขัดแย้งทุกระดับ ซึ่งต้องไม่ให้ขยายความขัดแย้งออกไป เพราะกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จะแก้ปัญหาอะไรต้องเริ่มที่รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และบ้านเมืองต้องสงบก่อน
จากนั้น เวลา 12.30 น. ภายหลังการประชุม พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ในฐานะเลขานุการ คตช. แถลงว่า นายกฯ ต้องการให้การแก้ปัญหาการทุจริตต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่ใช่จบในรัฐบาลชุดนี้ โดยวางรูปแบบ โครงสร้าง ให้กระทรวงยุติธรรมบูรณาการงบประมาณปรามปรามการทุจริตที่ทุกกระทรวงมีอยู่เข้าด้วยกัน และที่ประชุม คตช. มีแนวคิดตั้งกองทุน โดยจะของบฯจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
** งัดมาตรการเล่นงานพวกโกงภาษี
ด้านนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า ที่ประชุม คตช. เห็นชอบมาตรการปราบปรามการทุจริต 3 เรื่อง คือ 1. ยกระดับการบังคับใช้มาตรการทางปกครอง และวินัย ต่อไปหากศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) พบการกระทำผิดในหน่วยงานราชการใด จะแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาการหน่วยงานนั้นดำเนินการลงโทษทางปกครอง และวินัย แต่หากแจ้งไปแล้วผู้บังคับบัญชายังไม่ดำเนินการ ศอตช. จะใช้กระบวนการทางกฎหมายที่มีอยู่ไปกระตุ้น แต่ถ้ายังเฉยอยู่อีก จะเสนอให้นายกฯ ดำเนินการ 2. ศอตช. จะใช้มาตรการทางภาษีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่กระทำความผิด รวมถึงเอกชนที่เสนอขายสินค้า หรือบริการให้กับภาครัฐ แต่ไม่ดำเนินการทางภาษีให้ถูกต้อง และ 3. ศอตช. จะติดตามและรับเรื่องร้องว่ามีหน่วยราชการใดไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 ก.ค.นี้
** นายกฯ สั่งเร่งสอบขรก.โกง ลอต1-2
เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวด้วยว่า สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบข้าราชการที่พัวพันการทุจริตในรอบที่ 1 และ 2 อยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานต้นสังกัด ดำเนินการทางวินัยไปบางส่วนแล้ว ซึ่งนายกฯ ให้เร่งสอบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับข้าราชการที่สอบแล้วไม่มีส่วนเกี่ยวจะได้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม ส่วนใครทุจริตจริง จะได้ลงโทษทางวินัย และแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าไปดำรงตำแหน่งแทน
ส่วนการพิจารณารายชื่อข้าราชการที่พัวพันการทุจริต รอบที่ 3 ยังไม่ได้พิจารณา ส่วนการเพิ่มบทบัญญัติการลงโทษแก่เจ้าหน้ารัฐที่กระทำความผิด กรณีทุจริต สูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 นั้น ความจริงโทษประหารชีวิต มีอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มบทลงโทษในส่วนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น
จากนั้น เวลา 12.30 น. ภายหลังการประชุม พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ในฐานะเลขานุการ คตช. แถลงว่า นายกฯ ต้องการให้การแก้ปัญหาการทุจริตต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่ใช่จบในรัฐบาลชุดนี้ โดยวางรูปแบบ โครงสร้าง ให้กระทรวงยุติธรรมบูรณาการงบประมาณปรามปรามการทุจริตที่ทุกกระทรวงมีอยู่เข้าด้วยกัน และที่ประชุม คตช. มีแนวคิดตั้งกองทุน โดยจะของบฯจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
** งัดมาตรการเล่นงานพวกโกงภาษี
ด้านนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า ที่ประชุม คตช. เห็นชอบมาตรการปราบปรามการทุจริต 3 เรื่อง คือ 1. ยกระดับการบังคับใช้มาตรการทางปกครอง และวินัย ต่อไปหากศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) พบการกระทำผิดในหน่วยงานราชการใด จะแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาการหน่วยงานนั้นดำเนินการลงโทษทางปกครอง และวินัย แต่หากแจ้งไปแล้วผู้บังคับบัญชายังไม่ดำเนินการ ศอตช. จะใช้กระบวนการทางกฎหมายที่มีอยู่ไปกระตุ้น แต่ถ้ายังเฉยอยู่อีก จะเสนอให้นายกฯ ดำเนินการ 2. ศอตช. จะใช้มาตรการทางภาษีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่กระทำความผิด รวมถึงเอกชนที่เสนอขายสินค้า หรือบริการให้กับภาครัฐ แต่ไม่ดำเนินการทางภาษีให้ถูกต้อง และ 3. ศอตช. จะติดตามและรับเรื่องร้องว่ามีหน่วยราชการใดไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 ก.ค.นี้
** นายกฯ สั่งเร่งสอบขรก.โกง ลอต1-2
เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวด้วยว่า สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบข้าราชการที่พัวพันการทุจริตในรอบที่ 1 และ 2 อยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานต้นสังกัด ดำเนินการทางวินัยไปบางส่วนแล้ว ซึ่งนายกฯ ให้เร่งสอบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับข้าราชการที่สอบแล้วไม่มีส่วนเกี่ยวจะได้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม ส่วนใครทุจริตจริง จะได้ลงโทษทางวินัย และแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าไปดำรงตำแหน่งแทน
ส่วนการพิจารณารายชื่อข้าราชการที่พัวพันการทุจริต รอบที่ 3 ยังไม่ได้พิจารณา ส่วนการเพิ่มบทบัญญัติการลงโทษแก่เจ้าหน้ารัฐที่กระทำความผิด กรณีทุจริต สูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 นั้น ความจริงโทษประหารชีวิต มีอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มบทลงโทษในส่วนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น