**ยังคงไร้ความชัดเจนสำหรับการสอบสวน"หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล"ประธานศาลปกครองสูงสุด จากกรณีจดหมายน้อยฝากตำรวจ หลังจากที่คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(ก.ศป.) มีคำสั่งให้พักราชการ และตั้งคณะกรรมการสอบสวนมานานหลายเดือนแล้ว
หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรอย่าง"ศาลปกครอง"ยิ่งตกต่ำลง
และหนีไม่พ้นที่จะมีการตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่ของ คณะกรรมการสอบสวนประธานศาลปกครองสูงสุด ที่ถูกตั้งขึ้นมานานแรมเดือน แต่กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยจนพ้นระยะเวลา 60 วัน ตามที่ระเบียบของก.ศป.กำหนดไปแล้ว
ในความเป็นจริงภายใต้ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในศาลปกครองขณะนี้ หากได้ติดตามเรื่องราวมาโดยตลอดก็จะสามารถวิเคราะห์และเห็นถึงบทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ"หัสวุฒิ" ในฐานะประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหา และกำลังได้รับความเสียหายอยู่ในขณะนี้
ถัดมาก็เป็น " ชาญชัย แสวงศักดิ์" รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 2 ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเต็ง ที่จะขึ้นรั้งตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดคนต่อไป หาก "หัสวุฒิ" พ้นจากตำแหน่ง และเป็นที่รับรู้ของคนในองค์กร ว่า ที่ผ่านมา "ชาญชัย" กับ "หัสวุฒิ" นั้นเหมือนอยู่กันคนละขั้ว
นับตั้งแต่เกิดเหตุ "จดหมายน้อย" ขึ้น ว่ากันว่า ผู้ที่ออกแรงผลักดัน ให้มีการตั้งกรรมการสอบสวน "หัสวุฒิ" ก็คือ "ชาญชัย" โดยในช่วงแรกที่เกิดเรื่อง "ชาญชัย" ก็พยายามจะนัดประชุม ก.ศป. เพื่อลงมติสั่งพักราชการ และตั้งคณะกรรมการสอบสวน "หัสวุฒิ" ทั้งที่ ก.ศป. ยังขาดองค์ประกอบกรรมการผู้แทนจากภายนอก อีกทั้งยังมีความเห็นขัดแย้งกับ "หัสวุฒิ" เกี่ยวกับสถานภาพของ ก.ศป. หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลง
ท้ายที่สุด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เห็นพ้องกับความเห็นของ "หัสวุฒิ" จนนำไปสู่การออก พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2557 ขึ้น
**แน่นอนว่า"ชาญชัย" ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ลงมติ พักราชการ "หัสวุฒิ" และยังเป็นผู้ที่เห็นชอบ และลงนามในคำสั่งแต่งตั้งตัวเอง เป็นประธานกรรมการสอบสวนประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งตามหลักการแล้วต้องเป็น "ปิยะ ปะตังทา" รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 1 เป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง
นอกจากนี้ "ชาญชัย" กับ "วิษณุ วรัญญู" เลขานุการคณะกรรมการสอบสวน ยังเป็นผู้ส่งเรื่องคัดค้าน "ธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์" กรรมการสอบสวนผู้แทนจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จนก.พ.ต้องมีหนังสือตอบยืนยันมาถึงสองครั้งว่ามีคุณสมบัติถูกต้อง
การคัดค้านตัวแทนจากก.พ. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ต้องระงับการสอบสวนไว้อย่างไม่กำหนด ทั้งที่กรรมการคนอื่นๆ ก็พร้อม และรอนัดประชุมเพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ แต่ขัดกับระเบียบ ก.ศป. ที่กำหนดว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ ต้องต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน หรือ ภายใน 60 วัน หากเกินกำหนดแล้วยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ ต้องขอขยายเวลาการสอบสวน พร้อมเหตุผลต่อที่ผระชุม ก.ศป. แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดระยะเวลาไว้ด้วยคำว่า "เร่งด่วน" นั้น ก็เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ถูกกล่าวหา หากมีการสอบสวนที่กินเวลานานเกินไป
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ก.ศป. มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนมาตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา กินเวลามานานกว่า 60 วัน แต่จนบัดนี้ ก็ยังไม่มีการส่งมอบสำนวนการสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนได้ศึกษา แต่อย่างใด
