ASTVผู้จัดการรายวัน - น.ส.มาลีรัตน์"โพสต์ ศาลอุทธรณ์ สั่ง"แกนนำพันธมิตร รวม 13 คน ต้องชดใช้เงินจำนวน 600 ล้าน ให้ทอท.กรณีชุมนุมปิดสนามบิน พร้อมเปิดบัญชีขอเงินช่วยค่าธรรมเนียมฎีกา 7 ล้าน ด้าน“ทนายสุวัตร” เตรียมยื่นขอขยายเวลาฎีกาสู้คดี หลังศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ “13 แกนนำพันธมิตรฯ” จ่ายค่าเสียหายเกือบ 600 ล้าน แก่การท่าอากาศยานฯ กรณีชุมนุมที่สนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ปี 51 ก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา 26 มิ.ย.นี้
เมื่อวานนี้ ( 23 มิ.ย.) นางมาลีรัตน์ แก้วก่า อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 และอดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊ก "Maleerat Kaewka"ระบุว่า ตนเอง และแกนนำพันธมิตรฯ รวมทั้งสิ้น 13 ราย ได้รับหมายศาลแจ้งว่า ต้องชดใช้เงินจำนวน 600 ล้านบาท แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรณีชุมนุมที่ชานชาลา ลานจอดรถสนามบินดอนเมือง และ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นางมาลีรัตน์ ระบุว่า วิกฤติในชีวิตของแต่ละคนจะมีกี่ครั้ง คงไม่มีใครตอบได้ชัดเจน แต่ 2-3 วันที่ผ่านมา ยอมรับว่าตนเองแทบช็อกเมื่อทราบว่า ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และคณะ 13 คน รวมดิฉันด้วย ต้องชดใช้เงินจำนวน 600 ล้านบาท แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรณีชุมนุมที่ชานชาลา ลานจอดรถสนามบินดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวิกฤติชีวิตครั้งใหญ่ของดิฉัน และอีกหลายคนแน่นอน
ขอท้าวความถึงการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2551 เป็นที่ทราบทั่วไปว่า เริ่มตั้งแต่เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 เรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ต้องผ่านสภา มาตรา 237 เรื่องยุบพรรคที่ทุจริตเลือกตั้ง เป็นหลัก ไปจนถึงประท้วงแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 จนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญฯลฯ
ก่อนย้ายเข้าทำเนียบฯ ในเดือนสิงหาคม มีการลอบยิงด้วยกระสุนปืน และระเบิดเอ็ม 79 รอบๆ ที่ชุมนุมเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ แทบทุกวัน หลังจากนั้น ตลอดระยะเวลาของการชุมนุม มีการลอบทำร้ายผู้ชุมนุม เป็นระยะๆ และอาวุธสงครามถูกนำมาทำลายผู้ชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ที่ผู้ถืออำนาจรัฐ ใช้อาวุธสงครามทำร้ายผู้ชุมนุม จน "น้องโบว์" น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ และสารวัตรจ๊าบ ต้องเสียชีวิต คุณรุ่งทิวา ธาตุนิยม เป็นเจ้าหญิงนิทรา จนปัจจุบัน คุณตี๋ชิงชัย แขนขาด เฮียตี๋ คุณเจ็ก ขาขาด อีกจำนวนมากบาดเจ็บ
หลังจากนั้น เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น ช่วงเดือน พ.ย.2551 ระเบิดลงบ่อยมาก จนคุณเสถียร จากการไฟฟ้า บาดเจ็บสาหัส น้องโบว์ กมลวรรณ หมื่นหนู เสียชีวิต และ 20 พ.ย.คุณเจนกิจ กลัดสาคร เสียชีวิตเป็นรายสุดท้าย ที่ทำเนียบฯ นั่นคือ เหตุที่เกิดขึ้นก่อนการชุมนุมที่ดอนเมือง และสุวรรณภูมิ
ผ่านไป 7 ปีเต็ม แต่ความทรงจำที่เกิดขึ้นในหัวใจดิฉันทุกครั้งที่นึกถึง การชุมนุม193 วัน คือ คำขอร้องของน้องคุ้กกี้ ลูกสาวคุณเจนกิจ กลัดสาคร ที่กล่าวบนเวทีปราศรัย ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อคืนวันที่ 22 พ.ย.51 ด้วยน้ำเสียงที่เรียบ แต่แววตามุ่งมั่นว่า "อยากให้คนไทยมากันเยอะๆในวันอาทิตย์นี้ ทำเพื่อพ่อหนูด้วย" นั่นคือ ความทรงจำผุดขึ้นมาทุกครั้ง
