นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงขั้นตอนการทำงานของกรรมาธิการยกร่างฯ หลังรับฟังคำชี้แจงในการเสนอขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจากทั้ง 9 คำขอ แล้วว่า จะให้เจ้าหน้าที่ นำไปจัดเป็นกลุ่มเพื่อเรียงประเด็นในการพิจารณา เช่น กลุ่มระบบการเมือง กลุ่มองค์กรภาคประชาชน เป็นต้น โดยในวันนี้ (10 มิ.ย. ) กรรมาธิการฯ จะได้นำมาอภิปรายในที่ประชุม เพื่อสรุปความเห็นว่าประเด็นใดที่คำขอมีน้ำหนักควรตัดทิ้ง ประเด็นไหนควรทำแค่ปรับปรุงเนื้อหา ซึ่งการพิจารณาเป็นกลุ่ม จะทำให้สามารถพิจารณาหลายมาตราที่เกี่ยวเนื่องไปในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะตัด มาตรา 182 ทิ้ง ส่วนมาตรา 181 อาจมีการปรับปรุงเนื้อหา คือ ยังให้นายกรัฐมนตรีสามารถยื่นเรื่องเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า จะไว้วางใจหรือไม่ โดยไม่ตัดสิทธิฝ่ายค้านในการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมเดียวกัน เช่นเดียวกับกรณี กลุ่มการเมือง อาจตัดทิ้ง แต่ไปปรับปรุงในส่วนพรรคการเมืองให้ตั้งง่ายขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนกลุ่มใหม่ ที่อาจไม่มีทุนเข้าสู่การเมืองมากขึ้น
สำหรับภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ที่ครม.เสนอให้ตัดทิ้ง และให้รวมคณะกรรมการปรองดองกับคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯเข้าด้วยกัน ส่วนรายละเอียดให้นำไปบรรจุไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนั้น นายคำนูณ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่กรรมาธิการฯ ต้องพิจารณาเพราะเอกลักษณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ “ฉบับปฏิรูป”หากไม่มีการบรรจุเนื้อหาเหล่านี้ไว้ จะทำให้เสียเจตนารมณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง ก็มีเหตุผลว่า เรื่องบางอย่างยังอ่อนไหว หากเขียนในรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นชนวนความขัดแย้งได้ จึงเสนอให้ไปเขียนไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และหากมีปัญหาก็ยังสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ ดังนั้น กรรมาธิการฯจะต้องไปพิจารณาร่วมกันอีกที
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า แม้จะมีการตัดภาค 4 ออก แต่ยังคงมีคณะกรรมการปรองดองฯ อยู่ดี และในกฎหมายลูกก็อาจให้อำนาจในการเสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษได้ไม่ต่างจากที่ระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบัน เพราะในส่วนของกรรมาธิการฯ ไม่มีใครติดใจการให้อำนาจนี้ เพียงแต่อาจเขียนให้มีความรัดกุมขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการตีความจนกลายเป็นความเคลือบแคลงสงสัย
สำหรับของ นายสมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง เสนอให้ทำร่างรัฐธรรมนูญให้สั้นลง เพื่อนำบางส่วนไปบรรจุในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแทน ซึ่งจะทำให้มีการขยายเวลาการทำงานของกรรมาธิการยกร่างฯ ออกไปอีกประมาณ 1 ปี ครึ่ง ว่า โดยส่วนตัวแล้วยังเห็นว่าเป็นเรื่องที่แปลก เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้ว กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ควรเร่งดำเนินการให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว อีกทั้งการกำหนดว่า ให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดการเลือกตั้ง แทนที่จะระบุให้มีการเลือกตั้งหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหา เพราะไม่ทราบว่าจะมีกระบวนการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งอาจทำให้เป็นปัญหา และเกิดความเคลือบแคลงสงสัยตามมา ว่า เป็นข้อเสนอเพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสองปี ตามที่มีกระแสเรียกร้องอยู่ในขณะนี้หรือไม่
