วานนี้ (12 ก.พ.) นายอาณันย์ วัชโรทัย คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ปรองดอง สปช. และ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงประเด็นนิรโทษกรรม ว่า ก่อนหน้านี้ กมธ.ปรองดอง เคยหารือว่าควรนิรโทษกรรมให้ผู้มาร่วมชุมนุมทางการเมือง ไม่รวมคดีคอร์รัปชั่น คดีหมิ่นสถาบันฯ และคดีฆ่าคนตาย แต่จะเหมารวมนิรโทษบรรดาแกนนำหรือไม่ ต้องดูปัจจัยหลายอย่าง เช่น บรรยากาศบ้านเมืองเอื้อต่อการนิรโทษกรรมหรือไม่
แต่ดูจากวันนี้ กรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาบอกว่า หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ติดคุก แล้วคุกจะแตกนั้น คำพูดเช่นนี้ไม่สร้างความปรองดอง ตนเคยอยู่พรรคเพื่อไทยนั้นรู้ และเห็นหมดทุกอย่าง ตอนปี 2557 ที่บรรยากาศทางการเมืองกำลังสุขงอม แกนนำ ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางท่าน ยังบอกว่า ทำไมทหารไม่ยึดอำนาจ จัดระเบียบสังคมใหม่ให้จบๆไป บ้านเมืองจะได้ไม่มีม็อบ แต่พอทหารออกมาจริง วันนี้กลับมาต่อต้านยุยง ถ้าท่านเป็นสุภาพบุรุษ ทำไมร่วมมือให้ประเทศเดินได้ มาเเสดงพฤติกรรมแบบนี้ สังคมก็ตั้งคำถามว่า ต้องการอะไร ซึ่งการมาพูดจาสร้างความไม่ปรองดองแบบนี้ ใครที่ไหนจะมาให้อภัย หรือนิรโทษกรรมให้
**คศป.หาทางช่วยผู้ต้องหาการเมือง
ด้านนายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิก สปช. ด้านสื่อสารมวลชน ในฐานะรองประธานกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (คศป.) แถลงกรณีที่คณะกรรมการฯ เดินทางไปพบ นายวิทยา สุริยะวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เมื่อ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อขอคำปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแนวทางการใช้กระบวนการยุติธรรมสร้างความปรองดอง โดยใช้ช่องทางของกระบวนการยุติธรรม ในฐานะที่กรมราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานภาค รัฐปลายสุด ของกระบวนการยุติธรรม หลังจากศาลพิจารณาหรือตัดสินคดีแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
ทั้งนี้ ทางอธิบดีฯ ชี้แจง ประเด็นของผู้ต้องหา หรือผู้ต้องโทษในคดีทางการเมืองในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2548-2557 ว่าผู้ต้องขังอยู่ที่ไหนบ้าง และ คศป.จะไปเยี่ยมได้หรือไม่ ทางกรมราชทัณฑ์จะอำนวยความสะดวกได้หรือไม่ ว่า การกระทำผิดต้องข้อหาทางอาญา ต้องดำเนินคดีไปตามกระบวนการ ไม่อาจแยกแยะไปได้ว่า ผู้กระผิดและถูกดำเนินคดีอาญาตามกระบวนการยุติธรรม มีใครบ้างที่ต้องคดีทางการเมือง ซึ่งคดีทางการเมือง ต้องมาจากเหตุจูงใจทางการเมือง ตามความเชื่ออุดมการณ์ เพื่อให้ได้บรรลุข้อเรียกร้องต่างๆ เมื่อถูกลงโทษ การดำเนินการเพื่อคืนความยุติธรรม น่าจะต่างจากผู้ต้องคดีอาญาอื่นๆ และผู้ที่กระทำผิดมีเหตุจูงใจทางการเมือง ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรทางการเมือง ที่ก่ออาชญากรรมเหมือนผู้กระทำผิดทั่วไป ซึ่งกรมราชทัณฑ์ จะต้องปฏิบัติกับผู้ต้องขังผู้กระทำผิดโดยเสมอกัน และให้อยู่ในเรือนจำตามอัตภาพ ตามกฎระเบียบของเรือนจำ ทั้งนี้ในวันที่ 17 ก.พ. ทาง คศป. จะไปพบ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ ประธานศาลฎีกา เพื่อขอความเห็นจากจากบุคคลทั้งดังกล่าวด้วย
นายบุญเลิศ กล่าวว่า ในส่วนของ สปช. จะดำเนินการในกรอบของหลักกฎหมาย และการช่วยเหลือในเรื่องการถูกคุมขังเท่านั้น ส่วนเรื่องการเยียวยาจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการเยียวยาและสร้างความปรองดอง เพื่อพิจารณาระเบียบหลักเกณฑ์การเยียวยา เช่น ค่าชดเชยให้กับผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บ ในจำนวนที่เหมาะสม เพราะที่ผ่านมามีบางกลุ่มได้รับค่าเยียวยาไปแล้ว ในช่วงสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดังนั้นจะต้องพิจารณาด้านความเป็นธรรมเท่าเทียมด้วย
