00 ต้องพูดกันตรงไปตรงมาว่าการที่ รัฐบาลและคสช.แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะไม่มีการ "ปฏิรูปตำรวจ" โดยคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่าให้เป็นเรื่องของรัฐบาลหน้าที่จะเข้ามาดำเนินการต่อ โดยเหตุผลว่าหากดำเนินการในตอนนี้จะทำให้เรื่องอื่นเดินหน้าไม่ได้ ประกอบกับคำแถลงที่ออกมาผ่านทางโฆษกรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ที่อ้างว่าที่ผ่านมาสตช.ได้สนองนโยบายรัฐบาลและคสช.อย่างดี มีการทำงานที่เข้าขากันดี พูดไม่ทำนองว่า ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ พูดแบบนี้ความหมายมันก็ชัดคือ "ไม่แตะ"
00 แน่นอนว่าท่าทีดังกล่าวของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำที่บอกว่าเข้ามาแก้ปัญหาที่หมักหมมในบ้านเมืองในทุกเรื่อง แต่แล้ววันหนึ่งกลับมาบอกว่า "ในบางเรื่อง"ไม่ต้องทำแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหน้า มันก็ต้องบอกว่า"น่าผิดหวัง" และทำให้ชาวบ้านเสียความมั่นใจลงไปมากเหมือนกัน เพราะต้องยอมรับความจริงว่า "ปัญหาของตำรวจ" มีมากจริงๆ และมั่นใจว่าหากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้าง กระจายอำนาจออกไปจากที่เป็นอยู่ ปัญหาที่มากมายในปัจจุบันก็จะยิ่งมากกว่าเดิม จนสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมและประชาชนมากขึ้นไปอีก ความเสื่อมศรัทธาก็จะมากขึ้น
00 ในความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ผู้บริหาร สตช.ในตอนนี้ ที่นำโดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. มาจากการคัดเลือกและแต่งตั้งจาก คสช.รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ เป็นองคาพยพก็ล้วนมีที่มาเดียวกัน มันถึงเป็นไปตามที่โฆษกรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงว่า ตำรวจในยุคนี้ทำงานสนองรัฐบาลอย่างดี ซึ่งมันก็แหงอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับความจริงว่า ตำรวจในยุคนี้ทำงานได้ดี สามารถพลิกฟื้นความศรัทธากลับคืนมาได้บ้าง ไม่มีเรื่องให้ต้องตำหนิเหมือนก่อน มีการลงโทษโยกย้ายตำรวจที่บกพร่อง ทำผิดมากมายและทำอย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ใช่คำตอบแท้จริง !!
00 เพราะพฤติกรรมและผลการทำงานของตำรวจในยุคปัจจุบันมันไม่ใช่เป็นหลักประกันในทางบวกถาวรไปถึงอนาคต แม้ว่าในทุกเรื่อง"คน" เป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่ก็ต้องมีโครงสร้างที่ดี มีการกระจายอำนาจ มีระบบการถ่วงดุลตรวจสอบที่ดีต่างหากถึงจะเป็นหลักประกันที่เชื่อถือได้ หากบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นคนดี แต่เมื่อพวกเขาต้องพ้นไปล่ะ มันจะมีหลักประกันอะไรให้กับสังคมในภายหน้า
00 อย่างไรก็ดี แม้ว่า รัฐบาล คสช. และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เปลี่ยนท่าที หรือว่าอาจเป็นท่าทีเดิมตั้งแต่ต้นว่าจะไม่แตะต้องตำรวจ แต่เพิ่งมาเปิดเผยให้ทราบในตอนนี้ก็ตาม แต่เชื่อว่าในวันหน้าสังคมจะต้องเดินหน้ากดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ดี เพราะอะไรรู้มั๊ย เพราะว่าสังคมและชาวบ้านในยุคนี้เขาล้ำหน้าไปไกลกว่าตำรวจ รวมไปถึงข้าราชการอื่นด้วย สังเกตหรือไม่ว่าตำรวจถูกจับตาทุกฝีก้าวมากกว่าแต่ก่อน ชาวบ้านทำหน้าที่เป็น "สื่อมมวลชน" ได้ทุกคน ดังนั้นเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่แตะต้องตำรวจ จะด้วยเหตุผลที่แท้จริงอะไรก็ตาม มันก็เพียงทำให้ "เสียความรู้สึก" เท่านั้นเอง แต่ในที่สุดแล้วการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพียงแต่ว่าเสียดายโอกาสที่ต้องทำให้ล่าช้าออกไปเท่านั้นเอง เพราะต้องไม่ลืมว่าการปฏิรูปตำรวจเป็นความต้องการอันดับต้นๆ ของประชาชนในยุคนี้ !!
