เมื่อวานนี้ (22 มิ.ย.) นายนคร มาฉิม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคชาติไทยพัฒนาได้เขียนข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Nakorn Machim วิจารณ์นโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมทั้งระบุว่า เร็วๆนี้จะนำรายชื่อประชาชนกว่า 2,000 คน ไปร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ด้วยตัวเอง
นายนคร ระบุว่า ในฐานะอดีต ส.ส.พิษณุโลก หลายสมัย เป็นชาวนครไทยโดยกำเนิด วันนี้รู้ข่าวการทวงคืนผืนป่า ยึดสวนยางพารากลางป่าสงวนฯ ในจังหวัดพิษณุโลกรวมแล้วหลายพันไร่...รู้สึกไม่สบายใจ เร็วๆนี้ เตรียมจะไปทำเนียบรัฐบาลครับ เพราะมีข้อเสนอ และทางออกที่จะไปยื่นต่อท่านนายกรัฐมนตรี หรือตัวแทน และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ และกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยจะไปพร้อมรายชื่อประชาชนที่เข้ามาร้องเรียนกับผมกว่า 2,000 รายชื่อ ด้วยข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. ผมเห็นด้วยกับการทวงผืนป่าที่ครอบครองอย่างผิดกฎหมาย แต่ราษฎรได้ครอบครองทำกินโดยสุจริตนานเกินกว่า 10 ปี จนหมดสภาพป่า และกลายสภาพเป็นเรือกสวนไร่นา เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน ไปแล้ว ขอให้ขีดเส้นเป็น“ป่าชุมชน”และเพิกถอนอาณาเขต พื้นที่ป่าออกไป ตามบริบทรูปแบบสภาพที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
2.รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายในเรื่อง "การทำลายป่า" เพราะวันนี้ยังมีกลุ่มทุนที่ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร เอกสารไม่ชอบ ที่ดินสปก.ต่างๆปะปนอยู่อีกมาก ถ้าจะทำต้องทำอย่างเท่าเทียม เสมอภาค ในที่ดินสปก. ถือเปล่าของบางพวก บางกลุ่ม ทางแก้คือ ควรถอนกรรมสิทธิ์ของคนเหล่านี้ออกไปให้หมดก่อน แล้วออกกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ให้ราษฎรแทน ไม่ว่าจะให้ในเชิงรูปธรรมแบบใด ในที่วัด ชุมชน หรือโรงเรียน ที่รอการจัดการของภาครัฐในเวลานี้
3. รัฐต้องกำหนดการถือครองที่ดินของบรรดาเจ้าสัว และวงศ์ตระกูลต่างๆ เช่น ห้ามถือเกิน 100 ไร่ ปัจจุบัน กลุ่มทุนใหญ่ๆอย่างกลุ่มช้าง กลุ่มสิงห์ กลุ่มซีพี ที่มีการถือครองอยู่นับแสนไร่ กลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม
4. การโค่นยางพาราทั่วประเทศ ไม่ควรเกิดขึ้น แต่ควรเข้าไปฟื้นฟูสภาพป่า ดูสัญญาการเพาะปลูก ว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำเอาพืชที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยไม่ใช่การตัดโค่น หรือให้เจ้าของผืนป่าใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่า จากนั้นจึงคืนสภาพผืนป่าให้กับรัฐ ถือเป็นการได้ประโยชน์ในพื้นที่การครอบครองป่าร่วมกัน
**ชาวปราณฯ ร้องนายกฯระงับไล่ที่
วันเดียวกันนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มตัวแทนชาวบ้าน ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นำโดยน.ส.วิลาวัณย์ สมประสงค์ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชน ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการไล่รื้อที่ทำกิน และจัดระเบียบพื้นที่บริเวณชายหาด ต.ปากน้ำปราณ ที่ทหาร และฝ่ายปกครอง บังคับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และเครื่องมือทำกินในพื้นที่ที่อยู่มานาน
น.ส.วิลาวัณย์ กล่าวว่า พวกตนประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ทำหมึกแดดเดียว และร้านอาหาร บริเวณปากน้ำปราณ มาตั้งแต่ประมาณปี 2513 โดยทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์ แต่ในปี 2542 มีการสร้างเขื่อนบริเวณปากน้ำ ทำให้เกิดดินงอก และมีผู้ไปใช้ประโยชน์ จนถูกร้องเรียนในปี 2553 แต่หน่วยงานรัฐได้ใช้โอกาสนี้ ขับไล่พวกตนออกจากที่ด้วย ตามนโยบายของ คสช. ที่ต้องการจัดระเบียบที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่ไม่มีการจัดสรรจากหน่วยงานราชการเท่านั้น พื้นที่ของพวกตนจึงไม่เข้าเงื่อนไข และจากการสอบถาม จากทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายปกครอง เพื่อขอคำชี้แจงที่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็ถูกบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด อ้างว่ามีอำนาจในการรื้อถอนโดยไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พวกตนทราบ คำอ้างดังกล่าวทำให้พวกตนไม่มั่นใจพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ว่าใช้กฎหมายข้อใดในการบังคับพวกตน อีกทั้งพวกตนยังไม่มีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งไม่เป็นธรรม จึงขอให้ นายกฯ พิจารณาให้ความเป็นธรรมกับพวกตน และมีคำสั่งระงับ หรือยกเลิกคำสั่งที่ให้พวกตนรื้อถอนทรัพย์สินออกจากพื้นที่ดังกล่าวด้วย