**จึงมีหลายคนตั้งคำถามถึงเหตุผลที่ คนในคณะกรรมการสอบสวนพยายาม ถ่วงเวลาไม่ยอมทำหน้าที่ให้แล้วเสร็จตามที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของคนในศาลปกครอง ที่ว่า การประวิงเวลาไปเรื่อยๆ เพื่อต้องการให้ "ไพบูลย์ เสียงก้อง" 1 ใน 5 กรรมการสอบสวน ที่ขึ้นชื่อว่า "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" เกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้ ไปเสียก่อน
ไล่เรียงมาถึงบรรทัดนี้ ก็ถึง...บางอ้อ !! และมองหมากเกมนี้กันออกไม่ยากว่า การที่มีความพยายามยื้อเวลาสอบสวนไว้ให้นานที่สุด ด้านหนึ่งเพื่อปิดโอกาส ที่ "หัสวุฒิ" จะหวนหลับไปทำหน้าที่ประธานศาลปกครองสูงสุด เพื่อจับจองที่นั่งไว้สำหรับ"ใครบางคน" และอีกแง่หนึ่งก็เพราะไม่มั่นใจในพยานหลักฐาน จึงใช้ช่องว่างในเรื่องเวลาในการกุมความได้เปรียบการลงมติ ของกรรมการสอบสวนฯ ให้เป็นไปตามที่ต้องการ
จนเป็นที่มาของการที่ "หัสวุฒิ" หันไปพึ่งกระบวนการยุติธรรม ผ่านศาลอาญา ในการร้องทุกข์กล่าวโทษ "ชาญชัย–วิษณุ" ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชิบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งนอกจากจะสะเทือนต่อภาพลักษณ์ของศาลปกครองแล้ว ยังสะท้านสะเทือนถึงตำแหน่งของ "ชาญชัย–วิษณุ" ที่อาจต้องคดีอาญา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
งานนี้ต้องฝากคำถามไปถึงคนในองค์กรศาลปกครอง โดยเฉพาะระดับผู้ใหญ่ใน ก.ศป. ว่าจะยังคงนิ่งเฉย ปล่อยให้เกิดภาพลักษณ์ความขัดแย้งไม่รู้จบ และปล่อยให้ "ชาญชัย" ซึ่งบัดนี้ กลายเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงของ "หัสวุฒิ" นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานสอบสวนประธานศาลปกรองสูงสุดต่อไปเช่นนี้หรือไม่ เพราะอย่างไรเสีย ก็ย่อมมีคำถามไปถึงผลการสอบสวน ไม่ว่าจะในออกมาในทิศทางใด
**เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ ที่เกิดขึ้นภายใน"สถาบันตุลาการ" ที่ควรมีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน มากกว่ามาสร้างเรื่องความขัดแย้งกันเอง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรอย่าง"ศาลปกครอง"ยิ่งตกต่ำลง
และหนีไม่พ้นที่จะมีการตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่ของ คณะกรรมการสอบสวนประธานศาลปกครองสูงสุด ที่ถูกตั้งขึ้นมานานแรมเดือน แต่กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยจนพ้นระยะเวลา 60 วัน ตามที่ระเบียบของก.ศป.กำหนดไปแล้ว
ในความเป็นจริงภายใต้ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในศาลปกครองขณะนี้ หากได้ติดตามเรื่องราวมาโดยตลอดก็จะสามารถวิเคราะห์และเห็นถึงบทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ"หัสวุฒิ" ในฐานะประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหา และกำลังได้รับความเสียหายอยู่ในขณะนี้
ถัดมาก็เป็น " ชาญชัย แสวงศักดิ์" รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 2 ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเต็ง ที่จะขึ้นรั้งตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดคนต่อไป หาก "หัสวุฒิ" พ้นจากตำแหน่ง และเป็นที่รับรู้ของคนในองค์กร ว่า ที่ผ่านมา "ชาญชัย" กับ "หัสวุฒิ" นั้นเหมือนอยู่กันคนละขั้ว
นับตั้งแต่เกิดเหตุ "จดหมายน้อย" ขึ้น ว่ากันว่า ผู้ที่ออกแรงผลักดัน ให้มีการตั้งกรรมการสอบสวน "หัสวุฒิ" ก็คือ "ชาญชัย" โดยในช่วงแรกที่เกิดเรื่อง "ชาญชัย" ก็พยายามจะนัดประชุม ก.ศป. เพื่อลงมติสั่งพักราชการ และตั้งคณะกรรมการสอบสวน "หัสวุฒิ" ทั้งที่ ก.ศป. ยังขาดองค์ประกอบกรรมการผู้แทนจากภายนอก อีกทั้งยังมีความเห็นขัดแย้งกับ "หัสวุฒิ" เกี่ยวกับสถานภาพของ ก.ศป. หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลง
ท้ายที่สุด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เห็นพ้องกับความเห็นของ "หัสวุฒิ" จนนำไปสู่การออก พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2557 ขึ้น