00 เรื่องรธน.ก็กลับมาให้ต้องติดตามกันอีกครั้ง หลังจากครบกำหนดการส่งข้อเสนอแกัไขมาให้ กมธ.ยกร่างฯได้พิจารณา จนครบกำหนดก่อนเวลา 16.30 น. เมื่อวันที่ 25 พ.ค. จากการเปิดเผยของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ บอกว่าเป็นข้อเสนอที่หลากหลายจากองค์กรต่างๆ รวมไปถึงจากฝ่าย ครม. ที่ส่งเข้ามาก่อนครบกำหนดเวลาเพียงไม่กี่นาที อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วในประเด็นหลักๆ น่าจะคงไว้ เช่น เรื่องนายกฯคนนอก ก็น่าจะมีด้วยเหตุผลเป็นช่องทางหนีไฟฉุกเฉิน เพียงแต่ว่าตัองให้ ส.ส.เป็นคนตัดสินใจ และต้องใช้เสียงที่มากกว่าปกติ เรื่องการเลือกตั้งแบบ โอเพ่นลิสต์ ดูแล้วก็น่าจะตัดออก การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ว.ก็ต้องเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม การลดจำนวนมาตราให้น้อยลง รวมไปถึงโยกบางหน่วยงานไปไว้ใน กม.ลูก เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรตามรูปการณ์แล้วก็ต้องผ่านความเห็นชอบจาก สปช. จนได้ และนำไปสู่การทำประชามติในที่สุด แม้ไม่อยากจะทำนายล่วงหน้านานหลายเดือน แต่ก็ฟันธงไว้ก่อนว่า "ผ่าน" ชัวร์ !!
00 แน่นอนว่าท่าทีดังกล่าวของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำที่บอกว่าเข้ามาแก้ปัญหาที่หมักหมมในบ้านเมืองในทุกเรื่อง แต่แล้ววันหนึ่งกลับมาบอกว่า "ในบางเรื่อง"ไม่ต้องทำแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหน้า มันก็ต้องบอกว่า"น่าผิดหวัง" และทำให้ชาวบ้านเสียความมั่นใจลงไปมากเหมือนกัน เพราะต้องยอมรับความจริงว่า "ปัญหาของตำรวจ" มีมากจริงๆ และมั่นใจว่าหากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้าง กระจายอำนาจออกไปจากที่เป็นอยู่ ปัญหาที่มากมายในปัจจุบันก็จะยิ่งมากกว่าเดิม จนสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมและประชาชนมากขึ้นไปอีก ความเสื่อมศรัทธาก็จะมากขึ้น
00 ในความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ผู้บริหาร สตช.ในตอนนี้ ที่นำโดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. มาจากการคัดเลือกและแต่งตั้งจาก คสช.รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ เป็นองคาพยพก็ล้วนมีที่มาเดียวกัน มันถึงเป็นไปตามที่โฆษกรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงว่า ตำรวจในยุคนี้ทำงานสนองรัฐบาลอย่างดี ซึ่งมันก็แหงอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับความจริงว่า ตำรวจในยุคนี้ทำงานได้ดี สามารถพลิกฟื้นความศรัทธากลับคืนมาได้บ้าง ไม่มีเรื่องให้ต้องตำหนิเหมือนก่อน มีการลงโทษโยกย้ายตำรวจที่บกพร่อง ทำผิดมากมายและทำอย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ใช่คำตอบแท้จริง !!