**ป.ป.ช.จำหน่างคดีถอดถอนตามรธน.50
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวานนี้ มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ นายพรเพชร ได้แจ้งว่า กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติจำหน่ายคดีออกจากสารบบความใน 3 คำร้องถอดถอน เนื่องจากการกล่าวหาว่า มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2550 เพียงประการเดียว และรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดลงแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เป็นมูลฐานในการพิจารณาที่จะนำไปสู่การถอดถอน และไต่สวนออกจากตำแหน่งได้ ประกอบด้วย
1. คำร้องขอให้ถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากการกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2550
2. คำร้องขอให้ถอดถอน น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย กรณีใช้สถานะ หรือตำแหน่งรัฐมนตรีก้าวก่าย หรือแทรกแซงการดำเนินงานของพนักงานบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่งขั้นเงินเดือนของพนักงาน
3. ขอให้ถอดถอน นายนคร มาฉิม นายวรงค์ เดชกิจวิกรม นายสาธิต ปิตุเตชะ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ และ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่งจาก กรณีที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และขอเปิดอภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับอภิปรายนายกฯ และรัฐมนตรีบางคนในประเด็นที่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนไว้กับ ป.ป.ช. นอกจากนี้ ยังรับทราบกรณีที่ ป.ป.ช. มีมติสั่งไม่ฟ้อง กสทช. กณีถูกร้องถอดถอนว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าทุจริตในการจัดสรรคลื่นความถี่ เนื่องจากเห็นว่า คดีไม่มีมูล
แต่ดูจากวันนี้ กรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาบอกว่า หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ติดคุก แล้วคุกจะแตกนั้น คำพูดเช่นนี้ไม่สร้างความปรองดอง ตนเคยอยู่พรรคเพื่อไทยนั้นรู้ และเห็นหมดทุกอย่าง ตอนปี 2557 ที่บรรยากาศทางการเมืองกำลังสุขงอม แกนนำ ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางท่าน ยังบอกว่า ทำไมทหารไม่ยึดอำนาจ จัดระเบียบสังคมใหม่ให้จบๆไป บ้านเมืองจะได้ไม่มีม็อบ แต่พอทหารออกมาจริง วันนี้กลับมาต่อต้านยุยง ถ้าท่านเป็นสุภาพบุรุษ ทำไมร่วมมือให้ประเทศเดินได้ มาเเสดงพฤติกรรมแบบนี้ สังคมก็ตั้งคำถามว่า ต้องการอะไร ซึ่งการมาพูดจาสร้างความไม่ปรองดองแบบนี้ ใครที่ไหนจะมาให้อภัย หรือนิรโทษกรรมให้
**คศป.หาทางช่วยผู้ต้องหาการเมือง
ด้านนายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิก สปช. ด้านสื่อสารมวลชน ในฐานะรองประธานกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (คศป.) แถลงกรณีที่คณะกรรมการฯ เดินทางไปพบ นายวิทยา สุริยะวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เมื่อ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อขอคำปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแนวทางการใช้กระบวนการยุติธรรมสร้างความปรองดอง โดยใช้ช่องทางของกระบวนการยุติธรรม ในฐานะที่กรมราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานภาค รัฐปลายสุด ของกระบวนการยุติธรรม หลังจากศาลพิจารณาหรือตัดสินคดีแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