หลังจากเราเลิกชุมนุมในวันที่ 2 ธ.ค.51 คดี ทอท. ฟ้องแพ่ง แกนนำและคณะ 13 คน ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง 25 มี.ค.54 ศาลชั้นต้น สั่งให้ชดใช้เงิน 522 ล้านบาท ทนายสุวัตร อภัยภักดิ์ และทีมสู้อย่างเด็ดเดี่ยว ขออุทธรณ์แบบอนาถา เพราะแต่ละคนไม่มีงานประจำ ศาลอนุญาตเพียง 1 ใน 3 ทนายสุวัตร ต้องดิ้นรนหาเงินวางค่าธรรมเนียมศาล เกือบ 3 ล้านบาท
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษา ให้ชดใช้เงินจำนวน 600 ล้านบาท จึงทำให้ทั้ง 13 คน เดินเข้าใกล้เส้นทางเป็นบุคคลล้มละลายเข้าไปทุกขณะ ซึ่งถามว่ากลัวไหม ทุกสิ่งเป็นสรณะ ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน แต่เราได้พยายามต่อสู้ในสิ่งที่เราเห็นว่า เราทำถูกต้องหรือยัง จึงมีเพียง 2 แนวทางเท่านั้นที่ต้องดำเนินการ
แนวทางที่ 1 ยื่นฎีกา ซึ่งต้องวางค่าธรรมเนียมศาล รวม 7 ล้านบาท และทนายได้ขอผ่อนผัน 2 รอบแล้ว ทางคณะฯจึงได้ขอให้ ทนายสุวัตร ยื่นเรื่องขอยืดเวลาการชำระค่าธรรมเนียมออกไป จากเดิม 26 มิ.ย.นี้ ย้ำอีกครั้งค่ะ เวลานับจากนี้ไป 4 วัน กับเงิน 7 ล้านบาท จะหาอย่างไร หาจากไหน เพราะแต่ละคนเดือดร้อนกันหมดแล้ว แต่ข้อดี คือเวลาต่อสู้ในชั้นศาลฎีกา อาจใช้เวลา 3-5 ปี
แนวทางที่ 2 ไม่ยื่นฎีกา ให้ศาลว่าไป โดยไม่สู้ในชั้นฎีกา ยอมรับว่า เราทำผิดทางละเมิด ผลก็คือ พล.ต.จำลอง และคณะทั้ง 13 จะถูกฟ้องล้มละลายต่อไป อาจใช้เวลา 1 ปีนับจากนี้
เราปรึกษาหารือเบื้องต้น ได้ข้อสรุปว่า เดินแนวทางที่ 1 คือ ยื่นฎีกา ต้องหาเงินมาวางค่าธรรมเนียมศาล 7 ล้านบาท หาจากไหน นั่นล่ะคือสิ่งที่ดิฉันช็อก ช่วยแนะนำดิฉันด้วยนะคะ
สุดท้าย นางมาลีรัตน์ ระบุว่า จะมีการระดมทุนเข้ากองทุนสู้คดี เพื่อสมทบเงินค่าธรรมเนียมศาล ชื่อบัญชี มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน เพื่อพันธมิตรสู้คดี เลขที่ 008-2-26479-7 ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางลำพู บัญชี ออมทรัพย์
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของแกนนำพันธมิตรฯ กล่าวถึงคดีนี้ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ให้พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก ซึ่งเป็นแกนนำพันธมิตรฯ รวม 13 คน ชดใช้ค่าเสียหายกว่า 522 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.51 จนกว่าจะชำระเสร็จ ในคดีที่บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็น โจทก์ ยื่นฟ้อง กรณีระหว่างวันที่ 24 พ.ย. - 3 ธ.ค.51 พวกจำเลย ร่วมกันนำผู้ชุมนุมหลายหมื่นคน ไปบุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง เพื่อประท้วงรัฐบาล และขับไล่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ทำให้การให้บริการต่างๆ ภายในท่าอากาศยานทั้งสอง ต้องหยุดลง
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในทุกประเด็น ให้แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 13 คน ต้องชดใช้เงินค่าเสียหายแล้ว คดีจะครบกำหนดยื่นฎีกา ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งตนเอง และทีมทนายความ กำลังพิจารณารายละเอียด เพื่อยื่นฎีกาต่อสู้คดี ซึ่งเป็นไปได้ที่จะยื่นคำฎีกาไม่ทันช่วงกำหนดดังกล่าว จึงเตรียมแนวทางที่จะยื่นคำร้องขอขยายเวลาฎีกาก่อน
ขณะที่ตามขั้นตอนการฎีกาคดีนี้ ฝ่ายจำเลย จะต้องหาเงิน 7 ล้านบาท วางเป็นค่าธรรมเนียมศาล ในการยื่นฎีกาด้วย ซึ่งเราเตรียมจะยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาเป็นกรณีอนาถา เพื่องดการวางเงินค่าธรรมเนียม 7 ล้านบาท ในการฎีกาด้วย ก็จะต้องดูว่าศาลจะพิจารณาอย่างไร และมีคำสั่งอย่างไร ต่อไป