"โดยส่วนตัวผมคิดว่า การจะอยู่ในอำนาจต่อหรือไม่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรนำมาปนกับเรื่องของรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ กรณีที่มีการเสนอให้ทำประชามติเรื่องนี้ พร้อมกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้เกิดความสับสน อีกทั้งยังขัดแย้งกันเองอีกด้วย เพราะคำถามหนึ่งคือจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากรับก็นำไปสู่การเลือกตั้ง แต่อีกคำถามหนึ่งกลับถามว่า จะไม่เลือกตั้งสองปีหรือไม่" นายคำนูณ กล่าว
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะตัด มาตรา 182 ทิ้ง ส่วนมาตรา 181 อาจมีการปรับปรุงเนื้อหา คือ ยังให้นายกรัฐมนตรีสามารถยื่นเรื่องเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า จะไว้วางใจหรือไม่ โดยไม่ตัดสิทธิฝ่ายค้านในการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมเดียวกัน เช่นเดียวกับกรณี กลุ่มการเมือง อาจตัดทิ้ง แต่ไปปรับปรุงในส่วนพรรคการเมืองให้ตั้งง่ายขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนกลุ่มใหม่ ที่อาจไม่มีทุนเข้าสู่การเมืองมากขึ้น
สำหรับภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ที่ครม.เสนอให้ตัดทิ้ง และให้รวมคณะกรรมการปรองดองกับคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯเข้าด้วยกัน ส่วนรายละเอียดให้นำไปบรรจุไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนั้น นายคำนูณ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่กรรมาธิการฯ ต้องพิจารณาเพราะเอกลักษณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ “ฉบับปฏิรูป”หากไม่มีการบรรจุเนื้อหาเหล่านี้ไว้ จะทำให้เสียเจตนารมณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง ก็มีเหตุผลว่า เรื่องบางอย่างยังอ่อนไหว หากเขียนในรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นชนวนความขัดแย้งได้ จึงเสนอให้ไปเขียนไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และหากมีปัญหาก็ยังสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ ดังนั้น กรรมาธิการฯจะต้องไปพิจารณาร่วมกันอีกที
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า แม้จะมีการตัดภาค 4 ออก แต่ยังคงมีคณะกรรมการปรองดองฯ อยู่ดี และในกฎหมายลูกก็อาจให้อำนาจในการเสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษได้ไม่ต่างจากที่ระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบัน เพราะในส่วนของกรรมาธิการฯ ไม่มีใครติดใจการให้อำนาจนี้ เพียงแต่อาจเขียนให้มีความรัดกุมขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการตีความจนกลายเป็นความเคลือบแคลงสงสัย
สำหรับของ นายสมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง เสนอให้ทำร่างรัฐธรรมนูญให้สั้นลง เพื่อนำบางส่วนไปบรรจุในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแทน ซึ่งจะทำให้มีการขยายเวลาการทำงานของกรรมาธิการยกร่างฯ ออกไปอีกประมาณ 1 ปี ครึ่ง ว่า โดยส่วนตัวแล้วยังเห็นว่าเป็นเรื่องที่แปลก เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้ว กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ควรเร่งดำเนินการให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว อีกทั้งการกำหนดว่า ให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดการเลือกตั้ง แทนที่จะระบุให้มีการเลือกตั้งหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหา เพราะไม่ทราบว่าจะมีกระบวนการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งอาจทำให้เป็นปัญหา และเกิดความเคลือบแคลงสงสัยตามมา ว่า เป็นข้อเสนอเพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสองปี ตามที่มีกระแสเรียกร้องอยู่ในขณะนี้หรือไม่
"โดยส่วนตัวผมคิดว่า การจะอยู่ในอำนาจต่อหรือไม่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรนำมาปนกับเรื่องของรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ กรณีที่มีการเสนอให้ทำประชามติเรื่องนี้ พร้อมกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้เกิดความสับสน อีกทั้งยังขัดแย้งกันเองอีกด้วย เพราะคำถามหนึ่งคือจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากรับก็นำไปสู่การเลือกตั้ง แต่อีกคำถามหนึ่งกลับถามว่า จะไม่เลือกตั้งสองปีหรือไม่" นายคำนูณ กล่าว