ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในวันที่ 15 มิ.ย.ของทุกปี ประเทศสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บูรไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา กำหนดให้เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN Dengue Day)เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศร่วมกันแก้ไขป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขประจำถิ่นในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ละปีพบผู้ป่วยไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ราย
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ตั้งแต่มกราคม 2558-9 มิถุนายน 2558 มีผู้ป่วยสะสม 17,242 ราย เสียชีวิต 11 ราย พบผู้ป่วยมากที่สุดที่ ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และ ภาคเหนือ คาดการณ์ว่าตลอดปี 2558 หากทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกันควบคุมอย่างเข้มแข็ง อาจมีผู้ป่วยมากกว่า 70,000 ราย โดยปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 40,999 ราย เสียชีวิต 48 ราย
สำหรับสาเหตุของโรคนี้ เกิดจากยุงลาย ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้านเรือนประชาชน ยุงชนิดนี้จะหากินช่วงกลางวัน กระทรวงสาธารณสุข จึงขอความร่วมมือประชาชน ช่วยกันทำลายลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน และป้องกันยุงลายกัด เช่น นอนในมุ้ง เพื่อลดจำนวนยุงตัวเต็มวัยและลดจำนวนผู้ป่วย ซึ่งช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่เสี่ยงระบาดของโรคนี้อย่างมาก เนื่องจากยุงจะมีมากกว่าฤดูอื่น ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เร่งให้ความรู้ในการป้องกันโรค และสัญญาณอาการป่วยที่ต้องพบแพทย์ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะได้กำชับให้แพทย์วินิจฉัยอย่างเข้มงวดในการรักษาผู้ป่วย
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการของโรคไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง อาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง มักจะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูกเหมือนไข้หวัด เว้นแต่จะเป็นไข้ทั้งสองชนิดในเวลาเดียวกัน แต่มีโอกาสเกิดได้น้อย เด็กและผู้ใหญ่ มีโอกาสติดเชื้อไข้เลือดออกแตกต่างกัน แต่ละคนมีโอกาสป่วยได้หลายครั้ง
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม เมื่อ 2556 พบว่า เด็กมีโอกาสติดเชื้อโรคไข้เลือดออกมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่า แต่อาการป่วยจะรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากผู้ใหญ่ เป็นการติดเชื้อซ้ำต่างสายพันธุ์ที่เคยติดมาแล้ว อาการจึงรุนแรงขึ้น ประกอบกับผู้ป่วย มักไม่ค่อยนึกถึงว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเข้าใจผิดว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในเด็ก ทำให้ได้รับการรักษาช้า มีโอกาสเปลี่ยนแพทย์บ่อยเพราะรักษาแล้วไม่หายหรือไม่ดีขึ้น ไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการหนักแล้ว นอกจากนี้ ผู้ใหญ่มักมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ทำให้การรักษายากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้สูง
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานโรค จะค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ เอง โดยหลังจากไปพบแพทย์และแพทย์ให้กลับมาดูแลที่บ้าน ให้เช็ดตัวลดไข้ หรือกินยาพาราเซตามอล ลดไข้ ห้ามซื้อยาประเภท แอสไพริน หรือ ไอบูโปรเฟน มากินเองอย่างเด็ดขาด เนื่องจากยาทั้ง 2 ชนิดนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น ให้ผู้ป่วยกินอาหารที่ทำให้ร่างกายสดชื่น เช่น น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ และให้พักผ่อนมากๆ ช่วงที่ต้องให้ความใส่ใจผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด คือ ช่วงที่ไข้ลด ซึ่งมักจะอยู่ในวันที่ 3-4 หากพบผู้ป่วยซึมลง กินไม่ได้ แสดงว่า ผู้ป่วยอาจเข้าสู่ภาวะช็อค ขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาให้ทันท่วงที ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ แม้เพียง 1 รายก็ตาม ให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง และต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง เช่น ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด ปล่อยปลากินลูกน้ำ หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะกักเก็บน้ำ เป็นต้น ประชาชนสามารถโทรสอบถามหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้ที่สายด่วน กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับในวันที่ 15 มิถุนายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข จะลงนามความร่วมมือกับ 8 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อาทิ การลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ตั้งแต่มกราคม 2558-9 มิถุนายน 2558 มีผู้ป่วยสะสม 17,242 ราย เสียชีวิต 11 ราย พบผู้ป่วยมากที่สุดที่ ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และ ภาคเหนือ คาดการณ์ว่าตลอดปี 2558 หากทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกันควบคุมอย่างเข้มแข็ง อาจมีผู้ป่วยมากกว่า 70,000 ราย โดยปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 40,999 ราย เสียชีวิต 48 ราย
สำหรับสาเหตุของโรคนี้ เกิดจากยุงลาย ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้านเรือนประชาชน ยุงชนิดนี้จะหากินช่วงกลางวัน กระทรวงสาธารณสุข จึงขอความร่วมมือประชาชน ช่วยกันทำลายลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน และป้องกันยุงลายกัด เช่น นอนในมุ้ง เพื่อลดจำนวนยุงตัวเต็มวัยและลดจำนวนผู้ป่วย ซึ่งช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่เสี่ยงระบาดของโรคนี้อย่างมาก เนื่องจากยุงจะมีมากกว่าฤดูอื่น ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เร่งให้ความรู้ในการป้องกันโรค และสัญญาณอาการป่วยที่ต้องพบแพทย์ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะได้กำชับให้แพทย์วินิจฉัยอย่างเข้มงวดในการรักษาผู้ป่วย
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการของโรคไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง อาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง มักจะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูกเหมือนไข้หวัด เว้นแต่จะเป็นไข้ทั้งสองชนิดในเวลาเดียวกัน แต่มีโอกาสเกิดได้น้อย เด็กและผู้ใหญ่ มีโอกาสติดเชื้อไข้เลือดออกแตกต่างกัน แต่ละคนมีโอกาสป่วยได้หลายครั้ง
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม เมื่อ 2556 พบว่า เด็กมีโอกาสติดเชื้อโรคไข้เลือดออกมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่า แต่อาการป่วยจะรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากผู้ใหญ่ เป็นการติดเชื้อซ้ำต่างสายพันธุ์ที่เคยติดมาแล้ว อาการจึงรุนแรงขึ้น ประกอบกับผู้ป่วย มักไม่ค่อยนึกถึงว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเข้าใจผิดว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในเด็ก ทำให้ได้รับการรักษาช้า มีโอกาสเปลี่ยนแพทย์บ่อยเพราะรักษาแล้วไม่หายหรือไม่ดีขึ้น ไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการหนักแล้ว นอกจากนี้ ผู้ใหญ่มักมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ทำให้การรักษายากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้สูง
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานโรค จะค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ เอง โดยหลังจากไปพบแพทย์และแพทย์ให้กลับมาดูแลที่บ้าน ให้เช็ดตัวลดไข้ หรือกินยาพาราเซตามอล ลดไข้ ห้ามซื้อยาประเภท แอสไพริน หรือ ไอบูโปรเฟน มากินเองอย่างเด็ดขาด เนื่องจากยาทั้ง 2 ชนิดนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น ให้ผู้ป่วยกินอาหารที่ทำให้ร่างกายสดชื่น เช่น น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ และให้พักผ่อนมากๆ ช่วงที่ต้องให้ความใส่ใจผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด คือ ช่วงที่ไข้ลด ซึ่งมักจะอยู่ในวันที่ 3-4 หากพบผู้ป่วยซึมลง กินไม่ได้ แสดงว่า ผู้ป่วยอาจเข้าสู่ภาวะช็อค ขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาให้ทันท่วงที ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ แม้เพียง 1 รายก็ตาม ให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง และต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง เช่น ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด ปล่อยปลากินลูกน้ำ หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะกักเก็บน้ำ เป็นต้น ประชาชนสามารถโทรสอบถามหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้ที่สายด่วน กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับในวันที่ 15 มิถุนายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข จะลงนามความร่วมมือกับ 8 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อาทิ การลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง