พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวถึง ความคืบหน้าการส่งรายชื่อข้าราชการที่อาจเกี่ยวข้องกับการทุจริต คอร์รัปชันเพิ่มเติมให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ตามนโยบายการปราบปรามการทุจริต คอรัปชันของรัฐบาลว่า เรื่องนี้ต้องทยอยดำเนินการ ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะบางคนเกษียณอายุราชการไปแล้ว นอกจากนี้รายชื่อที่ได้รับบางส่วน ก็ยังมีที่ไม่ถูกต้องบ้าง เนื่องจากหน่วยงานที่สอบสวนไม่ใช่หน่วยงานต้นสังกัด ดังนั้นจึงต้องค่อยๆ ทำไป ไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ 4 หน่วยงาน คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) จะต้องส่งรายชื่อมาที่ ศอตช. เมื่อไร เขาเป็นหน่วยงานที่เป็นองค์กรอิสระ จึงไม่สามารถไปเร่งรัดได้
"เรื่องอย่างนี้ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่มีรายชื่อเหล่านั้นด้วย ที่สำคัญคือ ต้องไม่มีการประกาศชื่อออกมา เพราะถ้าประกาศชื่อ จะถือว่าผิดกฏหมาย เนื่องจากสังคมอาจเข้าใจได้ว่า มีการกระทำความผิดไปแล้วได้ " ประธาน ศอตช. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาทำไม่ถึงปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการ จนคนผิดเกษียณอายุราชการไปก่อน พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ต้องเข้าใจกระบวนการยุติธรรมของเราว่ามีหลายขั้นตอน ซึ่งก่อนคสช.จะเข้ามา เราใช้เพียงเฉพาะเรื่องของตุลาการ แต่วันนี้นายกรัฐมนตรีได้ใช้มาตรการของฝ่ายบริหาร มีการย้ายออกจากตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งตนพยายามย้ำว่า ผู้มีรายชื่อนั้น เพียงแค่มีความเกี่ยวพัน แต่ยังไม่เป็นความผิด จึงจำเป็นต้องย้ายออก
" เรื่องนี้ผมได้มีการเปิดช่องไว้ว่า ผู้ที่มีรายชื่อ หากคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถเข้ามาร้องเรียนที่ ศอตช.ได้ ผมจะให้หน่วยงานที่เขาส่งรายชื่อเข้ามา เป็นผู้ชี้แจง แต่ก็ต้องถามกลับเช่นกันว่า กล้าที่จะแบกหน้าออกสื่อหรือไม่ เอาเอกสารมาแบกันต่อหน้าเลย จะได้รู้ว่ามีความผิดอย่างไร ถ้ากล้า ผมก็เอาด้วย หรือจะคุยกันเงียบๆ ก็ได้ เพราะผมมีความมั่นใจในการเปิดเผยหลักฐาน และได้ย้ำกับ 4 หน่วยงานมาตลอดว่า อย่ากลั่นแกล้งใคร และวันนี้เริ่มมีการรายงานกันว่า เมื่อมีการย้ายหัวหน้าหน่วยงานส่วนท้องถิ่นออกไปแล้ว คนเป็นรองที่ขึ้นมาแทน ก็ชักจะเหมือนเดิม ซึ่งผมบอกไปแล้วว่า ถ้าเหมือนเดิมแล้วสอบเจอ ก็ต้องออกอีก ถ้าท่านเข้ามาแทน แต่ผู้ที่ออกไปแล้วยังชี้อยู่หลังไมค์ให้ท่านทำ อย่างนี้ไม่ได้ เราทราบอยู่แล้ว ที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ แม้จะโดนออกไปแล้วแต่ยังบงการอยู่ข้างหลัง อย่าคิดนะว่าเราจะไม่สอบ เราเข้าใจดี เมื่อรองขึ้นมานั่ง รองก็จะโดนไปด้วย ผมเห็นแล้วเพราะมีข่าวจากประชาชนในพื้นที่แจ้งมา ก็ดีเหมือนกัน ผมจะได้เอารองออกอีกสักคน" พล.อ.ไพบูลย์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดรายชื่อตำรวจ และทหาร ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ถึงมีจำนวนน้อย พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ตนไม่ได้ไปบอกให้ 4 หน่วยงานทำเรื่องใด แต่เป็นเรื่องของแต่ละหน่วยงาน ที่จะดำเนินการกันมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายชื่อในรอบแรก จะมีการใช้ มาตรา 44 โยกย้ายอีกหรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่จะไปคัดแยกว่า กรณีไหนต้องใช้ มาตรา 44 หรือกรณีไหนที่สามารถใช้วิธีโยกย้ายในกระทรวงเองได้ ไม่ต้องใช้ มาตรา 44