ทั้งนี้ ทางอธิบดีฯ ชี้แจง ประเด็นของผู้ต้องหา หรือผู้ต้องโทษในคดีทางการเมืองในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2548-2557 ว่าผู้ต้องขังอยู่ที่ไหนบ้าง และ คศป.จะไปเยี่ยมได้หรือไม่ ทางกรมราชทัณฑ์จะอำนวยความสะดวกได้หรือไม่ ว่า การกระทำผิดต้องข้อหาทางอาญา ต้องดำเนินคดีไปตามกระบวนการ ไม่อาจแยกแยะไปได้ว่า ผู้กระผิดและถูกดำเนินคดีอาญาตามกระบวนการยุติธรรม มีใครบ้างที่ต้องคดีทางการเมือง ซึ่งคดีทางการเมือง ต้องมาจากเหตุจูงใจทางการเมือง ตามความเชื่ออุดมการณ์ เพื่อให้ได้บรรลุข้อเรียกร้องต่างๆ เมื่อถูกลงโทษ การดำเนินการเพื่อคืนความยุติธรรม น่าจะต่างจากผู้ต้องคดีอาญาอื่นๆ และผู้ที่กระทำผิดมีเหตุจูงใจทางการเมือง ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรทางการเมือง ที่ก่ออาชญากรรมเหมือนผู้กระทำผิดทั่วไป ซึ่งกรมราชทัณฑ์ จะต้องปฏิบัติกับผู้ต้องขังผู้กระทำผิดโดยเสมอกัน และให้อยู่ในเรือนจำตามอัตภาพ ตามกฎระเบียบของเรือนจำ ทั้งนี้ในวันที่ 17 ก.พ. ทาง คศป. จะไปพบ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ ประธานศาลฎีกา เพื่อขอความเห็นจากจากบุคคลทั้งดังกล่าวด้วย
นายบุญเลิศ กล่าวว่า ในส่วนของ สปช. จะดำเนินการในกรอบของหลักกฎหมาย และการช่วยเหลือในเรื่องการถูกคุมขังเท่านั้น ส่วนเรื่องการเยียวยาจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการเยียวยาและสร้างความปรองดอง เพื่อพิจารณาระเบียบหลักเกณฑ์การเยียวยา เช่น ค่าชดเชยให้กับผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บ ในจำนวนที่เหมาะสม เพราะที่ผ่านมามีบางกลุ่มได้รับค่าเยียวยาไปแล้ว ในช่วงสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดังนั้นจะต้องพิจารณาด้านความเป็นธรรมเท่าเทียมด้วย
**ป.ป.ช.จำหน่างคดีถอดถอนตามรธน.50
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวานนี้ มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ นายพรเพชร ได้แจ้งว่า กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติจำหน่ายคดีออกจากสารบบความใน 3 คำร้องถอดถอน เนื่องจากการกล่าวหาว่า มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2550 เพียงประการเดียว และรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดลงแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เป็นมูลฐานในการพิจารณาที่จะนำไปสู่การถอดถอน และไต่สวนออกจากตำแหน่งได้ ประกอบด้วย
1. คำร้องขอให้ถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากการกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2550
2. คำร้องขอให้ถอดถอน น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย กรณีใช้สถานะ หรือตำแหน่งรัฐมนตรีก้าวก่าย หรือแทรกแซงการดำเนินงานของพนักงานบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่งขั้นเงินเดือนของพนักงาน
3. ขอให้ถอดถอน นายนคร มาฉิม นายวรงค์ เดชกิจวิกรม นายสาธิต ปิตุเตชะ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ และ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่งจาก กรณีที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และขอเปิดอภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับอภิปรายนายกฯ และรัฐมนตรีบางคนในประเด็นที่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนไว้กับ ป.ป.ช. นอกจากนี้ ยังรับทราบกรณีที่ ป.ป.ช. มีมติสั่งไม่ฟ้อง กสทช. กณีถูกร้องถอดถอนว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าทุจริตในการจัดสรรคลื่นความถี่ เนื่องจากเห็นว่า คดีไม่มีมูล