**แน่นอนว่า"ชาญชัย" ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ลงมติ พักราชการ "หัสวุฒิ" และยังเป็นผู้ที่เห็นชอบ และลงนามในคำสั่งแต่งตั้งตัวเอง เป็นประธานกรรมการสอบสวนประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งตามหลักการแล้วต้องเป็น "ปิยะ ปะตังทา" รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 1 เป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง
นอกจากนี้ "ชาญชัย" กับ "วิษณุ วรัญญู" เลขานุการคณะกรรมการสอบสวน ยังเป็นผู้ส่งเรื่องคัดค้าน "ธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์" กรรมการสอบสวนผู้แทนจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จนก.พ.ต้องมีหนังสือตอบยืนยันมาถึงสองครั้งว่ามีคุณสมบัติถูกต้อง
การคัดค้านตัวแทนจากก.พ. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ต้องระงับการสอบสวนไว้อย่างไม่กำหนด ทั้งที่กรรมการคนอื่นๆ ก็พร้อม และรอนัดประชุมเพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ แต่ขัดกับระเบียบ ก.ศป. ที่กำหนดว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ ต้องต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน หรือ ภายใน 60 วัน หากเกินกำหนดแล้วยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ ต้องขอขยายเวลาการสอบสวน พร้อมเหตุผลต่อที่ผระชุม ก.ศป. แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดระยะเวลาไว้ด้วยคำว่า "เร่งด่วน" นั้น ก็เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ถูกกล่าวหา หากมีการสอบสวนที่กินเวลานานเกินไป
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ก.ศป. มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนมาตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา กินเวลามานานกว่า 60 วัน แต่จนบัดนี้ ก็ยังไม่มีการส่งมอบสำนวนการสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนได้ศึกษา แต่อย่างใด
**จึงมีหลายคนตั้งคำถามถึงเหตุผลที่ คนในคณะกรรมการสอบสวนพยายาม ถ่วงเวลาไม่ยอมทำหน้าที่ให้แล้วเสร็จตามที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของคนในศาลปกครอง ที่ว่า การประวิงเวลาไปเรื่อยๆ เพื่อต้องการให้ "ไพบูลย์ เสียงก้อง" 1 ใน 5 กรรมการสอบสวน ที่ขึ้นชื่อว่า "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" เกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้ ไปเสียก่อน
ไล่เรียงมาถึงบรรทัดนี้ ก็ถึง...บางอ้อ !! และมองหมากเกมนี้กันออกไม่ยากว่า การที่มีความพยายามยื้อเวลาสอบสวนไว้ให้นานที่สุด ด้านหนึ่งเพื่อปิดโอกาส ที่ "หัสวุฒิ" จะหวนหลับไปทำหน้าที่ประธานศาลปกครองสูงสุด เพื่อจับจองที่นั่งไว้สำหรับ"ใครบางคน" และอีกแง่หนึ่งก็เพราะไม่มั่นใจในพยานหลักฐาน จึงใช้ช่องว่างในเรื่องเวลาในการกุมความได้เปรียบการลงมติ ของกรรมการสอบสวนฯ ให้เป็นไปตามที่ต้องการ
จนเป็นที่มาของการที่ "หัสวุฒิ" หันไปพึ่งกระบวนการยุติธรรม ผ่านศาลอาญา ในการร้องทุกข์กล่าวโทษ "ชาญชัย–วิษณุ" ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชิบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งนอกจากจะสะเทือนต่อภาพลักษณ์ของศาลปกครองแล้ว ยังสะท้านสะเทือนถึงตำแหน่งของ "ชาญชัย–วิษณุ" ที่อาจต้องคดีอาญา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
งานนี้ต้องฝากคำถามไปถึงคนในองค์กรศาลปกครอง โดยเฉพาะระดับผู้ใหญ่ใน ก.ศป. ว่าจะยังคงนิ่งเฉย ปล่อยให้เกิดภาพลักษณ์ความขัดแย้งไม่รู้จบ และปล่อยให้ "ชาญชัย" ซึ่งบัดนี้ กลายเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงของ "หัสวุฒิ" นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานสอบสวนประธานศาลปกรองสูงสุดต่อไปเช่นนี้หรือไม่ เพราะอย่างไรเสีย ก็ย่อมมีคำถามไปถึงผลการสอบสวน ไม่ว่าจะในออกมาในทิศทางใด
**เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ ที่เกิดขึ้นภายใน"สถาบันตุลาการ" ที่ควรมีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน มากกว่ามาสร้างเรื่องความขัดแย้งกันเอง