เมื่อถามว่า หากข้าราชการคนไหนที่เห็นว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในการโยกย้าย จะสามารถร้องเรียนได้หรือไม่ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า สามารถร้องเรียนได้ อาจมาที่ ศอตช. ก็ได้ ตนยินดีเต็มที่ และพร้อมให้ความเป็นธรรม ถ้าไม่มากไปก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจง จะได้ดูหลักฐานกันว่า อะไรเป็นอะไร
"เรื่องอย่างนี้ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่มีรายชื่อเหล่านั้นด้วย ที่สำคัญคือ ต้องไม่มีการประกาศชื่อออกมา เพราะถ้าประกาศชื่อ จะถือว่าผิดกฏหมาย เนื่องจากสังคมอาจเข้าใจได้ว่า มีการกระทำความผิดไปแล้วได้ " ประธาน ศอตช. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาทำไม่ถึงปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการ จนคนผิดเกษียณอายุราชการไปก่อน พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ต้องเข้าใจกระบวนการยุติธรรมของเราว่ามีหลายขั้นตอน ซึ่งก่อนคสช.จะเข้ามา เราใช้เพียงเฉพาะเรื่องของตุลาการ แต่วันนี้นายกรัฐมนตรีได้ใช้มาตรการของฝ่ายบริหาร มีการย้ายออกจากตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งตนพยายามย้ำว่า ผู้มีรายชื่อนั้น เพียงแค่มีความเกี่ยวพัน แต่ยังไม่เป็นความผิด จึงจำเป็นต้องย้ายออก
" เรื่องนี้ผมได้มีการเปิดช่องไว้ว่า ผู้ที่มีรายชื่อ หากคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถเข้ามาร้องเรียนที่ ศอตช.ได้ ผมจะให้หน่วยงานที่เขาส่งรายชื่อเข้ามา เป็นผู้ชี้แจง แต่ก็ต้องถามกลับเช่นกันว่า กล้าที่จะแบกหน้าออกสื่อหรือไม่ เอาเอกสารมาแบกันต่อหน้าเลย จะได้รู้ว่ามีความผิดอย่างไร ถ้ากล้า ผมก็เอาด้วย หรือจะคุยกันเงียบๆ ก็ได้ เพราะผมมีความมั่นใจในการเปิดเผยหลักฐาน และได้ย้ำกับ 4 หน่วยงานมาตลอดว่า อย่ากลั่นแกล้งใคร และวันนี้เริ่มมีการรายงานกันว่า เมื่อมีการย้ายหัวหน้าหน่วยงานส่วนท้องถิ่นออกไปแล้ว คนเป็นรองที่ขึ้นมาแทน ก็ชักจะเหมือนเดิม ซึ่งผมบอกไปแล้วว่า ถ้าเหมือนเดิมแล้วสอบเจอ ก็ต้องออกอีก ถ้าท่านเข้ามาแทน แต่ผู้ที่ออกไปแล้วยังชี้อยู่หลังไมค์ให้ท่านทำ อย่างนี้ไม่ได้ เราทราบอยู่แล้ว ที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ แม้จะโดนออกไปแล้วแต่ยังบงการอยู่ข้างหลัง อย่าคิดนะว่าเราจะไม่สอบ เราเข้าใจดี เมื่อรองขึ้นมานั่ง รองก็จะโดนไปด้วย ผมเห็นแล้วเพราะมีข่าวจากประชาชนในพื้นที่แจ้งมา ก็ดีเหมือนกัน ผมจะได้เอารองออกอีกสักคน" พล.อ.ไพบูลย์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดรายชื่อตำรวจ และทหาร ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ถึงมีจำนวนน้อย พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ตนไม่ได้ไปบอกให้ 4 หน่วยงานทำเรื่องใด แต่เป็นเรื่องของแต่ละหน่วยงาน ที่จะดำเนินการกันมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายชื่อในรอบแรก จะมีการใช้ มาตรา 44 โยกย้ายอีกหรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่จะไปคัดแยกว่า กรณีไหนต้องใช้ มาตรา 44 หรือกรณีไหนที่สามารถใช้วิธีโยกย้ายในกระทรวงเองได้ ไม่ต้องใช้ มาตรา 44
เมื่อถามว่า หากข้าราชการคนไหนที่เห็นว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในการโยกย้าย จะสามารถร้องเรียนได้หรือไม่ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า สามารถร้องเรียนได้ อาจมาที่ ศอตช. ก็ได้ ตนยินดีเต็มที่ และพร้อมให้ความเป็นธรรม ถ้าไม่มากไปก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจง จะได้ดูหลักฐานกันว่า อะไรเป็นอะไร