00 เพราะพฤติกรรมและผลการทำงานของตำรวจในยุคปัจจุบันมันไม่ใช่เป็นหลักประกันในทางบวกถาวรไปถึงอนาคต แม้ว่าในทุกเรื่อง"คน" เป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่ก็ต้องมีโครงสร้างที่ดี มีการกระจายอำนาจ มีระบบการถ่วงดุลตรวจสอบที่ดีต่างหากถึงจะเป็นหลักประกันที่เชื่อถือได้ หากบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นคนดี แต่เมื่อพวกเขาต้องพ้นไปล่ะ มันจะมีหลักประกันอะไรให้กับสังคมในภายหน้า
00 อย่างไรก็ดี แม้ว่า รัฐบาล คสช. และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เปลี่ยนท่าที หรือว่าอาจเป็นท่าทีเดิมตั้งแต่ต้นว่าจะไม่แตะต้องตำรวจ แต่เพิ่งมาเปิดเผยให้ทราบในตอนนี้ก็ตาม แต่เชื่อว่าในวันหน้าสังคมจะต้องเดินหน้ากดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ดี เพราะอะไรรู้มั๊ย เพราะว่าสังคมและชาวบ้านในยุคนี้เขาล้ำหน้าไปไกลกว่าตำรวจ รวมไปถึงข้าราชการอื่นด้วย สังเกตหรือไม่ว่าตำรวจถูกจับตาทุกฝีก้าวมากกว่าแต่ก่อน ชาวบ้านทำหน้าที่เป็น "สื่อมมวลชน" ได้ทุกคน ดังนั้นเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่แตะต้องตำรวจ จะด้วยเหตุผลที่แท้จริงอะไรก็ตาม มันก็เพียงทำให้ "เสียความรู้สึก" เท่านั้นเอง แต่ในที่สุดแล้วการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพียงแต่ว่าเสียดายโอกาสที่ต้องทำให้ล่าช้าออกไปเท่านั้นเอง เพราะต้องไม่ลืมว่าการปฏิรูปตำรวจเป็นความต้องการอันดับต้นๆ ของประชาชนในยุคนี้ !!
00 เรื่องรธน.ก็กลับมาให้ต้องติดตามกันอีกครั้ง หลังจากครบกำหนดการส่งข้อเสนอแกัไขมาให้ กมธ.ยกร่างฯได้พิจารณา จนครบกำหนดก่อนเวลา 16.30 น. เมื่อวันที่ 25 พ.ค. จากการเปิดเผยของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ บอกว่าเป็นข้อเสนอที่หลากหลายจากองค์กรต่างๆ รวมไปถึงจากฝ่าย ครม. ที่ส่งเข้ามาก่อนครบกำหนดเวลาเพียงไม่กี่นาที อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วในประเด็นหลักๆ น่าจะคงไว้ เช่น เรื่องนายกฯคนนอก ก็น่าจะมีด้วยเหตุผลเป็นช่องทางหนีไฟฉุกเฉิน เพียงแต่ว่าตัองให้ ส.ส.เป็นคนตัดสินใจ และต้องใช้เสียงที่มากกว่าปกติ เรื่องการเลือกตั้งแบบ โอเพ่นลิสต์ ดูแล้วก็น่าจะตัดออก การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ว.ก็ต้องเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม การลดจำนวนมาตราให้น้อยลง รวมไปถึงโยกบางหน่วยงานไปไว้ใน กม.ลูก เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรตามรูปการณ์แล้วก็ต้องผ่านความเห็นชอบจาก สปช. จนได้ และนำไปสู่การทำประชามติในที่สุด แม้ไม่อยากจะทำนายล่วงหน้านานหลายเดือน แต่ก็ฟันธงไว้ก่อนว่า "ผ่าน" ชัวร์ !!