ทั้งนี้ แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 13 คนดังกล่าว ประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงชัย นายสุริยะใส กตะศิลา นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายอมร อมรรัตนานนท์ นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง นายสำราญ รอดเพชร นายศิริชัย ไม้งาม นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และ นายเทิดภูมิ ใจดี
เมื่อวานนี้ ( 23 มิ.ย.) นางมาลีรัตน์ แก้วก่า อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 และอดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊ก "Maleerat Kaewka"ระบุว่า ตนเอง และแกนนำพันธมิตรฯ รวมทั้งสิ้น 13 ราย ได้รับหมายศาลแจ้งว่า ต้องชดใช้เงินจำนวน 600 ล้านบาท แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรณีชุมนุมที่ชานชาลา ลานจอดรถสนามบินดอนเมือง และ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นางมาลีรัตน์ ระบุว่า วิกฤติในชีวิตของแต่ละคนจะมีกี่ครั้ง คงไม่มีใครตอบได้ชัดเจน แต่ 2-3 วันที่ผ่านมา ยอมรับว่าตนเองแทบช็อกเมื่อทราบว่า ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และคณะ 13 คน รวมดิฉันด้วย ต้องชดใช้เงินจำนวน 600 ล้านบาท แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรณีชุมนุมที่ชานชาลา ลานจอดรถสนามบินดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวิกฤติชีวิตครั้งใหญ่ของดิฉัน และอีกหลายคนแน่นอน
ขอท้าวความถึงการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2551 เป็นที่ทราบทั่วไปว่า เริ่มตั้งแต่เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 เรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ต้องผ่านสภา มาตรา 237 เรื่องยุบพรรคที่ทุจริตเลือกตั้ง เป็นหลัก ไปจนถึงประท้วงแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 จนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญฯลฯ
ก่อนย้ายเข้าทำเนียบฯ ในเดือนสิงหาคม มีการลอบยิงด้วยกระสุนปืน และระเบิดเอ็ม 79 รอบๆ ที่ชุมนุมเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ แทบทุกวัน หลังจากนั้น ตลอดระยะเวลาของการชุมนุม มีการลอบทำร้ายผู้ชุมนุม เป็นระยะๆ และอาวุธสงครามถูกนำมาทำลายผู้ชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ที่ผู้ถืออำนาจรัฐ ใช้อาวุธสงครามทำร้ายผู้ชุมนุม จน "น้องโบว์" น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ และสารวัตรจ๊าบ ต้องเสียชีวิต คุณรุ่งทิวา ธาตุนิยม เป็นเจ้าหญิงนิทรา จนปัจจุบัน คุณตี๋ชิงชัย แขนขาด เฮียตี๋ คุณเจ็ก ขาขาด อีกจำนวนมากบาดเจ็บ
หลังจากนั้น เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น ช่วงเดือน พ.ย.2551 ระเบิดลงบ่อยมาก จนคุณเสถียร จากการไฟฟ้า บาดเจ็บสาหัส น้องโบว์ กมลวรรณ หมื่นหนู เสียชีวิต และ 20 พ.ย.คุณเจนกิจ กลัดสาคร เสียชีวิตเป็นรายสุดท้าย ที่ทำเนียบฯ นั่นคือ เหตุที่เกิดขึ้นก่อนการชุมนุมที่ดอนเมือง และสุวรรณภูมิ
ผ่านไป 7 ปีเต็ม แต่ความทรงจำที่เกิดขึ้นในหัวใจดิฉันทุกครั้งที่นึกถึง การชุมนุม193 วัน คือ คำขอร้องของน้องคุ้กกี้ ลูกสาวคุณเจนกิจ กลัดสาคร ที่กล่าวบนเวทีปราศรัย ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อคืนวันที่ 22 พ.ย.51 ด้วยน้ำเสียงที่เรียบ แต่แววตามุ่งมั่นว่า "อยากให้คนไทยมากันเยอะๆในวันอาทิตย์นี้ ทำเพื่อพ่อหนูด้วย" นั่นคือ ความทรงจำผุดขึ้นมาทุกครั้ง
หลังจากเราเลิกชุมนุมในวันที่ 2 ธ.ค.51 คดี ทอท. ฟ้องแพ่ง แกนนำและคณะ 13 คน ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง 25 มี.ค.54 ศาลชั้นต้น สั่งให้ชดใช้เงิน 522 ล้านบาท ทนายสุวัตร อภัยภักดิ์ และทีมสู้อย่างเด็ดเดี่ยว ขออุทธรณ์แบบอนาถา เพราะแต่ละคนไม่มีงานประจำ ศาลอนุญาตเพียง 1 ใน 3 ทนายสุวัตร ต้องดิ้นรนหาเงินวางค่าธรรมเนียมศาล เกือบ 3 ล้านบาท
