วานนี้ (16มิ.ย.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเหนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ หลักการ ร่าง พ.ร.บ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต และ ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นการยกระดับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นองค์อิสระในระดับใกล้เคียงกับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทั้งเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่เกิดขึ้นในภาครัฐมากยิ่งขึ้น และเป็นไปตามแนวทางในประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 69/2557 โดยได้กำหนดวิธีการสรรหา คณะกรรมการ ป.ป.ท. จากเดิมที่สรรหาบุคคลที่เหมาะสม 6 ราย ให้วุฒิสภาเป็นผู้พิจารณา ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นให้ครม. , ป.ป.ช. และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เสนอบุคคลที่เหมาะสม เป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. โดยไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดองค์กร ละ 5 ราย รวมเป็น 15 ราย ก่อนส่งชื่อให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกให้เหลือเพียง 6 ราย เพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.มีวาระการทำงาน 7 ปี
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวอีก ทั้งนี้ยังกำหนดให้ป.ป.ท. มีระยะเวลาพิจารณาเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน หลังจากรับการกล่าวหา และมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป.ป.ท. และสำนักงาน ป.ป.ท.ให้รวดเร็วขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงสถานะของสำนักงาน ป.ป.ท.ให้ส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ สำนักงานตำรวจแห่งขาติ (สตช.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้การทำงานของสำนักงานเป็นอิสระ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ตามโครงสร้างใหม่นั้น ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย และสอบเนติบัณฑิตได้แล้ว โดยต้องมีประสบการณ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริง และวินิจฉัยคดีไม่น้อยกว่า 1 ปี ส่วนกรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำลงมานั้น ต้องรับราชการในสำนักงาน ป.ป.ท. มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี
สำหรับผู้ที่ถูกกล่าวหานั้น ร่างกฎหมายใหม่ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ที่ถูกกล่าวหา ต้องใช้มาตรการทางวินัย ในส่วนของการพักราชการ หรือย้ายออกจากพื้นที่เดิม ในระหว่างที่ถูกสอบสวนด้วย
พล.ต.สรรเสริญ เปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุม ครม. ยังได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกานำเสนอ โดยร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นการปรับปรุงและรวมเนื้อหาของร่างกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ครม.ได้เห็นชอบในหลักการไปก่อนหน้านี้ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวโยงกันเข้าด้วยกัน โดยได้มีการปรับปรุงในส่วนของการจัดการกองทุนต่างๆตามร่างกฎหมายเดิมให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะไปก่อนหน้านี้ โดยจะมีการนำเสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นการยกระดับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นองค์อิสระในระดับใกล้เคียงกับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทั้งเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่เกิดขึ้นในภาครัฐมากยิ่งขึ้น และเป็นไปตามแนวทางในประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 69/2557 โดยได้กำหนดวิธีการสรรหา คณะกรรมการ ป.ป.ท. จากเดิมที่สรรหาบุคคลที่เหมาะสม 6 ราย ให้วุฒิสภาเป็นผู้พิจารณา ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นให้ครม. , ป.ป.ช. และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เสนอบุคคลที่เหมาะสม เป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. โดยไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดองค์กร ละ 5 ราย รวมเป็น 15 ราย ก่อนส่งชื่อให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกให้เหลือเพียง 6 ราย เพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.มีวาระการทำงาน 7 ปี
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวอีก ทั้งนี้ยังกำหนดให้ป.ป.ท. มีระยะเวลาพิจารณาเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน หลังจากรับการกล่าวหา และมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป.ป.ท. และสำนักงาน ป.ป.ท.ให้รวดเร็วขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงสถานะของสำนักงาน ป.ป.ท.ให้ส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ สำนักงานตำรวจแห่งขาติ (สตช.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้การทำงานของสำนักงานเป็นอิสระ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ตามโครงสร้างใหม่นั้น ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย และสอบเนติบัณฑิตได้แล้ว โดยต้องมีประสบการณ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริง และวินิจฉัยคดีไม่น้อยกว่า 1 ปี ส่วนกรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำลงมานั้น ต้องรับราชการในสำนักงาน ป.ป.ท. มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี
สำหรับผู้ที่ถูกกล่าวหานั้น ร่างกฎหมายใหม่ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ที่ถูกกล่าวหา ต้องใช้มาตรการทางวินัย ในส่วนของการพักราชการ หรือย้ายออกจากพื้นที่เดิม ในระหว่างที่ถูกสอบสวนด้วย
พล.ต.สรรเสริญ เปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุม ครม. ยังได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกานำเสนอ โดยร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นการปรับปรุงและรวมเนื้อหาของร่างกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ครม.ได้เห็นชอบในหลักการไปก่อนหน้านี้ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวโยงกันเข้าด้วยกัน โดยได้มีการปรับปรุงในส่วนของการจัดการกองทุนต่างๆตามร่างกฎหมายเดิมให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะไปก่อนหน้านี้ โดยจะมีการนำเสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป