กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ก.ต.ศาลยุติธรรม เป็นองค์กรบริหารงานสูงสุดของศาลยุติธรรม มีหน้าที่แต่งตั้งโยกย้ายและให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาทุกระดับชั้น
ก่อนปี 2540 ก.ต. ศาลยุติธรรม ประกอบด้วยผู้พิพากษา และอดีตผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกตั้งจากผู้พิพากษา โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายการเมืองร่วมเป็น ก.ต. ศาลยุติธรรมโดยตำแหน่ง
ครั้นมีการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ได้มีการเสนอให้ศาลยุติธรรมได้แยกตัวออกเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรม เพื่อมิให้ถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง เนื่องจากก่อนหน้านั้นฝ่ายการเมืองเคยแทรกแซงการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา จนกระทั่งเกิดวิกฤติตุลาการเมื่อ ปี 2535
ผู้พิพากษายุคนั้นไม่ประสงค์ที่จะให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็น ก.ต.ในศาลยุติธรรมอีกต่อไป แต่มีข้อกล่าวอ้างว่าศาลยุติธรรมเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายตุลาการ ควรต้องมีการยึดโยงกับประชาชนด้วย ในที่สุดจึงมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ให้วุฒิสภาที่ถือว่ามีความเป็นกลางทางการเมืองสรรหาตัวแทน 2 คน เข้าไปเป็น ก.ต.ศาลยุติธรรม ร่วมกับผู้พิพากษา 12 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากผู้พิพากษา โดยมีประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง
ต่อมา รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ก็ยังคงหลักการเดิมที่ให้มี ก.ต.คนนอก 2 คน ที่มาจากการสรรหาของวุฒิสภา จนกระทั่งบัดนี้
การปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ต.ศาลยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี มาแล้ว ไม่ได้มีปัญหาข้อขัดข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด
ช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในบ้านเมืองระหว่างปี 2548 จนถึงปี 2557 ศาลยุติธรรมก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นหลักให้แก่บ้านเมืองในยามวิกฤติ โดยยึดถือความเป็นธรรมตามกฎหมายและความเป็นกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งและความแตกแยกอย่างรุนแรง จนเป็นเหตุให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ค.ส.ช.) เข้าทำการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เพื่อควบคุมสถานการณ์มิให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในระหว่างประชาชนสองฝ่ายที่มีความเห็นต่างกัน
หลังจากทำรัฐประหาร พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้า ค.ส.ช.ประกาศนโยบายให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม การศึกษา หรือวัฒนธรรม รวมทั้งด้านกระบวนการยุติธรรมด้วย
สำหรับปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมแล้ว คงไม่มีใครคาดคิดว่าศาลยุติธรรมจะถูกปฏิรูปหรือปรับเปลี่ยนภายในองค์กรมากมาย ต่างมองไปที่ฝ่ายอัยการซึ่งมีสัญญาณให้เห็นคือ การที่อัยการสูงสุดถูกปลดออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ ก็มีฝ่ายตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ประชาชนจำนวนมากไม่พึงพอใจกับบทบาทความไม่เป็นกลางในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนฝ่ายตรงกันข้าม
ผู้พิพากษาทั่วประเทศก็คงนึกไม่ถึงว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะแก้ไของค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ศาลยุติธรรม อันเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลสูงสุดของศาลยุติธรรม ถึงกับจะให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ก.ต. ศาลยุติธรรม ที่เป็นผู้พิพากษา
ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ถึงกับตั้งคำถามว่า “มีเหตุผลอะไรต้องปฏิรูปศาลยุติธรรม ทำอะไรเสียหายให้กับประเทศถึงต้องปฏิรูปเพื่อลดความเป็นอิสระ”
ความเป็นอิสระของศาลย่อมอยู่ที่ว่า ก.ต.ศาลยุติธรรม ต้องสามารถดูแลให้ความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย หรือให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษา โดยไม่มีอำนาจภายนอกมาแทรกแซง ผู้พิพากษาจึงมีความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องหวั่นเกรงต่ออำนาจภายนอกมากดดัน
ความเป็นอิสระของศาลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากปราศจากความเป็นอิสระดังกล่าว ศาลยุติธรรมก็ไม่อาจให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนได้
แต่การที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ก.ต. คนนอกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ย่อมเป็นการเปิดโอกาสนักการเมืองซึ่งคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร อ้างเหตุในการออกกฎหมายให้เพิ่ม ก.ต. คนนอกได้มากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ก.ต. ที่มาจากผู้พิพากษา จนทำให้ ก.ต.ที่เป็นตัวแทนฝ่ายการเมืองมีเสียงข้างมากในที่ประชุม ก.ต. เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาได้โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
จึงไม่น่าเชื่อว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงระดับนำของประเทศหลายคนจะไม่เข้าใจว่า การแก้ไของค์ประกอบ ก.ต.ศาลยุติธรรม ให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต. คนนอก ด้วยการใช้ถ้อยคำว่า “ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3” นั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองหรือบุคคลภายนอกแทรกแซงศาลยุติธรรม อันเป็นการทำลายความเป็นอิสระของศาล
บอกได้ไหมครับว่า ใครเป็นเจ้าของความคิดนี้ และไปรับคำสั่งจากใครมาหรือไม่ และอธิบายได้ไหมว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังความคิดที่จะปฏิรูปศาลยุติธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซงศาลยุติธรรมเช่นนี้
หลังจากศาลยุติธรรมและผู้พิพากษา 427 คน ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีเหตุผลสมควรที่จะเพิ่ม ก.ต. ศาลยุติธรรมคนนอก แม้กระนั้น ก็มีกระแสข่าวว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งยังคงยืนยันที่จะเพิ่มสัดส่วน ก.ต. ศาลยุติธรรม ที่มาจากคนนอก โดยอ้างว่า ก.ต. ศาลยุติธรรมคนนอกที่มีอยู่ 2 คน นั้น น้อยเกินไป จึงต้องการเพิ่มการตรวจสอบ
จึงมีคำถามว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีข้อมูลและเหตุผลสนับสนุนหรือไม่ว่า เหตุที่ต้องการเพิ่ม ก.ต. คนนอกนั้น จะทำไปเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อแก้ปัญหาใด และเมื่อเพิ่ม ก.ต.คนนอก ที่มาจากฝ่ายการเมืองแล้วจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้จริงหรือ?
ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มตัวแทนจากฝ่ายการเมืองเข้ามามีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษแก่ผู้พิพากษานั้น ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการก่อปัญหาให้นักการเมืองมีโอกาสการแทรกแซงศาลยุติธรรมได้มากขึ้น
นอกจากนั้น นายเมธี ครองแก้ว ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอกซึ่งมาจากการสรรหาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ส.น.ช.) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนวุฒิสภา และนายวรสิทธิ์ โรจนภักดี อดีต ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอกที่มาจากการสรรหาของวุฒิสภา ต่างก็ยืนยันตรงกันว่า การมี ก.ต. ศาลยุติธรรมคนนอก 2 คน นั้นเหมาะสมดีแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มแต่อย่างใด
ดังนั้น การที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า ควรให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอก จากเดิมที่มีอยู่ 2 คน นั้น จึงไม่มีข้อมูลและเหตุผลใดๆสนับสนุน แต่เป็นการกำหนดเอาตามอำเภอใจ
นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวอีกว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อาจแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญด้วยการให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอก โดยให้มีที่มาจากตัวแทนของรัฐบาล เพื่อให้เหมือนกับศาลปกครอง ทั้ง ๆ ที่ศาลปกครองมีที่มาและอำนาจหน้าที่แตกต่างกับศาลยุติธรรม
ถ้าเช่นนั้นก็คงต้องตั้งข้อสงสัยอีกว่า ตามร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอก ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 นั้น จะเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น เพื่อมีการต่อรองทางการเมืองในการขอเพิ่ม ก.ต.คนนอกที่มาจากตัวแทนฝ่ายรัฐบาลหรือไม่
หรือว่าเป็นความต้องของรัฐบาลชุดนี้ที่จะมีตัวแทนเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่แต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ใครรู้ช่วยตอบที ??
อย่างไรก็ตาม เราคงต้องหันกลับไปดูประวัติและความเป็นมาของศาลยุติธรรมที่ต้องแยกออกมาจากกระทรวงยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 นั้น ก็เพราะเหตุที่ถูกฝ่ายการเมืองในซีกรัฐบาลแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายประธานศาลฎีกาจนกระทั่งเกิดวิกฤติตุลาการ มิใช่หรือ
แล้วเหตุใดจึงคิดที่จะเพิ่มสัดส่วน ก.ต. ศาลยุติธรรม ที่มาจากฝ่ายการเมือง เพราะความคิดเช่นนี้ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปมปัญหาการแทรกแซงศาลยุติธรรมในอนาคตอีกด้วย
โดย.... นายหิ่งห้อย
ก่อนปี 2540 ก.ต. ศาลยุติธรรม ประกอบด้วยผู้พิพากษา และอดีตผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกตั้งจากผู้พิพากษา โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายการเมืองร่วมเป็น ก.ต. ศาลยุติธรรมโดยตำแหน่ง
ครั้นมีการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ได้มีการเสนอให้ศาลยุติธรรมได้แยกตัวออกเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรม เพื่อมิให้ถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง เนื่องจากก่อนหน้านั้นฝ่ายการเมืองเคยแทรกแซงการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา จนกระทั่งเกิดวิกฤติตุลาการเมื่อ ปี 2535
ผู้พิพากษายุคนั้นไม่ประสงค์ที่จะให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็น ก.ต.ในศาลยุติธรรมอีกต่อไป แต่มีข้อกล่าวอ้างว่าศาลยุติธรรมเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายตุลาการ ควรต้องมีการยึดโยงกับประชาชนด้วย ในที่สุดจึงมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ให้วุฒิสภาที่ถือว่ามีความเป็นกลางทางการเมืองสรรหาตัวแทน 2 คน เข้าไปเป็น ก.ต.ศาลยุติธรรม ร่วมกับผู้พิพากษา 12 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากผู้พิพากษา โดยมีประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง
ต่อมา รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ก็ยังคงหลักการเดิมที่ให้มี ก.ต.คนนอก 2 คน ที่มาจากการสรรหาของวุฒิสภา จนกระทั่งบัดนี้
การปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ต.ศาลยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี มาแล้ว ไม่ได้มีปัญหาข้อขัดข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด
ช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในบ้านเมืองระหว่างปี 2548 จนถึงปี 2557 ศาลยุติธรรมก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นหลักให้แก่บ้านเมืองในยามวิกฤติ โดยยึดถือความเป็นธรรมตามกฎหมายและความเป็นกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งและความแตกแยกอย่างรุนแรง จนเป็นเหตุให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ค.ส.ช.) เข้าทำการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เพื่อควบคุมสถานการณ์มิให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในระหว่างประชาชนสองฝ่ายที่มีความเห็นต่างกัน
หลังจากทำรัฐประหาร พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้า ค.ส.ช.ประกาศนโยบายให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม การศึกษา หรือวัฒนธรรม รวมทั้งด้านกระบวนการยุติธรรมด้วย
สำหรับปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมแล้ว คงไม่มีใครคาดคิดว่าศาลยุติธรรมจะถูกปฏิรูปหรือปรับเปลี่ยนภายในองค์กรมากมาย ต่างมองไปที่ฝ่ายอัยการซึ่งมีสัญญาณให้เห็นคือ การที่อัยการสูงสุดถูกปลดออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ ก็มีฝ่ายตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ประชาชนจำนวนมากไม่พึงพอใจกับบทบาทความไม่เป็นกลางในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนฝ่ายตรงกันข้าม
ผู้พิพากษาทั่วประเทศก็คงนึกไม่ถึงว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะแก้ไของค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ศาลยุติธรรม อันเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลสูงสุดของศาลยุติธรรม ถึงกับจะให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ก.ต. ศาลยุติธรรม ที่เป็นผู้พิพากษา
ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ถึงกับตั้งคำถามว่า “มีเหตุผลอะไรต้องปฏิรูปศาลยุติธรรม ทำอะไรเสียหายให้กับประเทศถึงต้องปฏิรูปเพื่อลดความเป็นอิสระ”
ความเป็นอิสระของศาลย่อมอยู่ที่ว่า ก.ต.ศาลยุติธรรม ต้องสามารถดูแลให้ความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย หรือให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษา โดยไม่มีอำนาจภายนอกมาแทรกแซง ผู้พิพากษาจึงมีความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องหวั่นเกรงต่ออำนาจภายนอกมากดดัน
ความเป็นอิสระของศาลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากปราศจากความเป็นอิสระดังกล่าว ศาลยุติธรรมก็ไม่อาจให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนได้
แต่การที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ก.ต. คนนอกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ย่อมเป็นการเปิดโอกาสนักการเมืองซึ่งคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร อ้างเหตุในการออกกฎหมายให้เพิ่ม ก.ต. คนนอกได้มากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ก.ต. ที่มาจากผู้พิพากษา จนทำให้ ก.ต.ที่เป็นตัวแทนฝ่ายการเมืองมีเสียงข้างมากในที่ประชุม ก.ต. เพื่อแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาได้โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
จึงไม่น่าเชื่อว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงระดับนำของประเทศหลายคนจะไม่เข้าใจว่า การแก้ไของค์ประกอบ ก.ต.ศาลยุติธรรม ให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต. คนนอก ด้วยการใช้ถ้อยคำว่า “ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3” นั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองหรือบุคคลภายนอกแทรกแซงศาลยุติธรรม อันเป็นการทำลายความเป็นอิสระของศาล
บอกได้ไหมครับว่า ใครเป็นเจ้าของความคิดนี้ และไปรับคำสั่งจากใครมาหรือไม่ และอธิบายได้ไหมว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังความคิดที่จะปฏิรูปศาลยุติธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซงศาลยุติธรรมเช่นนี้
หลังจากศาลยุติธรรมและผู้พิพากษา 427 คน ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีเหตุผลสมควรที่จะเพิ่ม ก.ต. ศาลยุติธรรมคนนอก แม้กระนั้น ก็มีกระแสข่าวว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งยังคงยืนยันที่จะเพิ่มสัดส่วน ก.ต. ศาลยุติธรรม ที่มาจากคนนอก โดยอ้างว่า ก.ต. ศาลยุติธรรมคนนอกที่มีอยู่ 2 คน นั้น น้อยเกินไป จึงต้องการเพิ่มการตรวจสอบ
จึงมีคำถามว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีข้อมูลและเหตุผลสนับสนุนหรือไม่ว่า เหตุที่ต้องการเพิ่ม ก.ต. คนนอกนั้น จะทำไปเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อแก้ปัญหาใด และเมื่อเพิ่ม ก.ต.คนนอก ที่มาจากฝ่ายการเมืองแล้วจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้จริงหรือ?
ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มตัวแทนจากฝ่ายการเมืองเข้ามามีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษแก่ผู้พิพากษานั้น ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการก่อปัญหาให้นักการเมืองมีโอกาสการแทรกแซงศาลยุติธรรมได้มากขึ้น
นอกจากนั้น นายเมธี ครองแก้ว ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอกซึ่งมาจากการสรรหาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ส.น.ช.) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนวุฒิสภา และนายวรสิทธิ์ โรจนภักดี อดีต ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอกที่มาจากการสรรหาของวุฒิสภา ต่างก็ยืนยันตรงกันว่า การมี ก.ต. ศาลยุติธรรมคนนอก 2 คน นั้นเหมาะสมดีแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มแต่อย่างใด
ดังนั้น การที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า ควรให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอก จากเดิมที่มีอยู่ 2 คน นั้น จึงไม่มีข้อมูลและเหตุผลใดๆสนับสนุน แต่เป็นการกำหนดเอาตามอำเภอใจ
นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวอีกว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อาจแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญด้วยการให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอก โดยให้มีที่มาจากตัวแทนของรัฐบาล เพื่อให้เหมือนกับศาลปกครอง ทั้ง ๆ ที่ศาลปกครองมีที่มาและอำนาจหน้าที่แตกต่างกับศาลยุติธรรม
ถ้าเช่นนั้นก็คงต้องตั้งข้อสงสัยอีกว่า ตามร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เพิ่มสัดส่วน ก.ต.ศาลยุติธรรมคนนอก ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 นั้น จะเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น เพื่อมีการต่อรองทางการเมืองในการขอเพิ่ม ก.ต.คนนอกที่มาจากตัวแทนฝ่ายรัฐบาลหรือไม่
หรือว่าเป็นความต้องของรัฐบาลชุดนี้ที่จะมีตัวแทนเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่แต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ใครรู้ช่วยตอบที ??
อย่างไรก็ตาม เราคงต้องหันกลับไปดูประวัติและความเป็นมาของศาลยุติธรรมที่ต้องแยกออกมาจากกระทรวงยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 นั้น ก็เพราะเหตุที่ถูกฝ่ายการเมืองในซีกรัฐบาลแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายประธานศาลฎีกาจนกระทั่งเกิดวิกฤติตุลาการ มิใช่หรือ
แล้วเหตุใดจึงคิดที่จะเพิ่มสัดส่วน ก.ต. ศาลยุติธรรม ที่มาจากฝ่ายการเมือง เพราะความคิดเช่นนี้ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปมปัญหาการแทรกแซงศาลยุติธรรมในอนาคตอีกด้วย
โดย.... นายหิ่งห้อย