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษา ให้ชดใช้เงินจำนวน 600 ล้านบาท จึงทำให้ทั้ง 13 คน เดินเข้าใกล้เส้นทางเป็นบุคคลล้มละลายเข้าไปทุกขณะ ซึ่งถามว่ากลัวไหม ทุกสิ่งเป็นสรณะ ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน แต่เราได้พยายามต่อสู้ในสิ่งที่เราเห็นว่า เราทำถูกต้องหรือยัง จึงมีเพียง 2 แนวทางเท่านั้นที่ต้องดำเนินการ
แนวทางที่ 1 ยื่นฎีกา ซึ่งต้องวางค่าธรรมเนียมศาล รวม 7 ล้านบาท และทนายได้ขอผ่อนผัน 2 รอบแล้ว ทางคณะฯจึงได้ขอให้ ทนายสุวัตร ยื่นเรื่องขอยืดเวลาการชำระค่าธรรมเนียมออกไป จากเดิม 26 มิ.ย.นี้ ย้ำอีกครั้งค่ะ เวลานับจากนี้ไป 4 วัน กับเงิน 7 ล้านบาท จะหาอย่างไร หาจากไหน เพราะแต่ละคนเดือดร้อนกันหมดแล้ว แต่ข้อดี คือเวลาต่อสู้ในชั้นศาลฎีกา อาจใช้เวลา 3-5 ปี
แนวทางที่ 2 ไม่ยื่นฎีกา ให้ศาลว่าไป โดยไม่สู้ในชั้นฎีกา ยอมรับว่า เราทำผิดทางละเมิด ผลก็คือ พล.ต.จำลอง และคณะทั้ง 13 จะถูกฟ้องล้มละลายต่อไป อาจใช้เวลา 1 ปีนับจากนี้
เราปรึกษาหารือเบื้องต้น ได้ข้อสรุปว่า เดินแนวทางที่ 1 คือ ยื่นฎีกา ต้องหาเงินมาวางค่าธรรมเนียมศาล 7 ล้านบาท หาจากไหน นั่นล่ะคือสิ่งที่ดิฉันช็อก ช่วยแนะนำดิฉันด้วยนะคะ
สุดท้าย นางมาลีรัตน์ ระบุว่า จะมีการระดมทุนเข้ากองทุนสู้คดี เพื่อสมทบเงินค่าธรรมเนียมศาล ชื่อบัญชี มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน เพื่อพันธมิตรสู้คดี เลขที่ 008-2-26479-7 ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางลำพู บัญชี ออมทรัพย์
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของแกนนำพันธมิตรฯ กล่าวถึงคดีนี้ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ให้พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก ซึ่งเป็นแกนนำพันธมิตรฯ รวม 13 คน ชดใช้ค่าเสียหายกว่า 522 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.51 จนกว่าจะชำระเสร็จ ในคดีที่บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็น โจทก์ ยื่นฟ้อง กรณีระหว่างวันที่ 24 พ.ย. - 3 ธ.ค.51 พวกจำเลย ร่วมกันนำผู้ชุมนุมหลายหมื่นคน ไปบุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง เพื่อประท้วงรัฐบาล และขับไล่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ทำให้การให้บริการต่างๆ ภายในท่าอากาศยานทั้งสอง ต้องหยุดลง
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในทุกประเด็น ให้แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 13 คน ต้องชดใช้เงินค่าเสียหายแล้ว คดีจะครบกำหนดยื่นฎีกา ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งตนเอง และทีมทนายความ กำลังพิจารณารายละเอียด เพื่อยื่นฎีกาต่อสู้คดี ซึ่งเป็นไปได้ที่จะยื่นคำฎีกาไม่ทันช่วงกำหนดดังกล่าว จึงเตรียมแนวทางที่จะยื่นคำร้องขอขยายเวลาฎีกาก่อน
ขณะที่ตามขั้นตอนการฎีกาคดีนี้ ฝ่ายจำเลย จะต้องหาเงิน 7 ล้านบาท วางเป็นค่าธรรมเนียมศาล ในการยื่นฎีกาด้วย ซึ่งเราเตรียมจะยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาเป็นกรณีอนาถา เพื่องดการวางเงินค่าธรรมเนียม 7 ล้านบาท ในการฎีกาด้วย ก็จะต้องดูว่าศาลจะพิจารณาอย่างไร และมีคำสั่งอย่างไร ต่อไป
ทั้งนี้ แกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 13 คนดังกล่าว ประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงชัย นายสุริยะใส กตะศิลา นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายอมร อมรรัตนานนท์ นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง นายสำราญ รอดเพชร นายศิริชัย ไม้งาม นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และ นายเทิดภูมิ ใจดี