นายนคร ระบุว่า ในฐานะอดีต ส.ส.พิษณุโลก หลายสมัย เป็นชาวนครไทยโดยกำเนิด วันนี้รู้ข่าวการทวงคืนผืนป่า ยึดสวนยางพารากลางป่าสงวนฯ ในจังหวัดพิษณุโลกรวมแล้วหลายพันไร่...รู้สึกไม่สบายใจ เร็วๆนี้ เตรียมจะไปทำเนียบรัฐบาลครับ เพราะมีข้อเสนอ และทางออกที่จะไปยื่นต่อท่านนายกรัฐมนตรี หรือตัวแทน และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ และกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยจะไปพร้อมรายชื่อประชาชนที่เข้ามาร้องเรียนกับผมกว่า 2,000 รายชื่อ ด้วยข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. ผมเห็นด้วยกับการทวงผืนป่าที่ครอบครองอย่างผิดกฎหมาย แต่ราษฎรได้ครอบครองทำกินโดยสุจริตนานเกินกว่า 10 ปี จนหมดสภาพป่า และกลายสภาพเป็นเรือกสวนไร่นา เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน ไปแล้ว ขอให้ขีดเส้นเป็น“ป่าชุมชน”และเพิกถอนอาณาเขต พื้นที่ป่าออกไป ตามบริบทรูปแบบสภาพที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
2.รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายในเรื่อง "การทำลายป่า" เพราะวันนี้ยังมีกลุ่มทุนที่ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร เอกสารไม่ชอบ ที่ดินสปก.ต่างๆปะปนอยู่อีกมาก ถ้าจะทำต้องทำอย่างเท่าเทียม เสมอภาค ในที่ดินสปก. ถือเปล่าของบางพวก บางกลุ่ม ทางแก้คือ ควรถอนกรรมสิทธิ์ของคนเหล่านี้ออกไปให้หมดก่อน แล้วออกกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ให้ราษฎรแทน ไม่ว่าจะให้ในเชิงรูปธรรมแบบใด ในที่วัด ชุมชน หรือโรงเรียน ที่รอการจัดการของภาครัฐในเวลานี้
3. รัฐต้องกำหนดการถือครองที่ดินของบรรดาเจ้าสัว และวงศ์ตระกูลต่างๆ เช่น ห้ามถือเกิน 100 ไร่ ปัจจุบัน กลุ่มทุนใหญ่ๆอย่างกลุ่มช้าง กลุ่มสิงห์ กลุ่มซีพี ที่มีการถือครองอยู่นับแสนไร่ กลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม
4. การโค่นยางพาราทั่วประเทศ ไม่ควรเกิดขึ้น แต่ควรเข้าไปฟื้นฟูสภาพป่า ดูสัญญาการเพาะปลูก ว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำเอาพืชที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยไม่ใช่การตัดโค่น หรือให้เจ้าของผืนป่าใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่า จากนั้นจึงคืนสภาพผืนป่าให้กับรัฐ ถือเป็นการได้ประโยชน์ในพื้นที่การครอบครองป่าร่วมกัน
**ชาวปราณฯ ร้องนายกฯระงับไล่ที่
วันเดียวกันนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มตัวแทนชาวบ้าน ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นำโดยน.ส.วิลาวัณย์ สมประสงค์ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชน ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการไล่รื้อที่ทำกิน และจัดระเบียบพื้นที่บริเวณชายหาด ต.ปากน้ำปราณ ที่ทหาร และฝ่ายปกครอง บังคับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และเครื่องมือทำกินในพื้นที่ที่อยู่มานาน
น.ส.วิลาวัณย์ กล่าวว่า พวกตนประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ทำหมึกแดดเดียว และร้านอาหาร บริเวณปากน้ำปราณ มาตั้งแต่ประมาณปี 2513 โดยทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์ แต่ในปี 2542 มีการสร้างเขื่อนบริเวณปากน้ำ ทำให้เกิดดินงอก และมีผู้ไปใช้ประโยชน์ จนถูกร้องเรียนในปี 2553 แต่หน่วยงานรัฐได้ใช้โอกาสนี้ ขับไล่พวกตนออกจากที่ด้วย ตามนโยบายของ คสช. ที่ต้องการจัดระเบียบที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่ไม่มีการจัดสรรจากหน่วยงานราชการเท่านั้น พื้นที่ของพวกตนจึงไม่เข้าเงื่อนไข และจากการสอบถาม จากทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายปกครอง เพื่อขอคำชี้แจงที่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็ถูกบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด อ้างว่ามีอำนาจในการรื้อถอนโดยไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พวกตนทราบ คำอ้างดังกล่าวทำให้พวกตนไม่มั่นใจพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ว่าใช้กฎหมายข้อใดในการบังคับพวกตน อีกทั้งพวกตนยังไม่มีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งไม่เป็นธรรม จึงขอให้ นายกฯ พิจารณาให้ความเป็นธรรมกับพวกตน และมีคำสั่งระงับ หรือยกเลิกคำสั่งที่ให้พวกตนรื้อถอนทรัพย์สินออกจากพื้นที่ดังกล่าวด้วย